อุปนิสัย VI
by ธันวา เลาหศิริวงศ์
http://www.thaivi.org/%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%a2-vi/
ข้อคิดจากโลกออนไลน์กล่าวถึง “5 คำที่ไม่ควรพูด” เพื่อเตือนตนเองและสอนบุตรหลานได้แก่ หนึ่ง ยาก เพราะจะเป็นการบล็อกความสามารถทันที สอง ทำไม่ได้ เพราะจะเป็นการขับไล่ตัวจากสิ่งที่ทำหรือปิดกั้นการเรียนรู้ สาม ขี้เกียจ ไม่ควรแม้แต่พูดเล่นเพราะจะทำให้สร้างความไม่รับผิดชอบ สี่ เหนื่อย เพราะร่างกายจะตอบสนองด้วยการอ่อนแอลงทันที และห้า เบื่อ เพราะสมองจะสั่งไม่ให้เรียนรู้ต่อและหยุดเรียนรู้สิ่งที่กำลังทำ
“อุปนิสัย” หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติประจำจนเป็นนิสัย ลองมาดูกันว่า นักลงทุน VI ที่ดีควรต้องมีอุปนิสัยอย่างไร
อุปนิสัยแรก “รักการอ่าน” นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจำเป็นต้องรักการอ่าน เริ่มจาก หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน ราย 3 วัน รายสัปดาห์ เพื่อรับรู้ถึงข้อมูล ข่าวสารที่เปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การใช้จ่าย และกำลังซื้อของผู้บริโภค เป็นต้น นักลงทุนควรอ่านมากกว่า 1 ฉบับเพื่อครอบคลุมเนื้อหาที่ถูกต้องและมุมมองในการนำเสนอที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารรายวันมักส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระยะสั้นด้วย
หนังสือธุรกิจรายเดือน รายงานข้อมูลเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมรายเดือน รายไตรมาสและรายปี วารสารธุรกิจต่างประเทศ ล้วนมีประโยชน์ต่อมุมมองภาพใหญ่ แนวโน้มที่อาจทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและกิจการที่เราสนใจ
สำหรับกิจการที่ตนถือหุ้น นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิดจากอ่านงบการเงินรายไตรมาสคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ และข้อมูลสารสนเทศที่บริษัทต้องเปิดเผยเมื่อมีพัฒนาการสำคัญ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ซึ่งต้องเปิดเผยภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี และรายงานประจำปี เพื่อได้รับข้อมูลล่าสุดจากบริษัททั้งปัจจัยเสี่ยง ลักษณะธุรกิจที่อาจเปลี่ยนไป นักลงทุนควรอ่านข้อมูลของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อความเข้าใจและการวิเคราะห์ที่ดีขึ้นอีกด้วย
อนึ่ง นักลงทุนควรอ่านและนำบทวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการวิเคราะห์ของตน แต่ไม่ควรนำราคาเป้าหมายมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์หุ้นรายวันนั้นมักมีผลทางจิตวิทยาทำให้ทั้งราคาและปริมาณการซื้อขายเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ข้อมูลที่เผยแพร่ส่งต่อในโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียอาจยังมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง นักลงทุนจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังหากจะตัดสินใจลงทุนจากการอ่านข้อมูลแหล่งเหล่านี้
อุปนิสัยที่สอง “รักการฟัง หรือการดู” กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน (Opportunity Day) และการเยี่ยมชมกิจการ (Company Visit) เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นักลงทุนสามารถรับฟังข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนโดยตรง นักลงทุนจึงควรจัดสรรเวลาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโดยเฉพาะบริษัทที่สนใจลงทุนและควร “ทำการบ้าน” ไปก่อนเพื่อใช้โอกาสสอบถามประเด็นสงสัย ไม่รับฟังบริษัทนำเสนอข้อมูลเฉพาะด้านบวกเพียงอย่างเดียว หากบริษัทที่ตนสนใจแต่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว นักลงทุนสามารถติดต่อไปยังฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อรับฟังข้อมูลและสอบถามประเด็นสงสัยต่างๆ ได้
ปัจจุบันมีสื่อวิทยุและโทรศัพท์จำนวนมากนำเสนอข้อมูลธุรกิจ ข่าวเศรษฐกิจ รายการหุ้นเกือบทุกช่วงเวลา มีงานสัมมนาหุ้นที่จัดขึ้นจากหลายหน่วยงาน ด้วยข้อจำกัดด้านเวลาและลดความสับสนจากการรับฟังข้อมูลมากเกินไป คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มลงทุนคือ เลือกติดตามเฉพาะรายการที่เป็นประโยชน์และตรงกับแนวทางการลงทุนของตน
อุปนิสัยที่สาม “รักการสังเกต และการสัมผัส” การสังเกตหรือสัมผัสสินค้าและบริการของกิจการที่ตนสนใจทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจะช่วยให้สามารถคาดคะเนแนวโน้มของธุรกิจอย่างคร่าวๆ นี่คือเทคนิคที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศมักนำมาใช้เพราะปฏิบัติได้ง่าย นอกจากนี้การเดินสำรวจตลาดยังอาจทำให้ค้นพบโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ อีกด้วย
อุปนิสัยสุดท้าย “รักการคิดและวิเคราะห์กิจการด้วยตนเอง” เป็นอุปนิสัยที่สำคัญที่สุด นักลงทุนควรจัดสรรเวลาให้อุปนิสัยนี้มากที่สุดในขบวนการลงทุน เพราะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่มีมา “ประมวลผล” เพื่อตัดสินใจว่าจะ “เข้าลงทุน” หรือ “ไม่ลงทุน” ในกิจการนั้นๆ โดยพึงระลึกเสมอว่า เราคือผู้รู้จักตนเองดีที่สุด ดังนั้นควรเลือกและตัดสินใจลงทุนด้วยตนเองเสมอ
นั่นคืออุปนิสัยสำคัญที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าควรมี ท่านผู้อ่านอาจลองสังเกตว่าตนมีอุปนิสัยดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) ของแต่ละบริษัทกำลังจะเริ่มขึ้น นักลงทุนควรจัดสรรเวลาร่วมประชุมเพราะไม่ใช่แค่เพียงอุปนิสัยที่ดีของนักลงทุนเท่านั้น แต่เป็นทั้ง “หน้าที่” และการรักษา “สิทธิ” ในฐานะของผู้ถือหุ้นอีกด้วย นักลงทุนที่วางแผนเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีไม่ควรไปประชุมเพียงเพื่อรักษา “สิทธิรับของที่ระลึก” และออกเสียงลงคะแนนตามวาระเท่านั้น แต่ควรใช้โอกาสนี้รับฟังนโยบาย ข้อมูลจากฝ่ายบริหาร สอบถามประเด็นสงสัย แสดงความคิดเห็นและมีข้อเสนอแนะอย่างตรงประเด็นเพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาอย่างเหมาะสม
ในหลายสถานการณ์ มีการเรียกร้อง “สิทธิ” และต้องการทำ “หน้าที่” ตามสิทธิที่พึงได้รับ ในฐานะ Value Investor การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี คือ โอกาสสำคัญที่นักลงทุนทุกคนจะได้ทำหน้าที่ในฐานะ “ผู้ถือหุ้น” พร้อมทั้งแสดงให้ฝ่ายบริหารเห็นว่า ผู้ถือหุ้นทุกคนใส่ใจและได้มอบความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารพัฒนาธุรกิจเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของกิจการและความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376?ref=hl
อุปนิสัย VI
by ธันวา เลาหศิริวงศ์
http://www.thaivi.org/%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%a2-vi/
ข้อคิดจากโลกออนไลน์กล่าวถึง “5 คำที่ไม่ควรพูด” เพื่อเตือนตนเองและสอนบุตรหลานได้แก่ หนึ่ง ยาก เพราะจะเป็นการบล็อกความสามารถทันที สอง ทำไม่ได้ เพราะจะเป็นการขับไล่ตัวจากสิ่งที่ทำหรือปิดกั้นการเรียนรู้ สาม ขี้เกียจ ไม่ควรแม้แต่พูดเล่นเพราะจะทำให้สร้างความไม่รับผิดชอบ สี่ เหนื่อย เพราะร่างกายจะตอบสนองด้วยการอ่อนแอลงทันที และห้า เบื่อ เพราะสมองจะสั่งไม่ให้เรียนรู้ต่อและหยุดเรียนรู้สิ่งที่กำลังทำ
“อุปนิสัย” หมายถึง ความประพฤติปฏิบัติประจำจนเป็นนิสัย ลองมาดูกันว่า นักลงทุน VI ที่ดีควรต้องมีอุปนิสัยอย่างไร
อุปนิสัยแรก “รักการอ่าน” นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจำเป็นต้องรักการอ่าน เริ่มจาก หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน ราย 3 วัน รายสัปดาห์ เพื่อรับรู้ถึงข้อมูล ข่าวสารที่เปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การใช้จ่าย และกำลังซื้อของผู้บริโภค เป็นต้น นักลงทุนควรอ่านมากกว่า 1 ฉบับเพื่อครอบคลุมเนื้อหาที่ถูกต้องและมุมมองในการนำเสนอที่แตกต่าง ข้อมูลข่าวสารรายวันมักส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระยะสั้นด้วย
หนังสือธุรกิจรายเดือน รายงานข้อมูลเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมรายเดือน รายไตรมาสและรายปี วารสารธุรกิจต่างประเทศ ล้วนมีประโยชน์ต่อมุมมองภาพใหญ่ แนวโน้มที่อาจทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและกิจการที่เราสนใจ
สำหรับกิจการที่ตนถือหุ้น นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิดจากอ่านงบการเงินรายไตรมาสคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ และข้อมูลสารสนเทศที่บริษัทต้องเปิดเผยเมื่อมีพัฒนาการสำคัญ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ซึ่งต้องเปิดเผยภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี และรายงานประจำปี เพื่อได้รับข้อมูลล่าสุดจากบริษัททั้งปัจจัยเสี่ยง ลักษณะธุรกิจที่อาจเปลี่ยนไป นักลงทุนควรอ่านข้อมูลของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อความเข้าใจและการวิเคราะห์ที่ดีขึ้นอีกด้วย
อนึ่ง นักลงทุนควรอ่านและนำบทวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการวิเคราะห์ของตน แต่ไม่ควรนำราคาเป้าหมายมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์หุ้นรายวันนั้นมักมีผลทางจิตวิทยาทำให้ทั้งราคาและปริมาณการซื้อขายเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ข้อมูลที่เผยแพร่ส่งต่อในโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียอาจยังมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง นักลงทุนจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังหากจะตัดสินใจลงทุนจากการอ่านข้อมูลแหล่งเหล่านี้
อุปนิสัยที่สอง “รักการฟัง หรือการดู” กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน (Opportunity Day) และการเยี่ยมชมกิจการ (Company Visit) เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นักลงทุนสามารถรับฟังข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนโดยตรง นักลงทุนจึงควรจัดสรรเวลาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโดยเฉพาะบริษัทที่สนใจลงทุนและควร “ทำการบ้าน” ไปก่อนเพื่อใช้โอกาสสอบถามประเด็นสงสัย ไม่รับฟังบริษัทนำเสนอข้อมูลเฉพาะด้านบวกเพียงอย่างเดียว หากบริษัทที่ตนสนใจแต่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว นักลงทุนสามารถติดต่อไปยังฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อรับฟังข้อมูลและสอบถามประเด็นสงสัยต่างๆ ได้
ปัจจุบันมีสื่อวิทยุและโทรศัพท์จำนวนมากนำเสนอข้อมูลธุรกิจ ข่าวเศรษฐกิจ รายการหุ้นเกือบทุกช่วงเวลา มีงานสัมมนาหุ้นที่จัดขึ้นจากหลายหน่วยงาน ด้วยข้อจำกัดด้านเวลาและลดความสับสนจากการรับฟังข้อมูลมากเกินไป คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มลงทุนคือ เลือกติดตามเฉพาะรายการที่เป็นประโยชน์และตรงกับแนวทางการลงทุนของตน
อุปนิสัยที่สาม “รักการสังเกต และการสัมผัส” การสังเกตหรือสัมผัสสินค้าและบริการของกิจการที่ตนสนใจทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจะช่วยให้สามารถคาดคะเนแนวโน้มของธุรกิจอย่างคร่าวๆ นี่คือเทคนิคที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศมักนำมาใช้เพราะปฏิบัติได้ง่าย นอกจากนี้การเดินสำรวจตลาดยังอาจทำให้ค้นพบโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ อีกด้วย
อุปนิสัยสุดท้าย “รักการคิดและวิเคราะห์กิจการด้วยตนเอง” เป็นอุปนิสัยที่สำคัญที่สุด นักลงทุนควรจัดสรรเวลาให้อุปนิสัยนี้มากที่สุดในขบวนการลงทุน เพราะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดที่มีมา “ประมวลผล” เพื่อตัดสินใจว่าจะ “เข้าลงทุน” หรือ “ไม่ลงทุน” ในกิจการนั้นๆ โดยพึงระลึกเสมอว่า เราคือผู้รู้จักตนเองดีที่สุด ดังนั้นควรเลือกและตัดสินใจลงทุนด้วยตนเองเสมอ
นั่นคืออุปนิสัยสำคัญที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าควรมี ท่านผู้อ่านอาจลองสังเกตว่าตนมีอุปนิสัยดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) ของแต่ละบริษัทกำลังจะเริ่มขึ้น นักลงทุนควรจัดสรรเวลาร่วมประชุมเพราะไม่ใช่แค่เพียงอุปนิสัยที่ดีของนักลงทุนเท่านั้น แต่เป็นทั้ง “หน้าที่” และการรักษา “สิทธิ” ในฐานะของผู้ถือหุ้นอีกด้วย นักลงทุนที่วางแผนเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีไม่ควรไปประชุมเพียงเพื่อรักษา “สิทธิรับของที่ระลึก” และออกเสียงลงคะแนนตามวาระเท่านั้น แต่ควรใช้โอกาสนี้รับฟังนโยบาย ข้อมูลจากฝ่ายบริหาร สอบถามประเด็นสงสัย แสดงความคิดเห็นและมีข้อเสนอแนะอย่างตรงประเด็นเพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาอย่างเหมาะสม
ในหลายสถานการณ์ มีการเรียกร้อง “สิทธิ” และต้องการทำ “หน้าที่” ตามสิทธิที่พึงได้รับ ในฐานะ Value Investor การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี คือ โอกาสสำคัญที่นักลงทุนทุกคนจะได้ทำหน้าที่ในฐานะ “ผู้ถือหุ้น” พร้อมทั้งแสดงให้ฝ่ายบริหารเห็นว่า ผู้ถือหุ้นทุกคนใส่ใจและได้มอบความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารพัฒนาธุรกิจเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของกิจการและความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376?ref=hl