พระสู้ศึก นสพ.แนวหน้า

กระทู้สนทนา

พระสู้ศึก

ในสมัยอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่สอง “พระอาจารย์ธรรมโชติ” เป็นพระสู้ศึกประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญชาวบ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ทำการรบต่อสู้กองทัพพม่าอย่างสุดชีวิตถึง 8 ครั้ง เพื่อยับยั้งกองทัพพม่าซึ่งนำโดย เนเมียวสีหบดี ไม่ให้เดินทัพเข้าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย การสู้รบในครั้งนั้น ใช้เวลาถึงหนึ่งปีครึ่ง ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พ.ศ. 2308 จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พ.ศ. 2309 วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้


                ประเทศไทยยุคปัจจุบัน ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของระบอบทักษิณ เป็นการปกครองด้วยโจร หรือ“โจราธิปไตย” นำความเสื่อมทรามมาสู่สังคมไทยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นอันตรายต่อสถาบันชาติ และ สถาบันพระมหากษัตริย์

                สถาบันชาติถูกบ่อนทำลาย : รัฐบาลยิ่งลักษณ์ภายใต้ระบอบทักษิณ ได้สร้างความแตกแยกภายในชาติ สนับสนุนแกนนำ นปช.แดง ให้ปลุกระดมมวลชน จัดตั้งกองกำลังไว้เป็นฐานอำนาจ จนเกิดความฮึกเหิมเสนอให้มีการแบ่งแยกดินแดน โดยมีรัฐมนตรีมหาดไทยให้การสนับสนุน ยืนยันที่จะดำเนินการตามที่แกนนำ นปช.แดงเสนอ นอกจากนี้ รัฐบาลนังยิ่งลักษณ์ภายใต้ระบอบทักษิณ ยังเอื้ออำนวยให้มีการคอร์รัปชั่นชนิดปล้นบ้านกินเมือง โกงเงินจำนำข้าวชาวนาเป็นจำนวนถึง 1.3 แสนล้านบาท ปล่อยปละละเลยไม่มีความจริงใจและจริงจังในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

                สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกจาบจ้วงล่วงละเมิด :  รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ภายใต้ระบอบทักษิณ ปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เสมอ และ ตลอดมา


                “หลวงปู่พุทธอิสระ” เล็งเห็นถึงภัยพิบัติของระบอบทักษิณที่ทำลายสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ จึงประกาศตัวเป็นพระสู้ศึกเข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกลุ่มคนเสื้อเหลืองต่อสู้ขับไล่รัฐบาลทรราชทักษิณในช่วงปี 2548 - 2552  ต่อมาเมื่อเกิดมวลมหาประชาชนขึ้นขับไล่นังยิ่งลักษณ์และ ระบอบทักษิณภายใต้การนำของ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”หรือชื่อย่อว่า “กปปส.”มีกำนันสุเทพ เป็นเลขาธิการ กปปส. “หลวงปู่พุทธอิสระ”ก็เข้าเป็นแนวร่วมด้วย

                “หลวงปู่พุทธอิสระ” พระสู้ศึกนำมวลมหาประชนจำนวนหนึ่งชุมนุมต่อสู้ขับไล่ระบอบทักษิณ ยึดศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะเป็นที่มั่น “หลวงปู่พุทธะอิสระ” มีปณิธานแน่วแน่ และ ยึดมั่นในหลักการต่อสู้แบบสงบ สันติ อหิงสา เช่นเดียวกับกำนันสุเทพ แต่การนำมวลชนของหลวงปู่ค่อนข้างจะเป็นอิสระจาก กปปส. สมฉายาว่า “พุทธอิสระ” (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอย่างอิสระ) จนบางครั้งกำนันสุเทพต้องสะกิดเตือนหลวงปู่ให้เบาๆ ลงเสียบ้างเพราะเกรงจะถูกข้อหากบฏ


                การต่อสู้ของ“หลวงปู่พุทธอิสระ”ในยุครัตนโกสินทร์นี้ แม้เป็นพระสู้ศึกเหมือน“พระอาจารย์ธรรมโชติ”ในสมัยอยุธยาคือ ออกมาต่อสู่ร่วมกับประชาชนขับไล่อริราชศัตรูของแผ่นดิน แต่มีวิธีการที่แตกต่างกันคือ “พระอาจารย์ธรรมโชติ”ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญชาวบ้านบางระจันให้มีความฮึกเหิมต่อสู้ขับไล่กองทัพพม่า แต่“หลวงปู่พุทธอิสระ”ยึดหลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ หากจะดับธรรมนั้นต้องดับที่เหตุ” เมื่อระบอบทักษิณเป็นต้นเหตุแห่งความหายนะของประเทศ ก็จำต้องขับไล่นังยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณออกไป หลวงปู่พุทธอิสระใช้“ธรรมนำมวลชน” เทศนาให้เข้าใจความชั่ว ความดี พร้อมกับการสวดมนต์ภาวนาหลอหลอมจิตใจผู้ชุมนุมให้มีสมาธิมั่นคงมีความแน่วแน่มุ่งมั่นกระทำแต่ความดีเพื่อแผ่นดิน ไม่เกรงกลัวภยันตรายจากน้ำมือเหล่าโจรอันธพาล สมุนบริวารของรัฐบาลทรราช

                พฤติกรรมของหลวงปู่พุทธอิสระที่ออกมานำมวลชนต่อสู้กับรัฐบาลทรราช อาจจะไม่เหมาะสมเรียกว่า “โลกะวัชชะ”คือขาดวินัยสงฆ์และไม่สำรวมในวัตรปฏิบัติแห่งสงฆ์ เป็นที่ติเตียนของประชาชนบางกลุ่มบางพวกอยู่บ้าง แต่ก็เป็นพฤติกรรมที่เปิดเผย แสดงตนปกป้องชาติบ้านเมืองไม่ให้ล่มสลายด้วยน้ำมือนางมารร้ายยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณ นอกจากนี้ หลวงปู่พุทธอิสระยังเปี่ยมด้วยเมตตาธรรมโดยพยายามหาหนทางช่วยเหลือชาวนาที่ถูกรัฐบาลทรราชโกงเงินค่าจำนำข้าวอีกด้วย


                การออกมาต่อสู้ของหลวงปู่พุทธอิสระในครั้งนี้ มีความมุ่งหวังจะให้มี 1)  “สภาชาวนา” เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินอาชีพของชาวนาทั้งในด้านการผลิตและการจำหน่าย รวมทั้งการแปรรูปผลผลิต 2) “สภาพลังงาน” เพื่อให้คนไทยสามารถมีพลังงานใช้ในราคาถูกกว่าต่างประเทศ และ อยากเห็นประเทศไทยมีอำนาจต่อรองในเรื่องพลังงานโดยไม่ต้องอ้างอิงราคาจากประเทศสิงคโปร์เช่นทุกวันนี้ และ 3) “สภาศีลธรรมและจริยธรรม” เพื่อควบคุมคุณธรมและจริยธรรมของนักการเมือง

                พระธรรมวินัย ได้บัญญัติไว้ให้พระสงฆ์ถือศีล 227 ข้อ และ แบ่งอาบัติของสงฆ์ไว้ตั้งแต่ขั้นเบาเรียกว่า “ลหุกาบัติ” คือ การล่วงละเมิดศีลประเภท “ปาฏิเทศนียะ หรือ ปาจิตตีย์” เช่น กล่าวติเตียน หรือ ด่าทอผู้อื่น ฉันอาหารในยามวิกาล เป็นต้น ไปจนถึงขั้นหนักสุดที่เรียกว่า “คุรุกาบัติ” คือการล่วงละเมิดศีลประเภท “สังฆาทิเสส หรือ ปาราชิก” เช่น เสพเมถุนกับมนุษย์ หรือ อมนุษย์ ลักทรัพย์ ฆ่าคน และ อวดอุตริมนุสสธรรม เป็นต้น การอาบัติของสงฆ์ในขั้น “ลหุกาบัติ” ถือว่ายังไม่ขาดความเป็นสงฆ์สามารถแก้อาบัติได้ด้วยการปลงลหุอาบัติ  แต่ถ้าอาบัติในขั้น “คุรุกาบัติ” จะขาดความเป็นสงฆ์ทันทีปรับอาบัติไม่ได้


                หากใครกล่าวหาหลวงปู่ว่า... “ล่วงละเมิดศีล” ... ก็เป็นการล่วงละเมิดศีลที่อยู่ในขั้น “ลหุกาบัติ” เท่านั้น  ไม่ขาดจากความเป็นสงฆ์ สามารถปลงอาบัติได้  มวลมหาประชาชนชนะเมื่อไร  ก็นิมนต์หลวงปู่ปลงลหุอาบัติเสีย ก็สิ้นเรื่อง

credit หนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 17 มี.ค. 57
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่