อีก 1 แรงบันดาลใจของภาพยนตร์คิดถึงวิทยา..
อาจจะพบได้ไม่บ่อยนักที่ใครคนสักคนจะยอมทิ้งความสุขสบายในเมือง เข้าไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนวิชาความรู้ให้กับ อนาคตของชาติ แต่อย่างน้อย "สามารถ สุทะ" ก็คือคน ๆ หนึ่งที่คิดเช่นนั้น และตัดสินใจเข้าไปสอนเด็ก ๆ ในโรงเรียนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งบนกระท่อมไม้ไผ่กลางแม่น้ำปิง โดยหวังที่จะขยายโอกาสการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก ๆ
การเดินทางไปสอนนักเรียนของครูสามารถแต่ละครั้งนั้น ถือเป็นเรื่องลำบากไม่ใช่เล่น เพราะทุกวันจันทร์ ครูสามารถจะต้องตื่นและออกเดินทางจากบ้านในตัวจังหวัดลำพูน ตั้งแต่ตี 5 ขับรถเป็นเวลาเกือบ 5 ชั่วโมง ไปยังหน่วยพิทักษ์ป่าแก่งก้อ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง รวม ๆ ระยะทางไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร โดยระหว่างทางครูจะแวะซื้อกับข้าวไว้เป็นเสบียงเลี้ยงเด็ก ๆ ด้วย
และเมื่อถึงปลายทางสุดท้ายที่สามารถขับรถเข้าไปถึงแล้ว ครูสามารถจะลงจากรถแล้วถ่อเรือผ่านสายน้ำปิง และฝ่าดงผักตบชวาจำนวนมหาศาลที่เป็นอุปสรรคขวางทาง เพื่อไปยังจุดหมายสุดท้าย ณ "โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร ห้องเรียนสาขาเรือนแพ" กระทั่งเวลาประมาณเที่ยงตรง เรือของครูสามารถจะมาหยุดอยู่กลางโรงเรียนเรือนแพ โดยมีลูกศิษย์ตัวเล็ก ๆ 5 คน ยืนรอครูที่ใช้เวลาเดินทางร่วม 7 ชั่วโมงอย่างใจจดใจจ่อ
"ตอนที่มาเห็นที่นี่ครั้งแรก สภาพภายในยังรกรุงรัง ไม่เหมือนห้องเรียน เป็นโรงเรียนร้าง หยากไย่ ใบไม้เต็มไปหมด ตอนที่มาเห็นครั้งแรกก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะอยู่สอนที่นี่ดีไหม ยังไขว้เขวอยู่ เพราะที่เคยอยู่ก็สบาย แต่มาที่นี่ต้องเริ่มใหม่หมดทุกอย่าง แล้วมีเราแค่คนเดียว แต่สุดท้ายเราก็คิดว่า เราเริ่มเบื่อความสบายแล้ว ก็เลยตัดสินใจอยู่กับสังคมใหม่นี้" ครูสามารถ เล่าถึงสาเหตุที่ตัดสินใจมาเป็นครูที่นี่
ด้วยความที่การเดินทางมายังโรงเรียนแห่งนี้ค่อนข้างลำบากมาก ทำให้ทั้งครูและนักเรียน ต้องมาใช้ชีวิตกินนอนอยู่ด้วยกันในโรงเรียนแห่งนี้ตลอด 24 ชั่วโมง ราวกับเป็นโรงเรียนประจำ ซึ่งครูสามารถก็ได้ปลูกฝังเรื่องความมีวินัยให้เด็ก ๆ รู้จักแบ่งหน้าที่ช่วยกันทำงานได้เป็นอย่างดี และเมื่อเด็ก ๆ แต่ละรุ่นเรียนจบไป ก็ยังถ่ายทอดความมีวินัยนี้ให้กับน้องรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย
สำหรับการเรียนการสอนของที่นี่ เด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ๆ ที่ครูสามารถประยุกต์เข้ามาสอน เพื่อฝึกทักษะชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิชาการเกษตร การทำความสะอาดบ้านเรือน การว่ายน้ำ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต แต่ถึงกระนั้น เด็ก ๆ ก็จำเป็นต้องเรียนวิชาความรู้พื้นฐาน อย่างเช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ฯลฯ เพื่อให้มีความรู้เท่าทันโลกภายนอกด้วยเช่นกัน
เห็นอย่างนี้แล้ว อาจจะบอกได้ว่า ครูสามารถ ไม่ใช่เป็นเพียง "ครู" ที่ต้องรับบทบาทสอนเด็ก ๆ ทุกชั้นเรียน ทุกรายวิชาแต่เพียงเท่านั้น เพราะเขายังต้องเป็น "ภารโรง" ที่คอยดูแลทำความสะอาด และในตอนกลางคืน ก็ยังต้องสวมบทเป็น "ผู้ปกครอง" ที่คอยเคี่ยวเข็ญให้เด็ก ๆ รู้จักทบทวนบทเรียนในแต่ละวันอย่างแข็งขันอีกด้วย
"ที่นี่มีครูแค่คนเดียว และเป็นโรงเรียนพักนอนด้วย เราเลยต้องดูแลนักเรียนอย่างเต็มที่ เพราะผู้ปกครองไว้ใจเราให้เด็กมาเรียน จากที่เคยคิดว่าเป็นงาน เป็นหน้าที่ ก็เปลี่ยนมาเป็นชีวิตประจำวันของเราไปซะ มันก็เลยเหมือนกับว่าเราอยู่กับชีวิตประจำวัน เราไม่ได้อยู่กับงาน" ครูสามารถ บอก
หลายคนอาจแปลกใจว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ครูสามารถทำเช่นนี้ เขาจึงเล่าว่า ในอดีตเขาเคยขาดโอกาสเหมือนเด็กที่นี่ แต่ก็ได้หันหน้าไปพึ่งพระพุทธศาสนา จนได้เรียนต่อ เขาจึงอยากสานต่อให้เด็กได้รับโอกาสอย่างเต็มที่ แม้ว่าพื้นที่จะจำกัด และเด็ก ๆ ที่นี่ก็ต้องได้รับโอกาสมากกว่านี้ หากเขายังอยู่ที่นี่
และอีกหนึ่งโอกาสที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้ได้รับก็คือ การเดินทางมาทัศนศึกษายังสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการเปิดโลกกว้างให้เด็ก ๆ ได้ออกมาเรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียนพร้อม ๆ กับเที่ยวไปในตัว และครูสามารถก็ไม่ลืมที่จะให้เด็ก ๆ จดบันทึก เพื่อจดจำสิ่งที่ได้พบเห็นไปด้วย
แน่นอนว่าการพาเด็กออกมาเที่ยวต่างที่เช่นนี้ ทำให้ครูสามารถต้องรับผิดชอบสูงมาก แต่ครูก็บอกว่าประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถซื้อได้ นอกจากต้องให้เด็ก ๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการกดตู้โทรศัพท์ หากเด็ก ๆ ไม่เคยได้ทดลองใช้ ก็จะไม่รู้เลยว่า ต้องยกหูโทรศัพท์ก่อน แล้วค่อยกดเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งหากเด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากการพบเห็นและทดลองด้วยตัวเอง จะทำให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เวลาที่ออกมาโลกภายนอก ดังนั้นแม้เขาจะกลัวเรื่องความรับผิดชอบ หรือกลัวว่าเด็กจะได้รับอันตราย แต่ก็ถือว่าคุ้มที่จะได้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับเด็ก ๆ
ขณะเดียวกัน ไม่ใช่เด็ก ๆ เท่านั้นที่จะได้เปิดโลกทัศน์ แม้แต่ครูสามารถเองก็ต้องสั่งสมประสบการณ์เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น ทุก ๆ วันเสาร์ ที่โรงเรียนหยุด เขาจะเดินทางไปเรียนหนังสือหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะนำประสบการณ์ที่เพิ่มเข้ามาไปป้อนให้ลูกศิษย์ตัวน้อยได้เรียนรู้ต่อไป
"ผมมองตัวเองว่า ผมทำงานที่นี่ ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นมืออาชีพ แต่ผมเต็มที่ในสิ่งที่ผมทำ มุ่งมั่นเพื่อเด็ก มุ่งมั่นที่จะเปิดโอกาสให้เด็กมากกว่าที่อยากจะเป็นครูมืออาชีพ" ครูสามารถ ยืนยัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่ง ก็ถึงวันปิดภาคเรียนที่เด็ก ๆ จะได้กลับไปช่วยอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน ครูสามารถก็ได้สอนให้เด็ก ๆ นำทักษะความรู้ที่ได้ปฏิบัติในโรงเรียนเรือนแพแห่งนี้ไปช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน พร้อมกับย้ำเตือนให้ทุกคนเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่
เมื่อครูสามารถสั่งสอนเสร็จสิ้น เขาก็ได้ส่งเด็ก ๆ ขึ้นเรือของผู้ปกครองที่มารับกลับบ้าน แล้วหันกลับไปล็อกประตูโรงเรียน ก่อนจะนั่งเรือมุ่งหน้ากลับบ้านของเขาเช่นกัน และอีกไม่นาน เขาก็จะกลับมาทำหน้าที่พ่อพิมพ์ของชาติผู้เติมเต็มโอกาสให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป เมื่อวันเปิดภาคเรียนใหม่มาถึง...
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุรภาพประกอบจาก Youtube.com โพสต์โดยคุณ karaba90
http://hilight.kapook.com/view/69658
คนค้นฅน ตอน..ครูสามารถ ครูผู้เสียสละแห่งโรงเรียนเรือนแพ
อาจจะพบได้ไม่บ่อยนักที่ใครคนสักคนจะยอมทิ้งความสุขสบายในเมือง เข้าไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนวิชาความรู้ให้กับ อนาคตของชาติ แต่อย่างน้อย "สามารถ สุทะ" ก็คือคน ๆ หนึ่งที่คิดเช่นนั้น และตัดสินใจเข้าไปสอนเด็ก ๆ ในโรงเรียนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งบนกระท่อมไม้ไผ่กลางแม่น้ำปิง โดยหวังที่จะขยายโอกาสการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก ๆ
การเดินทางไปสอนนักเรียนของครูสามารถแต่ละครั้งนั้น ถือเป็นเรื่องลำบากไม่ใช่เล่น เพราะทุกวันจันทร์ ครูสามารถจะต้องตื่นและออกเดินทางจากบ้านในตัวจังหวัดลำพูน ตั้งแต่ตี 5 ขับรถเป็นเวลาเกือบ 5 ชั่วโมง ไปยังหน่วยพิทักษ์ป่าแก่งก้อ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง รวม ๆ ระยะทางไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร โดยระหว่างทางครูจะแวะซื้อกับข้าวไว้เป็นเสบียงเลี้ยงเด็ก ๆ ด้วย
และเมื่อถึงปลายทางสุดท้ายที่สามารถขับรถเข้าไปถึงแล้ว ครูสามารถจะลงจากรถแล้วถ่อเรือผ่านสายน้ำปิง และฝ่าดงผักตบชวาจำนวนมหาศาลที่เป็นอุปสรรคขวางทาง เพื่อไปยังจุดหมายสุดท้าย ณ "โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร ห้องเรียนสาขาเรือนแพ" กระทั่งเวลาประมาณเที่ยงตรง เรือของครูสามารถจะมาหยุดอยู่กลางโรงเรียนเรือนแพ โดยมีลูกศิษย์ตัวเล็ก ๆ 5 คน ยืนรอครูที่ใช้เวลาเดินทางร่วม 7 ชั่วโมงอย่างใจจดใจจ่อ
"ตอนที่มาเห็นที่นี่ครั้งแรก สภาพภายในยังรกรุงรัง ไม่เหมือนห้องเรียน เป็นโรงเรียนร้าง หยากไย่ ใบไม้เต็มไปหมด ตอนที่มาเห็นครั้งแรกก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะอยู่สอนที่นี่ดีไหม ยังไขว้เขวอยู่ เพราะที่เคยอยู่ก็สบาย แต่มาที่นี่ต้องเริ่มใหม่หมดทุกอย่าง แล้วมีเราแค่คนเดียว แต่สุดท้ายเราก็คิดว่า เราเริ่มเบื่อความสบายแล้ว ก็เลยตัดสินใจอยู่กับสังคมใหม่นี้" ครูสามารถ เล่าถึงสาเหตุที่ตัดสินใจมาเป็นครูที่นี่
ด้วยความที่การเดินทางมายังโรงเรียนแห่งนี้ค่อนข้างลำบากมาก ทำให้ทั้งครูและนักเรียน ต้องมาใช้ชีวิตกินนอนอยู่ด้วยกันในโรงเรียนแห่งนี้ตลอด 24 ชั่วโมง ราวกับเป็นโรงเรียนประจำ ซึ่งครูสามารถก็ได้ปลูกฝังเรื่องความมีวินัยให้เด็ก ๆ รู้จักแบ่งหน้าที่ช่วยกันทำงานได้เป็นอย่างดี และเมื่อเด็ก ๆ แต่ละรุ่นเรียนจบไป ก็ยังถ่ายทอดความมีวินัยนี้ให้กับน้องรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย
สำหรับการเรียนการสอนของที่นี่ เด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ๆ ที่ครูสามารถประยุกต์เข้ามาสอน เพื่อฝึกทักษะชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิชาการเกษตร การทำความสะอาดบ้านเรือน การว่ายน้ำ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต แต่ถึงกระนั้น เด็ก ๆ ก็จำเป็นต้องเรียนวิชาความรู้พื้นฐาน อย่างเช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ฯลฯ เพื่อให้มีความรู้เท่าทันโลกภายนอกด้วยเช่นกัน
เห็นอย่างนี้แล้ว อาจจะบอกได้ว่า ครูสามารถ ไม่ใช่เป็นเพียง "ครู" ที่ต้องรับบทบาทสอนเด็ก ๆ ทุกชั้นเรียน ทุกรายวิชาแต่เพียงเท่านั้น เพราะเขายังต้องเป็น "ภารโรง" ที่คอยดูแลทำความสะอาด และในตอนกลางคืน ก็ยังต้องสวมบทเป็น "ผู้ปกครอง" ที่คอยเคี่ยวเข็ญให้เด็ก ๆ รู้จักทบทวนบทเรียนในแต่ละวันอย่างแข็งขันอีกด้วย
"ที่นี่มีครูแค่คนเดียว และเป็นโรงเรียนพักนอนด้วย เราเลยต้องดูแลนักเรียนอย่างเต็มที่ เพราะผู้ปกครองไว้ใจเราให้เด็กมาเรียน จากที่เคยคิดว่าเป็นงาน เป็นหน้าที่ ก็เปลี่ยนมาเป็นชีวิตประจำวันของเราไปซะ มันก็เลยเหมือนกับว่าเราอยู่กับชีวิตประจำวัน เราไม่ได้อยู่กับงาน" ครูสามารถ บอก
หลายคนอาจแปลกใจว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ครูสามารถทำเช่นนี้ เขาจึงเล่าว่า ในอดีตเขาเคยขาดโอกาสเหมือนเด็กที่นี่ แต่ก็ได้หันหน้าไปพึ่งพระพุทธศาสนา จนได้เรียนต่อ เขาจึงอยากสานต่อให้เด็กได้รับโอกาสอย่างเต็มที่ แม้ว่าพื้นที่จะจำกัด และเด็ก ๆ ที่นี่ก็ต้องได้รับโอกาสมากกว่านี้ หากเขายังอยู่ที่นี่
และอีกหนึ่งโอกาสที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้ได้รับก็คือ การเดินทางมาทัศนศึกษายังสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการเปิดโลกกว้างให้เด็ก ๆ ได้ออกมาเรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียนพร้อม ๆ กับเที่ยวไปในตัว และครูสามารถก็ไม่ลืมที่จะให้เด็ก ๆ จดบันทึก เพื่อจดจำสิ่งที่ได้พบเห็นไปด้วย
แน่นอนว่าการพาเด็กออกมาเที่ยวต่างที่เช่นนี้ ทำให้ครูสามารถต้องรับผิดชอบสูงมาก แต่ครูก็บอกว่าประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถซื้อได้ นอกจากต้องให้เด็ก ๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการกดตู้โทรศัพท์ หากเด็ก ๆ ไม่เคยได้ทดลองใช้ ก็จะไม่รู้เลยว่า ต้องยกหูโทรศัพท์ก่อน แล้วค่อยกดเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งหากเด็ก ๆ ได้เรียนรู้จากการพบเห็นและทดลองด้วยตัวเอง จะทำให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เวลาที่ออกมาโลกภายนอก ดังนั้นแม้เขาจะกลัวเรื่องความรับผิดชอบ หรือกลัวว่าเด็กจะได้รับอันตราย แต่ก็ถือว่าคุ้มที่จะได้ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับเด็ก ๆ
ขณะเดียวกัน ไม่ใช่เด็ก ๆ เท่านั้นที่จะได้เปิดโลกทัศน์ แม้แต่ครูสามารถเองก็ต้องสั่งสมประสบการณ์เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น ทุก ๆ วันเสาร์ ที่โรงเรียนหยุด เขาจะเดินทางไปเรียนหนังสือหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะนำประสบการณ์ที่เพิ่มเข้ามาไปป้อนให้ลูกศิษย์ตัวน้อยได้เรียนรู้ต่อไป
"ผมมองตัวเองว่า ผมทำงานที่นี่ ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นมืออาชีพ แต่ผมเต็มที่ในสิ่งที่ผมทำ มุ่งมั่นเพื่อเด็ก มุ่งมั่นที่จะเปิดโอกาสให้เด็กมากกว่าที่อยากจะเป็นครูมืออาชีพ" ครูสามารถ ยืนยัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่ง ก็ถึงวันปิดภาคเรียนที่เด็ก ๆ จะได้กลับไปช่วยอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน ครูสามารถก็ได้สอนให้เด็ก ๆ นำทักษะความรู้ที่ได้ปฏิบัติในโรงเรียนเรือนแพแห่งนี้ไปช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน พร้อมกับย้ำเตือนให้ทุกคนเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่
เมื่อครูสามารถสั่งสอนเสร็จสิ้น เขาก็ได้ส่งเด็ก ๆ ขึ้นเรือของผู้ปกครองที่มารับกลับบ้าน แล้วหันกลับไปล็อกประตูโรงเรียน ก่อนจะนั่งเรือมุ่งหน้ากลับบ้านของเขาเช่นกัน และอีกไม่นาน เขาก็จะกลับมาทำหน้าที่พ่อพิมพ์ของชาติผู้เติมเต็มโอกาสให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป เมื่อวันเปิดภาคเรียนใหม่มาถึง...
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุรภาพประกอบจาก Youtube.com โพสต์โดยคุณ karaba90
http://hilight.kapook.com/view/69658