ทศพนธ์ นรทัศน์ เรียบเรียง
thossaphol@ictforall.org
ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “ใต้เบื้องพระยุคลบาท” และ “ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน” ซึ่งรวมพิมพ์ปาฐกถาของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลในโอกาสต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาบางตอนให้แง่คิดต่อคนทำงานราชการ หรือทำงานอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนในฐานะที่เป็นข้าราชการคนหนึ่ง ที่มุ่งอุทิศตนทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนมาตลอดอายุราชการจนถึงบัดนี้ ก็ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ นานา ทั้งสุข ทั้งทุกข์ เมื่อได้อ่านปาฐกถาของท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล แล้วจึงได้แง่คิด เกิดกำลังใจในการทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป
จึงขอหยิบยกเนื้อหาบางตอนในหนังสือ “ใต้เบื้องพระยุคลบาท” (2553, หน้า 221-224) มานำเสนอต่อท่านผู้อ่าน เพื่อจะได้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานต่อไป ในหนังสือดังกล่าว ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า
“...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าความสุขจริงๆ หาได้จากเรื่องงานทั้งสิ้น แต่ความสนุกนั้นหาได้หลากหลาย ถ้าเราไม่ทำงานสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวเลยก็คือความตาย ความตายนั้นก็ยุติ งานก็ไม่ต้องทำ อันนั้นก็ไม่เป็นสิ่งปรารถนาสำหรับพวกเราเลย สิ่งต่างๆ พระพุทธเจ้าก็ได้รับสั่งไว้มีคำพระ ปุตตะ ฐานะ หมายความว่าจะต้องไป อย่านอนนิ่งเฉยๆ ถ้านอนนิ่งเฉยๆ นั่นคือทุกข์
เราเดินทางไปในการพัฒนาบุกตะลุยไปเรื่อยๆ นั้น ผลสุดท้ายก็คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าต่างๆ บางอย่างเราคิดว่าเราจะเป็นอย่างนั้นคงไม่จำเป็น อย่างตัวผมเองเป็นนักรัฐศาสตร์ นักการทูตด้วย ซึ่งไม่ควรจะอยู่สภาพัฒนาฯ เลยเพราะไม่มีทางโตได้ อยู่อย่างมีปมด้อยที่สุด แต่สาเหตุที่อยู่ได้คือได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ คือตอนนั้นไปสู้กับ ผกค. สู้โดยให้ทหารวางอาวุธ แล้วเอาเรื่องการพัฒนาต่างๆ ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของผู้คนรอบด้าน แต่เราเชื่อมั่น เพราะว่าตามประวัติที่ได้แนะนำไว้ ผมเรียนที่เวียดนาม จบที่ลาว เห็นประเทศชาติแตกมา 2 ชาติ เห็นว่าการพังทลายเป็นอย่างไร และข้ามมาลาวเพราะอยู่ไม่ได้ มาเรียนที่ลาว มาเรียนฝรั่งเศสที่นั่น เห็นลาวพังไปอีกประเทศหนึ่ง ผมก็เลยฝังหัวแต่ภาพนี้ ผมได้เป็นดอกเตอร์น่าจะไปเป็นทูต ผมกินนอนอยู่ที่นาแก เขาค้อ อยู่ที่สนามรบทั้งหมด 13 แห่งทั่วประเทศไทย แต่รบของผมไม่ได้หมายความว่ารบด้วยอาวุธ ผมนอนอยู่ในสนามรบ ผมแก้ไขปัญหาต่างๆ เอาชีวิตเข้าไปอุทิศเลยก็ว่าได้ แต่ผมมีความสุขอย่างที่สุด มีความสุขจริงๆ เพราะรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั้นมีจุดหมาย คือจะทำให้โดมิโนหยุด เพราะฉะนั้นต้องให้ก่อน และที่สำคัญคือไม่ต้องการเป็นคนอพยพ
ผมจำได้ พล.อ. เปรม เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ท่านดูผมหัวจรดเท้าเลย ดอกเตอร์บ้าๆ คนหนึ่งมาฟุ้งซ่านให้ฟังอีกแล้ว เพราะผมอาสาเข้าไปทำที่นาแก ปี 2517 ไม่มีข้าราชการคนใดเข้าไปเหยียบที่นั่น ก็บอกเขตปลดปล่อย ผมถามว่าใครปลดปล่อย ผกค.ปลดปล่อยหรือ เขามีอำนาจมีพลังถึงกับมายึดส่วนหนึ่งของแผ่นดินไป หรือแท้ที่จริงเราเองปลดปล่อยไปต่างหาก ตอนที่มี ผกค.เราไม่เข้าไป อย่างเวียดนามทำโดยการต้อนคนเข้าไปอยู่ในค่าย แล้วที่เหลือก็ปล่อย ปลดปล่อยไปหมดแล้ว เป็นอย่างไร พังคาตา ผมบอกไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เราต้องไปปลดปล่อยให้เกิดอิสรภาพขึ้นมาในพื้นที่นั้น ผมขออาสาไป เชื่อไหมว่าชีวิตผมตอนนั้นแขวนอยู่กับอะไรไม่รู้ ทีนี้ก็มีความกลัว แต่ก็มีความสุขที่ทำงาน เวลาเข้าไปรู้ว่ามันซุ่มอยู่ข้างหน้าก็เลยยิงเข้าไปข้างหน้า ความกลัวมีแต่ไม่ใช่ความขลาด ความกลัวมีเป็นจังหวะๆ แต่ว่าเราเข้าไปทำงานและมีความสุข ปิดทองหลังพระ แต่เราลงไปทำไปอุทิศจนประสบความสำเร็จ ชื่อเสียงไปอยู่ที่คนอื่นทั้งหมดแต่เราไม่แคร์ เรารู้อยู่แก่ใจว่าเราทำ เรื่องราวเปิดเผยมาแล้วจากที่งานสำเร็จไปแล้วในช่วงระยะหลังหลายปี จึงได้รู้ว่ามีคนกลุ่มหนึ่งคือพวกเรา
ผมถูกยิง 2 ครั้งด้วยกัน เฮลิคอปเตอร์ตก 2 ครั้ง ไม่เคยเป็นข่าวเลย ตอนที่เฮลิคอปเตอร์รองแม่ทำเลิศตกนั้น ตายไปหลายคน ชื่อเบอร์หนึ่งที่อยู่ใน ฮ.ลำนั้นคือผมเอง แต่ผมไม่ยอมไป มีอะไรไม่รู้มาสะกิดใจผมไม่ให้ไป ปฏิเสธแล้วปฏิเสธอีก วันประชุมก็ชี้แล้วชี้อีกให้ผมไป จะต้องไปให้ได้เพราะเป็นผู้รับผิดชอบการวางแผน มีเสียงจากข้างหลังแว่วมาว่าให้บอกไปว่าติดงานพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งบัดนี้ผมก็ไม่รู้ว่าเสียงนั้นแว่วมาจากไหน ผมก็บอกที่ประชุมว่าติดงานพระเจ้าอยู่หัว ก็เลยเอาชื่อผมออก แล้วเอาลูกน้องผมไปนั่งแทนได้ชื่อไว้เรียบร้อย พอแล่นกลับมาที่ทำงาน อีก 5 นาทีจะถึงสภาพัฒน์ ผมบอกพรุ่งนี้คุณไม่ต้องไป เขาบอกคำสั่ง กอ.รมน.ออกแล้ว ผมบอกผมรับผิดชอบ คุณไม่ต้องไป เสร็จแล้วตายหมดทั้งลำ ต้องมากราบพระบาท เพราะวันนั้นโกหกไปว่าติดงานพระเจ้าอยู่หัว แท้ที่จริงไม่มีงานอะไรเลยที่เกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัว ก็เลยกราบพระบาทเพราะบารมีทำให้ข้าพระพุทธเจ้ารอด ไม่ใช่ครั้งหนึ่ง 3-4 ครั้งด้วยกัน เพราะว่าทำแล้วเรามีจิตมุ่งมั่นแล้วเราไม่สนใจเลย
ถ้าพูดถึงยศตำแหน่งแล้วต้องมีความอดทนที่จะรอผลอันนั้นอย่าไปพะวง สุดท้ายพอตำแหน่งผู้ช่วยฯ ว่าง ผมก็ขึ้นมาโดยไม่มีใครปฏิเสธเลย ขณะที่คนอื่นได้ 2 ขั้นปีเว้นปี ผม 10 ปีไม่เคยได้ 2 ขั้นเลย เพราะฉะนั้นอย่าไปห่วงอย่าไปกังวล อะไรที่เป็นของเราย่อมเป็นของเรา อะไรที่ไม่ใช่ของเราให้คุณวิ่งอย่างไรมันก็ไม่ใช้ของเรา ใช้หลักพระพุทธเจ้าไปจับ ผมคิดว่าความสุขมีได้
...อย่างที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง มีอะไรที่จะให้กับสังคมได้นั้น ผมคิดว่าเราต้องทำ แล้วผลสุดท้ายเราก็เป็นคนที่ได้รับ ประเทศชาติจะอยู่ได้อย่างมีความสุขและคุณก็มีความสุขด้วย ถ้าหากทุกคนเห็นแก่ตัว ผมว่าทุกข์กันหมด...”
ดร.สุเมธฯ (2553, หน้า 35) ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยรับสั่งกับท่านครั้งหนึ่งว่า “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น”
ในการทำงานนั้น ดร.สุเมธฯ (2553, หน้า 241) ได้กล่าวว่า “...การปิดทองหลังพระเขาเห็นทั้งนั้นไม่ช้าก็เร็ว ถ้าจิตไม่ขลุกอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ทำงานก็จะสนุกและมีความสุข เป็นสิ่งที่สำคัญมาก”
ของขวัญพระราชทานไว้สู้กับยามวิกฤต
ดร.สุเมธฯ ได้กล่าวในหนังสือ “ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน” (2556, หน้า 95) ความว่า “ชีวิตทุกคนมีทุกข์สุข คนเราเป็นอย่างนี้ขอให้ดูเป็นเรื่องธรรมดา ความทุกข์ ความสุข วิกฤต สงบ ตื่นเต้น ทุกข์ใจ เป็นธรรมดา พกอาวุธอย่างหนึ่งไว้ยามที่ชีวิตเจอวิกฤตที่สุด วันหนึ่งผมมีความทุกข์มากเพราะทำงานชิ้นหนึ่งไม่สำเร็จ นั่งคอตก หมดพละกำลังแรงใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ถ้าจะใช้คำสามัญทรงเป็นนายที่ดี ทรงเห็นผมทุกข์อยู่ ทรงพระดำเนินมาและไม่ทรงถามสักคำว่าผมทุกข์เรื่องอะไร รับสั่งกับผมว่าไปหาเหล็กให้ฉันก้อนหนึ่งได้หรือไม่ เหล็กธรรมดา เศษเหล็กอะไรก็ได้ ราคา 20-30 บาทก็ได้ ทรงถามผมว่าได้เหล็กมารู้หรือไม่ว่าฉันอยากทำอะไร ต้องนำเหล็กไปเผา ถ้าตัวเราถูกเผาอย่างนั้น แล้วจะทรมานหรือไม่ เมื่อเผาแล้วนำมาทุบมาตี พระองค์ทรงถามว่า ถ้าเราถูกทุบถูกตีอย่างนั้นจะเจ็บปวดหรือไม่ กว่าจะเป็นมีดดาบถูกเผากี่ครั้ง ถูกทุบกี่ครั้งกว่าจะจบสิ้นยาวนานมาก ทรมานอยู่อย่างนั้น แต่ผลสุดท้ายเป็นดาบใช่หรือไม่ พอเป็นดาบแล้วสวยหรือไม่ ใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ แต่ถ้าใช้ไม่ดีก็บาดมือเราได้นะ ถ้าเราทำฝักให้สวยๆ ทำด้ามสวยๆ ราคา 20-30 บาท เหมือนราคาเหล็กก้อนเดิมหรือไม่ กลายเป็นดาบที่มีราคาสูงขึ้นมามากมาย จำไว้ว่าใครผู้ใดก็ตามในชีวิตไม่เคยถูกเผา ไม่เคยถูกทุบเหมือนเหล็กชิ้นนั้น ทำงานใหญ่ให้กับแผ่นดินไม่ได้
ขอให้รับใส่เกล้าไว้ทุกคน ยามชีวิตเจอวิกฤตนั้นให้นึกถึงเรื่องนี้ เจอวิกฤตอย่างไรให้คิดเสียว่าเรากำลังถูกเผาถูกทุบ ขอเพิ่มเติมว่า เมื่อเป็นมีดดาบเมื่อใดก็ให้ใช้ฝ่าฟันปัญหาที่ขวางหน้าให้เรียบไปเลย...”
นี่คือข้อคิดดีๆ เพื่อการทำงานของทุกๆ คน โดยเฉพาะคนที่รับราชการ หากเรามีเป้าหมายในการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้งแล้ว ความสุข ความสำเร็จ ชื่อเสียง เกรียรติยศก็จะมาหาท่านเอง ไม่ช้าก็เร็ว ดังเช่นที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้เล่าไว้ และพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว
ที่มา:
http://servicelink2.moj.go.th/nakhonpathom/administrator/images/news/1847.jpeg
เกี่ยวกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
(ที่มา:
http://th.wikipedia.org/wiki/สุเมธ_ตันติเวชกุล)
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนาย อารีย์ ตันติเวชกุล อดีต ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ท่านผู้หญิง ประสานสุข ตันติเวชกุล ต้นเครื่องพระกระยาหารไทยในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมรสกับคุณหญิง จินตนา ตันติเวชกุล อาจารย์ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การศึกษา
วชิราวุธวิทยาลัย
ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองแปลลิเย (Université de Montpellier) ประเทศฝรั่งเศส
ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23
การทำงาน
พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
พ.ศ. 2540-2542 กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
พ.ศ. 2548-2554 นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ(กยน.)และ คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.)
ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
รางวัลเกียรติคุณ
รางวัลบุคคลตัวอย่างประจำปี 2537
รางวัลผู้บริหารราชการ ดีเด่น ประจำปี 2538
รางวัลบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
รางวัลบุคคล ดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541
ฯลฯ
หนังสือที่แต่ง
ใต้เบื้องพระยุคลบาท,2543
หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท,2549
ข้าแผ่นดินสอนลูก,2549
ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน, 2556
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2545 - Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
พ.ศ. 2537 - Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2534 - Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2548 - Order of the Direkgunabhorn 1st class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
พ.ศ. 2543 - King Rama IX Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3
ข้อคิดดีๆ เพื่อการทำงาน ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ทศพนธ์ นรทัศน์ เรียบเรียง
thossaphol@ictforall.org
ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “ใต้เบื้องพระยุคลบาท” และ “ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน” ซึ่งรวมพิมพ์ปาฐกถาของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลในโอกาสต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาบางตอนให้แง่คิดต่อคนทำงานราชการ หรือทำงานอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนในฐานะที่เป็นข้าราชการคนหนึ่ง ที่มุ่งอุทิศตนทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนมาตลอดอายุราชการจนถึงบัดนี้ ก็ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ นานา ทั้งสุข ทั้งทุกข์ เมื่อได้อ่านปาฐกถาของท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล แล้วจึงได้แง่คิด เกิดกำลังใจในการทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป
จึงขอหยิบยกเนื้อหาบางตอนในหนังสือ “ใต้เบื้องพระยุคลบาท” (2553, หน้า 221-224) มานำเสนอต่อท่านผู้อ่าน เพื่อจะได้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานต่อไป ในหนังสือดังกล่าว ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า
“...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าความสุขจริงๆ หาได้จากเรื่องงานทั้งสิ้น แต่ความสนุกนั้นหาได้หลากหลาย ถ้าเราไม่ทำงานสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวเลยก็คือความตาย ความตายนั้นก็ยุติ งานก็ไม่ต้องทำ อันนั้นก็ไม่เป็นสิ่งปรารถนาสำหรับพวกเราเลย สิ่งต่างๆ พระพุทธเจ้าก็ได้รับสั่งไว้มีคำพระ ปุตตะ ฐานะ หมายความว่าจะต้องไป อย่านอนนิ่งเฉยๆ ถ้านอนนิ่งเฉยๆ นั่นคือทุกข์
เราเดินทางไปในการพัฒนาบุกตะลุยไปเรื่อยๆ นั้น ผลสุดท้ายก็คือเรื่องความเจริญก้าวหน้าต่างๆ บางอย่างเราคิดว่าเราจะเป็นอย่างนั้นคงไม่จำเป็น อย่างตัวผมเองเป็นนักรัฐศาสตร์ นักการทูตด้วย ซึ่งไม่ควรจะอยู่สภาพัฒนาฯ เลยเพราะไม่มีทางโตได้ อยู่อย่างมีปมด้อยที่สุด แต่สาเหตุที่อยู่ได้คือได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ คือตอนนั้นไปสู้กับ ผกค. สู้โดยให้ทหารวางอาวุธ แล้วเอาเรื่องการพัฒนาต่างๆ ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของผู้คนรอบด้าน แต่เราเชื่อมั่น เพราะว่าตามประวัติที่ได้แนะนำไว้ ผมเรียนที่เวียดนาม จบที่ลาว เห็นประเทศชาติแตกมา 2 ชาติ เห็นว่าการพังทลายเป็นอย่างไร และข้ามมาลาวเพราะอยู่ไม่ได้ มาเรียนที่ลาว มาเรียนฝรั่งเศสที่นั่น เห็นลาวพังไปอีกประเทศหนึ่ง ผมก็เลยฝังหัวแต่ภาพนี้ ผมได้เป็นดอกเตอร์น่าจะไปเป็นทูต ผมกินนอนอยู่ที่นาแก เขาค้อ อยู่ที่สนามรบทั้งหมด 13 แห่งทั่วประเทศไทย แต่รบของผมไม่ได้หมายความว่ารบด้วยอาวุธ ผมนอนอยู่ในสนามรบ ผมแก้ไขปัญหาต่างๆ เอาชีวิตเข้าไปอุทิศเลยก็ว่าได้ แต่ผมมีความสุขอย่างที่สุด มีความสุขจริงๆ เพราะรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั้นมีจุดหมาย คือจะทำให้โดมิโนหยุด เพราะฉะนั้นต้องให้ก่อน และที่สำคัญคือไม่ต้องการเป็นคนอพยพ
ผมจำได้ พล.อ. เปรม เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ท่านดูผมหัวจรดเท้าเลย ดอกเตอร์บ้าๆ คนหนึ่งมาฟุ้งซ่านให้ฟังอีกแล้ว เพราะผมอาสาเข้าไปทำที่นาแก ปี 2517 ไม่มีข้าราชการคนใดเข้าไปเหยียบที่นั่น ก็บอกเขตปลดปล่อย ผมถามว่าใครปลดปล่อย ผกค.ปลดปล่อยหรือ เขามีอำนาจมีพลังถึงกับมายึดส่วนหนึ่งของแผ่นดินไป หรือแท้ที่จริงเราเองปลดปล่อยไปต่างหาก ตอนที่มี ผกค.เราไม่เข้าไป อย่างเวียดนามทำโดยการต้อนคนเข้าไปอยู่ในค่าย แล้วที่เหลือก็ปล่อย ปลดปล่อยไปหมดแล้ว เป็นอย่างไร พังคาตา ผมบอกไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เราต้องไปปลดปล่อยให้เกิดอิสรภาพขึ้นมาในพื้นที่นั้น ผมขออาสาไป เชื่อไหมว่าชีวิตผมตอนนั้นแขวนอยู่กับอะไรไม่รู้ ทีนี้ก็มีความกลัว แต่ก็มีความสุขที่ทำงาน เวลาเข้าไปรู้ว่ามันซุ่มอยู่ข้างหน้าก็เลยยิงเข้าไปข้างหน้า ความกลัวมีแต่ไม่ใช่ความขลาด ความกลัวมีเป็นจังหวะๆ แต่ว่าเราเข้าไปทำงานและมีความสุข ปิดทองหลังพระ แต่เราลงไปทำไปอุทิศจนประสบความสำเร็จ ชื่อเสียงไปอยู่ที่คนอื่นทั้งหมดแต่เราไม่แคร์ เรารู้อยู่แก่ใจว่าเราทำ เรื่องราวเปิดเผยมาแล้วจากที่งานสำเร็จไปแล้วในช่วงระยะหลังหลายปี จึงได้รู้ว่ามีคนกลุ่มหนึ่งคือพวกเรา
ผมถูกยิง 2 ครั้งด้วยกัน เฮลิคอปเตอร์ตก 2 ครั้ง ไม่เคยเป็นข่าวเลย ตอนที่เฮลิคอปเตอร์รองแม่ทำเลิศตกนั้น ตายไปหลายคน ชื่อเบอร์หนึ่งที่อยู่ใน ฮ.ลำนั้นคือผมเอง แต่ผมไม่ยอมไป มีอะไรไม่รู้มาสะกิดใจผมไม่ให้ไป ปฏิเสธแล้วปฏิเสธอีก วันประชุมก็ชี้แล้วชี้อีกให้ผมไป จะต้องไปให้ได้เพราะเป็นผู้รับผิดชอบการวางแผน มีเสียงจากข้างหลังแว่วมาว่าให้บอกไปว่าติดงานพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งบัดนี้ผมก็ไม่รู้ว่าเสียงนั้นแว่วมาจากไหน ผมก็บอกที่ประชุมว่าติดงานพระเจ้าอยู่หัว ก็เลยเอาชื่อผมออก แล้วเอาลูกน้องผมไปนั่งแทนได้ชื่อไว้เรียบร้อย พอแล่นกลับมาที่ทำงาน อีก 5 นาทีจะถึงสภาพัฒน์ ผมบอกพรุ่งนี้คุณไม่ต้องไป เขาบอกคำสั่ง กอ.รมน.ออกแล้ว ผมบอกผมรับผิดชอบ คุณไม่ต้องไป เสร็จแล้วตายหมดทั้งลำ ต้องมากราบพระบาท เพราะวันนั้นโกหกไปว่าติดงานพระเจ้าอยู่หัว แท้ที่จริงไม่มีงานอะไรเลยที่เกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัว ก็เลยกราบพระบาทเพราะบารมีทำให้ข้าพระพุทธเจ้ารอด ไม่ใช่ครั้งหนึ่ง 3-4 ครั้งด้วยกัน เพราะว่าทำแล้วเรามีจิตมุ่งมั่นแล้วเราไม่สนใจเลย
ถ้าพูดถึงยศตำแหน่งแล้วต้องมีความอดทนที่จะรอผลอันนั้นอย่าไปพะวง สุดท้ายพอตำแหน่งผู้ช่วยฯ ว่าง ผมก็ขึ้นมาโดยไม่มีใครปฏิเสธเลย ขณะที่คนอื่นได้ 2 ขั้นปีเว้นปี ผม 10 ปีไม่เคยได้ 2 ขั้นเลย เพราะฉะนั้นอย่าไปห่วงอย่าไปกังวล อะไรที่เป็นของเราย่อมเป็นของเรา อะไรที่ไม่ใช่ของเราให้คุณวิ่งอย่างไรมันก็ไม่ใช้ของเรา ใช้หลักพระพุทธเจ้าไปจับ ผมคิดว่าความสุขมีได้
...อย่างที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง มีอะไรที่จะให้กับสังคมได้นั้น ผมคิดว่าเราต้องทำ แล้วผลสุดท้ายเราก็เป็นคนที่ได้รับ ประเทศชาติจะอยู่ได้อย่างมีความสุขและคุณก็มีความสุขด้วย ถ้าหากทุกคนเห็นแก่ตัว ผมว่าทุกข์กันหมด...”
ดร.สุเมธฯ (2553, หน้า 35) ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยรับสั่งกับท่านครั้งหนึ่งว่า “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น”
ในการทำงานนั้น ดร.สุเมธฯ (2553, หน้า 241) ได้กล่าวว่า “...การปิดทองหลังพระเขาเห็นทั้งนั้นไม่ช้าก็เร็ว ถ้าจิตไม่ขลุกอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ทำงานก็จะสนุกและมีความสุข เป็นสิ่งที่สำคัญมาก”
ของขวัญพระราชทานไว้สู้กับยามวิกฤต
ดร.สุเมธฯ ได้กล่าวในหนังสือ “ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน” (2556, หน้า 95) ความว่า “ชีวิตทุกคนมีทุกข์สุข คนเราเป็นอย่างนี้ขอให้ดูเป็นเรื่องธรรมดา ความทุกข์ ความสุข วิกฤต สงบ ตื่นเต้น ทุกข์ใจ เป็นธรรมดา พกอาวุธอย่างหนึ่งไว้ยามที่ชีวิตเจอวิกฤตที่สุด วันหนึ่งผมมีความทุกข์มากเพราะทำงานชิ้นหนึ่งไม่สำเร็จ นั่งคอตก หมดพละกำลังแรงใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ถ้าจะใช้คำสามัญทรงเป็นนายที่ดี ทรงเห็นผมทุกข์อยู่ ทรงพระดำเนินมาและไม่ทรงถามสักคำว่าผมทุกข์เรื่องอะไร รับสั่งกับผมว่าไปหาเหล็กให้ฉันก้อนหนึ่งได้หรือไม่ เหล็กธรรมดา เศษเหล็กอะไรก็ได้ ราคา 20-30 บาทก็ได้ ทรงถามผมว่าได้เหล็กมารู้หรือไม่ว่าฉันอยากทำอะไร ต้องนำเหล็กไปเผา ถ้าตัวเราถูกเผาอย่างนั้น แล้วจะทรมานหรือไม่ เมื่อเผาแล้วนำมาทุบมาตี พระองค์ทรงถามว่า ถ้าเราถูกทุบถูกตีอย่างนั้นจะเจ็บปวดหรือไม่ กว่าจะเป็นมีดดาบถูกเผากี่ครั้ง ถูกทุบกี่ครั้งกว่าจะจบสิ้นยาวนานมาก ทรมานอยู่อย่างนั้น แต่ผลสุดท้ายเป็นดาบใช่หรือไม่ พอเป็นดาบแล้วสวยหรือไม่ ใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ แต่ถ้าใช้ไม่ดีก็บาดมือเราได้นะ ถ้าเราทำฝักให้สวยๆ ทำด้ามสวยๆ ราคา 20-30 บาท เหมือนราคาเหล็กก้อนเดิมหรือไม่ กลายเป็นดาบที่มีราคาสูงขึ้นมามากมาย จำไว้ว่าใครผู้ใดก็ตามในชีวิตไม่เคยถูกเผา ไม่เคยถูกทุบเหมือนเหล็กชิ้นนั้น ทำงานใหญ่ให้กับแผ่นดินไม่ได้
ขอให้รับใส่เกล้าไว้ทุกคน ยามชีวิตเจอวิกฤตนั้นให้นึกถึงเรื่องนี้ เจอวิกฤตอย่างไรให้คิดเสียว่าเรากำลังถูกเผาถูกทุบ ขอเพิ่มเติมว่า เมื่อเป็นมีดดาบเมื่อใดก็ให้ใช้ฝ่าฟันปัญหาที่ขวางหน้าให้เรียบไปเลย...”
นี่คือข้อคิดดีๆ เพื่อการทำงานของทุกๆ คน โดยเฉพาะคนที่รับราชการ หากเรามีเป้าหมายในการทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้งแล้ว ความสุข ความสำเร็จ ชื่อเสียง เกรียรติยศก็จะมาหาท่านเอง ไม่ช้าก็เร็ว ดังเช่นที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้เล่าไว้ และพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว
ที่มา: http://servicelink2.moj.go.th/nakhonpathom/administrator/images/news/1847.jpeg
เกี่ยวกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
(ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/สุเมธ_ตันติเวชกุล)
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนาย อารีย์ ตันติเวชกุล อดีต ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา 5 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ท่านผู้หญิง ประสานสุข ตันติเวชกุล ต้นเครื่องพระกระยาหารไทยในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมรสกับคุณหญิง จินตนา ตันติเวชกุล อาจารย์ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การศึกษา
วชิราวุธวิทยาลัย
ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองแปลลิเย (Université de Montpellier) ประเทศฝรั่งเศส
ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23
การทำงาน
พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)
พ.ศ. 2540-2542 กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
พ.ศ. 2548-2554 นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ(กยน.)และ คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.)
ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
รางวัลเกียรติคุณ
รางวัลบุคคลตัวอย่างประจำปี 2537
รางวัลผู้บริหารราชการ ดีเด่น ประจำปี 2538
รางวัลบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
รางวัลบุคคล ดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541
ฯลฯ
หนังสือที่แต่ง
ใต้เบื้องพระยุคลบาท,2543
หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท,2549
ข้าแผ่นดินสอนลูก,2549
ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน, 2556
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2545 - Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
พ.ศ. 2537 - Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2534 - Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2548 - Order of the Direkgunabhorn 1st class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
พ.ศ. 2543 - King Rama IX Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3