RTADs....ทัพฟ้า แจงเหตุ ทำไมเรด้าร์ทหาร ไม่อาจตรวจพบ MH 370 ??
กองทัพอากาศ ยัน เรด้าร์ทอ. ตรวจพบ MH 370 ครั้งแรกและเป็นครั้งสุดท้าย วันที่ขึ้นบินจาก “กัวลาลัมเปอร์” เท่านั้น ที่ปลายสุดของเรด้าร์ ที่หาดใหญ่ พอดี แต่จากนั้น ไม่มีการตรวจพบว่า เครื่องลำนี้บินเข้ามา เผย วิทยุการบิน ก็ไม่ได้แจ้ง เพราะถ้าแปลกปลอมเข้ามา ก็ต้องเข้าระบบสกัดกั้น เครื่องรบเตรียมพร้อม แสดงว่า อาจไม่ได้บินเข้ามาในเขตประเทศไทย จึงตรวจไม่พบ ยันสมรรถนะเรด้าร์ ทอ.ไทย สมบูรณ์
กองทัพอากาศ ยืนยันว่า ระบบเรด้าร์ของกองทัพอากาศ ไม่มีข้อมูลการตรวจพบ เครื่องบิน Malaysia Airlines MH-370 ที่ทางการมาเลเซีย อ้างว่า ได้เปลี่ยนเส้นทางการบิน กลับมาผ่านทางตอนเหนือของประเทศไทย ไปทางคาซัคสถาน
“ข้อมูลที่ ปลายสุดของระบบเรด้าร์ที่ หาดใหญ่ของกองทัพอากาศเรา ตรวจพบคือ วันที่ MH 370 ขึ้นบิน ออกจากสนามบิน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย ครั้งเดียวเท่านั้น นั่นเป็นครั้งแรกและสุดท้าย ที่เราเห็น MH370 ซึ่งเราได้ส่งข้อมูลให้มาเลเซีย ตามที่ร้องขอไปแล้ว” พล.อ.ท.มณฑล สัฌชุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าว
โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า สาเหตุที่ ระบบเรด้าร์ของทอ. ตรวจไม่พบ นั้น ต้องถามว่า เครื่องบินลำนี้ บินเข้ามาในเขตพื้นที่เรด้าร์ คือในเขตประเทศไทย จริงหรือไม่ เพราะถ้าผ่านเข้ามาจริง ระบบเรด้าร์ของเราที่มี ๒๔ ชม. จะต้องตรวจพบ อย่างแน่นอน
ที่สำคัญ หากเครื่องบินนี้บินเข้ามาจริง ทางวิทยุการบิน จะต้องแจ้งทางกองทัพอากาศ แล้วว่า มีเครื่องบินที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้บินผ่าน หรือ เป็นเครื่องบินแปลกปลอมเข้ามา เมื่อนั้น กองทัพอากาศก็จะเข้าสู่ระบบ การบินสกัดกั้น ที่เชื่อมโยงกับกับแต่ละกองบิน ที่มีเครื่องบินรบ Alert อยู่พร้อมขึ้นบิน Intercept ได้ทันที
“แต่แม้ วิทยุการบิน ไม่ได้แจ้งเข้ามา แต่ถ้ามีเครื่องบินที่แปลกปลอม เข้ามา ทอ.ก็จะต้องตรวจจับได้ เพราะเรามีเรด้าร์ ตรวจจับตลอด ๒๔ ชม.”
พล.อ.ท.มณฑล กล่าวว่า ดังนั้น จะต้องมีข้อมูลที่แน่ชัดก่อนว่า เครื่องบินลำนี้ บินผ่านในเขตประเทศไทย หรือไม่ เพราะถ้าบินนอกเขตประเทศไทย เรด้าร์เราก็ไม่สามารถไปตรวจจับได้ไกลขนาดเลยนอกประเทศไทยไป นี่เป็นแค่ข้อสันนิษฐานของทางการมาเลเซีย เท่านั้น
“ทอ.ยืนยันในสมรรถภาพของ ระบบเรด้าร์ของทอ.ไทย ที่มีอยู่ทั่วประเทศ อย่าเพิ่งไปวิจารณ์ว่า ตรวจจับได้หรือไม่ได้ แต่ถามว่า เครื่องบินลำนี้บินเข้ามาจริงหรือไม่ “ โฆษกทอ. กล่าว
ทั้งนี้มีรายงานว่า โดยปกติ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ หรือ Royal Thai AirForces Defense Systems นั้น มีอยู่ทุกจุดสำคัญ ทั่วประเทศ โดยในเวลากลางวัน จะใช้เรด้าร์ แบบ Primary แต่ในเวลากลางคืนจะใช้ เรด้าร์ Secondary หรือ ในกรณีที่ไม่มีการแจ้งเตือนมาให้ระวัง หรือรับสถานการณ์ใด แต่กระนั้นต่อให้เป็น เรด้าร์ secondary ถ้าเครื่องบินนี้ ถูกปิดระบบการสื่อสาร ทั้งหมด แล้วบินเข้ามา เรด้าร์ของทอ.ก็ต้องตรวจพบ แน่นอน แต่เมื่อเกิดกรณีของ MH370 ทำให้ถูกสงสัยว่า ทำไมเรด้าร์ทหารตรวตจับไม่ได้
รายละเอียดของ RTADS มีดังนี้
ระบบ RTADS ประกอบด้วย
1. ศูนย์ยุทธการทางอากาศ (AOC) หรือ ศยอ. 1 ศูนย์ ตั้งอยู่ที่กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ (คปอ.บยอ.) ดอนเมือง กรุงเทพฯ
2. RTADS เฟสที่ 1
2.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (SOC) 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
2.2 สถานีรายงาน (RP) 4 สถานี คือ สร.เขาเขียว (นครนายก), สร.บ้านเพ (ระยอง), สร.เขาพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และ สร.อุบลฯ
2.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล (data-link) แบบ TADIL-A (Tactical Digital Information Link-A) หรือ Link-11A ตั้งอยู่ที่ ศคปอ.กรุงเทพฯ
3. RTADS เฟสที่ 2
3.1 ศูนย์ควบคุมและรายงาน (CRC) 1 ศูนย์ คือ ศคร.ดอยอินทนนท์ (เชียงใหม่)
3.2 สถานีรายงาน 5 สถานี คือ สร.เขาใหญ่ (กาญจนบุรี), สร.พิษณุโลก, สร.ภูหมันขาว (เลย), สร.อุดรฯ และ สร.ภูเขียว (สกลนคร)
4. RTADS เฟสที่ 3
4.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.สุราษฎร์ธานี
4.2 สถานีรายงาน 3 สถานี คือ สร.สมุย (สุราษฎร์ธานี), สร.ภูเก็ต และ สร.หาดใหญ่ (เขาวังชิง สงขลา)
4.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล แบบ TADIL-A ตั้งอยู่ที่ สร.สมุย และ สร.ภูเก็ต
(ข้อมูล ขอขอบคุณคุณ rinsc_seaver.... รูปนี้ เป็นการคาดคะเนระยะตรวจจับของเรด้าร์คร่าว ๆ ไม่แนะนำให้เอาไปอ้างอิง)
ทัพฟ้า แจงเหตุ ทำไมเรด้าร์ทหาร ไม่อาจตรวจพบ MH 370 ??
กองทัพอากาศ ยัน เรด้าร์ทอ. ตรวจพบ MH 370 ครั้งแรกและเป็นครั้งสุดท้าย วันที่ขึ้นบินจาก “กัวลาลัมเปอร์” เท่านั้น ที่ปลายสุดของเรด้าร์ ที่หาดใหญ่ พอดี แต่จากนั้น ไม่มีการตรวจพบว่า เครื่องลำนี้บินเข้ามา เผย วิทยุการบิน ก็ไม่ได้แจ้ง เพราะถ้าแปลกปลอมเข้ามา ก็ต้องเข้าระบบสกัดกั้น เครื่องรบเตรียมพร้อม แสดงว่า อาจไม่ได้บินเข้ามาในเขตประเทศไทย จึงตรวจไม่พบ ยันสมรรถนะเรด้าร์ ทอ.ไทย สมบูรณ์
กองทัพอากาศ ยืนยันว่า ระบบเรด้าร์ของกองทัพอากาศ ไม่มีข้อมูลการตรวจพบ เครื่องบิน Malaysia Airlines MH-370 ที่ทางการมาเลเซีย อ้างว่า ได้เปลี่ยนเส้นทางการบิน กลับมาผ่านทางตอนเหนือของประเทศไทย ไปทางคาซัคสถาน
“ข้อมูลที่ ปลายสุดของระบบเรด้าร์ที่ หาดใหญ่ของกองทัพอากาศเรา ตรวจพบคือ วันที่ MH 370 ขึ้นบิน ออกจากสนามบิน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย ครั้งเดียวเท่านั้น นั่นเป็นครั้งแรกและสุดท้าย ที่เราเห็น MH370 ซึ่งเราได้ส่งข้อมูลให้มาเลเซีย ตามที่ร้องขอไปแล้ว” พล.อ.ท.มณฑล สัฌชุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าว
โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า สาเหตุที่ ระบบเรด้าร์ของทอ. ตรวจไม่พบ นั้น ต้องถามว่า เครื่องบินลำนี้ บินเข้ามาในเขตพื้นที่เรด้าร์ คือในเขตประเทศไทย จริงหรือไม่ เพราะถ้าผ่านเข้ามาจริง ระบบเรด้าร์ของเราที่มี ๒๔ ชม. จะต้องตรวจพบ อย่างแน่นอน
ที่สำคัญ หากเครื่องบินนี้บินเข้ามาจริง ทางวิทยุการบิน จะต้องแจ้งทางกองทัพอากาศ แล้วว่า มีเครื่องบินที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้บินผ่าน หรือ เป็นเครื่องบินแปลกปลอมเข้ามา เมื่อนั้น กองทัพอากาศก็จะเข้าสู่ระบบ การบินสกัดกั้น ที่เชื่อมโยงกับกับแต่ละกองบิน ที่มีเครื่องบินรบ Alert อยู่พร้อมขึ้นบิน Intercept ได้ทันที
“แต่แม้ วิทยุการบิน ไม่ได้แจ้งเข้ามา แต่ถ้ามีเครื่องบินที่แปลกปลอม เข้ามา ทอ.ก็จะต้องตรวจจับได้ เพราะเรามีเรด้าร์ ตรวจจับตลอด ๒๔ ชม.”
พล.อ.ท.มณฑล กล่าวว่า ดังนั้น จะต้องมีข้อมูลที่แน่ชัดก่อนว่า เครื่องบินลำนี้ บินผ่านในเขตประเทศไทย หรือไม่ เพราะถ้าบินนอกเขตประเทศไทย เรด้าร์เราก็ไม่สามารถไปตรวจจับได้ไกลขนาดเลยนอกประเทศไทยไป นี่เป็นแค่ข้อสันนิษฐานของทางการมาเลเซีย เท่านั้น
“ทอ.ยืนยันในสมรรถภาพของ ระบบเรด้าร์ของทอ.ไทย ที่มีอยู่ทั่วประเทศ อย่าเพิ่งไปวิจารณ์ว่า ตรวจจับได้หรือไม่ได้ แต่ถามว่า เครื่องบินลำนี้บินเข้ามาจริงหรือไม่ “ โฆษกทอ. กล่าว
ทั้งนี้มีรายงานว่า โดยปกติ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ หรือ Royal Thai AirForces Defense Systems นั้น มีอยู่ทุกจุดสำคัญ ทั่วประเทศ โดยในเวลากลางวัน จะใช้เรด้าร์ แบบ Primary แต่ในเวลากลางคืนจะใช้ เรด้าร์ Secondary หรือ ในกรณีที่ไม่มีการแจ้งเตือนมาให้ระวัง หรือรับสถานการณ์ใด แต่กระนั้นต่อให้เป็น เรด้าร์ secondary ถ้าเครื่องบินนี้ ถูกปิดระบบการสื่อสาร ทั้งหมด แล้วบินเข้ามา เรด้าร์ของทอ.ก็ต้องตรวจพบ แน่นอน แต่เมื่อเกิดกรณีของ MH370 ทำให้ถูกสงสัยว่า ทำไมเรด้าร์ทหารตรวตจับไม่ได้
ระบบ RTADS ประกอบด้วย
1. ศูนย์ยุทธการทางอากาศ (AOC) หรือ ศยอ. 1 ศูนย์ ตั้งอยู่ที่กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ (คปอ.บยอ.) ดอนเมือง กรุงเทพฯ
2. RTADS เฟสที่ 1
2.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (SOC) 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
2.2 สถานีรายงาน (RP) 4 สถานี คือ สร.เขาเขียว (นครนายก), สร.บ้านเพ (ระยอง), สร.เขาพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และ สร.อุบลฯ
2.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล (data-link) แบบ TADIL-A (Tactical Digital Information Link-A) หรือ Link-11A ตั้งอยู่ที่ ศคปอ.กรุงเทพฯ
3. RTADS เฟสที่ 2
3.1 ศูนย์ควบคุมและรายงาน (CRC) 1 ศูนย์ คือ ศคร.ดอยอินทนนท์ (เชียงใหม่)
3.2 สถานีรายงาน 5 สถานี คือ สร.เขาใหญ่ (กาญจนบุรี), สร.พิษณุโลก, สร.ภูหมันขาว (เลย), สร.อุดรฯ และ สร.ภูเขียว (สกลนคร)
4. RTADS เฟสที่ 3
4.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.สุราษฎร์ธานี
4.2 สถานีรายงาน 3 สถานี คือ สร.สมุย (สุราษฎร์ธานี), สร.ภูเก็ต และ สร.หาดใหญ่ (เขาวังชิง สงขลา)
4.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล แบบ TADIL-A ตั้งอยู่ที่ สร.สมุย และ สร.ภูเก็ต
(ข้อมูล ขอขอบคุณคุณ rinsc_seaver.... รูปนี้ เป็นการคาดคะเนระยะตรวจจับของเรด้าร์คร่าว ๆ ไม่แนะนำให้เอาไปอ้างอิง)