จากเรื่องปัญหาสัญญาณช่อง 52 ที่ตึกใบหยกนั้น ประเทศอังกฤษที่ใช้ทีวีดิจิตอลก่อนนั้น มีที่ไหนที่ใช้คลื่นช่องสูงๆ แบบไทยไหม

จากเรื่องปัญหาสัญญาณช่อง 52 ที่ตึกใบหยกนั้น ประเทศอังกฤษที่ใช้ทีวีดิจิตอลก่อนนั้น มีที่ไหนที่ใช้คลื่นช่องสูงๆ แบบไทยไหม เพราะถ้าที่อังกฤษใช้คลื่นสูงแบบช่อง 52 แล้วไม่มีปัญหา ฝั่งไทยควรไม่มีปัญหากับช่อง 52 ได้แล้วครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คลื่นสูงๆมีแน่ครับ แตะระดับ 700MHz ขึ้นไป แต่ไม่นิยมใช้กับเสาหลัก ไปใช้กับเสาทวน (Gap Filter) ในสถานที่เล็กๆแทนและจะมีบางที่ๆได้ใช้คลื่นสูงแบบนี้ด้วย

ที่จริงคลื่นสูงกว่า 700MHz ก็ไม่น่าใช้แล้วครับ เมืองนอกไม่จำเป็นนี่เบี่ยงหนีเลย บางส่วนจัดสรรสำหรับทีวีดิจิตอลในอนาคต เช่น มีการเพิ่มช่อง, ช่องสัญญาณสำหรับ 4K หรือเพื่อจัดสรรสำรองมือถือคลื่น 700MHz (ในญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ อินโด ตีกรอบ 700MHz ไว้แล้วว่าเผื่อทำมือถือ ไม่ใช้กับทีวีเพราะคลื่นสูงเกินไป)

ที่อเมริกาเหนือ, เกาหลีใต้ ทีวีจะท๊อปได้สูงสุดที่ 698MHz (UHF Ch.51 = 6MHz Bandwith) ที่เห็นส่วนมากซักประมาณ 650MHz ก็สุดๆแล้วครับ สำหรับเสาส่งหลัก (เกาหลีใต้คลื่นจะต่ำหน่อย แต่อเมริกาชอบไว้สูงหน่อย)

ที่ญี่ปุ่น ทีวีจะท๊อปได้สูงสุดที่ 770MHz (UHF Ch.62 = 6MHz Bandwith) เสาส่งหลักที่เจอมาก็คือช่อง KKT (NTV คุมาโมโต้) ส่งที่ 680MHz (UHF Ch.47) ส่วนเสาทวนก็ไปได้สุดที่กำหนดไว้ (มีแค่ไม่กี่เมืองเท่านั้นที่ไต่ท๊อป เพราะ1จังหวัด จะมีเสาทวนหลักประจำตามเมืองหลัก 3-5เสา)

ส่วนอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศไม่ใหญ่มาก ภูมิศาสตร์ก็ไม่ได้ถือว่าภูเขาสูงมาก แต่เป็นเนินทั่วประเทศสลับที่ราบ ซึ่งเสาส่งที่อังกฤษมีที่กว่าบ้านเราอีก (เสาส่งหลัก 50กว่าเสา) เรื่องคลื่นนั้นทางอังกฤษนั้นหาไม่ค่อยได้ แต่คาดว่าคลื่นก็จะสูงหน่อยแต่ไม่สูงมากเกินไป มีการใช้ถึง Mux ถึง 6ตัว สลับทั้ง Bandwith 18/24/40Mbps และการจัดสรรคลื่นของอังกฤษที่จะต่ำกว่าของไทยหน่อย (เริ่มต้น UHF Ch.24)

ถ้าสรุปคร่าวๆคือ สูงกว่า 700MHz ก็เริ่มไม่น่าใช้แล้วครับ ยิ่งเป็นเสาส่งหลัก ที่ต้องส่งกว้างๆ 700MHz ขึ้นไปไม่เหมาะอย่างแรง น่าจะซัก 510-654MHz ช่วงกรอบนี้ก็ถือว่าโอเคแล้วครับ ใส่คลื่นสูงปริ๊ดทำไมไม่รู้ (ทั้งๆที่คลื่นมันว่างเนี่ยนะ) คือ มันก็ดีตรงรับในบ้านได้ดี, Data สูงกว่า แต่ว่ามันเหมาะกับส่งไม่ไกล ถ้าเอาคลื่นสูงแต่ส่งไกลมันก็เละสิครับ

* แต่ผมก็เข้าใจว่าที่ปรับสูงไปถึงขนาดนั้น เพราะที่กำหนดเดิม ไปชนกับอนาล๊อกของช่อง 3 (UHF Ch.32) และพอกำหนดใหม่จะไป UHF Ch.48 ก็ไปชนกับอนาล๊อกช่อง7 ของกาญจนบุรีอีก (จะไปกวนกันแถวนู้น อาจทำให้ทีวีคลื่นนั้นรวน ดูไม่ได้ทั้ง2ระบบ) ก็เลยต้องกระเถิบมาสูง และพอปิดอนาล๊อกโซน กทม. ก็ค่อยย้ายกลับไปที่ UHF Ch.32 *

* ทีมงาน Mux ก็ขอให้ปรับค่าให้ถูกในเร็ววัน เมืองนอกไม่ค่อยมีใครใช้คลื่นสูงขนาดนี้ คงจะปรับกันยากหน่อย ก็ขอให้ปรับเสร็จเร็วๆแล้วกัน *
* กสทช. รีบให้ใบอนุญาตซะทีเถอะ ทั้งคนดูและพนักงานช่องบ่นกันจนเซ็งแล้วเนี่ย *
*การปรับค่าภาพต่างๆและการส่ง ตามปกตินั้นต้องเท่ากันทั้งประเทศ กทม. ได้เท่าไร ดีขนาดไหน มีลูกเล่นอะไร บ้านนอกก็ต้องได้ตามนั้น *

ปล.ทีวีดิจิตอลเกาหลี เพิ่งไปเจอมา HD ต้นปี 2001 ของช่อง MBC บร๊ะเจ้า! ยุคที่ยังไม่มี HDMI, Blu-Ray เค้าปล่อยช่อง HD ให้ดูทางทีวีดิจิตอลแล้ว แถมคุณภาพที่ได้ก็ไม่ค่อยต่างจากสมัยนี้เท่าไร (รู้สึกว่าช่อง SBS กล้องรายการเพลงภาพจะคมน้อยกว่าช่องอื่น น่าจะเพราะไม่ได้เปลี่ยนกล้องละมั้ง) (ประเทศที่ทีวีสีช้าเกือบที่สุดในโลก แต่มีช่องฟรีทีวี HD ก่อนใครในโลก อืม น่าคิด สมัยนั้นเกาหลีเคเบิ้ลยังไม่มี HD เลยนะ เพิ่งไปมีตอนปลายปี 2003)


ปล2.ทีวีดิจิตอลญี่ปุ่นแม้บิทเรตต่ำกว่าเกาหลี (13.5Mbps VS 17.5Mbps MPEG2 ทั้งคู่) แต่ของญี่ปุ่น ภาพดูดีสม่ำเสมอกว่าเพราะมีการตีกรอบ Data เผื่อไว้สูงกว่า Data จริง 1.5Mbps (15Mbps) ตอนบิทเรตล้นจะได้วิ่งขึ้นไปหน่อย ภาพไม่แตกเกินและไม่ล้ม (ข้อดีของระบบญี่ปุ่นคือคืนรายละเอียดภาพได้ไว และมีการยอมลดความคมเพื่อภาพที่ไม่แตกเกินไปและไม่ล้ม โดยไปได้สุดที่ 16Mbps ถึงจะเริ่มแสดงความเละ) โดยที่ผมดูมา ทีวีญี่ปุ่นไม่เคยภาพล้มเลย แม้ภาพจะจัดหนักเยอะๆ เพราะระบบเค้าคุมได้ เสียความคมไปแต่แลกด้วยภาพที่ไม่แตกยับจนเละ

ผิดกับเกาหลีที่ Data ที่เผื่อแบบแนบชิด บิทเรตล้นไม่ไกลภาพก็แตกยับ และล้มง่าย (ไปที่ 19Mbps สุดระบบ ATSC ก็แสดงความเดี้ยงให้เห็นแล้ว ยิ่งไป 20Mbps ก็ตายสนิท ภาพล้มค้างไปเลย1วินาที) เนื่องจากระบบอเมริกา (ATSC) มันไม่สู้เรื่องนี้จริงๆ (เกาหลี คมสวยงามกว่าจริง ตอนบิทเรตล้น ความคมโดนดูดไปทั้งคู่ แต่ความเสมอต้นเสมอปลายของภาพ ยกให้ญี่ปุ่นชนะ)

ส่วนของพี่ไทยที่ใช้ DVB-T2 จะดีขนาดไหนต้องดูกัน ว่าภาพจะแตกเอาง่ายๆไหม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่