มาดูรถไฟฟ้าความเร็วสูง เปรียบเทียบไทยกับเพื่อนบ้าน และเพื่อนร่วมโลก

แอคนี้โพสรูปไม่ได้ ขอโทษนะคะ จริงๆเนื้อหามันเป็นรูปทั้งนั้น พอเอามาเขียนแล้วมันรกมาก อ่านยากหน่อย ขอโทษจริงๆค่ะ
เหตุเนื่องมาจากพันทิประงับการใช้งานแอคเก่าดิฉัน เพราะพันทิปน่าจะรีบอ่านไปหน่อย จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดและระงับการใช้งานไป ส่งอีเมลย้อนให้ไปตรวจสองครั้งละก็ยังไม่คืบหน้า ไม่รุ้ว่าอ่านไปแล้วไม่เข้าใจที่จะสื่อหรือไม่ได้อ่านเลยก็ไม่ทราบ หรืออาจจะเข้าใจแล้วแต่ก็ยังคงแบนต่อไป
แต่ช่างมันเถอะ เข้าเรื่องดีกว่า

จุดประสงค์ของกระทู้นี้
1.ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่าทำไม2ลล.ศาลถึงไม่คัดผ่าน
2.ทำให้ได้รู้ว่าที่เพื่อนบ้านหรือประเทศอื่นๆที่คนไทยบางส่วนมองว่าด้อยกว่าเรา เขากลับมีรถไฟความเร็วสูงแล้วแต่เรายังไม่มี
3.ให้เห็นภาพถึงการลงทุนของเมืองไทยและเพื่อนบ้าน
* ดิฉันมีบวกพลาดเล็กน้อย แต่เนื้อหาข้างในไม่ได้แก้นะคะ อยากดูเลขที่ถูก เลื่อนลงไปล่างสุดเลยค่ะ
=================================================================================

ไทย

อันดับแรก มาดูกันก่อนดีกว่า ว่าแผนการวางตั้งรถไฟในไทยมีแบบแผนอะไรยังไง

1.สายเหนือ (กรุงเทพ - เชียงใหม่)
•    ระยะทาง: สั้นลงจาก 715 กิโลเมตร เหลือ 669 กิโลเมตร
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 387,821 ล้านบาท
•    คาดว่าจะแล้วเสร็จ: ภายใน พ.ศ. 2570
2. สายตะวันออก (กรุงเทพ - ระยอง)
•    ระยะทาง: ประมาณ 230 กิโลเมตร (ใช้โครงสร้างร่วมกับสายสีแดงอ่อน 9 กิโลเมตร บางซื่อ-มักกะสัน)
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 100,631 ล้านบาท [4]
2.1 ช่วง กรุงเทพ - พัทยา
•    ระยะทาง: 196 กิโลเมตร
•    มูลค่าการลงทุน: ราว 59,000 ล้านบาท
•    หมายเหตุ: บางช่วงใช้โครงสร้างของ รถไฟฟ้าสายสีแดง และ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3. สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ - หนองคาย)
•    ระหว่าง: สถานีกลางบางซื่อ → สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี — สถานีรถไฟหนองคาย
•    ระยะทาง: 615 กิโลเมตร (ใช้เส้นทางร่วมกับสายเหนือ: 82 กิโลเมตร ในช่วง บางซื่อ → ชุมทางบ้านภาชี)
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 170,450 ล้านบาท
-3.1 ระยะที่ 1 (ภาชี - นครราชสีมา)
•    ระยะทาง: 194 กิโลเมตร
•    คาดว่าจะแล้วเสร็จ: ภายใน พ.ศ. 2570
•    ไม่ระบุข้อมูลของทุนรวม
4 สายใต้ (กรุงเทพ - ปาดังเบซาร์)
•    ระหว่าง: สถานีกลางบางซื่อ — สถานีรถไฟปาดังเบซาร์
•    ระยะทาง: 982 กิโลเมตร
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 124,327 ล้านบาท
-4.1 ระยะที่ 1 (กรุงเทพ - หัวหิน)
•    ระยะทาง: 225 กิโลเมตร
•    มูลค่าการลงทุน: ประมาณ 82,000 ล้านบาท
•    คาดว่าจะแล้วเสร็จ: ภายใน พ.ศ. 2570

เพิ่มเติมจากดิฉันเอง สรุปเป็นเลขง่ายๆถ้วนๆก็ได้ดังนี้
669+230+196+615+194+982+225 รวมเป็นระยะทาง 3,111 กิโลเมตร
เงินทุนที่ใช้ในการสร้าง 2 ล้านล้านบาท
เฉลี่ยตีเป็นว่ากิโลเมตรละ 643 ล้านบาท

อ้างอิง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1380259134
http://www.nesdb.go.th/specialWork/suvarnabhumi/articles_center/rapid_train_in_thailand/rapid_train_summary%20-%20january2539.pdf
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354866520&grpid=01&catid=&subcatid=
http://www.thanonline.com/images/stories/article2013/2828/402.jpg

=================================================================================

ลาว
มองผ่านๆอาจจะมองว่า เห้ย ลาวเค้ามีรถไฟฟ้าความเร็วสูงกันแล้ว ของไทยกว่าจะมีคงรอชาติหน้ามั้ง ไรงี้ใช่ป้ะ แต่ไม่ใช่
เหตุผลในการทำมันสมเหตุสมผลและน่าลงทุนและมีผลกระทบระหว่างประเทศมากกว่าไทยเยอะ

รถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ลาว จัดตั้งออกมา2สายคือ ลาว-จีน และลาว-เวียดนาม

มาดูที่ลาว-จีนกันก่อน

ลาว – จีน เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง
ผู้นำจีน-ลาวยืนยันเดินเครื่องโครงการ 7,200 ล้านดอลลาร์ เชื่อมคุนหมิง-เวียงจันทน์ โดยเส้นทางทะลุไทยไปถึงสิงคโปร์ (ประมาณ 216,000 ล้านบาท)
ในการพบกันครั้งนี้ เวียงจันทน์ไทม์สรายงานว่ารัฐบาลจีนได้อนุมัติเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 49 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,470 ล้านบาท) และเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 32.6 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 978 ล้านบาท) ให้กับรัฐบาลลาวด้วย
เชื่อมระหว่างเมืองคุนหมิงของจีนและเมืองหลวงเวียงจันทน์โดยมีจุดเชื่อมทางรถไฟ 2 ประเทศที่จังหวัดน้ำทาของลาวระยะทางในลาวยาว 420 กิโลเมตร


เป็นระยะทาง 420 กิโลเมตร
จากเงินทุน 216,000 ล้านบาท
ตกกิโลเมตรละ 514 ล้านบาท

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=199565:2013-09-18-16-06-07&catid=231:aec-news&Itemid=621#.UyJKrT-SyF1

=================================================================================

และมาที่ ลาว-เวียดนาม

รถไฟความเร็วสูงขบวนนี้มี ความยาว 220 กิโลเมตร
เชื่อมแขวงสะหวันนะเขตของลาว - เมืองลาวบาว ทางตอนกลางของเวียดนาม
รถไฟความเร็วสูงของลาวจะเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายรถไฟในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ สิงค์โปร์ – มาเลเซีย – ไทย – ลาว – เวียดนาม - คุนหมิงของประเทศจีน
โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายรถไฟเชื่อมภายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่ากว่า 4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ราว 124,000 ล้านบาท)

จากระยะทาง 220 กิโลเมตร
เงินทุนราว 124,000 ล้านบาท
เป็นระยะทางเฉลี่ยกิโลเมตรละ 563 ล้านบาท

http://news.mthai.com/world-news/299877.html
http://hilight.kapook.com/view/78157

=================================================================================

เริ่มขี้เกียจ... เอาเป็นว่าจะสรุปภาพหลักออกมาเป็นกราฟของทั้งสามโครงการออกมาก่อนนะคะ [อย่างที่บอกนะ โพสรูปไม่ได้]

จากกราฟแรก : กราฟแสดงงบประมาณที่ใช้ ต่อระยะทางหนึ่งกิโลเมตรกับการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง

[img]http://upic.me/i/vn/yrcd1.jpg[/img]

กราฟสอง : กราฟแสดงระยะทางการสร้างเป็นหน่วยกิโลเมตร

[img]http://upic.me/t/qw/30z02.jpg[/img]

กราฟที่สาม : กราฟแสดงงบประมาณที่ใช้ในการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เห็นใช่ปะคะ ว่ากราฟไทยมันนำโด่งเลย

[img]http://upic.me/t/1n/ntun3.jpg[/img]

กราฟที่สี่ : เปรียบเทียบGDPกับเงินที่เราจะใช้ไปกับโครงการ2.2ล้าน [อันนี้ไม่ค่อยมีผลกระทบอะไรหรอกมั้ง เอามาให้ดูเฉยๆ]

[img]http://upic.me/i/8l/pc154.jpg[/img]

=================================================================================

มาวิเคราะห์กันก่อนนะคะ จากกราฟที่แสดงไปแสดงถึงอะไร
1. เพื่อนบ้านเราทำสร้างรถไฟฟ้า เขาสร้างเพื่อเชื่อมต่อระหว่างประเทศเป็นหลัก (สิงค์โปร์ – มาเลเซีย – ไทย – ลาว – เวียดนาม - คุนหมิงของประเทศจีน และ ) (เชื่อมคุนหมิง-เวียงจันทน์ โดยเส้นทางทะลุไทยไปถึงสิงคโปร์) ต่างกับไทยที่เชื่อมภายในประเทศเป็นหลัก (เชียงใหม่ - กรุงเทพ - หนองคาย -เปดังบาซาร์)
2. เชื่อมต่อระหว่างประเทศ ระยะทางที่สร้างต่างกับบ้านเรามากกกก [ดูจากกราฟ] เหตุเพราะค่าบริการสูง(เป็นพันๆ สูงกว่าเครื่องบินบางเที่ยวด้วยซ้ำไป)ซึ่งแน่นอนว่าอุปสงค์อุปทานไม่เป็นดั่งหวังแน่นอน คนรวยบ้านเราไม่เยอะขนาดที่จะสร้างโดยใช้งบถึง2.2ล้านล้านได้ สังเกตที่เพื่อนบ้านเราจะใช้งบประมาณน้อยกว่าครึ่งของครึ่งของครึ่งของเราอีก
*3. หลังจากที่กทม.มีนโยบายรถเมล์ฟรี ชาวบ้านก็เฮกันเป็นแถบ จนอย่างถึงตอนนี้ ชาวบ้านบางส่วน(เยอะพอสมควร) เลือกที่จะเบียดเสียดบนรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี หรือรถไฟบริการ2-3บาท ทั้งๆที่เขาสามารถเลือกรถปอ.หรือรถเมล์6.5,8บาทได้ คิดดูสิคะว่าแม้กระทั้งเงินต่างกันไม่กี่สิบ เขายังเลือกที่จะเบียดเสียดและทนร้อน แล้วนับประสาอะไรกับการที่จะนั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูง? ทั้งๆที่มีขสมก.และรถอื่นๆให้บริการซึ่งมีค่าบริการถูกกันกว่า75%เสียด้วยซ้ำ

=================================================================================

อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง (เอาจริงๆเนื้อหามีอีกเยอะแต่ขี้เกียจเขียนแล้ว) ที่มานำเสนอนะคะ
คืออยากให้เข้าใจว่าทำไม2.2ล้านล้านมันถึงไม่ผ่าน ไม่ใช่ว่าศาลไม่ยุติธรรมหรอกค่ะ แต่ศาลเค้ามีความคิดที่ชาวบ้านไม่รุ้ มีข้อมูลที่ไม่เป็นที่แพร่กระจาย และข้อมูลเหล่านั้นแหละสำคัญต่อการตัดสินใจในการสร้าง ดิฉันก็เอามาเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ


////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

แก้ไขเพิ่มเติมนะคะ คือเห็นมีคนบอกว่ามาว่าไปพัฒนาหลายด้าน ก็อยากให้เห็นค่าค่ะว่าแบ่งส่วนยังไง

ทางราง 1.825 ล้านล้าน 182.5หมื่นล้าน
ทางถนน 3.3 แสนล้าน
ทางน้ำ 3 หมื่นล้าน
อื่นๆ 2.2หมื่นล้าน

[img]http://upic.me/i/cz/piechart_jpg.jpeg[/img]

คืออย่างอื่นต้องพูดเลยว่า กระจึ๋งเดียวเอง ถ้าเทียบกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง

*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*--*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

ดิฉันบวกผิดจริงๆนั่นแหละค่ะ แต่พอมาดูใหม่

1.สายเหนือ (กรุงเทพ - เชียงใหม่)
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 387,821 ล้านบาท

2. สายตะวันออก (กรุงเทพ - ระยอง)
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 100,631 ล้านบาท [4]
2.1 ช่วง กรุงเทพ - พัทยา
•    มูลค่าการลงทุน: ราว 59,000 ล้านบาท

3. สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ - หนองคาย)
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 170,450 ล้านบาท

-3.1 ระยะที่ 1 (ภาชี - นครราชสีมา)
•    ไม่ระบุข้อมูลของทุนรวม

4 สายใต้ (กรุงเทพ - ปาดังเบซาร์)
•    มูลค่าการลงทุนรวม: ราว 124,327 ล้านบาท
-4.1 ระยะที่ 1 (กรุงเทพ - หัวหิน)
•    มูลค่าการลงทุน: ประมาณ 82,000 ล้านบาท

387,821+100,631+59,000+170,450+?+124,327+82,000 ก็เท่ากับ 924229+? แล้วล่ะค่ะ ดูเลขหน่อยๆ
ก็หารลงมาครึ่งนึง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆมันก็ยังเยอะอยู่ดีนะ จากกราฟขี้เกียจทำแล้วค่ะ เอาหักครึ่งนึงกับอีกนิดประมาณเองนะ เหนื่อย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่