http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394634616
หลังจากมีภาพเลนจักรยานสีเขียวสดใสในสนามบินสุวรรณภูมิเผยแพร่ตามโซเชียล เน็ตเวิร์ก นักปั่นจำนวนมากต่างก็ใจจดใจจ่อรอว่าเมื่อไหร่เส้นทางนี้จะเปิดให้บริการเสียที จะเรียกว่าเป็นเลนในฝันของนักปั่นก็คงไม่เกินไปนัก เพราะการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.)ได้เนรมิตเส้นทางนี้ขึ้นมาสำหรับชาวจักรยานโดยเฉพาะ ไม่ต้องพะวงกับรถราที่จะมาเฉี่ยวชน ที่สำคัญประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ทีมงานประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ พาไปสำรวจเส้นทางจักรยาน และ พูดคุยกับรองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา)
นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา) กล่าวว่า ปกติในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้สนใจมาออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ขี่จักรยานที่ปกติจะใช้เส้นทางภายในของเราหลายเส้น ทั้งในสุดของ East West แล้วก็ส่วนของ South Access Road(ถนนสุวรรณภูมิ 3) ที่ไปออกที่บางนา-ตราด วันหนึ่งๆ จะมีผู้ขี่จักรยานถึง 200 คัน เรื่องนี้ น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. ซึ่งชอบขี่จักรยานอยู่แล้ว มองว่าจักรยานจำนวนมากที่ไปปะปนกับรถชนิดอื่นอาจเกิดอันตราย จึงมีดำริให้ปรับปรุงเส้นทางภายใน โดยได้เส้นทางที่เหมาะสมที่สุดคือถนนรอบเขื่อนดินล้อมรอบ ทสภ. ความยาว 23.5 กิโลเมตร
น.ต.ศิธา ทิวารี
"โดยปกติเราจะใช้เส้นทางนี้เพื่อสำรวจความปลอดภัยของสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปรับปรุงเส้นทางเป็นเลนจักรยานถนนเส้นนี้จะได้ประโยชน์ 3 เรื่อง คือ 1.สุขภาพ 2.การรักษาความปลอดภัย ผมไม่มองว่าการที่มีคนมาขี่จักรยานจะเป็นเรื่องรบกวนการสำรวจความปลอดภัยถ้าเราวางแผนดีๆ คนที่เข้ามาใช้บริการจะรู้สึกว่าเป็นเจ้าของร่วม จะช่วยเป็นหูเป็นตาให้เราด้วย 3.ข้างทางเป็นน้ำ เดิมมีนกบ้าง ถ้ามีคนเริ่มไปนกก็จะน้อยลง"
สำหรับเลนจักรยานนี้มีความยาว 23.5 กิโลเมตร กว้าง 4.8 เมตร เป็นเส้นทางวันเวย์ ปรับปรุงโดยมาตรฐานจากออสเตรเลีย ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 30,495,000 บาท พื้นผิวถนนใช้การปรับปรุงโดยการฉาบหน้า เคลือบด้วยยางพารา เรียกว่า การฉาบผิวทางแบบสเลอรี่ซีล (SLURRY SEAL) โดยใช้มวลรวมคือหินบางๆ เพื่อให้ได้ความฝืดที่เหมาะสม สามารถขับขี่ได้ทุกสภาวะ แม้ฝนจะตกก็ยังรักษาสภาพการขี่ได้ดี และทาสีเขียวเพื่อสามารถมองเห็นได้ในเวลาที่สภาพอากาศไม่ดี หรือ ตอนพลบค่ำก็ยังมองเห็นได้ชัดเจน
"ปกติเราจะต้องใช้งบประมาณซ่อมบำรุงเส้นทางเส้นนี้อยู่แล้ว คือ 6-7 ปี เราต้องทำสักครั้ง งบที่ใช้ก็จะพอๆ กัน ไม่ได้หมายความว่าเราใช้งบนี้มากกว่าปกติ สุวรรณภูมิเปิดมา 7 ปี หลายส่วนเสร็จก่อนหน้านั้น 1 ปี โดยทฤษฎีเราจำเป็นต้องทำอยู่แล้ว ก็ถือโอกาสตรงนี้ปรับปรุงเป็นเลนจักรยาน" รองผอ.ทสภ. กล่าว
นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มทำแบบเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เริ่มก่อสร้างเดือนมกราคม 2557 ขณะนี้การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงการติดตั้งป้ายต่างๆ และ ขั้นตอนการกำหนดกฎ กติกา การเข้ามาใช้บริการเท่านั้น คิดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้จะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้แน่นอน และก่อนเปิดบริการก็จะจัดพิธีเปิดเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบกันอีกครั้ง
"ผมคาดว่าคนจะมาใช้บริการเยอะมาก เพราะขนาดยังไม่เปิดคนก็มาขี่จักรยานแถวนี้วันละ 200 คน ทั้งชมรมจักรยานของทอท. การบินไทยก็มาขี่กันเรื่อยๆ ส่วนของเราเจตนาคือใครมาใช้ก็ได้ แต่เราจะมีระเบียบ วิธีการรองรับเพื่อให้มาใช้บริการแล้วปลอดภัย ส่วนนักปั่นนั้นก็ต้องมีกติกามารยาท ขี่ช้าก็ชิดซ้าย ขี่เร็วก็แซงขวา แต่เรากำลังพิจารณาให้มือใหม่ที่ขี่ได้แค่ 5-10 กิโลเมตร มีพื้นที่วิ่งกลับได้ เพราะถ้าให้ย้อนเลย อาจจะเป็นอันตรายกับผู้ขี่ 23 กิโลเมตร ก็เป็นเรื่องที่เราก็ต้องทำต่อ"
ชมคลิป บรรยากาศเลนจักรยานรอบสนามบินสุวรรณภูมิ
นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ บอกว่า เรื่องวิวทิวทัศน์ อนาคตจะทำให้สวยกว่านี้ คือ ถ้าตามในแผนเราจะมีศาลาแวะพัก จะเป็นที่พักระหว่างทาง มีห้องน้ำ มีจุดจอดรถ มีที่ล็อกล้อ ก็จะทยอยทำหลังจากนี้ไม่เกิน 1 ปี นอกจากนั้น ยังมี club house ที่ สโมสรท่าอากาศยาน(สทย.) กำลังเตรียมการ ซึ่งใครต้องการไปใช้บริการอาจต้องสมัครเป็นสมาชิก มีการบริหารแยกออกจากเส้นทางจักรยาน และหลังจากเปิดบริการอย่างเป็นทางการแล้ว อนาคตสโมสรท่าอากาศยานจะเป็นผู้ดำเนินงานต่อทั้งหมด
"อย่างร้านอาหารด้านนอกที่บอกว่าวิวสวย แต่ด้านในเราสวยกว่า เป็นวิวเห็นท้องเครื่องบินเลย เราจึงต้องเข้มงวดเรื่องคนเข้ามา แล้วจะมีวิวสวยๆ หลายที่ เผลอๆ ต่อไปที่นี่จะเป็นที่ที่คนเช็คอินมากสุดแซงแชมป์อย่างพารากอน"รองผอ.ทสภ. บอกยิ้มๆ
รองผอ.ทสภ. บอกว่า ในอนาคต สนามบินสุวรรณภูมิ จะเป็นกรีน แอร์พอร์ต จากเลนจักรยานที่ทำจากยางพารา ยังได้จัดตั้งงบประมาณปี 58 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ใช้หลอดไฟฟ้า LED เปลี่ยนหลอดไฟจราจรที่ใช้ 24 ชั่วโมง เป็น LED ทั้งหมด และหลังจากนี้จะมีการระบายน้ำออกในปีหนึ่ง ประมาณ 10 เดือน เราจะเอาน้ำที่ระบายออกมาทำเป็นน้ำปะปาใช้ มุ่งสู่ความเป็นกรีนแอร์พอร์ตจริงๆ ซึ่งความเป็นกรีนนี้ ไม่ได้คืนเฉพาะทอท.เท่านั้น แต่ทั้งหมดมันคืนกลับไปที่สังคม ช่วยเรื่องภาวะโลกร้อนด้วย
เมื่อนับนิ้วคำนวณประโยชน์แล้ว การทำเลนจักรยานในครั้งนี้ ได้ประโยชน์หลายข้อ คือ 1. เรื่องที่จะเป็นที่ออกกำลังกายสำหรับประชาชนโดยทั่วไป 2.เมื่อเข้ามาใช้แล้วผู้ใช้จะรู้สึกว่าเป็นเจ้าของสนามบิน มีความภูมิใจในความเป็นเจ้าของ ช่วยเป็นหูเป็นตารักษาความปลอดภัย 3.เป็นเส้นทางรักษาความปลอดภัย 4.ช่วยให้นกที่อยู่รอบๆ อพยพหนี และ 5.กรีน แอร์พอร์ต
ด้าน นพเก้า เดชอุดม ประธานชมรมจักรยาน สโมสรท่าอากาศยาน(สทย.) หรือที่รู้จักในนาม "หมู Airport" ในเว็บไซต์ THAImtb ผู้ที่ทดสอบการขี่จักรยานบนเลนนี้หลายครั้งแล้ว กล่าวว่า ความโดดเด่นคือความปลอดภัยสูง เพราะเป็นเส้นทางปิด ไม่มีรถมายุ่ง ดังนั้นสิ่งที่ทำคือ รับผิดชอบตัวเอง ประเมินตัวเอง การขี่ต้องมีมารยาท มีน้ำใจ เห็นรถเสีย เห็นคนล้มต้องช่วย ต้องให้เกียรติกัน เวลาแซงต้องให้สัญญาณ ขี่ช้าต้องชิดซ้าย จะแซงต้องออกขวา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจิตสำนึกของคนขี่จักรยานอยู่แล้ว
"ทิวทัศน์รอบๆ ก็ทำให้เพลิดเพลิน อากาศดี สมกับนโยบายของทอท. คือ กรีนแอร์พอร์ต หาไม่ได้นะ ประเทศอื่นเขาไม่มี เส้นทางจักรยานในสนามบิน ใครมาลองขี่ก็ชอบทุกคน หลายคนอยากจะแข่ง ผมก็บอกว่าถ้าอยากจะแข่งจะจัดให้ต่างหาก เพราะสนามนี้เป็นของประชาชนทั่วไป ทุกคนมาใช้ได้แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบของที่นี่เพื่อความปลอดภัย ผมเห็นว่าทุกวันนี้สังคมจักรยานเติบโตไว จิตใจต้องพัฒนาตามด้วย เราอยากจะขี่ร่วมกันก็อย่าเห็นแก่ตัว บริเวณตรงนี้ในอนาคตผมยังมองว่าจะพัฒนาแข่งไตรกีฬาได้ เพราะมีพื้นที่เหมาะสมทั้งขี่จักรยาน ทางวิ่ง และ ทะเลสาบสำหรับว่ายน้ำ"
งานนี้นอกจากภาพลักษณ์ที่ ทอท. จะได้รับคำชื่นชมแล้ว กำไรที่ไม่สามารถตีเป็นมูลค่าได้ ก็คือสุขภาพกายและใจที่ดีของประชาชนนั่นเอง งานนี้ชาวจักรยานไม่ว่าจะขาแข็ง หรือ ขานิ่ม น่าจะได้เริ่มมาใช้บริการได้เร็ววันนี้แน่นอน
การเดินทางมาใช้บริการ
ผู้ที่จะเดินทางมาใช้บริเวณ ต้องไปติดต่อที่ สำนักบริหารงานก่อสร้าง ซึ่งจะสำนักงานชั่วคราว
สำหรับผู้ที่ขับรถมา เมื่อลงทางด่วนพระราม 9 ให้วิ่งผ่าน Bus Terminal เจอ 4 แยกให้เลี้ยวขวาเส้นมุ่งหน้าไปบางนา ไม่ขึ้นสะพาน ให้เลี้ยวขวาลอดใต้สะพาน ตรงมาเรื่อยๆ ก็จะเจอ สำนักบริหารงานก่อสร้าง สามารถจอดรถได้ที่นี่
ส่วนผู้ที่นำจักรยานขึ้นแอร์พอร์ตลิงค์มา ก็สามารถขี่เข้าทางบางนาเช่นกัน
ขาปั่นเตรียมกรี๊ด!! เลนจักรยานรอบสนามบินแห่งแรก ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
หลังจากมีภาพเลนจักรยานสีเขียวสดใสในสนามบินสุวรรณภูมิเผยแพร่ตามโซเชียล เน็ตเวิร์ก นักปั่นจำนวนมากต่างก็ใจจดใจจ่อรอว่าเมื่อไหร่เส้นทางนี้จะเปิดให้บริการเสียที จะเรียกว่าเป็นเลนในฝันของนักปั่นก็คงไม่เกินไปนัก เพราะการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(ทสภ.)ได้เนรมิตเส้นทางนี้ขึ้นมาสำหรับชาวจักรยานโดยเฉพาะ ไม่ต้องพะวงกับรถราที่จะมาเฉี่ยวชน ที่สำคัญประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ทีมงานประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ พาไปสำรวจเส้นทางจักรยาน และ พูดคุยกับรองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา)
นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายบำรุงรักษา) กล่าวว่า ปกติในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผู้สนใจมาออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ขี่จักรยานที่ปกติจะใช้เส้นทางภายในของเราหลายเส้น ทั้งในสุดของ East West แล้วก็ส่วนของ South Access Road(ถนนสุวรรณภูมิ 3) ที่ไปออกที่บางนา-ตราด วันหนึ่งๆ จะมีผู้ขี่จักรยานถึง 200 คัน เรื่องนี้ น.ต.ศิธา ทิวารี ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. ซึ่งชอบขี่จักรยานอยู่แล้ว มองว่าจักรยานจำนวนมากที่ไปปะปนกับรถชนิดอื่นอาจเกิดอันตราย จึงมีดำริให้ปรับปรุงเส้นทางภายใน โดยได้เส้นทางที่เหมาะสมที่สุดคือถนนรอบเขื่อนดินล้อมรอบ ทสภ. ความยาว 23.5 กิโลเมตร
น.ต.ศิธา ทิวารี
"โดยปกติเราจะใช้เส้นทางนี้เพื่อสำรวจความปลอดภัยของสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปรับปรุงเส้นทางเป็นเลนจักรยานถนนเส้นนี้จะได้ประโยชน์ 3 เรื่อง คือ 1.สุขภาพ 2.การรักษาความปลอดภัย ผมไม่มองว่าการที่มีคนมาขี่จักรยานจะเป็นเรื่องรบกวนการสำรวจความปลอดภัยถ้าเราวางแผนดีๆ คนที่เข้ามาใช้บริการจะรู้สึกว่าเป็นเจ้าของร่วม จะช่วยเป็นหูเป็นตาให้เราด้วย 3.ข้างทางเป็นน้ำ เดิมมีนกบ้าง ถ้ามีคนเริ่มไปนกก็จะน้อยลง"
สำหรับเลนจักรยานนี้มีความยาว 23.5 กิโลเมตร กว้าง 4.8 เมตร เป็นเส้นทางวันเวย์ ปรับปรุงโดยมาตรฐานจากออสเตรเลีย ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 30,495,000 บาท พื้นผิวถนนใช้การปรับปรุงโดยการฉาบหน้า เคลือบด้วยยางพารา เรียกว่า การฉาบผิวทางแบบสเลอรี่ซีล (SLURRY SEAL) โดยใช้มวลรวมคือหินบางๆ เพื่อให้ได้ความฝืดที่เหมาะสม สามารถขับขี่ได้ทุกสภาวะ แม้ฝนจะตกก็ยังรักษาสภาพการขี่ได้ดี และทาสีเขียวเพื่อสามารถมองเห็นได้ในเวลาที่สภาพอากาศไม่ดี หรือ ตอนพลบค่ำก็ยังมองเห็นได้ชัดเจน
"ปกติเราจะต้องใช้งบประมาณซ่อมบำรุงเส้นทางเส้นนี้อยู่แล้ว คือ 6-7 ปี เราต้องทำสักครั้ง งบที่ใช้ก็จะพอๆ กัน ไม่ได้หมายความว่าเราใช้งบนี้มากกว่าปกติ สุวรรณภูมิเปิดมา 7 ปี หลายส่วนเสร็จก่อนหน้านั้น 1 ปี โดยทฤษฎีเราจำเป็นต้องทำอยู่แล้ว ก็ถือโอกาสตรงนี้ปรับปรุงเป็นเลนจักรยาน" รองผอ.ทสภ. กล่าว
นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มทำแบบเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เริ่มก่อสร้างเดือนมกราคม 2557 ขณะนี้การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงการติดตั้งป้ายต่างๆ และ ขั้นตอนการกำหนดกฎ กติกา การเข้ามาใช้บริการเท่านั้น คิดว่าภายในเดือนมีนาคมนี้จะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้แน่นอน และก่อนเปิดบริการก็จะจัดพิธีเปิดเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบกันอีกครั้ง
"ผมคาดว่าคนจะมาใช้บริการเยอะมาก เพราะขนาดยังไม่เปิดคนก็มาขี่จักรยานแถวนี้วันละ 200 คน ทั้งชมรมจักรยานของทอท. การบินไทยก็มาขี่กันเรื่อยๆ ส่วนของเราเจตนาคือใครมาใช้ก็ได้ แต่เราจะมีระเบียบ วิธีการรองรับเพื่อให้มาใช้บริการแล้วปลอดภัย ส่วนนักปั่นนั้นก็ต้องมีกติกามารยาท ขี่ช้าก็ชิดซ้าย ขี่เร็วก็แซงขวา แต่เรากำลังพิจารณาให้มือใหม่ที่ขี่ได้แค่ 5-10 กิโลเมตร มีพื้นที่วิ่งกลับได้ เพราะถ้าให้ย้อนเลย อาจจะเป็นอันตรายกับผู้ขี่ 23 กิโลเมตร ก็เป็นเรื่องที่เราก็ต้องทำต่อ"
ชมคลิป บรรยากาศเลนจักรยานรอบสนามบินสุวรรณภูมิ
นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ บอกว่า เรื่องวิวทิวทัศน์ อนาคตจะทำให้สวยกว่านี้ คือ ถ้าตามในแผนเราจะมีศาลาแวะพัก จะเป็นที่พักระหว่างทาง มีห้องน้ำ มีจุดจอดรถ มีที่ล็อกล้อ ก็จะทยอยทำหลังจากนี้ไม่เกิน 1 ปี นอกจากนั้น ยังมี club house ที่ สโมสรท่าอากาศยาน(สทย.) กำลังเตรียมการ ซึ่งใครต้องการไปใช้บริการอาจต้องสมัครเป็นสมาชิก มีการบริหารแยกออกจากเส้นทางจักรยาน และหลังจากเปิดบริการอย่างเป็นทางการแล้ว อนาคตสโมสรท่าอากาศยานจะเป็นผู้ดำเนินงานต่อทั้งหมด
"อย่างร้านอาหารด้านนอกที่บอกว่าวิวสวย แต่ด้านในเราสวยกว่า เป็นวิวเห็นท้องเครื่องบินเลย เราจึงต้องเข้มงวดเรื่องคนเข้ามา แล้วจะมีวิวสวยๆ หลายที่ เผลอๆ ต่อไปที่นี่จะเป็นที่ที่คนเช็คอินมากสุดแซงแชมป์อย่างพารากอน"รองผอ.ทสภ. บอกยิ้มๆ
รองผอ.ทสภ. บอกว่า ในอนาคต สนามบินสุวรรณภูมิ จะเป็นกรีน แอร์พอร์ต จากเลนจักรยานที่ทำจากยางพารา ยังได้จัดตั้งงบประมาณปี 58 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ใช้หลอดไฟฟ้า LED เปลี่ยนหลอดไฟจราจรที่ใช้ 24 ชั่วโมง เป็น LED ทั้งหมด และหลังจากนี้จะมีการระบายน้ำออกในปีหนึ่ง ประมาณ 10 เดือน เราจะเอาน้ำที่ระบายออกมาทำเป็นน้ำปะปาใช้ มุ่งสู่ความเป็นกรีนแอร์พอร์ตจริงๆ ซึ่งความเป็นกรีนนี้ ไม่ได้คืนเฉพาะทอท.เท่านั้น แต่ทั้งหมดมันคืนกลับไปที่สังคม ช่วยเรื่องภาวะโลกร้อนด้วย
เมื่อนับนิ้วคำนวณประโยชน์แล้ว การทำเลนจักรยานในครั้งนี้ ได้ประโยชน์หลายข้อ คือ 1. เรื่องที่จะเป็นที่ออกกำลังกายสำหรับประชาชนโดยทั่วไป 2.เมื่อเข้ามาใช้แล้วผู้ใช้จะรู้สึกว่าเป็นเจ้าของสนามบิน มีความภูมิใจในความเป็นเจ้าของ ช่วยเป็นหูเป็นตารักษาความปลอดภัย 3.เป็นเส้นทางรักษาความปลอดภัย 4.ช่วยให้นกที่อยู่รอบๆ อพยพหนี และ 5.กรีน แอร์พอร์ต
ด้าน นพเก้า เดชอุดม ประธานชมรมจักรยาน สโมสรท่าอากาศยาน(สทย.) หรือที่รู้จักในนาม "หมู Airport" ในเว็บไซต์ THAImtb ผู้ที่ทดสอบการขี่จักรยานบนเลนนี้หลายครั้งแล้ว กล่าวว่า ความโดดเด่นคือความปลอดภัยสูง เพราะเป็นเส้นทางปิด ไม่มีรถมายุ่ง ดังนั้นสิ่งที่ทำคือ รับผิดชอบตัวเอง ประเมินตัวเอง การขี่ต้องมีมารยาท มีน้ำใจ เห็นรถเสีย เห็นคนล้มต้องช่วย ต้องให้เกียรติกัน เวลาแซงต้องให้สัญญาณ ขี่ช้าต้องชิดซ้าย จะแซงต้องออกขวา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจิตสำนึกของคนขี่จักรยานอยู่แล้ว
"ทิวทัศน์รอบๆ ก็ทำให้เพลิดเพลิน อากาศดี สมกับนโยบายของทอท. คือ กรีนแอร์พอร์ต หาไม่ได้นะ ประเทศอื่นเขาไม่มี เส้นทางจักรยานในสนามบิน ใครมาลองขี่ก็ชอบทุกคน หลายคนอยากจะแข่ง ผมก็บอกว่าถ้าอยากจะแข่งจะจัดให้ต่างหาก เพราะสนามนี้เป็นของประชาชนทั่วไป ทุกคนมาใช้ได้แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบของที่นี่เพื่อความปลอดภัย ผมเห็นว่าทุกวันนี้สังคมจักรยานเติบโตไว จิตใจต้องพัฒนาตามด้วย เราอยากจะขี่ร่วมกันก็อย่าเห็นแก่ตัว บริเวณตรงนี้ในอนาคตผมยังมองว่าจะพัฒนาแข่งไตรกีฬาได้ เพราะมีพื้นที่เหมาะสมทั้งขี่จักรยาน ทางวิ่ง และ ทะเลสาบสำหรับว่ายน้ำ"
งานนี้นอกจากภาพลักษณ์ที่ ทอท. จะได้รับคำชื่นชมแล้ว กำไรที่ไม่สามารถตีเป็นมูลค่าได้ ก็คือสุขภาพกายและใจที่ดีของประชาชนนั่นเอง งานนี้ชาวจักรยานไม่ว่าจะขาแข็ง หรือ ขานิ่ม น่าจะได้เริ่มมาใช้บริการได้เร็ววันนี้แน่นอน
การเดินทางมาใช้บริการ
ผู้ที่จะเดินทางมาใช้บริเวณ ต้องไปติดต่อที่ สำนักบริหารงานก่อสร้าง ซึ่งจะสำนักงานชั่วคราว
สำหรับผู้ที่ขับรถมา เมื่อลงทางด่วนพระราม 9 ให้วิ่งผ่าน Bus Terminal เจอ 4 แยกให้เลี้ยวขวาเส้นมุ่งหน้าไปบางนา ไม่ขึ้นสะพาน ให้เลี้ยวขวาลอดใต้สะพาน ตรงมาเรื่อยๆ ก็จะเจอ สำนักบริหารงานก่อสร้าง สามารถจอดรถได้ที่นี่
ส่วนผู้ที่นำจักรยานขึ้นแอร์พอร์ตลิงค์มา ก็สามารถขี่เข้าทางบางนาเช่นกัน