โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนผู้ประกอบการไทยผ่านโครงการ “อัพไซคลิ่ง : สร้างคุณค่าให้วัสดุเหลือใช้ด้วยการออกแบบ” ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการเดิมในชื่อโครงการ
“เปลี่ยนขยะเป็นทอง : รับกระแสโลกร้อนและสร้างคุณค่าให้วัสดุ” ที่รู้จักกันดีมากว่า 6 ปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต เป็นหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้นำเสนอผลงานต้นแบบผ่านงานการสนับสนุนด้านพื้นที่จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยถือเป็นการเพิ่มในส่วนขยายของคำว่าวิจัยและพัฒนา โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการแปลงเศษวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นวัสดุใหม่ ที่มีมิติที่ขึ้นกว่าเดิม เช่น ด้านคุณภาพ, รูปลักษณ์, ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปลายทางสุดท้าย นั่นหมายถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้ จนสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของ สวทช. ที่ให้การสนับสนุนมาตลอด 6 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การจัดแสดงผลงานภายใต้โครงการ Upcycling ของผู้ประกอบที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 4 บริษัท ในงาน TIFF2014 อาจจะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับภาคอุตสาหกรรมที่มีเศษเหลือใช้จากการผลิตเพื่อจะได้ตระหนักถึงการนำวัสดุเหลือใช้เหล่านั้นมาเพิ่มมูลค่า โดยการสนับสนุนของ ITAP,สวทช. ซึ่งในปี 2557จะรับสมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 6 บริษัท ซึ่งถือเป็นความท้าทายใหม่ๆจากเศษวัสดุที่หลากหลายมากขึ้น หรือเศษวัสดุจากภาคอุตสาหกรรมที่อาจคิดกันว่าไม่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบได้ อาทิเช่น เศษผ้า เศษหนัง เศษไม้ประดิษฐ์ เศษกากมะพร้าว มาออกแบบได้อย่างสวยงามตลอดการ เช่น ไม้ เป็นต้น การออกแบบโดยเฉพาะการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการทดลองทดสอบค่อนข้างมากโดยเฉพาะเมื่อได้เศษวัสดุที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน การทำผลิตภัณฑ์จากเศษไม่เพียงแก้ปัญหาด้านเทคนิค แต่ยังเป็นการฝึกคิดนอกกรอบไปพร้อม ๆ กัน ผู้ประกอบการที่ต้องการอยู่รอดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถนี้ ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ต้องมาก แต่ต้องปรับความคิด ความตั้งใจมากพอสมควร
ผลจากความพยายามระหว่างผู้เชี่ยวชาญและความร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทุกบริษัทนั้น ได้เป็นรูปธรรมผ่านการจัดแสดงผลงานต้นแบบของ 4 บริษัท จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 – 16 มีนาคม 2557 ณ งาน Thailand International Furniture Fair 2014 (TIFF2014) อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งภายในงานจะได้เห็นการใช้เทคนิคการออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานที่ไม่คิดว่าจะสามารถนำมาผสมผสานกันได้มาทำให้เห็นว่าเกิดมูลค่าเพิ่มกว่าแสนบาท ผลจากการคิดนอกกรอบสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้อย่างไร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
คุณพนิตา ศรีประย่า โครงการ iTAP สวทช.
โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1301 มือถือ 081 751 2553
หรือ panita@tmc.nstda.or.th
UPCYCLING
คำว่า “Upcycling” เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากหนังสือชื่อ Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things ซึ่งเขียนโดย William McDonough และ Michael Braungart โดยให้คำจำกัดความ “Upcycling” ว่า “การทำให้วัสดุที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วนำมาทำให้มีมูลค่าหรือใช้ได้ดีกว่าเดิม” หรือการนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วมาทำให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น หรืออาจสรุปได้ว่า Upclycing หมายถึง กระบวนการแปลงสภาพเศษวัสดุเหลือใช้ หรือการทำให้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้งานตามหน้าที่เดิมได้แล้วกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูงขึ้นและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การนำเศษวัสดุที่ไม่มีคุณภาพมาแปลงสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
iTAP สวทช. เปิดเวที Upcycling หนุนผลงาน ภาคเอกชน Eco Product รับกระแส AEC 12–16 มีนาคม 2557
ทั้งนี้ การจัดแสดงผลงานภายใต้โครงการ Upcycling ของผู้ประกอบที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 4 บริษัท ในงาน TIFF2014 อาจจะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับภาคอุตสาหกรรมที่มีเศษเหลือใช้จากการผลิตเพื่อจะได้ตระหนักถึงการนำวัสดุเหลือใช้เหล่านั้นมาเพิ่มมูลค่า โดยการสนับสนุนของ ITAP,สวทช. ซึ่งในปี 2557จะรับสมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 6 บริษัท ซึ่งถือเป็นความท้าทายใหม่ๆจากเศษวัสดุที่หลากหลายมากขึ้น หรือเศษวัสดุจากภาคอุตสาหกรรมที่อาจคิดกันว่าไม่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบได้ อาทิเช่น เศษผ้า เศษหนัง เศษไม้ประดิษฐ์ เศษกากมะพร้าว มาออกแบบได้อย่างสวยงามตลอดการ เช่น ไม้ เป็นต้น การออกแบบโดยเฉพาะการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการทดลองทดสอบค่อนข้างมากโดยเฉพาะเมื่อได้เศษวัสดุที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน การทำผลิตภัณฑ์จากเศษไม่เพียงแก้ปัญหาด้านเทคนิค แต่ยังเป็นการฝึกคิดนอกกรอบไปพร้อม ๆ กัน ผู้ประกอบการที่ต้องการอยู่รอดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถนี้ ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ต้องมาก แต่ต้องปรับความคิด ความตั้งใจมากพอสมควร
ผลจากความพยายามระหว่างผู้เชี่ยวชาญและความร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทุกบริษัทนั้น ได้เป็นรูปธรรมผ่านการจัดแสดงผลงานต้นแบบของ 4 บริษัท จัดแสดงระหว่างวันที่ 12 – 16 มีนาคม 2557 ณ งาน Thailand International Furniture Fair 2014 (TIFF2014) อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งภายในงานจะได้เห็นการใช้เทคนิคการออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานที่ไม่คิดว่าจะสามารถนำมาผสมผสานกันได้มาทำให้เห็นว่าเกิดมูลค่าเพิ่มกว่าแสนบาท ผลจากการคิดนอกกรอบสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้อย่างไร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
คุณพนิตา ศรีประย่า โครงการ iTAP สวทช.
โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1301 มือถือ 081 751 2553
หรือ panita@tmc.nstda.or.th
UPCYCLING
คำว่า “Upcycling” เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากหนังสือชื่อ Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things ซึ่งเขียนโดย William McDonough และ Michael Braungart โดยให้คำจำกัดความ “Upcycling” ว่า “การทำให้วัสดุที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วนำมาทำให้มีมูลค่าหรือใช้ได้ดีกว่าเดิม” หรือการนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วมาทำให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น หรืออาจสรุปได้ว่า Upclycing หมายถึง กระบวนการแปลงสภาพเศษวัสดุเหลือใช้ หรือการทำให้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้งานตามหน้าที่เดิมได้แล้วกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูงขึ้นและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การนำเศษวัสดุที่ไม่มีคุณภาพมาแปลงสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น