วาทกรรม ล้มเจ้า ถูกใช้อย่างแพร่หลายในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา อันสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง วาทกรรมล้มเจ้าเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารคู่แข่งทางการเมืองโดยฝ่ายการเมืองด้วยกัน และถูกประชาสัมพันธ์ลงสู่ระดับประชาชนทั่วไปเพื่อใช้กำจัดผู้คนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองไม่เป็นไปในทางที่ฝ่ายตัวเองเชื่อ
วาทกรรมล้มเจ้าในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยแต่อย่างใด แต่เป็นวาทกรรมที่ถูกใช้เรื่อยมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่วาทกรรมนี้มาสร้างความรุนแรงและเสียหายอย่างหนักในช่วง 6 ตุลาคม 2519 ในการกล่าวหานิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า คิดล้มเจ้า จนนำมาซึ่งการสังหารหมู่ในธรรมศาสตร์โดยเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนด้วยกันอย่างเหี้ยมโหด ไร้ความเป็นมนุษย์ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และ เหตุการณ์สลายการชุมนุมของเสื้อแดงในปี 2553 นำมาซึ่งผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
วาทกรรมล้มเจ้าถูกใช้อย่างหนักในปัจจุบันเพื่อทำลายศัตรูทางการเมือง รวมถึง การใช้เล่นงานคนทั่วๆไปที่แม้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมือง วาทะกรรมนี้ถูกใช้เล่นงานคนทั่วๆไปในสังคมที่นำเสนอความคิดที่ท้าทาย เสียดสี ความเชื่อที่มีต่อชนชั้นนำทางจารีตที่กูกฝังในสังคมไทยมานาน ผ่านระบบการศึกษา วัฒนธรรม และความเชื่อการกล่อมเกลาในประเพณีของสังคมตลอดมา
การถูกกล่าวหาด้วยวาทกรรมล้มเจ้า ผู้ถูกกล่าวหาไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตามสังคมจะตัดสินไปก่อนล่วงหน้าว่าเป็นบุคคลอันตรายต้องทำลายทิ้งเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อความเชื่อในสังคม และเมื่อใครถูกกล่าวหาด้วยวาทกรรมนี้ การที่เขาถูกฆ่าถูกทำร้าย จากน้ำมือใครก็ตาม สังคมจะแสดงความสะใจอย่างป่าเถื่อนไร้ความเป็นคนกับการได้กำจัดผู้คิดร้ายต่อสถาบันอย่างไรความปราณีใดๆ
แม้ว่าจะมีกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ใช้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์มิให้ใครกล่าวหมิ่นประมาทหรือแสดงความอาฆาตใดๆ อย่างไรก็ดี กฎหมายตัวนี้กลายเป็นเครื่องมืออีกตัวในการฟ้องร้องกันระหว่างประชาชนด้วยกันอย่างมั่วซั่ว เพราะ กฎหมายตัวนี้สามารถเปิดโอกาสให้ใครฟ้องก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าทุกข์มาฟ้องร้องด้วยตัวเอง จึงกลายเป็นเครื่องมือเล่นงานของประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง
วาทกรรมล้มเจ้า ยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้จากการใช้กล่าวหากันอย่างกวางขวางเพื่อลดทอนและทำให้ผู้ถูกกล่าวหาด้วยวาทะกรรมนี้กลายเป็นศัตรูต่อคนในสังคมที่มีแนวความคิดอนุรักษ์นิยมและนำมาซึ่งการล่าแม่มด ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างเช่น อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ที่ถูกยิงถล่มบ้าน เป็นต้น
การใช้วาทกรรมนี้เป็นเครื่องมือในการทำลายบุคคลทั่วๆไปซึ่งมีผลทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียซื่อเสียงในสังคมแล้ว ผู้เขียนมองว่ายังเป็นการทำลายสถาบันกษัตริย์อีกด้วย เพราะเป็นการดึงสถาบันเข้ามาในความขัดแย้งทำให้แปดเปื้อนต่อตัวสถาบันเอง
หากเราต้องการจะปกป้องสถาบัน ควรเป็นการอธิบายด้วยเหตุด้วยผลโดยใช้มุมมองที่หลากหลายในการอธิบาย ไม่ควรเป็นการกล่าวหาด้วยวาทกรรมล้มเจ้า เพราะจะยิ่งเป็นการทำลายสถาบันโดยผู้ใช้วาทกรรมนี้ไม่รู้ตัว
กันต์ แสงทอง
http://prachatai.com/journal/2014/03/52223
ล้มเจ้า วาทกรรมอำมหิตเพื่อการทำลายล้าง
วาทกรรมล้มเจ้าในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยแต่อย่างใด แต่เป็นวาทกรรมที่ถูกใช้เรื่อยมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่วาทกรรมนี้มาสร้างความรุนแรงและเสียหายอย่างหนักในช่วง 6 ตุลาคม 2519 ในการกล่าวหานิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า คิดล้มเจ้า จนนำมาซึ่งการสังหารหมู่ในธรรมศาสตร์โดยเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนด้วยกันอย่างเหี้ยมโหด ไร้ความเป็นมนุษย์ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และ เหตุการณ์สลายการชุมนุมของเสื้อแดงในปี 2553 นำมาซึ่งผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
วาทกรรมล้มเจ้าถูกใช้อย่างหนักในปัจจุบันเพื่อทำลายศัตรูทางการเมือง รวมถึง การใช้เล่นงานคนทั่วๆไปที่แม้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมือง วาทะกรรมนี้ถูกใช้เล่นงานคนทั่วๆไปในสังคมที่นำเสนอความคิดที่ท้าทาย เสียดสี ความเชื่อที่มีต่อชนชั้นนำทางจารีตที่กูกฝังในสังคมไทยมานาน ผ่านระบบการศึกษา วัฒนธรรม และความเชื่อการกล่อมเกลาในประเพณีของสังคมตลอดมา
การถูกกล่าวหาด้วยวาทกรรมล้มเจ้า ผู้ถูกกล่าวหาไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตามสังคมจะตัดสินไปก่อนล่วงหน้าว่าเป็นบุคคลอันตรายต้องทำลายทิ้งเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อความเชื่อในสังคม และเมื่อใครถูกกล่าวหาด้วยวาทกรรมนี้ การที่เขาถูกฆ่าถูกทำร้าย จากน้ำมือใครก็ตาม สังคมจะแสดงความสะใจอย่างป่าเถื่อนไร้ความเป็นคนกับการได้กำจัดผู้คิดร้ายต่อสถาบันอย่างไรความปราณีใดๆ
แม้ว่าจะมีกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ใช้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์มิให้ใครกล่าวหมิ่นประมาทหรือแสดงความอาฆาตใดๆ อย่างไรก็ดี กฎหมายตัวนี้กลายเป็นเครื่องมืออีกตัวในการฟ้องร้องกันระหว่างประชาชนด้วยกันอย่างมั่วซั่ว เพราะ กฎหมายตัวนี้สามารถเปิดโอกาสให้ใครฟ้องก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าทุกข์มาฟ้องร้องด้วยตัวเอง จึงกลายเป็นเครื่องมือเล่นงานของประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง
วาทกรรมล้มเจ้า ยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้จากการใช้กล่าวหากันอย่างกวางขวางเพื่อลดทอนและทำให้ผู้ถูกกล่าวหาด้วยวาทะกรรมนี้กลายเป็นศัตรูต่อคนในสังคมที่มีแนวความคิดอนุรักษ์นิยมและนำมาซึ่งการล่าแม่มด ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างเช่น อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ที่ถูกยิงถล่มบ้าน เป็นต้น
การใช้วาทกรรมนี้เป็นเครื่องมือในการทำลายบุคคลทั่วๆไปซึ่งมีผลทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียซื่อเสียงในสังคมแล้ว ผู้เขียนมองว่ายังเป็นการทำลายสถาบันกษัตริย์อีกด้วย เพราะเป็นการดึงสถาบันเข้ามาในความขัดแย้งทำให้แปดเปื้อนต่อตัวสถาบันเอง
หากเราต้องการจะปกป้องสถาบัน ควรเป็นการอธิบายด้วยเหตุด้วยผลโดยใช้มุมมองที่หลากหลายในการอธิบาย ไม่ควรเป็นการกล่าวหาด้วยวาทกรรมล้มเจ้า เพราะจะยิ่งเป็นการทำลายสถาบันโดยผู้ใช้วาทกรรมนี้ไม่รู้ตัว
กันต์ แสงทอง http://prachatai.com/journal/2014/03/52223