สวัสดีครับ
เห็นมีคนลงความเห็นให้แนะนำหนัง underrated กัน ก็เลยคิดว่าเอาหนัง underrated ในสายตาเรามาแชร์มั่งดีกว่า
หนัง Underrated คืออะไร มันคือหนังที่คนยกย่องน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะถูกหน้าหนังหรืออะไรก็แล้วแต่กลบทับเนื้อหาสาระ หรือเป็นหนังดีที่มีคนยกย่องสูงแต่คนรู้จักกันน้อย เหล่านี้จัดเป็นหนัง underrated ได้หมดครับ
และวันนี้ผมขอมาแบ่งปันหนัง underrated ของยุค 2000s ตั้งแต่ปี 2000-2013 ให้ได้รับไปพิจารณากันครับ หลายเรื่องผมเคยรีวิวเต็ม ๆ ไว้แล้วในเพจ ลองเปิดดูในอัลบั้มได้เลยครับ
เริ่มต้นกันเลยครับ
1.
Easy A (2010)
- ไม่รู้เพราะหน้าหนังมันเป็นหนัง Bitch Girl + High School หรือเปล่าเลยทำให้มันถูกมองข้ามเนื้อหาสาระไป เพราะเนื้อแท้แล้วมันคือหนังสังคมเด็กม.ปลายผสมข่าวลือ หรือว่ากันง่าย ๆ ก็คือ Gossip Girlเวอชั่นมีสาระนั่นเองครับ อ่อ Emma Stone นางเอาอยู่!! ผมตกหลุมรักเธอเต็ม ๆ จากเรื่องนี้เนี่ยแหละครับ
2.
The Lookout (2007)
- ไอเดียการใช้ตัวเอกเป็นบุคคลทุพพลภาพในหนังแนวดราม่าอาชญากรรมผมว่ามันสนใจมากครับ เป็นอีกหนึ่งหนังดีที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงสักเท่าไร ป.ล. แฟน JGL ห้ามพลาดเด็ดขาดครับ
3.
Side Effects (2013)
- ในยุคที่หนังสืบสวนจิตวิทยามันหาดูยาก การมาของ Side Effects จึงเป็นอะไรที่ผมประหลาดใจและทึ่งมาก ผลงานกำกับชิ้นสุดท้ายของโซเดอเบิร์กต้องเรียกว่าเป็น 'Modern Hitchcock' เลยครับ มันเป็นหนังสืบสวนที่ใช้ทุกอย่างที่หนังเล่ามานั่นแหละเฉลยแบบซื่อสัตย์กับคนดู และการแสดงของ Rooney Mara ในเรื่องนี้ทำเอาผมประทับใจมาก!
4.
The Constant Gardener (2005)
- พูดถึง Hitchcock แล้วคงไม่พูดถึงหนังเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะบทหนังมันคือสไตล์ Vertigo แห่งยุค 2000s เลยครับ ด้วยความเป็นหนังสืบสวนอิงประเด็นสะท้อนสังคมระดับโลก แต่ทั้งเรื่องกลับเต็มไปด้วยกลิ่นของหนังโรแมนซ์แบบเดียวกับที่ Vertigo เคยทำสำเร็จมาแล้ว เป็นหนังดีมากกกกกที่ค่อนข้างเงียบพอสมควร ป.ล. Rachel Weisz เล่นดีมาก!
5.
Blancanieves (2012)
- โคตร underrated แน่นอนครับเรื่องนี้เพราะมันเงียบมากกกกก เป็นหนังที่ตีความ Snow White ออกมาได้สดใหม่โดยที่ยังคงรักษาความเป็นต้นฉบับ ที่สำคัญคือผูกท้องเรื่องเข้ากับวัฒนธรรมมาทาดอร์ได้โคตรแนบเนียน เพียงแต่ความเป็นหนังเงียบขาวดำในยุค 2000s คงทำให้มันถูกมองข้ามไปอย่างโคตรของโคตรของโคตรน่าเสียดาย
6.
The Man Who Wasn't There (2001)
- พูดถึงหนังขาวดำแล้วต้องยกหนังพี่น้องโคเอนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะมันได้รับการยกย่องน้อยกว่าผลงานเรื่องอื่นของเขาค่อนข้างเยอะมาก มันเป็นหนังฟิล์มนัวร์ยุค 2000s ที่ยังเล่าเรื่องได้ค่อนข้างใหม่ โดยยังรักษาคอนเซปถ่ายแบบ low-key, เนื้อหาเกี่ยวกับความโลภ+ทะเยอะทะยานจนพังพินาศ เป็นงานฟิล์มนัวร์ที่ยอดเยี่ยมมากครับ ป.ล. ใครอยากดู Scarlett Johansson ตอนยังไม่เซ็กซี่ก็เชิญครับ
7.
The Score (2001)
- มันเป็นหนังปล้น (heist film) ที่ดูแล้วคิดถึงงานยุค 70 ตรงที่มันไม่เน้นดราม่าไม่เน้นแอ็คชั่น ขายแต่แผนการปล้นและความเป็นหนังทริลเลอร์เท่านั้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ยุค 70 นิยมทำกัน The Score ก็มารูปแบบนี้ครับ แผนปล้นธรรมดาไม่หวือหวา ดูจบก็ไม่ได้ทึ่งอะไร แต่ก็ควรค่าแก่การรับชมสักครั้งครับ ที่สำคัญคือไม่บ่อยนักที่ 2 ก็อดฟาเธอร์จะมาอยู่ในเรื่องเดียว Robert De Niro + Marlon Brando โดยมีนักแสดงชายยอดเยี่ยมอีกคนอย่าง Edward Norton ด้วยครับ
8.
Breach (2007)
- เป็นหนังที่สร้างจากเรื่องจริงของการหาหลักฐานเปิดโปงสายลับสองหน้าที่ทำงานให้อเมริกาแต่ขายข่าวให้รัสเซีย ด้วยบรรยากาศของหนังอย่างกับการถ่ายทอดยุคสงครามเย็นเลยครับ ราบเรียบเงียบสงบแต่กดดันอย่างมาก ป.ล. Chris Cooper เป็นนักแสดงคนโปรดผมด้วยครับ อิอิ
9.
Punch-Drunk Love (2002)
- เวลาคนพูดถึงหนังรอมคอมดี ๆ ไม่ค่อยมีคนพูดถึงเรื่องนี้กันสักเท่าไร ทั้งที่มันควรถูกยกย่องระดับเดียวกับ When Harry Met Sally เลยนะ มันมีตัวละครพร้อมปมในใจที่แข็งแรง มีการดำเนินเรื่องที่สนุกตามแบบของหนังคอเมดี้ ความรักอารมณ์โรแมนซ์แบบผู้ใหญ่ ๆ หน่อย ผลงานชั้นดีจาก Paul Thomas Anderson ครับ
10.
Take Shelter (2011)
- เพราะหน้าหนังมันหลอกไปอีกทางหรือเปล่าหรืออย่างไร แต่แท้จริงแล้วมันคือหนังที่เล่นกับอาการทางจิตผสมกับมุมของวิกฤติหัวหน้าครอบครัววัยกลางคน ซึ่งเขียนบทออกมาได้ดีมากๆๆๆๆๆๆ แถมได้การแสดงของ Michael Shannon + Jessica Chastain พยุงหนังไว้ได้อย่างดี บางครั้งสาระมันอยู่ที่ระหว่างทางครับ อย่าไปสนใจปลายทางกันนักเลย
11.
Adaptation. (2002)
- นี่เป็นหนังที่ผมยกย่องอวยคนเขียนบทว่าเก่งที่เขียนพล็อตได้สดใหม่และยังจิกกัดสไตล์การเขียนบทภาพยนตร์ของ Hollywood ได้อย่างร้ายกาจ เมื่อเราอยากเขียนบทหนังเกี่ยวกับดอกกล้วยไม้โดยที่ยังให้เกียรติต้นฉบับ มันจะเป็นยังไงต้องไปดูกันเองครับ ทีมนักแสดงขั้นเทพ Nicolas Cage, Meryl Streep และออสการ์ตัวเดียวของ Chris Cooper ครับ
12.
Master and Commander: The Far Side of the World (2003)
- ขนาดหนังเข้าชิง 10 ออสการ์ผมยังรู้สึกว่ามันไม่ค่อยได้รับการพูดถึงสักเท่าไร จุดเด่นของมันคือเป็นหนังเรือรบกลางทะเลที่สมจริงด้วยยุทธวิธี งานเทคนิคชั้นเลิศ โดยเฉพาะเรื่องบันทึกเสียงนี่โคตรสมจริง!!! สมจริงขนาดไหนไปดูกันเองเถอะครับ อิอิ ป.ล. Russell Crowe เอาอยู่เช่นเคย ยุคทองของเขาก่อนดรอปลงมาเลย ฮ่าๆๆๆ
13.
Seabiscuit (2003)
- พอพูดถึงออสการ์แล้วนึกถึงหนังเรื่องนี้ตามมาเลย หนังเยี่ยมมากครับกับการให้ความสำคัญกับ 'ระหว่างทาง' มากกว่า 'เส้นชัย' การสร้างอารมณ์ร่วมกับคนดูในฉากแข่งม้าและฉากสร้างพลังใจทั้งหลาย เป็นหนังที่สามารถดึงผมให้มีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวทั้งสุขและทุกข์ของ Seabiscuit เกือบตลอดทั้ง 140 นาที เข้าชิง 7 ออสการ์แต่คนไม่ค่อยพูดถึงกันเลย หะหะ
14.
The Messenger (2009)
- มันอาจจะไม่ใช่หนังที่ดีเลิศอะไรมาก แต่ผมคิดว่าการหยิบ 'ผลกระทบจากสงครามอิรัก' มาทำหนังแบบนี้ก็เป็นการสร้างความน่าสนใจของตัวมันเองได้อยู่ด้วยมุมที่ค่อนข้างใหม่เพราะหนังเลือกหยิบตัวละครมาทำหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวการเสียชีวิตของทหารให้กับญาติสนิท เป็นอีกหนึ่งหนังที่คนไม่ค่อยรู้จักแต่อยากแนะนำให้ได้ดูกันครับ
15.
In the Valley of Elah (2007)
- และก็ต้องชมเรื่องนี้ต่อเนื่องกันเลยครับ เพราะมันพูดถึง 'ผลกระทบจากสงครามอิรัก' ด้วยการเอามาทำเป็นหนังสืบสวนเรียบง่ายแต่น่าเชื่อถือในความสมจริง แต่พอดูไปดูมาต้องร้องว่า "เฮ้ย นี่มันหนังด่ารัฐบาลนิหว่า" ฮ่าๆๆๆ กำกับและเขียนบทโดยมือดีอย่าง Paul Haggis ครับ
16.
The Next Three Days (2010)
- พอพูดถึง Paul Haggis แล้วขอหยิบเรื่องนี้มาอวยครับ ผมขอตั้งฉายาให้มันว่า 'The Fugitive ของปี 2010' คือเรียกเพราะสไตล์หนังมันคล้ายกันคือเป็นหนังไล่ล่าที่ไม่ใช้ฉากแอ็คชั่น ตัวเอกเป็นคนธรรมดาเหมือนกัน ดูสนุกตื่นเต้นกับการชิงไหวชิงพริบเหมือนกันครับ ลองหามาชมกันนะครับ
17.
13 Assassins (2010)
- มีความรู้สึกว่าหลัง ๆ หาหนังแอ็คชั่นดี ๆ ดูยากเหลือเกินจนกระทั่งมาเจอเรื่องนี้ที่ขอเรียกฉายาว่า 'Seven Samurai เวอชั่นบู๊แหลก' หนังมันเจ๋งตั้งแต่การสร้างอารมณ์ร่วมกับคนดูให้เกลียดตัวร้ายและต้องมาเอาใจช่วยตัวเอกในการลอบสังหารตัวร้ายให้สำเร็จ ที่สำคัญคือฉากแอ็คชั่น 40 นาทีช่วงท้ายมันถูกใจมากครับ เป็นงานสร้างความบันเทิงที่ไม่ละทิ้งแก่นของหนังซามูไร
18.
The Count of Monte Cristo (2002)
- ในบรรดาหนังแนวคิดบัญชีแค้นนี่มันถูกมองข้ามไปพอสมควรเลยแฮะ เป็นหนังที่ดำเนินเรื่องเร็ว แม่นประเด็นที่จะสื่อ ตัวละครน่าเห็นใจ หนังดูง่าย ดูสนุกน่าติดตามครับ
19.
Confessions of a Dangerous Mind (2002)
- ต้องชมคนเขียนบทว่าหยิบบันทึกของ 'ชัค' ที่มันคลุมเครือไม่มีอะไรมาพิสูจน์นอกจากคำกล่าวอ้าง(ซึ่งมีแต่คนกล่าวหาว่าเขาอยากดัง)มาเขียนให้ออกมาได้คลุมเครือเช่นเดียวกัน เป็นหนังที่ดูได้เพลิน ๆ ครับ งานกำกับเรื่องแรกของ George Clooney ด้วยครับ
20.
Zodiac (2007)
- ความลึกลับของฆาตกรและความกดดันจากเหตุฆาตกรรม อารมณ์ภาพในหนัง วิธีการเล่าเรื่องแบบเรื่อย ๆ ไม่เร่งจังหวะ ไม่จงใจเร่งอารมณ์คนดู ผมว่ามันเจ๋งเลยนะ ปล่อยหนังไปเรื่อย ๆ แล้วพอเริ่มสงสัยตัวคนร้ายมันจะรู้สึกกดดันไปเองครับ อีกหนึ่งงานที่ได้รับการพูดถึงน้อยกว่างาน suspense เรื่องอื่น
21.
Watchmen (2009)
- อาจจะเพราะหน้าหนังมันเป็นอนิเมชั่น 'superhero' เลยทำให้มันถูกมองข้ามเนื้อหาของหนังที่เป็นโทน dark hero แฝงปรัชญา ที่สำคัญคือตอบโจทย์ความบันเทิงได้ด้วย ภาพสวย ตัวละครเท่ จะเอาอะไรมากกว่านี้อีก
22.
City of Life and Death (2009)
- ถ้าถามหาหนังสงครามที่ดีที่สุดในยุค 2000s ล่ะก็ต้องใส่หนังเหตุการณ์สังหารหมู่นานกิงเรื่องนี้ไว้ลำดับต้น ๆ เลยครับ ฉากแอ็คชั่นในเมืองที่สมจริง ช่วงดราม่าสงครามที่หดหู่บาดหัวใจ การนำเสนอผลกระทบของสงครามที่มีต่อจิตใจทหารฝ่ายญี่ปุ่น เป็นหนังต่อต้านสงครามที่ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่งครับ
23.
The Fall (2006)
- มันคือหนึ่งในหนังภาพสวยที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เลยครับ (อวยสุดๆๆๆ) แล้วที่สำคัญคือ no CGI จ้าาาา เทพป่ะล่ะ! เนื้อหาหนังอาจจะไม่ได้ว้าวอะไรมาก แต่งานภาพ งานเทคนิคที่ชวนตะลึงทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้จริง ๆ รวมถึงคุณค่าของการยกย่องคารวะสตั๊นท์แมนในหนังขาวดำสมัยก่อนด้วย
ยังมีต่อจ้า
หนังโปรดของข้าพเจ้า: https://www.facebook.com/MyFavouriteFilms
55 หนัง 'underrated' แห่งยุค 2000s ในสายตาของข้าพเจ้า
เห็นมีคนลงความเห็นให้แนะนำหนัง underrated กัน ก็เลยคิดว่าเอาหนัง underrated ในสายตาเรามาแชร์มั่งดีกว่า
หนัง Underrated คืออะไร มันคือหนังที่คนยกย่องน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะถูกหน้าหนังหรืออะไรก็แล้วแต่กลบทับเนื้อหาสาระ หรือเป็นหนังดีที่มีคนยกย่องสูงแต่คนรู้จักกันน้อย เหล่านี้จัดเป็นหนัง underrated ได้หมดครับ
และวันนี้ผมขอมาแบ่งปันหนัง underrated ของยุค 2000s ตั้งแต่ปี 2000-2013 ให้ได้รับไปพิจารณากันครับ หลายเรื่องผมเคยรีวิวเต็ม ๆ ไว้แล้วในเพจ ลองเปิดดูในอัลบั้มได้เลยครับ
เริ่มต้นกันเลยครับ
1. Easy A (2010)
- ไม่รู้เพราะหน้าหนังมันเป็นหนัง Bitch Girl + High School หรือเปล่าเลยทำให้มันถูกมองข้ามเนื้อหาสาระไป เพราะเนื้อแท้แล้วมันคือหนังสังคมเด็กม.ปลายผสมข่าวลือ หรือว่ากันง่าย ๆ ก็คือ Gossip Girlเวอชั่นมีสาระนั่นเองครับ อ่อ Emma Stone นางเอาอยู่!! ผมตกหลุมรักเธอเต็ม ๆ จากเรื่องนี้เนี่ยแหละครับ
2. The Lookout (2007)
- ไอเดียการใช้ตัวเอกเป็นบุคคลทุพพลภาพในหนังแนวดราม่าอาชญากรรมผมว่ามันสนใจมากครับ เป็นอีกหนึ่งหนังดีที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงสักเท่าไร ป.ล. แฟน JGL ห้ามพลาดเด็ดขาดครับ
3. Side Effects (2013)
- ในยุคที่หนังสืบสวนจิตวิทยามันหาดูยาก การมาของ Side Effects จึงเป็นอะไรที่ผมประหลาดใจและทึ่งมาก ผลงานกำกับชิ้นสุดท้ายของโซเดอเบิร์กต้องเรียกว่าเป็น 'Modern Hitchcock' เลยครับ มันเป็นหนังสืบสวนที่ใช้ทุกอย่างที่หนังเล่ามานั่นแหละเฉลยแบบซื่อสัตย์กับคนดู และการแสดงของ Rooney Mara ในเรื่องนี้ทำเอาผมประทับใจมาก!
4. The Constant Gardener (2005)
- พูดถึง Hitchcock แล้วคงไม่พูดถึงหนังเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะบทหนังมันคือสไตล์ Vertigo แห่งยุค 2000s เลยครับ ด้วยความเป็นหนังสืบสวนอิงประเด็นสะท้อนสังคมระดับโลก แต่ทั้งเรื่องกลับเต็มไปด้วยกลิ่นของหนังโรแมนซ์แบบเดียวกับที่ Vertigo เคยทำสำเร็จมาแล้ว เป็นหนังดีมากกกกกที่ค่อนข้างเงียบพอสมควร ป.ล. Rachel Weisz เล่นดีมาก!
5. Blancanieves (2012)
- โคตร underrated แน่นอนครับเรื่องนี้เพราะมันเงียบมากกกกก เป็นหนังที่ตีความ Snow White ออกมาได้สดใหม่โดยที่ยังคงรักษาความเป็นต้นฉบับ ที่สำคัญคือผูกท้องเรื่องเข้ากับวัฒนธรรมมาทาดอร์ได้โคตรแนบเนียน เพียงแต่ความเป็นหนังเงียบขาวดำในยุค 2000s คงทำให้มันถูกมองข้ามไปอย่างโคตรของโคตรของโคตรน่าเสียดาย
6. The Man Who Wasn't There (2001)
- พูดถึงหนังขาวดำแล้วต้องยกหนังพี่น้องโคเอนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะมันได้รับการยกย่องน้อยกว่าผลงานเรื่องอื่นของเขาค่อนข้างเยอะมาก มันเป็นหนังฟิล์มนัวร์ยุค 2000s ที่ยังเล่าเรื่องได้ค่อนข้างใหม่ โดยยังรักษาคอนเซปถ่ายแบบ low-key, เนื้อหาเกี่ยวกับความโลภ+ทะเยอะทะยานจนพังพินาศ เป็นงานฟิล์มนัวร์ที่ยอดเยี่ยมมากครับ ป.ล. ใครอยากดู Scarlett Johansson ตอนยังไม่เซ็กซี่ก็เชิญครับ
7. The Score (2001)
- มันเป็นหนังปล้น (heist film) ที่ดูแล้วคิดถึงงานยุค 70 ตรงที่มันไม่เน้นดราม่าไม่เน้นแอ็คชั่น ขายแต่แผนการปล้นและความเป็นหนังทริลเลอร์เท่านั้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ยุค 70 นิยมทำกัน The Score ก็มารูปแบบนี้ครับ แผนปล้นธรรมดาไม่หวือหวา ดูจบก็ไม่ได้ทึ่งอะไร แต่ก็ควรค่าแก่การรับชมสักครั้งครับ ที่สำคัญคือไม่บ่อยนักที่ 2 ก็อดฟาเธอร์จะมาอยู่ในเรื่องเดียว Robert De Niro + Marlon Brando โดยมีนักแสดงชายยอดเยี่ยมอีกคนอย่าง Edward Norton ด้วยครับ
8. Breach (2007)
- เป็นหนังที่สร้างจากเรื่องจริงของการหาหลักฐานเปิดโปงสายลับสองหน้าที่ทำงานให้อเมริกาแต่ขายข่าวให้รัสเซีย ด้วยบรรยากาศของหนังอย่างกับการถ่ายทอดยุคสงครามเย็นเลยครับ ราบเรียบเงียบสงบแต่กดดันอย่างมาก ป.ล. Chris Cooper เป็นนักแสดงคนโปรดผมด้วยครับ อิอิ
9. Punch-Drunk Love (2002)
- เวลาคนพูดถึงหนังรอมคอมดี ๆ ไม่ค่อยมีคนพูดถึงเรื่องนี้กันสักเท่าไร ทั้งที่มันควรถูกยกย่องระดับเดียวกับ When Harry Met Sally เลยนะ มันมีตัวละครพร้อมปมในใจที่แข็งแรง มีการดำเนินเรื่องที่สนุกตามแบบของหนังคอเมดี้ ความรักอารมณ์โรแมนซ์แบบผู้ใหญ่ ๆ หน่อย ผลงานชั้นดีจาก Paul Thomas Anderson ครับ
10. Take Shelter (2011)
- เพราะหน้าหนังมันหลอกไปอีกทางหรือเปล่าหรืออย่างไร แต่แท้จริงแล้วมันคือหนังที่เล่นกับอาการทางจิตผสมกับมุมของวิกฤติหัวหน้าครอบครัววัยกลางคน ซึ่งเขียนบทออกมาได้ดีมากๆๆๆๆๆๆ แถมได้การแสดงของ Michael Shannon + Jessica Chastain พยุงหนังไว้ได้อย่างดี บางครั้งสาระมันอยู่ที่ระหว่างทางครับ อย่าไปสนใจปลายทางกันนักเลย
11. Adaptation. (2002)
- นี่เป็นหนังที่ผมยกย่องอวยคนเขียนบทว่าเก่งที่เขียนพล็อตได้สดใหม่และยังจิกกัดสไตล์การเขียนบทภาพยนตร์ของ Hollywood ได้อย่างร้ายกาจ เมื่อเราอยากเขียนบทหนังเกี่ยวกับดอกกล้วยไม้โดยที่ยังให้เกียรติต้นฉบับ มันจะเป็นยังไงต้องไปดูกันเองครับ ทีมนักแสดงขั้นเทพ Nicolas Cage, Meryl Streep และออสการ์ตัวเดียวของ Chris Cooper ครับ
12. Master and Commander: The Far Side of the World (2003)
- ขนาดหนังเข้าชิง 10 ออสการ์ผมยังรู้สึกว่ามันไม่ค่อยได้รับการพูดถึงสักเท่าไร จุดเด่นของมันคือเป็นหนังเรือรบกลางทะเลที่สมจริงด้วยยุทธวิธี งานเทคนิคชั้นเลิศ โดยเฉพาะเรื่องบันทึกเสียงนี่โคตรสมจริง!!! สมจริงขนาดไหนไปดูกันเองเถอะครับ อิอิ ป.ล. Russell Crowe เอาอยู่เช่นเคย ยุคทองของเขาก่อนดรอปลงมาเลย ฮ่าๆๆๆ
13. Seabiscuit (2003)
- พอพูดถึงออสการ์แล้วนึกถึงหนังเรื่องนี้ตามมาเลย หนังเยี่ยมมากครับกับการให้ความสำคัญกับ 'ระหว่างทาง' มากกว่า 'เส้นชัย' การสร้างอารมณ์ร่วมกับคนดูในฉากแข่งม้าและฉากสร้างพลังใจทั้งหลาย เป็นหนังที่สามารถดึงผมให้มีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวทั้งสุขและทุกข์ของ Seabiscuit เกือบตลอดทั้ง 140 นาที เข้าชิง 7 ออสการ์แต่คนไม่ค่อยพูดถึงกันเลย หะหะ
14. The Messenger (2009)
- มันอาจจะไม่ใช่หนังที่ดีเลิศอะไรมาก แต่ผมคิดว่าการหยิบ 'ผลกระทบจากสงครามอิรัก' มาทำหนังแบบนี้ก็เป็นการสร้างความน่าสนใจของตัวมันเองได้อยู่ด้วยมุมที่ค่อนข้างใหม่เพราะหนังเลือกหยิบตัวละครมาทำหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวการเสียชีวิตของทหารให้กับญาติสนิท เป็นอีกหนึ่งหนังที่คนไม่ค่อยรู้จักแต่อยากแนะนำให้ได้ดูกันครับ
15. In the Valley of Elah (2007)
- และก็ต้องชมเรื่องนี้ต่อเนื่องกันเลยครับ เพราะมันพูดถึง 'ผลกระทบจากสงครามอิรัก' ด้วยการเอามาทำเป็นหนังสืบสวนเรียบง่ายแต่น่าเชื่อถือในความสมจริง แต่พอดูไปดูมาต้องร้องว่า "เฮ้ย นี่มันหนังด่ารัฐบาลนิหว่า" ฮ่าๆๆๆ กำกับและเขียนบทโดยมือดีอย่าง Paul Haggis ครับ
16. The Next Three Days (2010)
- พอพูดถึง Paul Haggis แล้วขอหยิบเรื่องนี้มาอวยครับ ผมขอตั้งฉายาให้มันว่า 'The Fugitive ของปี 2010' คือเรียกเพราะสไตล์หนังมันคล้ายกันคือเป็นหนังไล่ล่าที่ไม่ใช้ฉากแอ็คชั่น ตัวเอกเป็นคนธรรมดาเหมือนกัน ดูสนุกตื่นเต้นกับการชิงไหวชิงพริบเหมือนกันครับ ลองหามาชมกันนะครับ
17. 13 Assassins (2010)
- มีความรู้สึกว่าหลัง ๆ หาหนังแอ็คชั่นดี ๆ ดูยากเหลือเกินจนกระทั่งมาเจอเรื่องนี้ที่ขอเรียกฉายาว่า 'Seven Samurai เวอชั่นบู๊แหลก' หนังมันเจ๋งตั้งแต่การสร้างอารมณ์ร่วมกับคนดูให้เกลียดตัวร้ายและต้องมาเอาใจช่วยตัวเอกในการลอบสังหารตัวร้ายให้สำเร็จ ที่สำคัญคือฉากแอ็คชั่น 40 นาทีช่วงท้ายมันถูกใจมากครับ เป็นงานสร้างความบันเทิงที่ไม่ละทิ้งแก่นของหนังซามูไร
18. The Count of Monte Cristo (2002)
- ในบรรดาหนังแนวคิดบัญชีแค้นนี่มันถูกมองข้ามไปพอสมควรเลยแฮะ เป็นหนังที่ดำเนินเรื่องเร็ว แม่นประเด็นที่จะสื่อ ตัวละครน่าเห็นใจ หนังดูง่าย ดูสนุกน่าติดตามครับ
19. Confessions of a Dangerous Mind (2002)
- ต้องชมคนเขียนบทว่าหยิบบันทึกของ 'ชัค' ที่มันคลุมเครือไม่มีอะไรมาพิสูจน์นอกจากคำกล่าวอ้าง(ซึ่งมีแต่คนกล่าวหาว่าเขาอยากดัง)มาเขียนให้ออกมาได้คลุมเครือเช่นเดียวกัน เป็นหนังที่ดูได้เพลิน ๆ ครับ งานกำกับเรื่องแรกของ George Clooney ด้วยครับ
20. Zodiac (2007)
- ความลึกลับของฆาตกรและความกดดันจากเหตุฆาตกรรม อารมณ์ภาพในหนัง วิธีการเล่าเรื่องแบบเรื่อย ๆ ไม่เร่งจังหวะ ไม่จงใจเร่งอารมณ์คนดู ผมว่ามันเจ๋งเลยนะ ปล่อยหนังไปเรื่อย ๆ แล้วพอเริ่มสงสัยตัวคนร้ายมันจะรู้สึกกดดันไปเองครับ อีกหนึ่งงานที่ได้รับการพูดถึงน้อยกว่างาน suspense เรื่องอื่น
21. Watchmen (2009)
- อาจจะเพราะหน้าหนังมันเป็นอนิเมชั่น 'superhero' เลยทำให้มันถูกมองข้ามเนื้อหาของหนังที่เป็นโทน dark hero แฝงปรัชญา ที่สำคัญคือตอบโจทย์ความบันเทิงได้ด้วย ภาพสวย ตัวละครเท่ จะเอาอะไรมากกว่านี้อีก
22. City of Life and Death (2009)
- ถ้าถามหาหนังสงครามที่ดีที่สุดในยุค 2000s ล่ะก็ต้องใส่หนังเหตุการณ์สังหารหมู่นานกิงเรื่องนี้ไว้ลำดับต้น ๆ เลยครับ ฉากแอ็คชั่นในเมืองที่สมจริง ช่วงดราม่าสงครามที่หดหู่บาดหัวใจ การนำเสนอผลกระทบของสงครามที่มีต่อจิตใจทหารฝ่ายญี่ปุ่น เป็นหนังต่อต้านสงครามที่ดีที่สุดอีกเรื่องหนึ่งครับ
23. The Fall (2006)
- มันคือหนึ่งในหนังภาพสวยที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เลยครับ (อวยสุดๆๆๆ) แล้วที่สำคัญคือ no CGI จ้าาาา เทพป่ะล่ะ! เนื้อหาหนังอาจจะไม่ได้ว้าวอะไรมาก แต่งานภาพ งานเทคนิคที่ชวนตะลึงทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้จริง ๆ รวมถึงคุณค่าของการยกย่องคารวะสตั๊นท์แมนในหนังขาวดำสมัยก่อนด้วย
ยังมีต่อจ้า
หนังโปรดของข้าพเจ้า: https://www.facebook.com/MyFavouriteFilms