เรื่องไฟฟ้า ที่ไม่ควรมองข้าม กับจุดเสี่ยงโดนไฟดูด

สิ่งสำคัญของระบบจ่ายไฟฟ้า ที่ปลอดภัยจากไฟฟ้าดูด
การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด ควบคุมวงจรไฟฟ้าต่างๆ

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย
EIT Standard 2001-56.

สำหรับที่อยู่อาศัย
3.1.8 การป้องกันไฟฟ้าดูดโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่วในที่อยู่อาศัยและที่คล้ายคลึงกัน
วงจรย่อยต่อไปนี้นอกจากมีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและติดตั้งตามบทที่ 4 แล้ว ต้องมีการป้องกัน
โดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว ไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์ เพิ่มเติมด้วย คือ

ก) วงจรเต้ารับในบริเวณห้องน้ำห้องอาบน้ำโรงจอดรถยนต์ ห้องครัว ห้องใต้ดิน
ข) วงจรเต้ารับในบริเวณ อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ (บริเวณพื้นที่เคาน์เตอร์ที่มีการติดตั้งรับภายในระยะ 1.5 เมตร ห่างจากขอบด้านนอกของอ่าง)
ค) วงจรไฟฟ้าเพื่อใช้จ่ายภายนอกอาคาร และบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่อยู่ในตำแหน่งที่บุคคลสัมผัสได้ทุกวงจร
ง) วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น 1) รวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินที่อยู่ในพื้นที่ปรากฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง
จ) วงจรย่อยสำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน อ่างอาบน้ำ
*หมายเหตุ ตำแหน่งที่สัมผัสได้ หมายถึงอย่ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตร
ในแนวดิ่ง หรือ 1.5 เมตร ในแนวระดับและบุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ตั้งใจ

เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการความปลอดภัยนี้ อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด เพียงหนึ่งตัวก็สามารถป้องกันเต้ารับ และวงจรต่างๆได้ครบโดยที
สายนิวทรอลต้องต่อผ่าน อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด เพื่อทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟดูดทำงานได้อย่างถูกต้อง



อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด RCD ที่ติดตั้งในระบบไฟฟ้าทำงานอย่างไร

อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด ทำงานโดยการเปรียบเทียบระดับกระแสไฟฟ้าทางสายนิวทรอลและสายไลน์ ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีค่าเท่ากัน
หากว่าระดับของกระแสไฟฟ้านั้นต่างกันเกินกว่า 30mA นั้นหมายถึงมีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด จะตัดวงจร
โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่มิลลิวินาที จึงช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรืออันตรายแก่ชีวิต

Cr. http://bit.ly/1gmjbZX
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่