3.ขั้นตอนและวิธีการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ
ในการดำเนินการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษนั้น มีทั้งเหมือนและต่างจากการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าบ้างในบางขั้นตอน
ซึ่งหลังจากที่เรือนจำกลางบางขวางได้รับคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี หรือคำสั่งใดก็ตามที่มีอำนาจถูกต้องตามกฎหมาย ให้ดำเนินการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดที่ถูกศาลตัดสินลงโทษประหาร เรือนจำจะมอบหมายหน้าที่ให้ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขังทำการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักโทษประหารว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับคำสั่งที่ให้ดำเนินการประหารชีวิตหรือไม่ เพื่อป้องกันการประหารผิดคน เช่นเดียวกับการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า แต่จะออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ ดังนี้
1. หัวหน้าชุดพี่เลี้ยง 1 นาย
2.พี่เลี้ยง 3 นายต่อนักโทษประหาร 1 คน
3.หัวหน้าชุดผู้ไปรับยาและสารพิษ 1 นาย
4.เจ้าหน้าที่รับยาและสารพิษ 3 นาย
5.เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 1 นาย
6.เจ้าหน้าที่ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ 2 นาย
7.เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติ 4 นาย
8.ช่างภาพ 1 นาย
9.ผู้ให้สัญญาณการประหารชีวิต 1 นาย (หัวหน้าชุดประหาร)
10.เจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษ 3 นาย
จากนั้นจะแจ้งเจ้าหน้าที่ทั้งหมดทราบอย่างเป็นความลับที่สุด และทำการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษให้มีความพร้อมไว้ในทุกจุดของเรือนจำ เพื่อป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
เจ้าหน้าที่ชุดประหารเมื่อรับทราบคำสั่งแล้ว จะจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประหารชีวิต เช่น ตรวจสอบความพร้อมของห้องประหาร เตียงประหาร สายยางสำหรับเดินน้ำยาและสารพิษ ห้องสักขีพยาน ถุงมือยาง อาหารมื้อสุดท้าย ดอกไม้ธูปเทียน ฯลฯ รวมทั้งนิมนต์พระหรือตัวแทนศาสนาอื่นที่นักโทษประหารนับถือไว้ และแจ้งไปที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมดำเนินการด้านการตรวจสอบประวัติบุคคลทั้งก่อนและการประหารชีวิต รวมทั้งทำหนังสือแจ้งกรรมการซึ่งมีหลายหน่วยงานให้รับทราบ เพื่อมาร่วมเป็นสักขีพยาน
เวลาประมาณ 11.00 น. เจ้าหน้าที่รับยาและสารพิษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะเดินทางไปรับยาและสารพิษที่กรมราชทัณฑ์ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามเรือนจำกลางบางขวาง ซึ่งมีตัวยาและสารพิษที่จะต้องใช้กับนักโทษประหาร ดังนี้
1.สารโซเดียนเพนโททัล
2.สารแพนคูไรเนียมโบรไมค์
3.สารโพแทสเซี่ยมคลอไรด์
เวลาประมาณ 16.00 น. น. เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง จะเข้าไปเบิกตัวนักโทษประหารจากห้องควบคุมภายในแดน ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ทำการควบคุมตัวนักโทษประหารไว้สองแดน คือ แดน2 และแดน5 นำตัวไปที่ศาลาเย็นใจ หน้าห้องประหารด้วยการยิงเป้าเดิม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนก่อนการประหาร การนำตัวนักโทษไปศาลาเย็นใจจะให้นักโทษนั่งรถกอล์ฟโดยมีพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด และแวะที่ศาลเจ้าพ่อเจตคุปย์เพื่อให้นักโทษกราบไหว้เช่นเดียวกัน
เมื่อถึงศาลาเย็นใจ เจ้าหน้าที่ทะเบียนประวัติผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร จะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ตำหนิแผลเป็น และพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับที่มีคำสั่งให้ประหารชีวิตหรือไม่ เสร็จแล้วจะให้เขียนจดหมายและทำพินัยกรรม ต่อจากนั้นจะเปิดโอกาสให้โทรศัพท์หาญาติได้เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งสมัยที่ใช้วิธีการยิงเป้าจะไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์อย่างเด็ดขาด
หลังจากโทรศัพท์สั่งเสียญาติเสร็จแล้ว ผู้อำนวยการส่วนควบคุมหรือเวรผู้ใหญ่จะเข้ามาอ่านคำสั่งยกฎีกาให้นักโทษประหารฟัง แล้วนำตัวไปนั่งที่เก้าอี้ขาวหันหน้าไปทางวัดบางแพรกใต้ พี่เลี้ยงจะนำดอกไม้ธูปเทียนให้นักโทษประหารกราบไหว้ไปที่อุโบสถของวัด จากนั้นจะนำตัวไปที่ห้องประหารด้วยการฉีดสารพิษซึ่งอยู่ด้านหลังฝั่งขวาของห้องประหารด้วยการยิงเป้า (สถานที่หมดทุกข์) โดยยังไม่ผูกตาของนักโทษ
บริเวณห้องประหารด้วยการฉีดสารพิษ จะมีห้องทาสีขาวขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร คูณ 2 เมตร จำนวน 2 ห้องอยู่ในช่องทางก่อนเข้าถึงจุดประหาร ด้านในสุดของทั้งสองห้องจะมีช่องหน้าต่างมองทะลุไปยังอีกห้องหนึ่ง ถ้าประหารเพียงรายเดียวก็จะใช้เพียงห้องเดียว แต่ถ้าทำการประหารมากกว่าหนึ่งรายจะใช้ห้องนี้พร้อมกันทั้งสองห้อง ภายในห้องจะมีอาหารมื้อสุดท้ายวางไว้พร้อมน้ำดื่ม พี่เลี้ยงจะเข้าไปยู่ในห้องนี้กับนักโทษประหารโดยมีการปิดล็อคประตูด้านนอกไว้ พี่เลี้ยงจะเปิดโอกาสให้นักโทษรับประทานอาหารจนอิ่ม และชวนพูดคุยเพื่อให้นักโทษคลายความเครียด
เสร็จจากอาหารมื้อสุดท้าย จะมีพระสงฆ์มานั่งในห้องที่สามารถมองทะลุได้จากช่องหน้าต่างของห้องที่ควบคุมตัวนักโทษประหารไว้ พระสงฆ์จะเทศนาธรรมให้กับนักโทษฟังเป็นครั้งสุดท้าย นักโทษประหารจะถวายดอกไม้ธูปเทียนที่ถือมาให้พระสงฆ์ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการทางศาสนา ในกรณีที่นักโทษประหารนับถือศาสนาอื่น ก็จะให้ประกอบพิธีทางศาสนาที่นับถือภายในห้องนี้เช่นกัน
เมื่อเสร็จขั้นตอนทางศาสนา พี่เลี้ยงจะแจ้งให้หัวหน้าชุดพี่เลี้ยงที่อยู่นอกห้องทราบ หัวหน้าชุดจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษ เมื่อทุกอย่างพร้อม หัวหน้าชุดพี่เลี้ยงจะไขกุญแจห้องให้พี่เลี้ยงนำตัวนักโทษเข้าสู่ห้องประหาร ซึ่งพี่เลี้ยงจะนำผ้ามาปิดตาของนักโทษก่อนนำตัวไปยังห้องประหารชีวิต
ภายในห้องที่ใช้ในการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ จะมีเตียงนอนอยู่จำนวน 2 เตียง พื้นเบาะของเตียงเป็นสีดำ ความสูงของเตียงประมาณ 1.20 เมตร มีด้านข้างยื่นออกมาทั้งสองข้างแบบกางเขนนอน ที่เตียงจะมีเข็มขัดสำหรับรัดตัว 5 เส้น ที่กางเขนมีเข็มขัดสำหรับรัดแขนข้างละ 2 เส้น เตียงทั้งสองตั้งห่างกันประมาณ 2.5 เมตร ทั้งสองเตียงนี้มีชื่อเรียกว่า “เตียงประหาร” ที่หัวเตียงจะมีขาตั้งสำหรับแขวนถุงน้ำเกลือ
เมื่อนำนักโทษเข้ามาในห้องประหาร จะให้นักโทษนอนลงที่เตียงประหาร ใช้เข็มขัดรัดตัว 5 จุด ดังนี้
1.รัดที่ศีรษะบริเวณหน้าผาก
2.รัดที่หน้าอก
3.รัดที่หน้าท้อง
4.รัดที่หน้าขา
5.รัดที่ข้อเท้า
จากนั้นเจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษจะนำถุงน้ำเกลือมาต่อเข้าที่หลังมือของนักโทษประหาร ทำการปล่อยน้ำเกลือให้เดินเข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ ซึ่งยังไม่มีสารพิษเจือปนแต่อย่างใด
ถ้าประหารเพียงรายเดียว จะใช้เพียงเตียงเดียว แต่ถ้าประหารมากกว่าหนึ่งราย จะใช้เตียงทั้งสองในการประหารชีวิตพร้อมกัน โดยจะนำเข้ามาประหารครั้งละ1-2ราย จนกว่าจะหมดจำนวนที่มีคำสั่งให้ทำการประหารชีวิต
ที่ข้างเตียงประหารจะมีเครื่องตรวจจับสัญญาณเต้นของหัวใจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษจะต่อสายติดเข้าที่ร่างกายของนักโทษ ที่จอมอนิเตอร์จะเห็นสัญญาณการเต้นของหัวใจเป็นเส้นกร๊าฟขึ้นลง และเสียงดังเป็นจังหวะ “ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป” ไปเรื่อยๆ
พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆจะทำการขอขมาต่อนักโทษประหารที่นอนอยู่บนเตียง แล้วมายืนรออยู่ที่ข้างห้อง
บริเวณหัวเตียงประหารจะมีห้องหน้าต่างกระจกบานใหญ่หนึ่งห้อง เหนือกระจกจะมีไฟสีเขียวสีเหลืองและสีแดงติดอยู่ ภายในห้องหน้าต่างกระจกจะมีการต่อสายน้ำเกลือจากห้องออกไปที่เตียงประหาร ที่ปลายสายน้ำเกลือด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับปุ่มกด และที่ข้างปุ่มกดจะมีหัวอัดไซลิงค์ซึ่งมีไว้สำรองกรณีปุ่มกดขัดข้อง ส่วนปลายสายอีกด้านจะต่อเข้าใต้ถุงน้ำเกลือซึ่งได้ต่อสายไปที่หลังมือของนักโทษไว้แล้วโดยจะปิดทางเดินยาและสารพิษไว้ก่อน ปุ่มกดจะมีด้วยกันทั้งหมด 2 ชุด ชุดละ 3 ปุ่ม ทั้งสามปุ่มนี้จะบรรจุสารพิษปุ่มละชนิด ห้องนี้เรียกว่า “ห้องฉีดสารพิษ”
ที่ปลายเตียงประหาร จะมีห้องกระจกสีทึบอยู่ห้องหนึ่ง ถ้ามองจากห้องประหารออกไปจะมองไม่เห็นอะไร แต่ถ้ามองจากในห้องนี้ออกมาที่ห้องประหารจะสามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆภายในห้องประหารได้อย่างชัดเจน ห้องนี้คือห้องของกรรมการและสักขีพยาน
ซึ่งทั้งหมดจะมานั่งดูการดำเนินการประหารชีวิตภายในห้องนี้ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งนักโทษประหารได้สิ้นใจไปเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อคณะกรรมการและสักขีพยานพร้อมแล้ว และทำการมัดตัวนักโทษให้ติดกับเตียงประหาร พร้อมกับเดินสายน้ำเกลือเข้าเส้นเลือดที่หลังมือเป็นที่เรียบร้อย ผู้ให้สัญญาณการประหารชีวิตจะสะบัดธงแดงลงเพื่อให้สัญญาณว่าดำเนินการประหารได้
เจ้าหน้าที่ฉีดสารพิษจะปิดทางเดินน้ำเกลือสายที่มาจากถุงน้ำเกลือ แล้วเปิดทางเดินสายที่มาจากห้องฉีดสารพิษแทน จากนั้นจะดำเนินการฉีดสารพิษเข้าไปในสายน้ำเกลือ พร้อมกับไฟทั้งสามสีเหนือหน้าต่างกระจกสว่างขึ้นตามลำดับ ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง เมื่อไฟสีเขียวสว่างขึ้น เจ้าหน้าที่จะกดปุ่มฉีดสารโซเดียมเพนโททัล ชนิดผงละลายน้ำ ปริมาณ 20-25 ซีซี เข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ ยาชนิดนี้จะทำให้นักโทษประหารหลับลึก ไม่รู้สึกตัว
ขั้นตอนที่สอง เมื่อไฟสีเหลืองสว่างขึ้น เจ้าหน้าที่จะกดปุ่มฉีดสารแพนคูไรเนียมโบรไมค์ ชนิดน้ำ ปริมาณ 50 ซีซี เข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ ยาชนิดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้ระบบการหายใจหยุดทำงาน
ขั้นตอนที่สาม เมื่อไฟสีแดงสว่างขึ้น เจ้าหน้าที่จะกดปุ่มฉีดสารโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ ชนิดน้ำ ปริมาณ 50 ซีซี เข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษเป็นชนิดสุดท้าย ยาชนิดนี้จะทำให้หัวใจหยุดเต้น ซึ่งมีผลทำให้เสียชีวิตในที่สุด
ในระหว่างที่ยาและสารพิษทั้งสามชนิดเดินเข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ เส้นกร๊าฟที่จอมอนิเตอร์ของเครื่องตรวจจับการเต้นของหัวใจจะแคบลงและทิ้งระยะห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ เสียง “ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป” จะดังช้าลง ช้าลง ช้าลง จนกระทั่งเส้นกร๊าฟเปลี่ยนเป็นเส้นตรงพร้อมกับเสียงดังยาว “ปี๊ปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปป” ซึ่งหมายถึงเสียงเตือนจากเครื่องว่าหัวใจของร่างกายที่อยู่กับเครื่องตรวจจับการเต้นของหัวใจ ได้หยุดทำงานไปแล้ว
ถ้าเป็นเวลาปกติที่ใช้กับคนไข้ทั่วไป หมอและพยาบาลจะรีบเข้ามาช่วยกันปั๊มหัวใจของคนไข้เพื่อช่วยชีวิตให้พื้นขึ้นมา แต่สำหรับนักโทษประหาร จะปล่อยให้สัญญาณดังอยู่เช่นนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 นาที
เมื่อแน่ใจว่านักโทษประหารได้สิ้นใจไปแล้ว พี่เลี้ยงจะเชิญแพทย์มาตรวจร่างกายของนักโทษเพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อแพทย์ประกาศว่านักโทษประหารได้เสียชีวิตไปแล้ว ผู้ให้สัญญาณการฉีดยาและสารพิษจะสั่งให้พี่เลี้ยงนำร่างของนักโทษลงจากเตียงประหาร เจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษจะมาถอดสายน้ำเกลือและสายตรวจวัดชีพจรออกจากร่างกายของนักโทษ เจ้าหน้าที่ทุกนายจะทำการขอขมาต่อร่างของนักโทษประหารอีกครั้ง
พี่เลี้ยงจะช่วยกันปลดเข็มขัดที่รัดตัวของนักโทษออกทุกเส้น แล้วช่วยกันนำร่างของนักโทษลงจากเตียงประหารมาไว้บนถาดอลูมิเนียม จากนั้นจะนำถาดดังกล่าวใส่เข้าไปในช่องเก็บศพที่มีอุณหภูมิเย็นจัดซึ่งตั้งอยู่ในห้องประหารนั่นเอง เสร็จแล้วจะปิดช่องเก็บศพใส่กุญแจล็อคไว้ ทิ้งศพไว้ภายในนั้น 1 คืน
รุ่งเช้าจะมีเจ้าหน้าที่มาเปิดล็อคช่องเก็บศพ นักโทษชั้นดีที่อาสามาจะช่วยกันตัดตรวนออกจากเท้าของร่างนักโทษประหาร แล้วช่วยกันอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ทาแป้งจัดใส่เสื้อผ้าให้ใหม่ พร้อมกับห่อมัดตราสังข์ให้เรียบร้อยก่อนบรรลุลงโลงศพ จากนั้นจะส่งศพออกทางประตูผีที่ใช้มาตั้งแต่ยังมีการยิงเป้า นำศพไปเก็บไว้ที่ช่องเก็บศพนักโทษประหารของวัดบางแพรกใต้ เพื่อรอให้ญาติมารับไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป
เครดิต ยุทธบางขวาง (
http://yuthbk.blogspot.com/2011/09/8.html)
กระทู้ที่เกี่ยวข้อง
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร
http://ppantip.com/topic/31759500
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร "ขั้นตอนและวิธีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า"
http://ppantip.com/topic/31759609
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร "ขั้นตอนและวิธีการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ"
ในการดำเนินการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษนั้น มีทั้งเหมือนและต่างจากการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าบ้างในบางขั้นตอน
ซึ่งหลังจากที่เรือนจำกลางบางขวางได้รับคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี หรือคำสั่งใดก็ตามที่มีอำนาจถูกต้องตามกฎหมาย ให้ดำเนินการประหารชีวิตนักโทษเด็ดขาดที่ถูกศาลตัดสินลงโทษประหาร เรือนจำจะมอบหมายหน้าที่ให้ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขังทำการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักโทษประหารว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับคำสั่งที่ให้ดำเนินการประหารชีวิตหรือไม่ เพื่อป้องกันการประหารผิดคน เช่นเดียวกับการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า แต่จะออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ ดังนี้
1. หัวหน้าชุดพี่เลี้ยง 1 นาย
2.พี่เลี้ยง 3 นายต่อนักโทษประหาร 1 คน
3.หัวหน้าชุดผู้ไปรับยาและสารพิษ 1 นาย
4.เจ้าหน้าที่รับยาและสารพิษ 3 นาย
5.เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 1 นาย
6.เจ้าหน้าที่ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ 2 นาย
7.เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติ 4 นาย
8.ช่างภาพ 1 นาย
9.ผู้ให้สัญญาณการประหารชีวิต 1 นาย (หัวหน้าชุดประหาร)
10.เจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษ 3 นาย
จากนั้นจะแจ้งเจ้าหน้าที่ทั้งหมดทราบอย่างเป็นความลับที่สุด และทำการจัดวางกำลังเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษให้มีความพร้อมไว้ในทุกจุดของเรือนจำ เพื่อป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
เจ้าหน้าที่ชุดประหารเมื่อรับทราบคำสั่งแล้ว จะจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประหารชีวิต เช่น ตรวจสอบความพร้อมของห้องประหาร เตียงประหาร สายยางสำหรับเดินน้ำยาและสารพิษ ห้องสักขีพยาน ถุงมือยาง อาหารมื้อสุดท้าย ดอกไม้ธูปเทียน ฯลฯ รวมทั้งนิมนต์พระหรือตัวแทนศาสนาอื่นที่นักโทษประหารนับถือไว้ และแจ้งไปที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมดำเนินการด้านการตรวจสอบประวัติบุคคลทั้งก่อนและการประหารชีวิต รวมทั้งทำหนังสือแจ้งกรรมการซึ่งมีหลายหน่วยงานให้รับทราบ เพื่อมาร่วมเป็นสักขีพยาน
เวลาประมาณ 11.00 น. เจ้าหน้าที่รับยาและสารพิษ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะเดินทางไปรับยาและสารพิษที่กรมราชทัณฑ์ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามเรือนจำกลางบางขวาง ซึ่งมีตัวยาและสารพิษที่จะต้องใช้กับนักโทษประหาร ดังนี้
1.สารโซเดียนเพนโททัล
2.สารแพนคูไรเนียมโบรไมค์
3.สารโพแทสเซี่ยมคลอไรด์
เวลาประมาณ 16.00 น. น. เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง จะเข้าไปเบิกตัวนักโทษประหารจากห้องควบคุมภายในแดน ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ทำการควบคุมตัวนักโทษประหารไว้สองแดน คือ แดน2 และแดน5 นำตัวไปที่ศาลาเย็นใจ หน้าห้องประหารด้วยการยิงเป้าเดิม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนก่อนการประหาร การนำตัวนักโทษไปศาลาเย็นใจจะให้นักโทษนั่งรถกอล์ฟโดยมีพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด และแวะที่ศาลเจ้าพ่อเจตคุปย์เพื่อให้นักโทษกราบไหว้เช่นเดียวกัน
เมื่อถึงศาลาเย็นใจ เจ้าหน้าที่ทะเบียนประวัติผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร จะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ตำหนิแผลเป็น และพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับที่มีคำสั่งให้ประหารชีวิตหรือไม่ เสร็จแล้วจะให้เขียนจดหมายและทำพินัยกรรม ต่อจากนั้นจะเปิดโอกาสให้โทรศัพท์หาญาติได้เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งสมัยที่ใช้วิธีการยิงเป้าจะไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์อย่างเด็ดขาด
หลังจากโทรศัพท์สั่งเสียญาติเสร็จแล้ว ผู้อำนวยการส่วนควบคุมหรือเวรผู้ใหญ่จะเข้ามาอ่านคำสั่งยกฎีกาให้นักโทษประหารฟัง แล้วนำตัวไปนั่งที่เก้าอี้ขาวหันหน้าไปทางวัดบางแพรกใต้ พี่เลี้ยงจะนำดอกไม้ธูปเทียนให้นักโทษประหารกราบไหว้ไปที่อุโบสถของวัด จากนั้นจะนำตัวไปที่ห้องประหารด้วยการฉีดสารพิษซึ่งอยู่ด้านหลังฝั่งขวาของห้องประหารด้วยการยิงเป้า (สถานที่หมดทุกข์) โดยยังไม่ผูกตาของนักโทษ
บริเวณห้องประหารด้วยการฉีดสารพิษ จะมีห้องทาสีขาวขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร คูณ 2 เมตร จำนวน 2 ห้องอยู่ในช่องทางก่อนเข้าถึงจุดประหาร ด้านในสุดของทั้งสองห้องจะมีช่องหน้าต่างมองทะลุไปยังอีกห้องหนึ่ง ถ้าประหารเพียงรายเดียวก็จะใช้เพียงห้องเดียว แต่ถ้าทำการประหารมากกว่าหนึ่งรายจะใช้ห้องนี้พร้อมกันทั้งสองห้อง ภายในห้องจะมีอาหารมื้อสุดท้ายวางไว้พร้อมน้ำดื่ม พี่เลี้ยงจะเข้าไปยู่ในห้องนี้กับนักโทษประหารโดยมีการปิดล็อคประตูด้านนอกไว้ พี่เลี้ยงจะเปิดโอกาสให้นักโทษรับประทานอาหารจนอิ่ม และชวนพูดคุยเพื่อให้นักโทษคลายความเครียด
เสร็จจากอาหารมื้อสุดท้าย จะมีพระสงฆ์มานั่งในห้องที่สามารถมองทะลุได้จากช่องหน้าต่างของห้องที่ควบคุมตัวนักโทษประหารไว้ พระสงฆ์จะเทศนาธรรมให้กับนักโทษฟังเป็นครั้งสุดท้าย นักโทษประหารจะถวายดอกไม้ธูปเทียนที่ถือมาให้พระสงฆ์ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการทางศาสนา ในกรณีที่นักโทษประหารนับถือศาสนาอื่น ก็จะให้ประกอบพิธีทางศาสนาที่นับถือภายในห้องนี้เช่นกัน
เมื่อเสร็จขั้นตอนทางศาสนา พี่เลี้ยงจะแจ้งให้หัวหน้าชุดพี่เลี้ยงที่อยู่นอกห้องทราบ หัวหน้าชุดจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษ เมื่อทุกอย่างพร้อม หัวหน้าชุดพี่เลี้ยงจะไขกุญแจห้องให้พี่เลี้ยงนำตัวนักโทษเข้าสู่ห้องประหาร ซึ่งพี่เลี้ยงจะนำผ้ามาปิดตาของนักโทษก่อนนำตัวไปยังห้องประหารชีวิต
ภายในห้องที่ใช้ในการประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ จะมีเตียงนอนอยู่จำนวน 2 เตียง พื้นเบาะของเตียงเป็นสีดำ ความสูงของเตียงประมาณ 1.20 เมตร มีด้านข้างยื่นออกมาทั้งสองข้างแบบกางเขนนอน ที่เตียงจะมีเข็มขัดสำหรับรัดตัว 5 เส้น ที่กางเขนมีเข็มขัดสำหรับรัดแขนข้างละ 2 เส้น เตียงทั้งสองตั้งห่างกันประมาณ 2.5 เมตร ทั้งสองเตียงนี้มีชื่อเรียกว่า “เตียงประหาร” ที่หัวเตียงจะมีขาตั้งสำหรับแขวนถุงน้ำเกลือ
เมื่อนำนักโทษเข้ามาในห้องประหาร จะให้นักโทษนอนลงที่เตียงประหาร ใช้เข็มขัดรัดตัว 5 จุด ดังนี้
1.รัดที่ศีรษะบริเวณหน้าผาก
2.รัดที่หน้าอก
3.รัดที่หน้าท้อง
4.รัดที่หน้าขา
5.รัดที่ข้อเท้า
จากนั้นเจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษจะนำถุงน้ำเกลือมาต่อเข้าที่หลังมือของนักโทษประหาร ทำการปล่อยน้ำเกลือให้เดินเข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ ซึ่งยังไม่มีสารพิษเจือปนแต่อย่างใด
ถ้าประหารเพียงรายเดียว จะใช้เพียงเตียงเดียว แต่ถ้าประหารมากกว่าหนึ่งราย จะใช้เตียงทั้งสองในการประหารชีวิตพร้อมกัน โดยจะนำเข้ามาประหารครั้งละ1-2ราย จนกว่าจะหมดจำนวนที่มีคำสั่งให้ทำการประหารชีวิต
ที่ข้างเตียงประหารจะมีเครื่องตรวจจับสัญญาณเต้นของหัวใจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษจะต่อสายติดเข้าที่ร่างกายของนักโทษ ที่จอมอนิเตอร์จะเห็นสัญญาณการเต้นของหัวใจเป็นเส้นกร๊าฟขึ้นลง และเสียงดังเป็นจังหวะ “ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป” ไปเรื่อยๆ
พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆจะทำการขอขมาต่อนักโทษประหารที่นอนอยู่บนเตียง แล้วมายืนรออยู่ที่ข้างห้อง
บริเวณหัวเตียงประหารจะมีห้องหน้าต่างกระจกบานใหญ่หนึ่งห้อง เหนือกระจกจะมีไฟสีเขียวสีเหลืองและสีแดงติดอยู่ ภายในห้องหน้าต่างกระจกจะมีการต่อสายน้ำเกลือจากห้องออกไปที่เตียงประหาร ที่ปลายสายน้ำเกลือด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับปุ่มกด และที่ข้างปุ่มกดจะมีหัวอัดไซลิงค์ซึ่งมีไว้สำรองกรณีปุ่มกดขัดข้อง ส่วนปลายสายอีกด้านจะต่อเข้าใต้ถุงน้ำเกลือซึ่งได้ต่อสายไปที่หลังมือของนักโทษไว้แล้วโดยจะปิดทางเดินยาและสารพิษไว้ก่อน ปุ่มกดจะมีด้วยกันทั้งหมด 2 ชุด ชุดละ 3 ปุ่ม ทั้งสามปุ่มนี้จะบรรจุสารพิษปุ่มละชนิด ห้องนี้เรียกว่า “ห้องฉีดสารพิษ”
ที่ปลายเตียงประหาร จะมีห้องกระจกสีทึบอยู่ห้องหนึ่ง ถ้ามองจากห้องประหารออกไปจะมองไม่เห็นอะไร แต่ถ้ามองจากในห้องนี้ออกมาที่ห้องประหารจะสามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆภายในห้องประหารได้อย่างชัดเจน ห้องนี้คือห้องของกรรมการและสักขีพยาน
ซึ่งทั้งหมดจะมานั่งดูการดำเนินการประหารชีวิตภายในห้องนี้ตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งนักโทษประหารได้สิ้นใจไปเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อคณะกรรมการและสักขีพยานพร้อมแล้ว และทำการมัดตัวนักโทษให้ติดกับเตียงประหาร พร้อมกับเดินสายน้ำเกลือเข้าเส้นเลือดที่หลังมือเป็นที่เรียบร้อย ผู้ให้สัญญาณการประหารชีวิตจะสะบัดธงแดงลงเพื่อให้สัญญาณว่าดำเนินการประหารได้
เจ้าหน้าที่ฉีดสารพิษจะปิดทางเดินน้ำเกลือสายที่มาจากถุงน้ำเกลือ แล้วเปิดทางเดินสายที่มาจากห้องฉีดสารพิษแทน จากนั้นจะดำเนินการฉีดสารพิษเข้าไปในสายน้ำเกลือ พร้อมกับไฟทั้งสามสีเหนือหน้าต่างกระจกสว่างขึ้นตามลำดับ ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง เมื่อไฟสีเขียวสว่างขึ้น เจ้าหน้าที่จะกดปุ่มฉีดสารโซเดียมเพนโททัล ชนิดผงละลายน้ำ ปริมาณ 20-25 ซีซี เข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ ยาชนิดนี้จะทำให้นักโทษประหารหลับลึก ไม่รู้สึกตัว
ขั้นตอนที่สอง เมื่อไฟสีเหลืองสว่างขึ้น เจ้าหน้าที่จะกดปุ่มฉีดสารแพนคูไรเนียมโบรไมค์ ชนิดน้ำ ปริมาณ 50 ซีซี เข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ ยาชนิดนี้จะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้ระบบการหายใจหยุดทำงาน
ขั้นตอนที่สาม เมื่อไฟสีแดงสว่างขึ้น เจ้าหน้าที่จะกดปุ่มฉีดสารโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ ชนิดน้ำ ปริมาณ 50 ซีซี เข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษเป็นชนิดสุดท้าย ยาชนิดนี้จะทำให้หัวใจหยุดเต้น ซึ่งมีผลทำให้เสียชีวิตในที่สุด
ในระหว่างที่ยาและสารพิษทั้งสามชนิดเดินเข้าสู่กระแสเลือดของนักโทษ เส้นกร๊าฟที่จอมอนิเตอร์ของเครื่องตรวจจับการเต้นของหัวใจจะแคบลงและทิ้งระยะห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ เสียง “ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป ปิ๊ป” จะดังช้าลง ช้าลง ช้าลง จนกระทั่งเส้นกร๊าฟเปลี่ยนเป็นเส้นตรงพร้อมกับเสียงดังยาว “ปี๊ปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปป” ซึ่งหมายถึงเสียงเตือนจากเครื่องว่าหัวใจของร่างกายที่อยู่กับเครื่องตรวจจับการเต้นของหัวใจ ได้หยุดทำงานไปแล้ว
ถ้าเป็นเวลาปกติที่ใช้กับคนไข้ทั่วไป หมอและพยาบาลจะรีบเข้ามาช่วยกันปั๊มหัวใจของคนไข้เพื่อช่วยชีวิตให้พื้นขึ้นมา แต่สำหรับนักโทษประหาร จะปล่อยให้สัญญาณดังอยู่เช่นนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 นาที
เมื่อแน่ใจว่านักโทษประหารได้สิ้นใจไปแล้ว พี่เลี้ยงจะเชิญแพทย์มาตรวจร่างกายของนักโทษเพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อแพทย์ประกาศว่านักโทษประหารได้เสียชีวิตไปแล้ว ผู้ให้สัญญาณการฉีดยาและสารพิษจะสั่งให้พี่เลี้ยงนำร่างของนักโทษลงจากเตียงประหาร เจ้าหน้าที่ฉีดยาและสารพิษจะมาถอดสายน้ำเกลือและสายตรวจวัดชีพจรออกจากร่างกายของนักโทษ เจ้าหน้าที่ทุกนายจะทำการขอขมาต่อร่างของนักโทษประหารอีกครั้ง
พี่เลี้ยงจะช่วยกันปลดเข็มขัดที่รัดตัวของนักโทษออกทุกเส้น แล้วช่วยกันนำร่างของนักโทษลงจากเตียงประหารมาไว้บนถาดอลูมิเนียม จากนั้นจะนำถาดดังกล่าวใส่เข้าไปในช่องเก็บศพที่มีอุณหภูมิเย็นจัดซึ่งตั้งอยู่ในห้องประหารนั่นเอง เสร็จแล้วจะปิดช่องเก็บศพใส่กุญแจล็อคไว้ ทิ้งศพไว้ภายในนั้น 1 คืน
รุ่งเช้าจะมีเจ้าหน้าที่มาเปิดล็อคช่องเก็บศพ นักโทษชั้นดีที่อาสามาจะช่วยกันตัดตรวนออกจากเท้าของร่างนักโทษประหาร แล้วช่วยกันอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ทาแป้งจัดใส่เสื้อผ้าให้ใหม่ พร้อมกับห่อมัดตราสังข์ให้เรียบร้อยก่อนบรรลุลงโลงศพ จากนั้นจะส่งศพออกทางประตูผีที่ใช้มาตั้งแต่ยังมีการยิงเป้า นำศพไปเก็บไว้ที่ช่องเก็บศพนักโทษประหารของวัดบางแพรกใต้ เพื่อรอให้ญาติมารับไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป
เครดิต ยุทธบางขวาง (http://yuthbk.blogspot.com/2011/09/8.html)
กระทู้ที่เกี่ยวข้อง
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร http://ppantip.com/topic/31759500
คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร "ขั้นตอนและวิธีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า" http://ppantip.com/topic/31759609