สวัสดีครับ วันนี้ขออนุญาตมา Review Aquos Phone Zeta จาก Sharp โดยมีรหัสรุ่นว่า SH-06E ซึ่งเป็น Zeta ในเจเนอเรชั่นที่ 3 แล้ว โดยในบางส่วน จะมีการเปรียบเทียบระหว่าง SH-06E และ Xperia Z ซึ่งผมใช้ก่อนที่จะปลดประจำการ และหันไปใช้ SH-06E ครับ
เกริ่นก่อนเข้าเรื่อง
Aquos Phone เป็นชื่อโทรศัพท์ ที่ Sharp ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้กับมือถือ Android โดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่ปี 2011 (แต่จริงๆแล้ว ก่อนที่จะเป็น Android ทาง Sharp ก็มีติดโลโก้ว่าใช้จอ Aquos ตั้งแต่ก่อนที่จะทำ Android แล้ว) โดยชื่อ Aquos เป็นการหยิบยืมชื่อจากผลิตภัณฑ์ LCD TV ของ Sharp ซึ่งเป็น TV ยอดนิยมในญี่ปุ่นนั่นเอง
สำหรับมือถือในญี่ปุ่นนั้น แต่ละเครือข่ายผู้ให้บริการ จะสั่งผลิตโทรศัพท์มือถือผ่านบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆด้วยตนเอง และขายเอง ดังนั้น เครือข่ายหลักๆ 3 เครือข่ายของญี่ปุ่น จะไม่มีมือถือรุ่นใด ที่ซ้ำกับเครือข่ายอื่น เครื่องจากแต่ละเครือข่าย จะมี Function ต่างกัน โดยมีแค่เครือข่ายเดียว ที่ขายเครื่องที่ปลดล็อค และนำมาใช้นอกญี่ปุ่นได้ นั่นคือ NTT docomo ผู้ให้บริการรายใหญ่สุดในญี่ปุ่นนั่นเอง (แต่ก็จะมีนานๆที ที่จะมีรุ่นที่แทบจะเป็นฝาแฝดกันออกมา ส่วนในกรณี iPhone เป็นข้อยกเว้นที่ฉีกทุกกฎจริงๆ)
ทั้งนี้ Aquos Phone เองก็มีหลายรุ่นย่อย โดยรุ่น Top ของแต่ละเครือข่าย จะมีชื่อต่างๆกัน ดังนี้ (ข้อมูลจาก Wiki Japan)
- docomo จะใช้ชื่อ Zeta (คือตัวอักษรตัวสุดท้ายในภาษากรีก แปลว่า “สุดท้าย” หรือ “ที่สุด”)
- au จะใช้ชื่อ Serie (แปลว่าจุดสูงสุด)
- Softbank จะใช้ชื่อ Xx (มากจาก extreme excellence)
SH-06E และญาติๆในเครือข่าย อื่นๆ
docomo SH-06E Aquos Phone Zeta
au SHL22 Aquos Phone Serie
Softbank 206SH Aquos Phone Xx
สำหรับ Zeta รุ่นแรกนั้น มีรหัสว่า SH-09D ออกมาเมื่อเดือน มิถุนายน 2012 โดยมีจุดเด่นตรงที่เป็นมือถือ 4G, กันน้ำ, และชาร์จแบบไร้สายได้
รูป SH-09D
Zeta รุ่นที่ 2 นั้น มีรหัสว่า SH-02E ออกมาเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2012 โดยมีจุดเด่นในเรื่อง Quad Core, รูปทรงเหลี่ยมๆที่ไม่เหมือนใคร, ระบบกันกล้องสั่น OIS, มีปากกาแบบ Galaxy Note, และจอ IGZO ซึ่งเป็นรุ่นแรกของ Sharp ที่ใช้จอประเภทนี้ (โดยชูจุดขายว่าสีสันสดใส และประหยัดพลังงานมาก ถ้าเปิดจอไว้นิ่งๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนรูป) แต่เอา Wireless Charging ออกไป
รูป SH-02E
เกร็ดความรู้: IGZO มาจากคำว่า Indium gallium zinc oxide เป็นวัสดุที่ใช้ใน Circuit board ของ TFT ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของจอ LCD ไม่ใช่ประเภทของจอ ซึ่ง Sharp ไม่ได้เป็นคนคิดเทคโนโลยีนี้ แค่นำมาใช้เท่านั้น (แล้วก็เลยพาลตั้งชื่อจอเป็น IGZO ไปด้วย) รวมถึง Samsung ก็ใช้ในจอ Amoled ของตัวเอง แต่ไม่ได้โฆษณา
เข้าเรื่อง Review
สำหรับ Zeta รุ่นที่ 3 หรือ SH-06E นั้น เปิดตัวเมื่อเดือน พฤษภาคม 2013 ได้ลดทั้ง Pixel ของกล้องลงจาก 16ล้าน ใน Zeta 2 เหลือ 13 ล้าน, เอาปากกาออก, และลดขนาดจอลง 1 นิ้ว แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือ กล้อง Aperture ที่ f1/1.9 ที่ถ่านในที่มืดได้ดี และที่สำคัญคือจับภาพได้เร็วมากๆ ในส่วนของปากกาถูกแทนที่ด้วย Air Operation สามารถใช้งานบางอย่างโดยไม่ต้องแตะจอได้ และหน้าจอที่เล็กลง 1 นิ้ว ถูกทดแทนด้วยการนำปุ่มเสมือนออกไปอยู่นอกจอ ทำให้การใช้งานจริง ดูมีพื้นที่มากกว่าเดิม และที่สำคัญที่สุดคือ “นี่เป็นมือกันน้ำรุ่นแรก ที่ไม่มีฝาปิดช่องหูฟังและช่องชาร์จ” ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าเปิดจุกบ่อยๆ แล้วจะทำให้ยางเปื่อยและกันน้ำไม่ได้ รวมถึงทำให้การใช้งานทั่วไปสะดวกมากๆ เนื่องจากไม่ต้องมาคอยเปิดปิดฝาอีกแล้ว
SH-06E สีต่างๆ
มือถือในญี่ปุ่นนั้น แต่ละยี่ห้อไม่ได้เป็นคนขายเอง โดยเครือข่ายจะทำหน้าที่ขายให้ ทั้งนี้ การเปิดตัวของ Docomo จะเปิดตัวปีละ 2 ครั้ง ซึ่ง SH-06E ได้เปิดตัวพร้อม Flagship ยี่ห้ออื่นๆ โดยมี Xperia A, Galaxy S4, และ Fujitsu Arrows F-06E ร่วมเปิดตัวด้วยในญี่ปุ่น
ณ เวลาที่ผมรีวิวเครื่องนี้ Zeta 4 ก็ได้วางจำหน่ายไปซักพักแล้ว (วางขายเมื่อ พฤศจิกายน 2013 ที่ผ่านมา) ซึ่งมีการเพิ่ม Function และแก้ข้อเสียของ Zeta 3 ซึ่งจะอธิบายต่อไปในรีวิวนี้ครับ (ถึงบรรทัดนี้ ผมว่าหลายท่านคงสังเกตได้แล้ว ว่าแต่ละรุ่นมีอายุแค่ 6 เดือน อย่างที่บอกว่าในญี่ปุ่นนั้น Docomo จะออกมือถือทุกรุ่น ทุกยี่ห้อปีละ 2 ครั้ง คือ Spring-Summer และ Autumn-Winter ทั้งนี้ก็สอดคล้องกับผู้บริหารของ Sony ที่บอกว่า Xperia Z2 จะเป็น Flagshipแค่ 6 เดือน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสำหรับประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ กฎนี้ใช้ไม่ได้กับ iPhone ;P)
สเปคเครื่อง
CPU: Quad-core 1.7GHz Qualcomm Snapdragon 600 APQ8064T
GPU : Adreno 320
Memory : 32 GB ROM / 2 GB RAM
2G : GSM GPRS EDGE 850, 900, 1800, 1900 MHz
3G : UMTS HSDPA UMTS 800, 850, 2100 MHz
4G : LTE 800, 1500, 2100 Mhz
Micro SDHC/SDXC up to 64GB
Battery : 2600 mAh
Wireless Charging
NFC Supported
MHL
Bluetooth version 4.0
Wi-Fi 802.11 b/g/n
DLNA Certified
Micro USB 2.0 Host
3.5mm jack
Size : 138 × 70 × 9.9 mm.
Water Protection : IPX5/IPX8
แกะกล่อง
ของที่แถมมากับ SH-06E นั้น ทำให้ผมประทับใจได้อย่างบอกไม่ถูก เพราะเป็น Smartphone ที่ผมเคยใช้รุ่นแรกที่แกะกล่องมา แล้วมีแค่ เครื่อง คู่มือฉบับย่อ และที่ถอดซิม เท่านี้เลยจริงๆ อย่างอื่นต้องไปหาเอาเองทั้งหมด ซี่งจริงๆแล้ว เรื่องนี้อาจจะไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะสาย MicroUSB สามารถหาซื้อได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ผมก็ยังรู้สึกว่า ทาง Sharp ออกจะงกเกินไปหน่อยที่ทำแบบนี้
Design ของเครื่อง
หลังจากรับฟังความเห็นของหลายๆท่านที่เล่นมือถือญี่ปุ่น ส่วนใหญ่แล้วจะชอบ Design เหลี่ยมๆของ Zeta 2 มากกว่า เนื่องจากค่อนข้างบ่งบอกความเป็นญี่ปุ่นได้ดี (Design ฉีกไปจาก Android อื่นๆชัดเจน) ในขณะที่ Design ของ Zeta 3 มาแนวโค้งๆมนๆ ไม่ได้มีเอกลักษณ์อะไรมากมาย (แต่ผมกลับชอบ เพราะ Design ของ SH-06E นั้น คล้ายคลึงกับ SH-03C หรือ Sharp Lynx 3D ซึ่งเป็น Android จาก Sharp ตัวแรกของ Docomo และมี Design รวมทั้งสี ที่ค่อนข้างฉีกไปจาก Android ในยุคเดียวกันมาก)
ด้านหน้า
ด้านหลัง
SH-03C Android จาก Sharp ตัวแรกของ Docomo
Menu
SH-06E มี Launcher (รูปแบบเมนูและหน้าจอ) มาตรฐาน 2 แบบให้เลือกใช้ คือ Docomo Home และ Feel UX ซึ่งนอกจากเมนูจะต่างกันแล้ว หน้าจอล็อกก็ต่างกันด้วย
Docomo Home จะเป็น Launcher ที่มีในมือถือที่ขายผ่าน Docomo ทุกรุ่น ซึ่งรูปแบบก็ไม่ค่อยจะต่างกับ Launcher ทั่วๆไปมากนัก จะมีจุดเด่นคือ icon มาตรฐานที่ใหญ่มาก กดง่าย และมีเมนูที่แยกหมวดหมู่ชัดเจน
ภาพหน้า Home และ App Drawer ของ Docomo Home Launcher
Feel UX จะเหมือนมือถือ Sharp ที่ขายในไทย มี Lock screen ที่สามารถเปลี่ยน Wallpaper ไปเรื่อยๆเหมือนดู Gallery ได้ เลือกดู Widget ต่างๆ และมี Shortcut ไปยังเมนูต่างๆ ในส่วนของหน้าหลัก มี 3 หน้า เพิ่ม-ลดไม่ได้ โดยแต่ละหน้า จะมีหน้าที่ต่างๆกัน ดังต่อไปนี้
- APPS จะเป็นหน้าที่รวบรวม Application ไว้ทั้งหมดในนี้ สามารถตีเส้นแบ่ง Zone ระหว่าง App ที่ต้องการแยกจากกันได้ และสามารถนำมารวมเป็น Folder ได้
- WIDGETS หน้านี้จะเป็นหน้าหลัก โดยการกดปุ่ม Home สุดท้ายแล้วจะกลับมาหน้านี้เสมอ เป็นหน้าเดียวที่สามารถวาง Widget ลงไปได้ และสามารถเลื่อนลงไปได้เรื่อยๆ ตามแต่ความเยอะของ Widget ที่ได้วางไว้ในหน้านี้
- SHORTCUTS เป็นหน้าสุดท้าย เอาไว้วาง Shortcut ซึ่งหลักๆแล้ว สิ่งที่จะวางตรงนี้ได้ จะเหมือนหน้า APPS แต่จะสามารถวาง Shortcut เข้าเมนูต่างๆ รวมถึง bookmark, contact รายบุคคล, ฯลฯ ได้
หน้า Home ทั้ง 3 หน้าของ Feel UX
Feature ทั่วๆไป
หน้าจอ
ต้องบอกว่า หน้าจอสวยสมราคาคุย สีสันสดใส และแยกเฉดสีได้ค่อนข้างดี (ดีกว่า Xperia Z) ที่สำคัญดูแล้วสบายตา แต่ก็ยังมีข้อเสียเรื่องมุมมอง ถ้าเอียงเครื่อง จะเห็นสีซีดลง (แบบเดียวกับที่ Xperia Z เป็น แต่ไม่ได้ซีดลงมากขนาดนั้น)
หน้า Lockscreen ของเครื่อง
เปรียบเทียบทั้งขนาด และจอ ระหว่าง SH-06E และ Xperia Z เร่งไฟจนสุด
สังเกตว่า SH-06E จะไล่โทนสีได้ดีกว่า Xperia Z
ความลื่นไหลในการใช้งาน
เนื่องจาก Spec ตัวนี้ ค่อนข้างคล้ายกับ HTC One หรือ LG Optimus G Pro ดังนั้นในส่วนนี้ ก็จะไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ จะมีข้อติก็ตรงที่การเลื่อนเมนูถึงจะดูลื่นแล้ว แต่ยังสู้ Xperia Z ไม่ได้
Phonebook
จริงๆเรื่องนี้ ไม่น่าจะต้องมาพูดกันแล้ว แต่สำหรับมือถือ Docomo นั้นจะมี Phonebook คล้ายๆกันหมด คือ Search ชื่อได้ไม่สะดวกอย่างแรง ถ้าจะไปที่หมวดตัวอักษรไหน ก็จะต้องกดเมนูเรียกหมวดตัวอักษรขึ้นมาเพิ่ม และ A-Z ก็ถูกเอาไว้รวมไว้หมวดเดียวกันหมดเลย แต่ปัญหาตรงนี้ สามารถแก้ได้โดยโหลด App Contact มาใช้แทน
Phonebook แปลกๆของ Docomo
ลำโพง
ลำโพงสนทนาของมือถือ Sharp จะค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน คือออกมาเสียงค่อนข้างแหลม โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าบางครั้งมันออกจะบาดหูน่ารำคาญไปหน่อย แต่ก็สามารถคุยได้รู้เรื่องดี
สำหรับลำโพงภายนอกนั้น ให้เสียงที่ “เบามาก” ยิ่งถ้าตั้ง MP3 เป็นเสียงเรียกเข้า ก็จะเบาลงไปอีก แต่ก็ยังดีที่ค่อนข้างสั่นแรง ทำให้พอจะกลบข้อเสียตรงนี้ไปได้บ้าง
แบตเตอรี่
แบตรุ่นนี้ให้มา 2600 mAh เรียกว่าไม่น้อย แต่ก็ไม่ได้มาก สำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผมนั้น ถ้าเป็น Xperia Z ชาร์จเสร็จตอนเช้า ตอนเย็นแบตจะเหลือประมาณ 30% ในขณะที่ SH-06E เหลือ 60% ตรงจุดนี้ค่อนข้างประทับใจอยู่พอสมควร
Internet Connectivity
รุ่นนี้มีมาให้ทั้ง GSM/GPRS/EDGE/LTE “แต่” EDGE และ LTE นั้นใช้ไม่ได้ครับ โดย EDGE นั้น มีแน่นอน เพราะ Chipset Radio สมัยนี้ มี EDGE มาให้ทั้งนั้น แต่การใช้งานถูกปิดเอาไว้ ส่วน LTE นั้น ก็โดนล็อคไม่ให้ใช้นอกญี่ปุ่น
*หมายเหตุด้านเทคนิคเรื่อง EDGE และ LTE สามารถอ่านข้ามส่วนนี้ไปก็ได้
การตั้งค่าให้ใช้คลื่น หรือ Function เกี่ยวกับคลื่นมือถือนั้น ต้องเรียก Diag USB Mode ออกมาให้ได้ก่อน แล้วใช้โปรแกรม QXDM แก้ค่าที่ปิดอยู่ ให้เปิดขึ้นมา รวมทั้งสามารถแก้ไขค่าอื่นได้ด้วย เช่น Motorola ของ Verizon ที่หลายๆรุ่น มีทั้ง CDMA และ GSM แต่ GSM โดนปิดเอาไว้ การแก้ไขในส่วนนี้ สามารถทำให้มือถือ CDMA ใช้โทรในระบบ GSM ได้
[CR] รีวิว Android จากญี่ปุ่น Sharp Aquos Phone Zeta SH-06E
เกริ่นก่อนเข้าเรื่อง
Aquos Phone เป็นชื่อโทรศัพท์ ที่ Sharp ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้กับมือถือ Android โดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่ปี 2011 (แต่จริงๆแล้ว ก่อนที่จะเป็น Android ทาง Sharp ก็มีติดโลโก้ว่าใช้จอ Aquos ตั้งแต่ก่อนที่จะทำ Android แล้ว) โดยชื่อ Aquos เป็นการหยิบยืมชื่อจากผลิตภัณฑ์ LCD TV ของ Sharp ซึ่งเป็น TV ยอดนิยมในญี่ปุ่นนั่นเอง
สำหรับมือถือในญี่ปุ่นนั้น แต่ละเครือข่ายผู้ให้บริการ จะสั่งผลิตโทรศัพท์มือถือผ่านบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆด้วยตนเอง และขายเอง ดังนั้น เครือข่ายหลักๆ 3 เครือข่ายของญี่ปุ่น จะไม่มีมือถือรุ่นใด ที่ซ้ำกับเครือข่ายอื่น เครื่องจากแต่ละเครือข่าย จะมี Function ต่างกัน โดยมีแค่เครือข่ายเดียว ที่ขายเครื่องที่ปลดล็อค และนำมาใช้นอกญี่ปุ่นได้ นั่นคือ NTT docomo ผู้ให้บริการรายใหญ่สุดในญี่ปุ่นนั่นเอง (แต่ก็จะมีนานๆที ที่จะมีรุ่นที่แทบจะเป็นฝาแฝดกันออกมา ส่วนในกรณี iPhone เป็นข้อยกเว้นที่ฉีกทุกกฎจริงๆ)
ทั้งนี้ Aquos Phone เองก็มีหลายรุ่นย่อย โดยรุ่น Top ของแต่ละเครือข่าย จะมีชื่อต่างๆกัน ดังนี้ (ข้อมูลจาก Wiki Japan)
- docomo จะใช้ชื่อ Zeta (คือตัวอักษรตัวสุดท้ายในภาษากรีก แปลว่า “สุดท้าย” หรือ “ที่สุด”)
- au จะใช้ชื่อ Serie (แปลว่าจุดสูงสุด)
- Softbank จะใช้ชื่อ Xx (มากจาก extreme excellence)
SH-06E และญาติๆในเครือข่าย อื่นๆ
docomo SH-06E Aquos Phone Zeta
au SHL22 Aquos Phone Serie
Softbank 206SH Aquos Phone Xx
สำหรับ Zeta รุ่นแรกนั้น มีรหัสว่า SH-09D ออกมาเมื่อเดือน มิถุนายน 2012 โดยมีจุดเด่นตรงที่เป็นมือถือ 4G, กันน้ำ, และชาร์จแบบไร้สายได้
รูป SH-09D
Zeta รุ่นที่ 2 นั้น มีรหัสว่า SH-02E ออกมาเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2012 โดยมีจุดเด่นในเรื่อง Quad Core, รูปทรงเหลี่ยมๆที่ไม่เหมือนใคร, ระบบกันกล้องสั่น OIS, มีปากกาแบบ Galaxy Note, และจอ IGZO ซึ่งเป็นรุ่นแรกของ Sharp ที่ใช้จอประเภทนี้ (โดยชูจุดขายว่าสีสันสดใส และประหยัดพลังงานมาก ถ้าเปิดจอไว้นิ่งๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนรูป) แต่เอา Wireless Charging ออกไป
รูป SH-02E
เกร็ดความรู้: IGZO มาจากคำว่า Indium gallium zinc oxide เป็นวัสดุที่ใช้ใน Circuit board ของ TFT ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของจอ LCD ไม่ใช่ประเภทของจอ ซึ่ง Sharp ไม่ได้เป็นคนคิดเทคโนโลยีนี้ แค่นำมาใช้เท่านั้น (แล้วก็เลยพาลตั้งชื่อจอเป็น IGZO ไปด้วย) รวมถึง Samsung ก็ใช้ในจอ Amoled ของตัวเอง แต่ไม่ได้โฆษณา
เข้าเรื่อง Review
สำหรับ Zeta รุ่นที่ 3 หรือ SH-06E นั้น เปิดตัวเมื่อเดือน พฤษภาคม 2013 ได้ลดทั้ง Pixel ของกล้องลงจาก 16ล้าน ใน Zeta 2 เหลือ 13 ล้าน, เอาปากกาออก, และลดขนาดจอลง 1 นิ้ว แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือ กล้อง Aperture ที่ f1/1.9 ที่ถ่านในที่มืดได้ดี และที่สำคัญคือจับภาพได้เร็วมากๆ ในส่วนของปากกาถูกแทนที่ด้วย Air Operation สามารถใช้งานบางอย่างโดยไม่ต้องแตะจอได้ และหน้าจอที่เล็กลง 1 นิ้ว ถูกทดแทนด้วยการนำปุ่มเสมือนออกไปอยู่นอกจอ ทำให้การใช้งานจริง ดูมีพื้นที่มากกว่าเดิม และที่สำคัญที่สุดคือ “นี่เป็นมือกันน้ำรุ่นแรก ที่ไม่มีฝาปิดช่องหูฟังและช่องชาร์จ” ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าเปิดจุกบ่อยๆ แล้วจะทำให้ยางเปื่อยและกันน้ำไม่ได้ รวมถึงทำให้การใช้งานทั่วไปสะดวกมากๆ เนื่องจากไม่ต้องมาคอยเปิดปิดฝาอีกแล้ว
SH-06E สีต่างๆ
มือถือในญี่ปุ่นนั้น แต่ละยี่ห้อไม่ได้เป็นคนขายเอง โดยเครือข่ายจะทำหน้าที่ขายให้ ทั้งนี้ การเปิดตัวของ Docomo จะเปิดตัวปีละ 2 ครั้ง ซึ่ง SH-06E ได้เปิดตัวพร้อม Flagship ยี่ห้ออื่นๆ โดยมี Xperia A, Galaxy S4, และ Fujitsu Arrows F-06E ร่วมเปิดตัวด้วยในญี่ปุ่น
ณ เวลาที่ผมรีวิวเครื่องนี้ Zeta 4 ก็ได้วางจำหน่ายไปซักพักแล้ว (วางขายเมื่อ พฤศจิกายน 2013 ที่ผ่านมา) ซึ่งมีการเพิ่ม Function และแก้ข้อเสียของ Zeta 3 ซึ่งจะอธิบายต่อไปในรีวิวนี้ครับ (ถึงบรรทัดนี้ ผมว่าหลายท่านคงสังเกตได้แล้ว ว่าแต่ละรุ่นมีอายุแค่ 6 เดือน อย่างที่บอกว่าในญี่ปุ่นนั้น Docomo จะออกมือถือทุกรุ่น ทุกยี่ห้อปีละ 2 ครั้ง คือ Spring-Summer และ Autumn-Winter ทั้งนี้ก็สอดคล้องกับผู้บริหารของ Sony ที่บอกว่า Xperia Z2 จะเป็น Flagshipแค่ 6 เดือน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเลยสำหรับประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ กฎนี้ใช้ไม่ได้กับ iPhone ;P)
สเปคเครื่อง
CPU: Quad-core 1.7GHz Qualcomm Snapdragon 600 APQ8064T
GPU : Adreno 320
Memory : 32 GB ROM / 2 GB RAM
2G : GSM GPRS EDGE 850, 900, 1800, 1900 MHz
3G : UMTS HSDPA UMTS 800, 850, 2100 MHz
4G : LTE 800, 1500, 2100 Mhz
Micro SDHC/SDXC up to 64GB
Battery : 2600 mAh
Wireless Charging
NFC Supported
MHL
Bluetooth version 4.0
Wi-Fi 802.11 b/g/n
DLNA Certified
Micro USB 2.0 Host
3.5mm jack
Size : 138 × 70 × 9.9 mm.
Water Protection : IPX5/IPX8
แกะกล่อง
ของที่แถมมากับ SH-06E นั้น ทำให้ผมประทับใจได้อย่างบอกไม่ถูก เพราะเป็น Smartphone ที่ผมเคยใช้รุ่นแรกที่แกะกล่องมา แล้วมีแค่ เครื่อง คู่มือฉบับย่อ และที่ถอดซิม เท่านี้เลยจริงๆ อย่างอื่นต้องไปหาเอาเองทั้งหมด ซี่งจริงๆแล้ว เรื่องนี้อาจจะไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะสาย MicroUSB สามารถหาซื้อได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ผมก็ยังรู้สึกว่า ทาง Sharp ออกจะงกเกินไปหน่อยที่ทำแบบนี้
Design ของเครื่อง
หลังจากรับฟังความเห็นของหลายๆท่านที่เล่นมือถือญี่ปุ่น ส่วนใหญ่แล้วจะชอบ Design เหลี่ยมๆของ Zeta 2 มากกว่า เนื่องจากค่อนข้างบ่งบอกความเป็นญี่ปุ่นได้ดี (Design ฉีกไปจาก Android อื่นๆชัดเจน) ในขณะที่ Design ของ Zeta 3 มาแนวโค้งๆมนๆ ไม่ได้มีเอกลักษณ์อะไรมากมาย (แต่ผมกลับชอบ เพราะ Design ของ SH-06E นั้น คล้ายคลึงกับ SH-03C หรือ Sharp Lynx 3D ซึ่งเป็น Android จาก Sharp ตัวแรกของ Docomo และมี Design รวมทั้งสี ที่ค่อนข้างฉีกไปจาก Android ในยุคเดียวกันมาก)
ด้านหน้า
ด้านหลัง
SH-03C Android จาก Sharp ตัวแรกของ Docomo
Menu
SH-06E มี Launcher (รูปแบบเมนูและหน้าจอ) มาตรฐาน 2 แบบให้เลือกใช้ คือ Docomo Home และ Feel UX ซึ่งนอกจากเมนูจะต่างกันแล้ว หน้าจอล็อกก็ต่างกันด้วย
Docomo Home จะเป็น Launcher ที่มีในมือถือที่ขายผ่าน Docomo ทุกรุ่น ซึ่งรูปแบบก็ไม่ค่อยจะต่างกับ Launcher ทั่วๆไปมากนัก จะมีจุดเด่นคือ icon มาตรฐานที่ใหญ่มาก กดง่าย และมีเมนูที่แยกหมวดหมู่ชัดเจน
ภาพหน้า Home และ App Drawer ของ Docomo Home Launcher
Feel UX จะเหมือนมือถือ Sharp ที่ขายในไทย มี Lock screen ที่สามารถเปลี่ยน Wallpaper ไปเรื่อยๆเหมือนดู Gallery ได้ เลือกดู Widget ต่างๆ และมี Shortcut ไปยังเมนูต่างๆ ในส่วนของหน้าหลัก มี 3 หน้า เพิ่ม-ลดไม่ได้ โดยแต่ละหน้า จะมีหน้าที่ต่างๆกัน ดังต่อไปนี้
- APPS จะเป็นหน้าที่รวบรวม Application ไว้ทั้งหมดในนี้ สามารถตีเส้นแบ่ง Zone ระหว่าง App ที่ต้องการแยกจากกันได้ และสามารถนำมารวมเป็น Folder ได้
- WIDGETS หน้านี้จะเป็นหน้าหลัก โดยการกดปุ่ม Home สุดท้ายแล้วจะกลับมาหน้านี้เสมอ เป็นหน้าเดียวที่สามารถวาง Widget ลงไปได้ และสามารถเลื่อนลงไปได้เรื่อยๆ ตามแต่ความเยอะของ Widget ที่ได้วางไว้ในหน้านี้
- SHORTCUTS เป็นหน้าสุดท้าย เอาไว้วาง Shortcut ซึ่งหลักๆแล้ว สิ่งที่จะวางตรงนี้ได้ จะเหมือนหน้า APPS แต่จะสามารถวาง Shortcut เข้าเมนูต่างๆ รวมถึง bookmark, contact รายบุคคล, ฯลฯ ได้
หน้า Home ทั้ง 3 หน้าของ Feel UX
Feature ทั่วๆไป
หน้าจอ
ต้องบอกว่า หน้าจอสวยสมราคาคุย สีสันสดใส และแยกเฉดสีได้ค่อนข้างดี (ดีกว่า Xperia Z) ที่สำคัญดูแล้วสบายตา แต่ก็ยังมีข้อเสียเรื่องมุมมอง ถ้าเอียงเครื่อง จะเห็นสีซีดลง (แบบเดียวกับที่ Xperia Z เป็น แต่ไม่ได้ซีดลงมากขนาดนั้น)
หน้า Lockscreen ของเครื่อง
เปรียบเทียบทั้งขนาด และจอ ระหว่าง SH-06E และ Xperia Z เร่งไฟจนสุด
สังเกตว่า SH-06E จะไล่โทนสีได้ดีกว่า Xperia Z
ความลื่นไหลในการใช้งาน
เนื่องจาก Spec ตัวนี้ ค่อนข้างคล้ายกับ HTC One หรือ LG Optimus G Pro ดังนั้นในส่วนนี้ ก็จะไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ จะมีข้อติก็ตรงที่การเลื่อนเมนูถึงจะดูลื่นแล้ว แต่ยังสู้ Xperia Z ไม่ได้
Phonebook
จริงๆเรื่องนี้ ไม่น่าจะต้องมาพูดกันแล้ว แต่สำหรับมือถือ Docomo นั้นจะมี Phonebook คล้ายๆกันหมด คือ Search ชื่อได้ไม่สะดวกอย่างแรง ถ้าจะไปที่หมวดตัวอักษรไหน ก็จะต้องกดเมนูเรียกหมวดตัวอักษรขึ้นมาเพิ่ม และ A-Z ก็ถูกเอาไว้รวมไว้หมวดเดียวกันหมดเลย แต่ปัญหาตรงนี้ สามารถแก้ได้โดยโหลด App Contact มาใช้แทน
Phonebook แปลกๆของ Docomo
ลำโพง
ลำโพงสนทนาของมือถือ Sharp จะค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน คือออกมาเสียงค่อนข้างแหลม โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าบางครั้งมันออกจะบาดหูน่ารำคาญไปหน่อย แต่ก็สามารถคุยได้รู้เรื่องดี
สำหรับลำโพงภายนอกนั้น ให้เสียงที่ “เบามาก” ยิ่งถ้าตั้ง MP3 เป็นเสียงเรียกเข้า ก็จะเบาลงไปอีก แต่ก็ยังดีที่ค่อนข้างสั่นแรง ทำให้พอจะกลบข้อเสียตรงนี้ไปได้บ้าง
แบตเตอรี่
แบตรุ่นนี้ให้มา 2600 mAh เรียกว่าไม่น้อย แต่ก็ไม่ได้มาก สำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผมนั้น ถ้าเป็น Xperia Z ชาร์จเสร็จตอนเช้า ตอนเย็นแบตจะเหลือประมาณ 30% ในขณะที่ SH-06E เหลือ 60% ตรงจุดนี้ค่อนข้างประทับใจอยู่พอสมควร
Internet Connectivity
รุ่นนี้มีมาให้ทั้ง GSM/GPRS/EDGE/LTE “แต่” EDGE และ LTE นั้นใช้ไม่ได้ครับ โดย EDGE นั้น มีแน่นอน เพราะ Chipset Radio สมัยนี้ มี EDGE มาให้ทั้งนั้น แต่การใช้งานถูกปิดเอาไว้ ส่วน LTE นั้น ก็โดนล็อคไม่ให้ใช้นอกญี่ปุ่น
*หมายเหตุด้านเทคนิคเรื่อง EDGE และ LTE สามารถอ่านข้ามส่วนนี้ไปก็ได้
การตั้งค่าให้ใช้คลื่น หรือ Function เกี่ยวกับคลื่นมือถือนั้น ต้องเรียก Diag USB Mode ออกมาให้ได้ก่อน แล้วใช้โปรแกรม QXDM แก้ค่าที่ปิดอยู่ ให้เปิดขึ้นมา รวมทั้งสามารถแก้ไขค่าอื่นได้ด้วย เช่น Motorola ของ Verizon ที่หลายๆรุ่น มีทั้ง CDMA และ GSM แต่ GSM โดนปิดเอาไว้ การแก้ไขในส่วนนี้ สามารถทำให้มือถือ CDMA ใช้โทรในระบบ GSM ได้