คู่กรณีอ้างสิทธิ์ ครอบครองปรปักษ์


เคสที่ 1  พื้นที่ของผมสีเขียวอยู่ติดกับคู่กรณี  พื้นที่ถูกกั้นด้วยกำแพงซึ่งตอนสร้างกำแพงอยู่ที่พื้นที่สีเขียว แต่มาทราบภายหลังว่าพื้นที่สีแดงเป็นของผม
จึงไปทวงสิทธิคืน  คู่กรณีซึ่งอยู่ในพื้นที่สีเหลืองอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์บนพื้นที่สีแดง (อยู่มาเกิน 10 ปี)  แต่คู่กรณีซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่สีเหลืองไม่ได้อาศัยในพื้นที่  ปล่อยเป็นพื้นที่ให้เช่าอีกที
เจ้าของพื้นที่ไม่ได้มาอยู่อาศัย กรณีนี้เขาสามารถอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ได้ไหมครับ




เคสที่2  ผมได้ซื้อพื้นที่จากเจ้าของที่ พื้นที่ 2 สีเขียวเข้มประมาณปี 54  ให้เจ้าหน้าที่รังวัด มาวัดพื้นที่ ปรากฏว่า พื้นที่ส่วนหนึ่งของผมโดนล้อมรั้วไป ซึ่งก็มีหมุดอยู่ในพื้นที่พิพาท2 (สีแดง)  ผมจึงไปติดต่อเจ้าของพื้นที่สีเหลือง เพื่อจะทำรั้วใหม่ให้ถูกต้อง  
คู่กรณีก็อ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์อีก (พื้นที่นี้ผมซื้อมายังไม่ถึง 4 ปี)    
กรณีนี้เขาสามารถอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ได้ไหมครับ

ขอคำปรึกษาพี่น้องในพันทิปด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
กรณีที่ 1 การครอบครองปรปักษ์จะต้องมีการครอบครองทรัพย์อันเป็นของผู้อื่น การที่คู่กรณีอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ แต่ตนเองไม่ได้มีการครอบครองที่ดินพิพาท แต่กลับให้ผู้เช่าที่ดินเป็นผู้ครอบครอง กรณีจึงยังไม่มีการครอบครองที่ดินพิพาทอันจะได้สิทธิการครอบครองปรปักษ์ และผู้เช่าที่ดินดังกล่าวก็ไม่สามารถอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ได้แม้จะครอบครองที่ดินพิพาทกี่ปีก็ตาม เพราะมิใช่การครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ

กรณีที่ 2 คู่กรณีอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ แม้จะยังไม่ครบ 10 ปี ตามระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามมาตรา 1299 วรรค 2 เมื่อเจ้าของที่ดินได้โอนขายที่ดินไปแล้ว โดยผู้รับโอนเสียค่าตอบแทนและสุจริต ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์จึงสะดุดหยุดลง ไม่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองต่อไปได้ จะต้องเริ่มนับเวลาการครอบครองใหม่ เมื่อคู่กรณีครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากที่มีการโอนขายที่ดินไปแล้วเพียง 4 ปี จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  กฎหมายชาวบ้าน ที่ดิน
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่