สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
เอาจริงๆน่ะ รัสเซียให้คำตอบมาแล้ว เป็นคำตอบประมาณว่า เมิงจะทำอะไรก็ทำไปกุไม่สนใจ
รัสเซียขู่ชักดาบสหรัฐ (ลองอ่านเหตุผลซักก่อน)
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ว่านายเซอร์เก กลาซเยฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แถลงเตือนให้สหรัฐเตรียมรับมือมาตรการลดระดับการพึ่งพาทางเศรษฐกิจของรัสเซียต่อวอชิงตันให้เหลือระดับ "ศูนย์" และมาตรการยุติใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการติดต่อทำธุรกรรม โดยมอสโกจะจัดตั้งระบบติดต่อทางการเงินของตัวเองร่วมกับกลุ่มพันธมิตรในตะวันออกและทางใต้ นอกจากนี้ สถาบันการเงินทุกแห่งในรัสเซียจะไม่ชำระเงินกู้ยืมที่รับมาจากธนาคารในสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจของวอชิงตันล่มสลายอย่างไม่ต้องสงสัย
ขณะเดียวกัน กลาซเยฟยังเตือนสหภาพยุโรป ( อียู ) ที่ขู่จะเดินตามสหรัฐด้วยการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อมอสโกเช่นกัน ว่าให้เตรียมรับมือ "หายนะ" จากการที่รัสเซียจะยุติการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับทุกประเทศในยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อพลังงานธรรมชาติจากมอสโกทั้งสิ้น
ท่าทีของกลาซเยฟมีขึ้นหลังทั้งสหรัฐและยุโรปพร้อมใจกันออกมาข่มขู่รัสเซียว่า อาจต้องเผชิญมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจขั้น "รุนแรง" หากมีการแทรกแซงทางทหารในภูมิภาคไครเมียของยูเครน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เออแล้วที่สำคัญ สงสัยอียูจะวงแตกล่ะครับงานนี้ เพราะขนาดอังกฤษก็อาจจะไม่รวมแจมในงานนี้ ปูตินคงคาดการณ์ไว้หมดแล้วล่ะครับ ว่าถ้าแกใช้ไม้นี้ตะวันตกก็คงทำอะไรแกไม่ได้
เผยเอกสารประชุมลับชี้ อังกฤษ “ไม่ร่วมคว่ำบาตร-ทำสงคราม” กับรัสเซีย
เฮก เพาเวล ที่ปรึกษาผู้ช่วยด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน ประมาทถือเอกสารสรุปรายงานการประชุมเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนที่ชี้ว่า “อังกฤษจะไม่ร่วมคว่ำบาตรและสนับสนุนด้านกำลังทหารในการทำสงครามกับรัสเซีย” ในขณะที่ผ่านนักข่าวช่างภาพในวันอาทิตย์(2)จนสามารถถ่ายภาพเก็บไว้ได้และเปิดเผยสู่สาธารณะในที่สุด ด้านพาเวล อิตคิน ช่างภาพชาวยูเครนวัย 18 สามารถเล็ดลอดเข้าไปโรงงานปรับปรุงสภาพรถถังยูเครนที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาในเมืองคาร์เคียฟ ห่างจากชายแดนรัสเซียไปราว 20 ไมล์. ภายในโรงงานมีรถถังในสมัยโซเวียตที่รวมไปถึง รุ่น T64 T72 และT80 จอดทิ้งอยู่ในนั้นจำนวนมากกว่า 400 คัน
“อังกฤษจะไม่ร่วมคว่ำบาตรหรือสนับสนุนด้านกำลังทหารในการทำสงครามกับรัสเซีย” อ้างจากเอกสารสรุปการประชุมที่ถูกแอบถ่ายภาพเก็บไว้ได้เมื่อวันอาทิตย์(2) ซึ่ง เฮก เพาเวล ที่ปรึกษาผู้ช่วยด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอนถือไปและสวนกับนักข่าวช่างภาพก่อนจะร่วมการประชุมที่ถนนดาวนิง
นอกจากนี้ในเอกสารยังชี้ว่า รัฐบาลของเดวิด คาเมรอนยังไม่มีแผนที่จะห้ามไม่ให้นักลงทุนสัญชาติรัสเซียลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อังกฤษ แต่ในทางกลับกันเอกสารฉบับนี้แนะนำว่า ควรให้ยูเอ็นเป็นผู้นำและหากเป็นไปได้ให้ส่งผู้สังเกตการณ์เข้าไปยังยูเครน และยังชี้ว่า ในการประชุม เช่นในองค์การนาโต อังกฤษควรจะยับยั้งข้อเสนอในการเตรียมความพร้อมทางการทหารโดยฉับพลัน และแหล่งข่าวจากถนนดาวนิงได้ยืนยันว่า ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารสรุปการประชุมลับนี้เป็นนโยบายอย่างเป็นทางการ โดยชี้ว่าหากเกิดมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย หรือปิดตลาดหลักทรัพย์กับนักลงทุนรัสเซียจะกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมว่าเหตุผลหนึ่งที่อังกฤษไม่รวมแจม เพราะอีกไม่นานจะมีการลงประชามติของสกอตแลนด์ อังกฤษคงกลัวเกิดเป็นประเด็นให้ฝ่ายสนับสนุนแยกประเทศจะนำนโยบายนี้ไปโจมตีได้
รัสเซียขู่ชักดาบสหรัฐ (ลองอ่านเหตุผลซักก่อน)
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ว่านายเซอร์เก กลาซเยฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แถลงเตือนให้สหรัฐเตรียมรับมือมาตรการลดระดับการพึ่งพาทางเศรษฐกิจของรัสเซียต่อวอชิงตันให้เหลือระดับ "ศูนย์" และมาตรการยุติใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการติดต่อทำธุรกรรม โดยมอสโกจะจัดตั้งระบบติดต่อทางการเงินของตัวเองร่วมกับกลุ่มพันธมิตรในตะวันออกและทางใต้ นอกจากนี้ สถาบันการเงินทุกแห่งในรัสเซียจะไม่ชำระเงินกู้ยืมที่รับมาจากธนาคารในสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจของวอชิงตันล่มสลายอย่างไม่ต้องสงสัย
ขณะเดียวกัน กลาซเยฟยังเตือนสหภาพยุโรป ( อียู ) ที่ขู่จะเดินตามสหรัฐด้วยการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อมอสโกเช่นกัน ว่าให้เตรียมรับมือ "หายนะ" จากการที่รัสเซียจะยุติการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้กับทุกประเทศในยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อพลังงานธรรมชาติจากมอสโกทั้งสิ้น
ท่าทีของกลาซเยฟมีขึ้นหลังทั้งสหรัฐและยุโรปพร้อมใจกันออกมาข่มขู่รัสเซียว่า อาจต้องเผชิญมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจขั้น "รุนแรง" หากมีการแทรกแซงทางทหารในภูมิภาคไครเมียของยูเครน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เออแล้วที่สำคัญ สงสัยอียูจะวงแตกล่ะครับงานนี้ เพราะขนาดอังกฤษก็อาจจะไม่รวมแจมในงานนี้ ปูตินคงคาดการณ์ไว้หมดแล้วล่ะครับ ว่าถ้าแกใช้ไม้นี้ตะวันตกก็คงทำอะไรแกไม่ได้
เผยเอกสารประชุมลับชี้ อังกฤษ “ไม่ร่วมคว่ำบาตร-ทำสงคราม” กับรัสเซีย
เฮก เพาเวล ที่ปรึกษาผู้ช่วยด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน ประมาทถือเอกสารสรุปรายงานการประชุมเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนที่ชี้ว่า “อังกฤษจะไม่ร่วมคว่ำบาตรและสนับสนุนด้านกำลังทหารในการทำสงครามกับรัสเซีย” ในขณะที่ผ่านนักข่าวช่างภาพในวันอาทิตย์(2)จนสามารถถ่ายภาพเก็บไว้ได้และเปิดเผยสู่สาธารณะในที่สุด ด้านพาเวล อิตคิน ช่างภาพชาวยูเครนวัย 18 สามารถเล็ดลอดเข้าไปโรงงานปรับปรุงสภาพรถถังยูเครนที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาในเมืองคาร์เคียฟ ห่างจากชายแดนรัสเซียไปราว 20 ไมล์. ภายในโรงงานมีรถถังในสมัยโซเวียตที่รวมไปถึง รุ่น T64 T72 และT80 จอดทิ้งอยู่ในนั้นจำนวนมากกว่า 400 คัน
“อังกฤษจะไม่ร่วมคว่ำบาตรหรือสนับสนุนด้านกำลังทหารในการทำสงครามกับรัสเซีย” อ้างจากเอกสารสรุปการประชุมที่ถูกแอบถ่ายภาพเก็บไว้ได้เมื่อวันอาทิตย์(2) ซึ่ง เฮก เพาเวล ที่ปรึกษาผู้ช่วยด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอนถือไปและสวนกับนักข่าวช่างภาพก่อนจะร่วมการประชุมที่ถนนดาวนิง
นอกจากนี้ในเอกสารยังชี้ว่า รัฐบาลของเดวิด คาเมรอนยังไม่มีแผนที่จะห้ามไม่ให้นักลงทุนสัญชาติรัสเซียลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อังกฤษ แต่ในทางกลับกันเอกสารฉบับนี้แนะนำว่า ควรให้ยูเอ็นเป็นผู้นำและหากเป็นไปได้ให้ส่งผู้สังเกตการณ์เข้าไปยังยูเครน และยังชี้ว่า ในการประชุม เช่นในองค์การนาโต อังกฤษควรจะยับยั้งข้อเสนอในการเตรียมความพร้อมทางการทหารโดยฉับพลัน และแหล่งข่าวจากถนนดาวนิงได้ยืนยันว่า ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารสรุปการประชุมลับนี้เป็นนโยบายอย่างเป็นทางการ โดยชี้ว่าหากเกิดมีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย หรือปิดตลาดหลักทรัพย์กับนักลงทุนรัสเซียจะกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมว่าเหตุผลหนึ่งที่อังกฤษไม่รวมแจม เพราะอีกไม่นานจะมีการลงประชามติของสกอตแลนด์ อังกฤษคงกลัวเกิดเป็นประเด็นให้ฝ่ายสนับสนุนแยกประเทศจะนำนโยบายนี้ไปโจมตีได้
ความคิดเห็นที่ 22
คุณ กร๊องง สงสัยได้อย่างมี logic ครับ ผมเคยตอบเรื่องนี้ไว้แล้ว ตัดบางส่วนมากให้อ่านอีกที
วัตถุดิบพลังงานแก๊สและน้ำมัน ซึ่งถือเป็นกลไกอำนาจทางการเมืองสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งระหว่าง ยุโรป กับ รัสเซีย โดยที่ปรากฏในข้อเท็จจริงที่ว่า ยุโรปเป็นทวีปที่ต้องพึ่งพาพลังงานทั้ง 2 ชนิดจากรัสเซียเป็นหลัก จนทำให้มองได้เสมือนหนึ่งว่า รัสเซียมีอำนาจเหนือยุโรปเสมือนหนึ่งลูกไก่ในกำมือ จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด ซึ่งในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นครับ
เรื่องนี้จะซับซ้อนเป็นอย่างมากเนื่องจากเกี่ยวข้องทั้งด้านภูมิศาสตร์ที่ระบบท่อขนส่งพลังงานวางผ่านประเทศต่างๆ ซึ่งจะตามมาด้วยความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี่ระบบขนส่ง ฯลฯ ผมจึงจะพยายามย่อสาระที่เกี่ยวข้องลงมาสรุปให้กระชับที่สุดเพื่อให้เห็นภาพรวมโดยสังเขป
รัสเซียเป็นประเทศหนึ่งที่ร่ำรวยพลังงานที่สุดในโลกนอกเหนือจากอเมริกา ในโลกปัจจุบันที่พลังงานแก๊สและน้ำมันสำคัญที่สุดนั้นจึงทำให้มีความเข้าใจในเบื้องแรกกันทันทีว่า ประเทศที่ร่ำรวยพลังงานจะมีอำนาจในทางการเมืองเหนือประเทศอื่นๆ ในแง่ของพลังงานน้ำมันนั้นเนื่องจากรัสเซียไม่ใช่เป็นประเทศเดียวที่มีทรัพยากรธรรมชาตินี้ ฉะนั้นถึงแม้ว่าจะยุโรปจะสั่งซื้อน้ำมันจากรัสเซียเป็นจำนวนมากแต่ก็จะไม่มีปัญหาหากรัสเซียจะส่งน้ำมันให้ไม่ได้ในวันใดวันหนึ่ง เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันขายในโลกมีมากมาย และเพราะการจัดส่งน้ำมันไม่ได้จำเป็นต้องส่งผ่านระบบท่อแต่ส่งโดยเรือบรรทุกสินค้า ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันของยุโรปจึงตัดไปได้
ที่เป็นหัวข้อถกเถียงกันจริงๆ คือ พลังงานแก๊สธรรมชาติ ซึ่งประเทศกลุ่ม อียู นำเข้าจากรัสเซีย 42% และจากประเทศ CIS 1% และแหล่งอื่นๆ อีก 57% โดยประเทศใหญ่ๆ ที่มีปริมาณนำเข้ามากที่สุดคือ
1) เยอรมนี นำเข้าจากรัสเซีย 38.5% ประเทศอื่นๆ 61.5%
2) อิตาลี 30% และ 70%
3) ฝรั่งเศส 15% และ 85%
4) สเปญ 0 ประเทศอื่นๆ 100%
5) เบลเยี่ยม 4% และ 96%
ที่เหลืออีก 22 ประเทศจะมีปริมาณนำเข้าแค่ตัวเลข 1 หลัก แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยุโรปตะวันออกที่เป็น Easter Bloc เก่านั้นถึงแม้จะนำเข้ามาใช้ปริมาณน้อย แต่นำเข้า 100% จากรัสเซีย เช่น ลัตเวีย ลิธัวเนีย บุลกาเรีย ฯลฯ
ฉะนั้นยุโรปจึงถือว่าเป็นลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย คือราว 90% ของสินค้าส่งออกพลังงานทั้งหมด และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญยิ่งที่ไม่ใช่แต่ยุโรปเท่านั้นที่จะต้องพึ่งพาการจัดส่งพลังงานจากรัสเซีย แต่ขณะเดียวกันรัสเซียเองก็พึ่งพาตลาดยุโรปเป็นสำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของประเทศ และเนื่องจาการขนส่งแก๊สต้องอาศัยระบบท่อขนส่งซึ่งรัสเซียร่วมลงทุนกับประเทศอื่นๆ สร้างเครือข่ายไว้ทั่วยุโรป การที่รัสเซียจะไปขายแก๊สให้ จีน หรือ ญี่ปุ่นก็สามารถทำได้ แต่ยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 10 ปีที่จะลงทุนสร้างระบบท่อส่งขึ้นมาได้
และการที่รัสเซียต้องพี่งพาประเทศอื่นๆ ในการวางท่อแก๊ส จึงจะเห็นว่ารัสเซียเองก็ไม่สามารถที่จะควบคุมระบบส่งแก๊สได้เบ็ดเสร็จในตัวเอง จะเห็นได้เมื่อรัสเซียมีปัญหาขัดแย้งกับเบลารุส และ ยูเครน รัสเซียปิดท่อแก๊สได้อย่างมากแค่ 2-3 วันเท่านั้นก็ต้องเจรจาตกลงเปิดใหม่ เพราะการปิดการส่งแก๊สย่อมเป็นผลเสียไม่แต่กับยุโรป แต่กับรัสเซียเองด้วย จากการผูกพันทางสัญญาที่รัสเซียจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหากเกิดการขัดข้องในการส่งพลังงาน
ในปัจจุบันนี้รัสเซียยังไม่สามารถส่งแก๊สในสภาพของแก๊สเหลวได้ รัสเซียกำลังพัฒนาโครงการนี้อยู่และจะเกิดขึ้นได้ยังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
วัตถุดิบพลังงานแก๊สและน้ำมัน ซึ่งถือเป็นกลไกอำนาจทางการเมืองสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งระหว่าง ยุโรป กับ รัสเซีย โดยที่ปรากฏในข้อเท็จจริงที่ว่า ยุโรปเป็นทวีปที่ต้องพึ่งพาพลังงานทั้ง 2 ชนิดจากรัสเซียเป็นหลัก จนทำให้มองได้เสมือนหนึ่งว่า รัสเซียมีอำนาจเหนือยุโรปเสมือนหนึ่งลูกไก่ในกำมือ จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด ซึ่งในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นครับ
เรื่องนี้จะซับซ้อนเป็นอย่างมากเนื่องจากเกี่ยวข้องทั้งด้านภูมิศาสตร์ที่ระบบท่อขนส่งพลังงานวางผ่านประเทศต่างๆ ซึ่งจะตามมาด้วยความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี่ระบบขนส่ง ฯลฯ ผมจึงจะพยายามย่อสาระที่เกี่ยวข้องลงมาสรุปให้กระชับที่สุดเพื่อให้เห็นภาพรวมโดยสังเขป
รัสเซียเป็นประเทศหนึ่งที่ร่ำรวยพลังงานที่สุดในโลกนอกเหนือจากอเมริกา ในโลกปัจจุบันที่พลังงานแก๊สและน้ำมันสำคัญที่สุดนั้นจึงทำให้มีความเข้าใจในเบื้องแรกกันทันทีว่า ประเทศที่ร่ำรวยพลังงานจะมีอำนาจในทางการเมืองเหนือประเทศอื่นๆ ในแง่ของพลังงานน้ำมันนั้นเนื่องจากรัสเซียไม่ใช่เป็นประเทศเดียวที่มีทรัพยากรธรรมชาตินี้ ฉะนั้นถึงแม้ว่าจะยุโรปจะสั่งซื้อน้ำมันจากรัสเซียเป็นจำนวนมากแต่ก็จะไม่มีปัญหาหากรัสเซียจะส่งน้ำมันให้ไม่ได้ในวันใดวันหนึ่ง เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันขายในโลกมีมากมาย และเพราะการจัดส่งน้ำมันไม่ได้จำเป็นต้องส่งผ่านระบบท่อแต่ส่งโดยเรือบรรทุกสินค้า ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันของยุโรปจึงตัดไปได้
ที่เป็นหัวข้อถกเถียงกันจริงๆ คือ พลังงานแก๊สธรรมชาติ ซึ่งประเทศกลุ่ม อียู นำเข้าจากรัสเซีย 42% และจากประเทศ CIS 1% และแหล่งอื่นๆ อีก 57% โดยประเทศใหญ่ๆ ที่มีปริมาณนำเข้ามากที่สุดคือ
1) เยอรมนี นำเข้าจากรัสเซีย 38.5% ประเทศอื่นๆ 61.5%
2) อิตาลี 30% และ 70%
3) ฝรั่งเศส 15% และ 85%
4) สเปญ 0 ประเทศอื่นๆ 100%
5) เบลเยี่ยม 4% และ 96%
ที่เหลืออีก 22 ประเทศจะมีปริมาณนำเข้าแค่ตัวเลข 1 หลัก แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยุโรปตะวันออกที่เป็น Easter Bloc เก่านั้นถึงแม้จะนำเข้ามาใช้ปริมาณน้อย แต่นำเข้า 100% จากรัสเซีย เช่น ลัตเวีย ลิธัวเนีย บุลกาเรีย ฯลฯ
ฉะนั้นยุโรปจึงถือว่าเป็นลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย คือราว 90% ของสินค้าส่งออกพลังงานทั้งหมด และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญยิ่งที่ไม่ใช่แต่ยุโรปเท่านั้นที่จะต้องพึ่งพาการจัดส่งพลังงานจากรัสเซีย แต่ขณะเดียวกันรัสเซียเองก็พึ่งพาตลาดยุโรปเป็นสำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่สุดของประเทศ และเนื่องจาการขนส่งแก๊สต้องอาศัยระบบท่อขนส่งซึ่งรัสเซียร่วมลงทุนกับประเทศอื่นๆ สร้างเครือข่ายไว้ทั่วยุโรป การที่รัสเซียจะไปขายแก๊สให้ จีน หรือ ญี่ปุ่นก็สามารถทำได้ แต่ยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 10 ปีที่จะลงทุนสร้างระบบท่อส่งขึ้นมาได้
และการที่รัสเซียต้องพี่งพาประเทศอื่นๆ ในการวางท่อแก๊ส จึงจะเห็นว่ารัสเซียเองก็ไม่สามารถที่จะควบคุมระบบส่งแก๊สได้เบ็ดเสร็จในตัวเอง จะเห็นได้เมื่อรัสเซียมีปัญหาขัดแย้งกับเบลารุส และ ยูเครน รัสเซียปิดท่อแก๊สได้อย่างมากแค่ 2-3 วันเท่านั้นก็ต้องเจรจาตกลงเปิดใหม่ เพราะการปิดการส่งแก๊สย่อมเป็นผลเสียไม่แต่กับยุโรป แต่กับรัสเซียเองด้วย จากการผูกพันทางสัญญาที่รัสเซียจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหากเกิดการขัดข้องในการส่งพลังงาน
ในปัจจุบันนี้รัสเซียยังไม่สามารถส่งแก๊สในสภาพของแก๊สเหลวได้ รัสเซียกำลังพัฒนาโครงการนี้อยู่และจะเกิดขึ้นได้ยังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
แสดงความคิดเห็น
อียู และ อเมริกา สามารถคว่ำบาตร รัสเซีย ด้านใดได้บ้าง และ รัสเซีย สามารถตอบโต้คืนอย่างไร