จากเหตุการณ์ใน พ.ศ. 2519 "ประวัติศาศตร์ไม่ได้ให้เรียน แก่ผู้ที่จะไม่จดจำ" สิ่งเลวร้ายที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปคือ การฆ่ากันเองแบบในครั้งอดีต ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย ในครั้งนั้น นิสิตนักศึกษา ถูกใส่ร้ายเป็น คอมมิวนิสต์ เพียงเพื่อเป็นเหตุผลให้ดูดี เพื่อที่จะ ฆ่า อย่างไร้ตราบาป สัญญาณของสิ่งเลวร้ายนี้กำลังเริ่มต้นอีกครั้ง โดย พ.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้สั่งการให้ พล.ท.ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 ดำเนินการกฏหมาย ในกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์โดยใช้ชื่อ "สปป. ล้านนา" มุขเก่าแก่แต่ยังกระตุ้นและปลุกใจคนบางส่วนได้เสมอ การสร้างความเกลียดชังโดยเริ่มแบ่งฝ่าย เริ่มมีนานแล้วก็จริง ที่สำคัญที่สุดคือคือการเอาความเกลียดชังที่อยู่ในความคิด ออกมาสู้โลกความเป็นจริง การชี้ว่าอีกฝั่งเลวร้าย ครั้งนั้นใช้คำว่า คอมมิวนิสต์ เพราะยังปิดหูปิดตาคนทั้งประเทศได้ แต่ครั้งนี้คุณจะปราบปรามใคร เพราะเสื้อแดงที่ออกมา มาเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย์ การใส่ความว่ากลุ่มนี้จะแบ่งแยกประเทศนั้น จะเป็นเหตุผลที่จะจุดชนวนสงครามได้ดีที่สุดซินะ ท่าน ผบ.ทบ.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตยลงโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะหัวใจของการปกครองในระบอบนั้นยึดมั่นในเหตุผล และศรัทธาต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติ... เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ไม่ใช่อุบัติเหตุทางการเมือง เหมือนอย่างที่ใครต่อใครบางคนพยายามบิดเบือนนั้นเลย -วีระ มุสิกพงศ์ (6 ตุลา เหตุการณ์ร่วมสมัย รอยยิ้มในวันนี้, 2523)
วันที่ 6 ตุลาคม จึงเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจลืมเลือนไปจากความทรงจำได้เลย วันนี้จะมีคนพูดโกหก แต่ไม่มีใครโกหกประวัติศาสตร์ได้ ใครทำอะไรและทำอย่างไรในวันนั้น ความจริงก็ย่อมจะเป็นความจริง -สุรชาติ บำรุงสุข (6 ตุลา เหตุการณ์ร่วมสมัย รอยยิ้มในวันนี้, 2523)
การเตรียมการล่วงหน้าในวันที่ 6 ตุลาคมนั้น ได้ก่อเหตุสยองขวัญอย่างชนิดที่เรียกว่าชีวิตเราไม่เคยเห็นความโหดเหี้ยมทารุณที่ไหนเป็นอย่างนั้น -ชวน หลีกภัย (คดีประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 ใครคือฆาตกร, 2531)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 ต.ค. 19 นั้น จะเป็นเหตุการณ์ที่โหดร้ายทารุณหรือไม่ ข้าฯ ไม่มีความเห็น ข้าฯมีหน้าที่แต่เพียงป้องกันเหตุร้ายเท่านั้น แต่ดูจากจำนวนที่มีคนเจ็บจำนวนมาก ๆ ตามที่มีข่าวในหนังสือพิมพ์แล้ว ข้าฯ ก็เห็นว่าเป็นการโหดร้ายทารุณ -ร.ต.ท.วัชรินทร์ เนียมวณิชกุล (คำให้การต่อศาลทหารพิเศษ 15 มิถุนายน 2521)
เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ปืนบาซูก้ายิงเข้าไปในมหาวิทยาลัยจริง แต่เป็นการยิงขู่เพื่อให้นักศึกษาและประชาชนที่ต่อต้านเจ้าหน้าที่ยอมจำนนเท่านั้น การยิงก็ใช้กระสุนปืนซ้อมยิง ไม่ได้ใช้กระสุนจริงแต่อย่างใด ถ้าหากเจ้าหน้าที่ใช้กระสุนจริงแล้ว ขอยืนยันว่าตัวตึกต้องมีอันถล่มลงมาแน่ -พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ 13 ตุลาคม 2519 (สยามจดหมายเหตุ 1 : 47, 7-13 ต.ค.2519)
เหตุการณ์ 6 ตุลา สำหรับผมแล้วมันเป็นฝันร้ายที่ทำให้ชีวิตนอนไม่หลับมาตลอด บางทีก็อยากจะลืม ไม่เชิงจะลืมแต่มันไม่อยากจะจำเหมือนกัน เพราะว่ามันเจ็บปวด แล้วเราก็ไม่มีหนทางที่จะทวงความเจ็บปวดของเราได้ -(ปกรณ์)
ความผิดความถูกนั้นก็รู้กันว่าใครผิดแต่อย่าไปนึกถึงดีกว่าเพราะยังก้ำกึ่งกันทุกคนอาจผิดก็ได้ในวันนั้น -พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (สยามจดหมายเหตุ 3 : 38, 15-21 กันยายน 2521)
20 ปีที่ผ่าน เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะเปิดเผยและวิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์ 6 ตุลาทุกแง่มุม เพราะเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ก่อและเกิดจากผลกระทบที่กว้างขวางและซับซ้อน ยังคงมีการค้นพบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องมาตลอด ดังนั้นการเขียนถึงประวัติศาสตร์ 6 ตุลา จะยังไม่สามารถยุติเสร็จสิ้นลงได้ (บรรทัดนี้จึงมิใช่บรรทัดสุดท้ายของบทความ)
"ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้