อริสโตเติ้ล (Aristotle) นักปรัชญาโบราณชาวกรีก เคยฝากคำพูดเอาไว้ว่า “กระบวนการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่เป็นไปตามรูปแบบของสัตว์สังคม มีการหลอมรวมจิตวิญญาน เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบสังคม ที่สร้างความเป็นเอกภาพขึ้นภายในจิตใจ ทำให้เกิดกิจวัตที่ปฎิบัติกันเป็นกลุ่ม นำไปสู่ความสำเร็จและสร้างความเข้มแข็งทางอารยธรรมอย่างเป็นปัจเจกมากขึ้น”
โดยสัตว์อย่างหมาป่าเอง ก็เข้าใจในเรื่องนี้ดี ถึงแม้พวกมันจะไม่มีอารยธรรม แต่ก็สามารถปฎิบัติตามหลักคำสอนของอริสโตเติ้ลได้ทุกระเบียดนิ้ว พวกมันมักอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง เพื่อช่วยกันล่าอาหาร รวมถึงดูแลสมาชิกหากมีศัตรูหมายจะทำร้าย พร้อมเชื่อฟังจ่าฝูงอย่างให้เกียรติและไม่เคยแก่งแย่งหรือทำร้ายกันในกลุ่ม ซึ่งเหตุนี้เอง ทำให้พวกมันเป็นนักล่าชั้นยอดที่รู้จักเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี
ซึ่งหากคุณพบว่า ตนเองเป็นหมาป่าที่ไม่ยอมประยุกค์ความคิดเพื่อดำรงอยู่ อย่างที่นักปรัชญาเก่าแก่เคยบอกไว้ ผมก็เกรงว่าคุณอาจจะใช้ชีวิตได้ลำบากมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะชีวิตของเราทุกคนล้วนต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งคุณและผมหรือใครๆ ก็ไม่อาจปฎิเสธความสัมพันธภาพของมนุษย์ไปได้ ไม่ว่าคนๆนั้นจะอยู่อย่างสันโดษเพียงไรก็ตามที
เคยมีงานวิจัยบางชิ้น ที่ถูกอ้างอิงในหนังสือ “เคมีรักระหว่างเรา” ซึ่ง พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ประพันธ์เอาไว้ว่า มีการทดลองบางอย่าง ที่นำแมลงวันหัวเขียวตัวหนึ่ง ให้ถูกจับแยกเพียงลำพังพร้อมอาหารอุดมสมบรูณ์ แต่ถึงกระนั้นบทสรุปการทดลองกลับพบว่า แมลงวันกลับมีอายุขัยสั้นกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจทำให้เห็น ถึงอนุภาพของความโดดเดี่ยวที่สามารถตัดรอนความหวัง เฉกเช่นชีวิตเราทุกคน ที่ไม่มีใครใช่ชีวิตด้วยตัวคนเดียวได้
มีแต่คนอวดดีเท่านั้น ที่จะบอกว่าตนเองอยู่คนเดียวได้
อย่างไรก็ตาม ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน บางครั้งคุณพยายามอยู่และแสดงทัศนะวิสัยตามที่หลายคนต้องการ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ปรารถนาของใครๆได้ จนบางครั้งด้วยเหตุสุดวิสัย คุณจึงต้องจำยอมเป็นหมาป่าที่ไร้ฝูง อยู่อย่างเปล่าเปลี่ยวและไม่อาจถวิลหาความเป็นตัวตนในสายตาคนอื่นได้
ถึงกระนั้น ก็อย่าได้ปฎิเสธการใช่ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เพราะนั้นเท่ากับคุณได้ปฎิเสธการเป็นมนุษย์ไปด้วย บางครั้งคุณจึงต้องจำทนอยู่กับสิ่งแย่ๆบ้าง ซึ่งไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องรู้สึกย่ำแย่ไปกับมัน แต่มันคือการ “ปรับตัว”เพื่อการ “อยู่รอด” และบางครั้งในบางโอกาส คุณอาจใช่ประโยชน์หรือได้ประโยชน์จากใครบางคนที่คุณผูกไมตรีด้วย ก็เป็นได้
ผมไม่ได้ส่งเสริมให้คุณใช้ประโยชน์จากผู้อื่นหรือคาดหวังผลประโยชน์จากใคร แต่มันคือสัจธรรมความเป็นจริง ที่มนุษย์รับรู้และไม่อยากยอมรับเป็นที่สุด ถ้ากล่าวให้เห็นภาพชัดๆก็เช่น เล่าปีหนึ่งในมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณกรรมสามก๊ก ที่ถูกกล่าวขานกันว่ามีคุณธรรมมากกว่าใคร ก็เคยเล่นแง่ในการไม่คืนสามหัวเมือง ได้แก่ กังแฮ เตียงสาและฮุยเอี๋ยง แก่ซุนกวน ผู้ที่เคยเป็นสัมพันธมิตรร่วมรบกับโจโฉในศึกผาแดง จนเมื่อโจโฉ จะมาตีเมืองเสฉวน เมืองหลวงของจ๊กก๊ก เล่าปี่ก็กลับลำ ทำดีโดยคืนสามเมืองให้แก่ซุนกวน ทำให้โจโฉไม่กล้ายกพลมาตีเล่าปี่ เนื่องจากเล่าปี่ใช้ประโยชน์จากการสร้างมิตรกับซุนกวน ทำให้เกิดความสมดุลทางมหาอำนาจ ฝ่ายซุนกวนก็พอใจที่ได้เมืองกลับคืน
เช่นเดียวกับ เพื่อนร่วมชั้นเรียนบางคน ที่มาตีสนิทช่วงเวลาสอบ เพื่อขอยืมเล็คเชอร์เก็งข้อสอบ แต่เมื่อหมดช่วงสอบก็ไม่เคยเห็นหัวอีกเลย และหลังจากนั้นเราก็เรียกใช่เขาช่วยให้ยกของหนัก โดยใช้ความช่วยเหลือในช่วงสอบเป็นข้อต่อรองในการเรียกใช่
โลกนี้ไม่มีการหลอกใช้ประโยชน์ มีแต่ใช้ประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น
ทุกการดำเนินของชีวิต มักมีการใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน สร้างผลพวงเป็นลูกโซ่ไปสู่เหตุการณ์ต่างๆในการอยู่รอด วิถีชีวิตของเราเป็นไปตามที่อริสโตเติ้ลกล่าวทุกอย่าง เป็นไปตามธรรมชาติ เฉกเช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า แต่บางครั้ง เราก็ไม่อาจเป็นหมาป่าที่เป็นจ่าฝูงหรืออยู่ร่วมในฝูงนั้นได้ คุณจึงอาจต้องเป็นหมาป่าที่ล่าเนื้อเพียงลำพังไต้แสงเงาที่กระทบจากดวงตะวัน แต่ถึงคุณจะแสร้งเป็นสุนัขป่าที่เด็ดเดี่ยวไม่พึ่งใคร แต่คุณก็ยังใช้ประโยชน์จากพระอาทิตย์ ในการมองหาเหยื่อมิใช่หรือ
เขียนโดย(ปีจอ)
สำหรับบทความอื่นๆครับ
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=8531041317212384146#overviewstats
ไม่มีเรา=ไม่มีคุณ
โดยสัตว์อย่างหมาป่าเอง ก็เข้าใจในเรื่องนี้ดี ถึงแม้พวกมันจะไม่มีอารยธรรม แต่ก็สามารถปฎิบัติตามหลักคำสอนของอริสโตเติ้ลได้ทุกระเบียดนิ้ว พวกมันมักอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง เพื่อช่วยกันล่าอาหาร รวมถึงดูแลสมาชิกหากมีศัตรูหมายจะทำร้าย พร้อมเชื่อฟังจ่าฝูงอย่างให้เกียรติและไม่เคยแก่งแย่งหรือทำร้ายกันในกลุ่ม ซึ่งเหตุนี้เอง ทำให้พวกมันเป็นนักล่าชั้นยอดที่รู้จักเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี
ซึ่งหากคุณพบว่า ตนเองเป็นหมาป่าที่ไม่ยอมประยุกค์ความคิดเพื่อดำรงอยู่ อย่างที่นักปรัชญาเก่าแก่เคยบอกไว้ ผมก็เกรงว่าคุณอาจจะใช้ชีวิตได้ลำบากมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะชีวิตของเราทุกคนล้วนต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งคุณและผมหรือใครๆ ก็ไม่อาจปฎิเสธความสัมพันธภาพของมนุษย์ไปได้ ไม่ว่าคนๆนั้นจะอยู่อย่างสันโดษเพียงไรก็ตามที
เคยมีงานวิจัยบางชิ้น ที่ถูกอ้างอิงในหนังสือ “เคมีรักระหว่างเรา” ซึ่ง พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล ประพันธ์เอาไว้ว่า มีการทดลองบางอย่าง ที่นำแมลงวันหัวเขียวตัวหนึ่ง ให้ถูกจับแยกเพียงลำพังพร้อมอาหารอุดมสมบรูณ์ แต่ถึงกระนั้นบทสรุปการทดลองกลับพบว่า แมลงวันกลับมีอายุขัยสั้นกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจทำให้เห็น ถึงอนุภาพของความโดดเดี่ยวที่สามารถตัดรอนความหวัง เฉกเช่นชีวิตเราทุกคน ที่ไม่มีใครใช่ชีวิตด้วยตัวคนเดียวได้
มีแต่คนอวดดีเท่านั้น ที่จะบอกว่าตนเองอยู่คนเดียวได้
อย่างไรก็ตาม ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน บางครั้งคุณพยายามอยู่และแสดงทัศนะวิสัยตามที่หลายคนต้องการ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ปรารถนาของใครๆได้ จนบางครั้งด้วยเหตุสุดวิสัย คุณจึงต้องจำยอมเป็นหมาป่าที่ไร้ฝูง อยู่อย่างเปล่าเปลี่ยวและไม่อาจถวิลหาความเป็นตัวตนในสายตาคนอื่นได้
ถึงกระนั้น ก็อย่าได้ปฎิเสธการใช่ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เพราะนั้นเท่ากับคุณได้ปฎิเสธการเป็นมนุษย์ไปด้วย บางครั้งคุณจึงต้องจำทนอยู่กับสิ่งแย่ๆบ้าง ซึ่งไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องรู้สึกย่ำแย่ไปกับมัน แต่มันคือการ “ปรับตัว”เพื่อการ “อยู่รอด” และบางครั้งในบางโอกาส คุณอาจใช่ประโยชน์หรือได้ประโยชน์จากใครบางคนที่คุณผูกไมตรีด้วย ก็เป็นได้
ผมไม่ได้ส่งเสริมให้คุณใช้ประโยชน์จากผู้อื่นหรือคาดหวังผลประโยชน์จากใคร แต่มันคือสัจธรรมความเป็นจริง ที่มนุษย์รับรู้และไม่อยากยอมรับเป็นที่สุด ถ้ากล่าวให้เห็นภาพชัดๆก็เช่น เล่าปีหนึ่งในมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในวรรณกรรมสามก๊ก ที่ถูกกล่าวขานกันว่ามีคุณธรรมมากกว่าใคร ก็เคยเล่นแง่ในการไม่คืนสามหัวเมือง ได้แก่ กังแฮ เตียงสาและฮุยเอี๋ยง แก่ซุนกวน ผู้ที่เคยเป็นสัมพันธมิตรร่วมรบกับโจโฉในศึกผาแดง จนเมื่อโจโฉ จะมาตีเมืองเสฉวน เมืองหลวงของจ๊กก๊ก เล่าปี่ก็กลับลำ ทำดีโดยคืนสามเมืองให้แก่ซุนกวน ทำให้โจโฉไม่กล้ายกพลมาตีเล่าปี่ เนื่องจากเล่าปี่ใช้ประโยชน์จากการสร้างมิตรกับซุนกวน ทำให้เกิดความสมดุลทางมหาอำนาจ ฝ่ายซุนกวนก็พอใจที่ได้เมืองกลับคืน
เช่นเดียวกับ เพื่อนร่วมชั้นเรียนบางคน ที่มาตีสนิทช่วงเวลาสอบ เพื่อขอยืมเล็คเชอร์เก็งข้อสอบ แต่เมื่อหมดช่วงสอบก็ไม่เคยเห็นหัวอีกเลย และหลังจากนั้นเราก็เรียกใช่เขาช่วยให้ยกของหนัก โดยใช้ความช่วยเหลือในช่วงสอบเป็นข้อต่อรองในการเรียกใช่
โลกนี้ไม่มีการหลอกใช้ประโยชน์ มีแต่ใช้ประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น
ทุกการดำเนินของชีวิต มักมีการใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน สร้างผลพวงเป็นลูกโซ่ไปสู่เหตุการณ์ต่างๆในการอยู่รอด วิถีชีวิตของเราเป็นไปตามที่อริสโตเติ้ลกล่าวทุกอย่าง เป็นไปตามธรรมชาติ เฉกเช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า แต่บางครั้ง เราก็ไม่อาจเป็นหมาป่าที่เป็นจ่าฝูงหรืออยู่ร่วมในฝูงนั้นได้ คุณจึงอาจต้องเป็นหมาป่าที่ล่าเนื้อเพียงลำพังไต้แสงเงาที่กระทบจากดวงตะวัน แต่ถึงคุณจะแสร้งเป็นสุนัขป่าที่เด็ดเดี่ยวไม่พึ่งใคร แต่คุณก็ยังใช้ประโยชน์จากพระอาทิตย์ ในการมองหาเหยื่อมิใช่หรือ
สำหรับบทความอื่นๆครับ https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=8531041317212384146#overviewstats