ข้อคิดในการเริ่มวางแผนการเงินที่สถาบันนักวางแผนการเงินของสหราชอาณาจักรรวบรวมไว้ 10 ข้อ ดังนี้
1. ตั้งเป้าหมายชีวิต ว่า ท่านจะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ในชีวิตอย่างไร โดยแยกเป็น เป้าหมายระยะสั้น เช่น วางแผนไปเที่ยวในปีหน้า ระยะปานกลาง เช่น มีลูก มีธุรกิจของตัวเอง และระยะยาว เช่น แผนเกษียณอายุงาน
2. รู้ความมั่งคั่งสุทธิของตนเอง โดยการหามูลค่าของสินทรัพย์ทั้งหมด หักด้วยหนี้สินทั้งหมด และตั้งเป้าหมายเพิ่มความมั่งคั่งสุทธิในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต
3. จัดสรรงบประมาณ และพยายามใช้จ่ายตามงบประมาณนั้น โดยท่านควรจะใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ของท่าน แต่ถ้าท่านใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ต้องตัดรายจ่ายลง หรือต้องเพิ่มรายได้ด้วยการทำงานเพิ่ม ไม่ควรกู้ยืมมาจ่ายค่าซื้อของหรือเพื่อไปท่องเที่ยว
4. หนี้สิน กู้ยืมเงินเฉพาะในยามที่ต้องการจริงๆ และก่อนที่จะกู้เงินหรือใช้เงินจากบัญชีบัตรเครดิต ต้องรู้อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่าย เพราะเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับค่าสินค้าแล้ว สินค้าที่ซื้ออาจจะมีราคาแพงมากๆ เมื่อมีหนี้ควรพยายามใช้คืนหนี้ให้เร็ว
5. ฝากเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ในสัดส่วนเท่ากับรายจ่ายประมาณ 2-3 เดือน (จำเป็นที่จะต้องทำแม้ว่าท่านจะต้องการเงินไปจ่ายคืนหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงๆ ก็ตาม)
6. ออม! เมื่อจ่ายคืนหนี้อัตราดอกเบี้ยสูงหมด และมีเงินฝากไว้ใช้ยามฉุกเฉินแล้ว ท่านต้องเริ่มออมทุกๆ เดือนเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะสั้นและระยะปานกลาง เช่น ซื้อรถใหม่ ไปเที่ยว ซ่อมแซมบ้าน ฯลฯ
7. ป้องกันตัวเองก่อน ต้องป้องกันตัวเองและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เพื่อให้แน่ใจว่าท่านและครอบครัวมีเงินไว้ชำระค่าหมอ ค่ายา อุบัติเหตุ หรือมีเงินผ่อนชำระหนี้สินกรณีที่ผู้หารายได้หลักของครอบครัวจากไปก่อนวัยอันควร ควรป้องกันทั้งทรัพย์สินหลักๆ เช่น บ้านและรถยนต์ และจัดทำพินัยกรรม
8. วางแผนเกษียณ แต่เนิ่นๆ ออมให้มากกว่าที่ถูกบังคับออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แม้ท่านจะยังมีภาระหนี้อยู่ก็ตาม
9. การลงทุนไม่ใช่เฉพาะสำหรับคนรวยเท่านั้น ทุกคนควรจะลงทุน การลงทุนช่วยเปิดโอกาสให้เงินของท่านทำงานให้ท่านหนักขึ้น ในระยะยาว ให้พิจารณาการลงทุนที่ไม่เสียภาษีจากผลตอบแทน หรือเสียภาษีน้อยด้วย
10. บอกต่อ สอนเรื่องการเงินให้บุตรหลานของท่าน ยิ่งเด็กได้เรียนรู้เร็ว ก็จะยิ่งจัดการการเงินให้ตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา
www.bloggang.com
นักวางแผนการเงิน
1. ตั้งเป้าหมายชีวิต ว่า ท่านจะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ในชีวิตอย่างไร โดยแยกเป็น เป้าหมายระยะสั้น เช่น วางแผนไปเที่ยวในปีหน้า ระยะปานกลาง เช่น มีลูก มีธุรกิจของตัวเอง และระยะยาว เช่น แผนเกษียณอายุงาน
2. รู้ความมั่งคั่งสุทธิของตนเอง โดยการหามูลค่าของสินทรัพย์ทั้งหมด หักด้วยหนี้สินทั้งหมด และตั้งเป้าหมายเพิ่มความมั่งคั่งสุทธิในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต
3. จัดสรรงบประมาณ และพยายามใช้จ่ายตามงบประมาณนั้น โดยท่านควรจะใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ของท่าน แต่ถ้าท่านใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ต้องตัดรายจ่ายลง หรือต้องเพิ่มรายได้ด้วยการทำงานเพิ่ม ไม่ควรกู้ยืมมาจ่ายค่าซื้อของหรือเพื่อไปท่องเที่ยว
4. หนี้สิน กู้ยืมเงินเฉพาะในยามที่ต้องการจริงๆ และก่อนที่จะกู้เงินหรือใช้เงินจากบัญชีบัตรเครดิต ต้องรู้อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่าย เพราะเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับค่าสินค้าแล้ว สินค้าที่ซื้ออาจจะมีราคาแพงมากๆ เมื่อมีหนี้ควรพยายามใช้คืนหนี้ให้เร็ว
5. ฝากเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ในสัดส่วนเท่ากับรายจ่ายประมาณ 2-3 เดือน (จำเป็นที่จะต้องทำแม้ว่าท่านจะต้องการเงินไปจ่ายคืนหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงๆ ก็ตาม)
6. ออม! เมื่อจ่ายคืนหนี้อัตราดอกเบี้ยสูงหมด และมีเงินฝากไว้ใช้ยามฉุกเฉินแล้ว ท่านต้องเริ่มออมทุกๆ เดือนเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะสั้นและระยะปานกลาง เช่น ซื้อรถใหม่ ไปเที่ยว ซ่อมแซมบ้าน ฯลฯ
7. ป้องกันตัวเองก่อน ต้องป้องกันตัวเองและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เพื่อให้แน่ใจว่าท่านและครอบครัวมีเงินไว้ชำระค่าหมอ ค่ายา อุบัติเหตุ หรือมีเงินผ่อนชำระหนี้สินกรณีที่ผู้หารายได้หลักของครอบครัวจากไปก่อนวัยอันควร ควรป้องกันทั้งทรัพย์สินหลักๆ เช่น บ้านและรถยนต์ และจัดทำพินัยกรรม
8. วางแผนเกษียณ แต่เนิ่นๆ ออมให้มากกว่าที่ถูกบังคับออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แม้ท่านจะยังมีภาระหนี้อยู่ก็ตาม
9. การลงทุนไม่ใช่เฉพาะสำหรับคนรวยเท่านั้น ทุกคนควรจะลงทุน การลงทุนช่วยเปิดโอกาสให้เงินของท่านทำงานให้ท่านหนักขึ้น ในระยะยาว ให้พิจารณาการลงทุนที่ไม่เสียภาษีจากผลตอบแทน หรือเสียภาษีน้อยด้วย
10. บอกต่อ สอนเรื่องการเงินให้บุตรหลานของท่าน ยิ่งเด็กได้เรียนรู้เร็ว ก็จะยิ่งจัดการการเงินให้ตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา www.bloggang.com