นิตยสาร IMAGE พฤษภาคม ๒๕๕๖
แดน อาเรียลลี่ นักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมแห่งเอ็มไอที เขียนเล่าว่า คราวหนึ่งสมาคมผู้เกษียณอายุแห่งสหรัฐอเมริกาได้สอบถามทนายความจำนวนหนึ่งว่า พวกเขาสามารถลดค่าบริการให้แก่คนวัยเกษียณที่ยากจนได้ไหม โดยอาจเหลือแค่ชั่วโมงละ ๓๐ ดอลลาร์ ทนายความตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่ได้” แทนที่ผู้จัดการโครงการจะท้อถอย เขาเปลี่ยนมาถามทนายความเหล่านั้นว่า พวกเขายินดีให้บริการแก่ผู้ยากไร้วัยเกษียณโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ได้ไหม ปรากฏว่าทนายส่วนใหญ่ตอบว่า “ได้”
อะไรทำให้คำตอบที่ได้ทั้งสองครั้งนั้นแตกต่างกันมาก โดยสามัญสำนึกของคนทั่วไป ขนาดลดค่าบริการ ทนายความยังไม่ยอม แล้วจะยอมทำงานให้ฟรี ๆ ได้อย่างไร คำอธิบายเรื่องนี้ก็คือ เวลาพูดถึงเรื่องเงิน ทนายความจะนึกถึงบรรทัดฐานที่ใช้ในทางธุรกิจ ทำให้รู้สึกว่า ๓๐ ดอลลาร์นั้นเป็นอัตราที่ต่ำมาก แต่พอไม่พูดถึงเรื่องเงินเลย หากเป็นการขอร้องให้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน ทนายความจะนึกถึงบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งเน้นเรื่องความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงตอบตกลงได้ง่าย
คนเราทุกวันนี้เสมือนอยู่ในโลกสองโลกที่ซ้อนกัน โลกหนึ่งคือโลกที่สัมพันธ์กันด้วยเงินตรา ใช้เงินเป็นตัววัดมูลค่า เป็นโลกแห่งกำไร-ขาดทุน อีกโลกหนึ่งนั้นเป็นโลกที่สัมพันธ์กันด้วยน้ำใจ ให้คุณค่าแก่ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล รวมทั้งให้ความสำคัญแก่คุณค่าที่เป็นนามธรรม ประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ เวลาเราอยู่ในโลกประเภทแรก เงินทองจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ มีการใช้ “บรรทัดฐานทางตลาด” เป็นเกณฑ์ แต่เมื่อเราอยู่ในโลกประเภทที่สอง น้ำใจจะเป็นสิ่งสำคัญ “บรรทัดฐานทางสังคม” จะเป็นตัวกำกับความคิดและพฤติกรรมของเรา
จะเรียกว่าคนเรามีสองมาตรฐานก็ได้ จะใช้มาตรฐานใดก็ขึ้นอยู่กับว่าอีกฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างไร หรือมีอะไรมากระตุ้นให้เราใช้มาตรฐานประเภทใด เคยมีการทดลองกับคนสามกลุ่ม โดยทุกกลุ่มทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน นั่นคือลากวงกลมที่ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของจอคอมพิวเตอร์ ให้เข้าไปอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ด้านขวา เมื่อลากเสร็จวงกลมจะหายไป แล้วจะปรากฏขึ้นใหม่ที่ด้านซ้าย สิ่งที่ทุกคนต้องทำก็คือ ลากวงกลมให้เข้าไปในกรอบสี่เหลี่ยมให้มากที่สุดภายในเวลาห้านาที
กลุ่มแรกได้รับเงินห้าดอลลาร์ทันทีที่เข้าห้องทดลอง กลุ่มที่สองได้แค่ ๕๐ เซ็นต์ ส่วนกลุ่มที่สามถูกขอร้องให้มาช่วยทำกิจกรรมนี้ โดยไม่มีการพูดถึงเรื่องเงินเลย ผลที่เกิดขึ้นก็คือ กลุ่มแรกลากวงกลมได้เฉลี่ย ๑๕๙ วง ส่วนกลุ่มที่สองลากได้แค่ ๑๐๑ วงโดยเฉลี่ย ไม่น่าแปลกใจที่ผลออกมาเป็นเช่นนั้น เพราะกลุ่มที่สองได้ผลตอบแทนเล็กน้อยมาก แล้วกลุ่มที่สามล่ะ ปรากฏว่าทั้ง ๆ ที่ทำฟรีแต่ผลงานกลับออกมาดีที่สุดคือ ลากวงกลมได้ ๑๖๘ วงโดยเฉลี่ย
กลุ่มที่สามตั้งใจทำเพราะเขาถูกชวนให้ใช้บรรทัดฐานทางสังคม ขณะที่กลุ่มที่สองไม่ตั้งใจทำเพราะถูกกระตุ้นให้ใช้บรรทัดฐานทางตลาด จึงรู้สึกว่า “ไม่คุ้ม” ที่จะขยันขันแข็งด้วยเงินเพียงแค่ ๕๐ เซ็นต์เท่านั้น
พูดอีกอย่างก็คือ คนเรามีทั้งคุณธรรมและความเห็นแก่ได้ ถ้าถูกขอร้องไหว้วานกัน คุณธรรมก็จะออกมานำหน้า จึงพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อะไร แต่ถ้าว่าจ้างกัน ความเห็นแก่ได้ ก็จะเป็นใหญ่ จะขยันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ได้มากหรือได้น้อย ถ้าได้น้อยก็ทำอย่างขอไปที
การชักชวนให้คนทำความดี ขยัน เสียสละ ไม่ใช่เรื่องยาก อยู่ที่ว่าเราดึงเอาคุณสมบัติส่วนใดของเขาออกมา หรือโน้มน้าวให้เขาใช้บรรทัดฐานประเภทใด น่าเสียดายที่ทุกวันนี้เราถนัดแต่การกระตุ้นความเห็นแก่ได้ หรือกระตุ้นให้ใช้บรรทัดฐานทางตลาด ผู้คนจึงคิดแต่เรื่องกำไร-ขาดทุน หรือ คุ้ม-ไม่คุ้มชนิดที่วัดด้วยเงินตรา ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล รวมทั้งความขยันหมั่นเพียร และความซื่อสัตย์สุจริต จึงเจือจางลง
http://www.visalo.org/article/Image255605.html
คนสองโลก
นิตยสาร IMAGE พฤษภาคม ๒๕๕๖
แดน อาเรียลลี่ นักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมแห่งเอ็มไอที เขียนเล่าว่า คราวหนึ่งสมาคมผู้เกษียณอายุแห่งสหรัฐอเมริกาได้สอบถามทนายความจำนวนหนึ่งว่า พวกเขาสามารถลดค่าบริการให้แก่คนวัยเกษียณที่ยากจนได้ไหม โดยอาจเหลือแค่ชั่วโมงละ ๓๐ ดอลลาร์ ทนายความตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่ได้” แทนที่ผู้จัดการโครงการจะท้อถอย เขาเปลี่ยนมาถามทนายความเหล่านั้นว่า พวกเขายินดีให้บริการแก่ผู้ยากไร้วัยเกษียณโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ได้ไหม ปรากฏว่าทนายส่วนใหญ่ตอบว่า “ได้”
อะไรทำให้คำตอบที่ได้ทั้งสองครั้งนั้นแตกต่างกันมาก โดยสามัญสำนึกของคนทั่วไป ขนาดลดค่าบริการ ทนายความยังไม่ยอม แล้วจะยอมทำงานให้ฟรี ๆ ได้อย่างไร คำอธิบายเรื่องนี้ก็คือ เวลาพูดถึงเรื่องเงิน ทนายความจะนึกถึงบรรทัดฐานที่ใช้ในทางธุรกิจ ทำให้รู้สึกว่า ๓๐ ดอลลาร์นั้นเป็นอัตราที่ต่ำมาก แต่พอไม่พูดถึงเรื่องเงินเลย หากเป็นการขอร้องให้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน ทนายความจะนึกถึงบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งเน้นเรื่องความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงตอบตกลงได้ง่าย
คนเราทุกวันนี้เสมือนอยู่ในโลกสองโลกที่ซ้อนกัน โลกหนึ่งคือโลกที่สัมพันธ์กันด้วยเงินตรา ใช้เงินเป็นตัววัดมูลค่า เป็นโลกแห่งกำไร-ขาดทุน อีกโลกหนึ่งนั้นเป็นโลกที่สัมพันธ์กันด้วยน้ำใจ ให้คุณค่าแก่ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล รวมทั้งให้ความสำคัญแก่คุณค่าที่เป็นนามธรรม ประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ เวลาเราอยู่ในโลกประเภทแรก เงินทองจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ มีการใช้ “บรรทัดฐานทางตลาด” เป็นเกณฑ์ แต่เมื่อเราอยู่ในโลกประเภทที่สอง น้ำใจจะเป็นสิ่งสำคัญ “บรรทัดฐานทางสังคม” จะเป็นตัวกำกับความคิดและพฤติกรรมของเรา
จะเรียกว่าคนเรามีสองมาตรฐานก็ได้ จะใช้มาตรฐานใดก็ขึ้นอยู่กับว่าอีกฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างไร หรือมีอะไรมากระตุ้นให้เราใช้มาตรฐานประเภทใด เคยมีการทดลองกับคนสามกลุ่ม โดยทุกกลุ่มทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน นั่นคือลากวงกลมที่ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของจอคอมพิวเตอร์ ให้เข้าไปอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ด้านขวา เมื่อลากเสร็จวงกลมจะหายไป แล้วจะปรากฏขึ้นใหม่ที่ด้านซ้าย สิ่งที่ทุกคนต้องทำก็คือ ลากวงกลมให้เข้าไปในกรอบสี่เหลี่ยมให้มากที่สุดภายในเวลาห้านาที
กลุ่มแรกได้รับเงินห้าดอลลาร์ทันทีที่เข้าห้องทดลอง กลุ่มที่สองได้แค่ ๕๐ เซ็นต์ ส่วนกลุ่มที่สามถูกขอร้องให้มาช่วยทำกิจกรรมนี้ โดยไม่มีการพูดถึงเรื่องเงินเลย ผลที่เกิดขึ้นก็คือ กลุ่มแรกลากวงกลมได้เฉลี่ย ๑๕๙ วง ส่วนกลุ่มที่สองลากได้แค่ ๑๐๑ วงโดยเฉลี่ย ไม่น่าแปลกใจที่ผลออกมาเป็นเช่นนั้น เพราะกลุ่มที่สองได้ผลตอบแทนเล็กน้อยมาก แล้วกลุ่มที่สามล่ะ ปรากฏว่าทั้ง ๆ ที่ทำฟรีแต่ผลงานกลับออกมาดีที่สุดคือ ลากวงกลมได้ ๑๖๘ วงโดยเฉลี่ย
กลุ่มที่สามตั้งใจทำเพราะเขาถูกชวนให้ใช้บรรทัดฐานทางสังคม ขณะที่กลุ่มที่สองไม่ตั้งใจทำเพราะถูกกระตุ้นให้ใช้บรรทัดฐานทางตลาด จึงรู้สึกว่า “ไม่คุ้ม” ที่จะขยันขันแข็งด้วยเงินเพียงแค่ ๕๐ เซ็นต์เท่านั้น
พูดอีกอย่างก็คือ คนเรามีทั้งคุณธรรมและความเห็นแก่ได้ ถ้าถูกขอร้องไหว้วานกัน คุณธรรมก็จะออกมานำหน้า จึงพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อะไร แต่ถ้าว่าจ้างกัน ความเห็นแก่ได้ ก็จะเป็นใหญ่ จะขยันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า ได้มากหรือได้น้อย ถ้าได้น้อยก็ทำอย่างขอไปที
การชักชวนให้คนทำความดี ขยัน เสียสละ ไม่ใช่เรื่องยาก อยู่ที่ว่าเราดึงเอาคุณสมบัติส่วนใดของเขาออกมา หรือโน้มน้าวให้เขาใช้บรรทัดฐานประเภทใด น่าเสียดายที่ทุกวันนี้เราถนัดแต่การกระตุ้นความเห็นแก่ได้ หรือกระตุ้นให้ใช้บรรทัดฐานทางตลาด ผู้คนจึงคิดแต่เรื่องกำไร-ขาดทุน หรือ คุ้ม-ไม่คุ้มชนิดที่วัดด้วยเงินตรา ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล รวมทั้งความขยันหมั่นเพียร และความซื่อสัตย์สุจริต จึงเจือจางลง
http://www.visalo.org/article/Image255605.html