นิตยสารไทม์รายงานอ้างความเห็นนักวิเคราะห์ คำพิพากษาศาลแพ่งคุ้มครองกลุ่มต่อต้านรัฐบาลไทย เป็นฟางเส้นสุดท้าย จุดชนวนเหตุรุนแรง คาดหากรบ.พรรคเพื่อไทยถูกโค่น คนเสื้อแดงเปิดฉากสู้กลับ
เว็บไซต์ไทม์เสนอบทรายงานเมื่อวันจันทร์ ชี้ว่า เหตุรุนแรงทางการเมืองในประเทศไทย บานปลายจนเกินควบคุมได้แล้ว ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุโจมตีในพื้นที่ชุมนุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ทั้งที่จังหวัดตราดและบริเวณแยกราชประสงค์ในกรุงเทพ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย ในจำนวนนี้มีเด็ก 3 ราย บาดเจ็บจำนวนมาก
รายงานที่เขียนโดย Charlie Campbell เรื่อง "Three children dead in one weekend : Thailand's political violence is officially out of control" ยังกล่าวด้วยว่า เมื่อวันอังคารของสัปดาห์ก่อน มีผู้เสียชีวิต 5 รายในเหตุการณ์ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาส เมื่อตำรวจพยายามเข้าเปิดเส้นทางสัญจรบนถนนราชดำเนิน ทั้งนี้ นับแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 18 ราย บาดเจ็บนับร้อย
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คำพิพากษาศาลแพ่งเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งสั่งห้ามตำรวจใช้กำลังกับผู้ประท้วง อาจเป็น "ฟางเส้นสุดท้าย" สำหรับผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนมาก
ไทม์รายงานว่า แม้ปรากฏกลุ่มคนสวมผ้าคลุมหน้า พกพาอาวุธแทบจะโดยเปิดเผย อยู่ร่วมเวทีของแกนนำผู้ประท้วง และระเบิดที่ขว้างใส่แนวของตำรวจก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส ผู้พิพากษาวินิจฉัยว่า ผู้ประท้วงได้ชุมนุม "โดยสงบ และปราศจากอาวุธ" ดังนั้น จึงได้รับการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
บทรายงานอ้างความเห็นของนักวิเคราะห์ด้านกฎหมาย ระบุว่า คำสั่ง 9 ข้อของศาลเป็นการก้าวล่วงเขตอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า คำพิพากษาดังกล่าวเป็นกรณีล่าสุดของคำวินิจฉัยของศาลซึ่งพัวพันการเมืองอย่างมาก ที่พยายามบั่นทอนพลังของฝ่ายทักษิณ ชินวัตร มาตั้งแต่ปี 2549 "เป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกหวาดกลัวจริงๆที่จะได้เห็นความขัดแย้งปะทุบานปลาย"
ต่อกรณีบทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ วอล์กเกอร์ กล่าวว่า "เมื่อคุณบอยคอตการเลือกตั้ง, ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง, ดูถูกเหยียดหยามผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณกำลังปลุกเร้าพวกสุดโต่งของทุกฝ่าย"
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานนปช. กลุ่มคนเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณ เตือนว่า ถ้าไม่มีการยอมรับผลการเลือกตั้งโดยเร็ว อาจเกิด "สงครามกลางเมือง"
"เราพยายามควบคุมคนเสื้อแดงให้ต่อสู้ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ แต่พวกเขามีความคับแค้นมาก" นางธิดากล่าวกับไทม์
@ เหตุระเบิดในพื้นที่ชุมนุม ย่านราชประสงค์ เมื่อวันอาทิตย์ ส่งผลให้แม่ ลูกชายวัย 4 ขวบ และลูกสาววัย 3 ขวบ เสียชีวิต ครอบครัวนี้ไม่ใช่ผู้ร่วมชุมนุม และยังมีผู้บาดเจ็บอีก 21 คน
นิตยสารฉบับนี้บอกว่า ถ้านายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกขับออกจากตำแหน่ง แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนเสื้อแดงจะลงสู่ท้องถนนในกรุงเทพเหมือนเมื่อปี 2553 ในครั้งนั้น การชุมนุมเกิดจากการแทรกแซงของตุลาการที่ได้ขับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง การประท้วงยุติลงด้วยการปราบปรามอย่างนองเลือด
"ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจะไร้เดียงสาอย่างยิ่งหากคิดว่าฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลจะยอมรับการขับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง" วอล์กเกอร์ ให้ความเห็น และว่า ฉากจบกำลังใกล้มาถึง เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์กำลังหมดช่องทางตามกฎหมายที่จะรับมือการก่อความไม่สงบ และเธอยังจะต้องถูกไต่สวนในศาลและองค์กรอิสระในหลายคดี
วอล์กเกอร์ บอกว่า ทั้งสองฝ่ายกำลังเตรียมจะเข้าห้ำหั่นกัน ขณะนายฐิตินันท์มีความเห็นในทำนองเดียวกัน "ความขัดแย้งในหมู่ประชาชนอย่างยืดเยื้อ มีทีท่าว่าจะเป็นจริงอย่างแน่นอน."
Source : TIME และ
http://news.voicetv.co.th/thailand/98305.html
25 กุมภาพันธ์ 2557
สื่อนอก 'ไทม์' ชี้ไทยจ่อนับหนึ่ง 'สงครามกลางเมือง'
นิตยสารไทม์รายงานอ้างความเห็นนักวิเคราะห์ คำพิพากษาศาลแพ่งคุ้มครองกลุ่มต่อต้านรัฐบาลไทย เป็นฟางเส้นสุดท้าย จุดชนวนเหตุรุนแรง คาดหากรบ.พรรคเพื่อไทยถูกโค่น คนเสื้อแดงเปิดฉากสู้กลับ
เว็บไซต์ไทม์เสนอบทรายงานเมื่อวันจันทร์ ชี้ว่า เหตุรุนแรงทางการเมืองในประเทศไทย บานปลายจนเกินควบคุมได้แล้ว ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุโจมตีในพื้นที่ชุมนุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ทั้งที่จังหวัดตราดและบริเวณแยกราชประสงค์ในกรุงเทพ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย ในจำนวนนี้มีเด็ก 3 ราย บาดเจ็บจำนวนมาก
รายงานที่เขียนโดย Charlie Campbell เรื่อง "Three children dead in one weekend : Thailand's political violence is officially out of control" ยังกล่าวด้วยว่า เมื่อวันอังคารของสัปดาห์ก่อน มีผู้เสียชีวิต 5 รายในเหตุการณ์ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาส เมื่อตำรวจพยายามเข้าเปิดเส้นทางสัญจรบนถนนราชดำเนิน ทั้งนี้ นับแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 18 ราย บาดเจ็บนับร้อย
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คำพิพากษาศาลแพ่งเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งสั่งห้ามตำรวจใช้กำลังกับผู้ประท้วง อาจเป็น "ฟางเส้นสุดท้าย" สำหรับผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนมาก
ไทม์รายงานว่า แม้ปรากฏกลุ่มคนสวมผ้าคลุมหน้า พกพาอาวุธแทบจะโดยเปิดเผย อยู่ร่วมเวทีของแกนนำผู้ประท้วง และระเบิดที่ขว้างใส่แนวของตำรวจก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส ผู้พิพากษาวินิจฉัยว่า ผู้ประท้วงได้ชุมนุม "โดยสงบ และปราศจากอาวุธ" ดังนั้น จึงได้รับการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
บทรายงานอ้างความเห็นของนักวิเคราะห์ด้านกฎหมาย ระบุว่า คำสั่ง 9 ข้อของศาลเป็นการก้าวล่วงเขตอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ
แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า คำพิพากษาดังกล่าวเป็นกรณีล่าสุดของคำวินิจฉัยของศาลซึ่งพัวพันการเมืองอย่างมาก ที่พยายามบั่นทอนพลังของฝ่ายทักษิณ ชินวัตร มาตั้งแต่ปี 2549 "เป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกหวาดกลัวจริงๆที่จะได้เห็นความขัดแย้งปะทุบานปลาย"
ต่อกรณีบทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ วอล์กเกอร์ กล่าวว่า "เมื่อคุณบอยคอตการเลือกตั้ง, ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง, ดูถูกเหยียดหยามผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณกำลังปลุกเร้าพวกสุดโต่งของทุกฝ่าย"
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานนปช. กลุ่มคนเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณ เตือนว่า ถ้าไม่มีการยอมรับผลการเลือกตั้งโดยเร็ว อาจเกิด "สงครามกลางเมือง"
"เราพยายามควบคุมคนเสื้อแดงให้ต่อสู้ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ แต่พวกเขามีความคับแค้นมาก" นางธิดากล่าวกับไทม์
@ เหตุระเบิดในพื้นที่ชุมนุม ย่านราชประสงค์ เมื่อวันอาทิตย์ ส่งผลให้แม่ ลูกชายวัย 4 ขวบ และลูกสาววัย 3 ขวบ เสียชีวิต ครอบครัวนี้ไม่ใช่ผู้ร่วมชุมนุม และยังมีผู้บาดเจ็บอีก 21 คน
นิตยสารฉบับนี้บอกว่า ถ้านายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกขับออกจากตำแหน่ง แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนเสื้อแดงจะลงสู่ท้องถนนในกรุงเทพเหมือนเมื่อปี 2553 ในครั้งนั้น การชุมนุมเกิดจากการแทรกแซงของตุลาการที่ได้ขับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง การประท้วงยุติลงด้วยการปราบปรามอย่างนองเลือด
"ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจะไร้เดียงสาอย่างยิ่งหากคิดว่าฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลจะยอมรับการขับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง" วอล์กเกอร์ ให้ความเห็น และว่า ฉากจบกำลังใกล้มาถึง เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์กำลังหมดช่องทางตามกฎหมายที่จะรับมือการก่อความไม่สงบ และเธอยังจะต้องถูกไต่สวนในศาลและองค์กรอิสระในหลายคดี
วอล์กเกอร์ บอกว่า ทั้งสองฝ่ายกำลังเตรียมจะเข้าห้ำหั่นกัน ขณะนายฐิตินันท์มีความเห็นในทำนองเดียวกัน "ความขัดแย้งในหมู่ประชาชนอย่างยืดเยื้อ มีทีท่าว่าจะเป็นจริงอย่างแน่นอน."
Source : TIME และ http://news.voicetv.co.th/thailand/98305.html
25 กุมภาพันธ์ 2557