คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
จากจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง
จากเงินฝากรับดอกเบี้ยที่สภาพคล่องเหลือเฟื่อจนไม่ใช่การออม เช่นบัญชีออมทรัพย์
หรือได้แต่เฝ้ามองจ้องให้ถึงเวลาครบกำหนดถึงจะได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่ยังถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่นบัญชีฝากประจำ
หรือต้องคอยใส่เงินเพิ่มต่อเนื่องไม่ให้ขาด เพียงเพื่อจะได้ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินฝากระยะยาว 24/36 เดือน
หรือต้องคอยบริหารเงินคงเหลือในบัญชีไว้ไม่ให้พร่อง เพียงเพื่อดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เช่น เงินฝากพิเศษรูปแบบต่างๆ
เปลี่ยนแปลง แบบ ผสมกลมกลืน จากดอกเบี้ย สู่การลงทุน สร้างผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคา
จากต้นทุนที่เป็นเงินลงทุน แทนเงินฝาก เปลี่ยนเป็นหน่วยลงทุนที่อยู่คงที่ภ้าไม่ซื้อ ไม่ขาย เพิ่มเติม
แล้วสามารถปล่อยให้วันเวลาผ่านไปเพื่อเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุน ด้วยราคาของกองทุนที่ลงทุนไว้
โดยเริ่มจากความเชื่ิอมั่นและค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ทำให้เงินต้นสูญหาย อาจจะเริ่มจากกองทุน
ประเภทตราสารหนี้ระยะสั้น อย่างเช่น SCBSFF
ที่สามารถสร้างโอกาสให้แตกต่างจากภาวะดอกเบี้ยที่มีโอกาสลดลง กลับทำให้มีราคาที่ผกผันสูงขึ้นได้
หรือกับกองทุนตลาดเงิน แบบ SCBTMF ที่ราคาสอดคล้องไปกับทิศทางเดียวกับภาวะดอกเบี้ย
ซึ่งทั้ง 2 กองทุนนี้ไม่ว่าภาวะดอกเบี้ยจะมีทิศทางไปทางใด ก็สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า
เมื่อต้องการใช้เงินลงทุนก้อนนี้ โอกาสเกิดภาวะสูญเสียเงินต้นไปน้อยมากจนแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลยก็ได้ครับ
และเมื่อเริ่มแล้ว อย่าหยุด เมื่อความรู้สึกว่าต้องการมากขึ้น ค่อยก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงที่สูงขึ้น แต่ยอมหมายถึงโอกาส
สูญเสียอาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และถ้ายอมรับได้แล้ว ค่อยๆ ขยับขยายรูปแบบการลงทุนจากความแน่นอนสู่ความไม่แน่นอนต่อไป
ตามลำดับขั้น คือก้าวต่อไปเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง อย่างเช่น SCBRF ที่อาจเพิ่มมากหรือเพิ่มน้อยมาก
ต่อด้วยกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว เช่น SCBFP ที่มีโอกาสเพิ่มได้มากกว่า แต่ก็มีบางวันที่ทำให้ไม่สบายใจที่เห็นราคาลดลงได้ด้วย
และเมื่อสามารถทำใจยอมรับความสูญเสียในบ้างโอกาส บางช่วงเวลา เพื่อแลกกับโอกาสสร้างอนาคตที่ดีกว่าได้ ค่อยๆ ขยับสู่การลงทุน
ในกองทุนที่ลงทุนในหุ้น อย่างเช่น SCBDV ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง หรือกองทุนที่คัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสทำราคาได้สูง
อย่างเช่น SCBSE หรือกองทุนที่ลงทุนสอดคล้องไปกับค่าอ้างอิงของตลาดหุ้นอย่างเช่น SCBSET , SCBSET50 หรือกองทุนที่เจาะจง
ลงทุนในหมวดธุรกิจเฉพาะ เช่น SCBBANKING , SCBENERGY
และสุดท้ายก้าวสู่ความเสี่ยงที่มีหลายตัวแปล กับกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ เช่น SCBSP500 , SCBNKY225 , SCBEUEQ
หรือแบบรวมผสมหลายๆ ประเทศ เช่น SCBAEM , SCBPGF เป็นต้นครับ
จากเงินฝากรับดอกเบี้ยที่สภาพคล่องเหลือเฟื่อจนไม่ใช่การออม เช่นบัญชีออมทรัพย์
หรือได้แต่เฝ้ามองจ้องให้ถึงเวลาครบกำหนดถึงจะได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่ยังถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่นบัญชีฝากประจำ
หรือต้องคอยใส่เงินเพิ่มต่อเนื่องไม่ให้ขาด เพียงเพื่อจะได้ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินฝากระยะยาว 24/36 เดือน
หรือต้องคอยบริหารเงินคงเหลือในบัญชีไว้ไม่ให้พร่อง เพียงเพื่อดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เช่น เงินฝากพิเศษรูปแบบต่างๆ
เปลี่ยนแปลง แบบ ผสมกลมกลืน จากดอกเบี้ย สู่การลงทุน สร้างผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคา
จากต้นทุนที่เป็นเงินลงทุน แทนเงินฝาก เปลี่ยนเป็นหน่วยลงทุนที่อยู่คงที่ภ้าไม่ซื้อ ไม่ขาย เพิ่มเติม
แล้วสามารถปล่อยให้วันเวลาผ่านไปเพื่อเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุน ด้วยราคาของกองทุนที่ลงทุนไว้
โดยเริ่มจากความเชื่ิอมั่นและค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ทำให้เงินต้นสูญหาย อาจจะเริ่มจากกองทุน
ประเภทตราสารหนี้ระยะสั้น อย่างเช่น SCBSFF
ที่สามารถสร้างโอกาสให้แตกต่างจากภาวะดอกเบี้ยที่มีโอกาสลดลง กลับทำให้มีราคาที่ผกผันสูงขึ้นได้
หรือกับกองทุนตลาดเงิน แบบ SCBTMF ที่ราคาสอดคล้องไปกับทิศทางเดียวกับภาวะดอกเบี้ย
ซึ่งทั้ง 2 กองทุนนี้ไม่ว่าภาวะดอกเบี้ยจะมีทิศทางไปทางใด ก็สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า
เมื่อต้องการใช้เงินลงทุนก้อนนี้ โอกาสเกิดภาวะสูญเสียเงินต้นไปน้อยมากจนแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลยก็ได้ครับ
และเมื่อเริ่มแล้ว อย่าหยุด เมื่อความรู้สึกว่าต้องการมากขึ้น ค่อยก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงที่สูงขึ้น แต่ยอมหมายถึงโอกาส
สูญเสียอาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และถ้ายอมรับได้แล้ว ค่อยๆ ขยับขยายรูปแบบการลงทุนจากความแน่นอนสู่ความไม่แน่นอนต่อไป
ตามลำดับขั้น คือก้าวต่อไปเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง อย่างเช่น SCBRF ที่อาจเพิ่มมากหรือเพิ่มน้อยมาก
ต่อด้วยกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว เช่น SCBFP ที่มีโอกาสเพิ่มได้มากกว่า แต่ก็มีบางวันที่ทำให้ไม่สบายใจที่เห็นราคาลดลงได้ด้วย
และเมื่อสามารถทำใจยอมรับความสูญเสียในบ้างโอกาส บางช่วงเวลา เพื่อแลกกับโอกาสสร้างอนาคตที่ดีกว่าได้ ค่อยๆ ขยับสู่การลงทุน
ในกองทุนที่ลงทุนในหุ้น อย่างเช่น SCBDV ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง หรือกองทุนที่คัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสทำราคาได้สูง
อย่างเช่น SCBSE หรือกองทุนที่ลงทุนสอดคล้องไปกับค่าอ้างอิงของตลาดหุ้นอย่างเช่น SCBSET , SCBSET50 หรือกองทุนที่เจาะจง
ลงทุนในหมวดธุรกิจเฉพาะ เช่น SCBBANKING , SCBENERGY
และสุดท้ายก้าวสู่ความเสี่ยงที่มีหลายตัวแปล กับกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ เช่น SCBSP500 , SCBNKY225 , SCBEUEQ
หรือแบบรวมผสมหลายๆ ประเทศ เช่น SCBAEM , SCBPGF เป็นต้นครับ
แสดงความคิดเห็น
เลือกกองทุนรวมกองไหนดีคะ??
อยากได้ผลตอบแทนมากกว่าออมทรัพย์ ไม่เสียภาษีแบบฝากประจำ ความเสี่ยงไม่สูงมาก เพราะมือใหม่ ยังกลัวจริงๆค่ะ
ก็เลยได้คำตอบว่า จะลงทุนกับกองทุนรวมนี่แหละ
และก็เลือกธนาคารที่พึงพอใจที่สุดคือ ไทยพาณิชย์ แต่ไม่รู้จะเลือกกองไหนดี
เลือกยังไงดีคะ??? อยากให้ผู้มีประสบการณ์ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ เห็นมีเยอะไปหมดอะ
เป้าหมายคือเก็บไว้แบบไม่แตะเลย นอกจากฉุกเฉินจริงๆ
นอกจาก ห้าหมื่นนี้แล้ว ก็กะเก็บให้ครบแสน แล้วก็ทิ้งไว้แบบนี้อะค่ะ แต่ไม่รู้จะทำไงดี T^T