ประวัติป้ายทะเบียน มีความเป็นมาอย่างไร

เป็นคนชอบรถเก่าครับ เคยเห็นป้ายทะเบียนแบบเก่ามามากมาย สังเกตุว่าป้ายรุ่นเก่ามาก ๆ ที่ตัวหนังสือสีขาว หรือเงิน พื้นดำ มันจะมี 2 แบบ คือ



A แบบ ตัวหนังสือ 2 ตัว แล้วตามด้วยเลข 5 ตัว  เช่น กท 05487

B แบบ ตัวหนังสือ 3 ตัว แล้วตามด้วยตัวเลข 4 ตัว  เช่น กท จ 0237

คือแบบตัวหนังสือ 3 ตัว เลข 4 ตัว ทราบมาว่า 2 ตัวแรกจะเป็นชื่อจังหวัด ต่อมาจะเป็นชื่อเขตของตำรวจ ซึ่งสมัยนั้นทราบมาว่ารถยนต์จะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมตำรวจ

ใครพอทราบประวัติความเป็นมาบ้างครับ ว่ามีการกำเนิด เปลี่ยนแปลง มาอย่างไรบ้าง เขตที่เป็นตัวย่อ มีแบบไหนบ้าง ผมลองหาจาก google แล้วไม่เจอคำตอบเลย ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
กท ตามด้วยตัวอักษร คือป้าย กรุงเทพฯ กท. ย่อมาจากกรุงเทพฯ ตัวอักษรที่ตามมาคือหมวด เริ่มจาก ก ข ค ... ไล่ไปเรื่อยๆ สมัยก่อนคนส่วนใหญ่เลยเรียกป้ายทะเบียนรถว่าป้าย กท. เวลาคนถามเลขทะเบียนรถ จะถามว่ารถคุณ กท เท่าไหร่

ตอนหลังพอเปลี่ยนเป็นป้ายขาว ก็เทียบเป็น กท ก. = 1ก  กท ข. = 2ก .....

หมวดอื่นๆ ก็มี เช่น กท ม (ต่อมาเปลี่ยนเป็น 1ม) คือรถตู้   กท บ (เปลี่ยนเป็น 1บ) คือรถกระบะ  กท ท เป็นป้ายเหลือง (เปลี่ยนเป็น 1ท) คือรถแท๊กซี่   กท ส ป้ายเหลือง (เปลี่ยนเป็น 1ส) คือรถสามล้อ

ตัวอักษรสองตัว คือป้ายต่างจังหวัด จะไม่มีหมวดแต่เป็นเลข 5 หลัก ในรูปคือทะเบียน นนทบุรี (นบ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่