พอดีวันนี้เห็นกระทู้สนทนาเกี่ยวกับน้ำประปาเค็ม แต่จำลิ้งค์ไม่ไม่ได้ อ่านเจอข่าวนี้เลยแวะมาแจ้งค่ะ (ข่าววันที่ 14 กพ 57)
แทค ก้นครัว เพราะบางบ้านใช้น้ำประปาทำอาหาร
แทค จตุจักร เพราะบางบ้านใช้น้ำประปาให้สัตว์เลี้ยงรับประทาน
แทค กรีนโซน เพราะเดี๋ยวนี้คนตัดไม้ทำลายป่าและไม่ประหยัดน้ำ
เนื้อหาข่าว
น้ำประปาเค็ม กปน.เตือนชาวกรุง คนเป็นโรคไตห้ามบริโภคเด็ดขาด เหตุจากภัยแล้งคุกคามในรอบ 100 ปี กระทบต่อการผลิตน้ำประปา น้ำเหนือมีน้อยไม่มีพอใช้ไล่น้ำเค็มจากน้ำทะเลหนุน ต้องนำน้ำดิบที่ค่าความเค็มสูงมาใช้ ชี้น้ำจะมีรสเค็มแม้ผ่านการต้ม ยืนยันว่าคนทั่วไปดื่มไม่มีปัญหา
วานนี้ (13 ก.พ.) ที่การประปานครหลวง (กปน.) สำนักงานใหญ่ นายวิสุทธิ์ นพคุณทอง รองผู้ว่าการ กปน.ฝ่ายผลิตและส่งน้ำในฐานะประธานกรรมการศูนย์อำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์น้ำและคุณภาพน้ำ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เริ่มส่งผลต่อพื้นที่ภาคกลางมาตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาในฝั่งตะวันออกที่ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เริ่มตั้งแต่ช่วงวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากที่กรมชลประทานลดการปล่อยน้ำผ่านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเหลือเพียง 50 ลบ.ม./วินาที ประกอบกับปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูงมาเร็วกว่าทุกปี ส่งผลให้มีน้ำทะเลหนุนเข้าแม่น้ำเจ้าพระยามาก จนเลยสถานีสูบน้ำสำแล จังหวัดปทุมธานี ไปถึงอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นายวิสุทธิ์ กล่าวต่อว่าขณะนี้น้ำดิบที่สูบจากสถานีสำแล จะมีค่าความเค็ม (คลอไรด์) สูงถึง 250-260 มก./ลิตร จากภาวะปกติจะมีค่าคลอไรด์เพียง 20 มก./ลิตร แม้จะมีการประสานกับกรมชลประทานในการเพิ่มการปล่อยน้ำจากเขื่อนเป็น 70 ลบ.ม./วินาที รวมกับน้ำที่ผันจากแม่น้ำแม่กลอง ผ่านทางคลองพระยาบรรลือมาช่วยอีกประมาณ 1.5 ล้าน ลบ.ม./วัน แต่จุดรับน้ำของ กปน.อยู่ท้ายสุดผ่านการใช้น้ำจาก 22 จังหวัดภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกทำให้มีน้ำเหลือไปผลักดันน้ำเค็มไม่มาก ส่งผลให้ กปน.ต้องสูบน้ำเค็มมาใช้ผลิตน้ำประปา เพื่อให้ประชาชน 10 ล้านคน ไม่ให้ขาดแคลนน้ำประปา ซึ่งในการอุปโภคประชาชนยังใช้น้ำได้ตามปกติ แต่ถ้าใช้บริโภคแม้จะผ่านการต้ม น้ำจะยังมีรสกร่อยและยังมีค่าคลอไรด์สูงอยู่ ซึ่งในคนปกติสามารถดื่มได้ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่จะรู้สึกว่าดื่มน้ำแล้วยังกระหายน้ำอยู่ ส่วนผู้ป่วยโรคไต จะได้รับผลกระทบโดยต้องซื้อน้ำดื่มที่มีค่าคลอไรด์ปกติมาดื่มแทน โดยต้องเป็นน้ำที่ผ่านเครื่องกรองระบบอาร์โอ
นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า ค่าความเค็มในน้ำดิบที่พบขณะนี้ไม่เคยเจอมาก่อน ถือว่าเกิดขึ้นในรอบ 100 ปี ที่เคยพบเมื่อปี 2553 ก็น้อยกว่านี้มากมีลิ่มความเค็มจ่อที่สถานีสูบน้ำสำแลแค่ 2-3 ชั่วโมง ก็ลดลงไป ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ ไม่กระทบกับการผลิตน้ำประปา แต่ปีนี้เราไม่มั่นใจเลย ที่ผ่านมาปัญหาน้ำเค็มเกิดช่วงเดือน เม.ย. พอถึงเดือน พ.ค. ฝนก็ตกจึงเป็นปัญหาแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ปีนี้เกิดขึ้นเร็ว ตั้งแต่เดือน ก.พ. อีกทั้งปีนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าฝนจะตกช้าอาจเป็นเดือน มิ.ย. จึงอยากบอกประชาชนว่าจากนี้ไปอีก 2-3 เดือน รสชาติของน้ำประปาอาจเปลี่ยนไป แต่คุณภาพของน้ำยังเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ยกเว้นรสชาติที่อาจเปลี่ยนไป ทั้งนี้จะเป็นเฉพาะพื้นที่ให้บริการด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือกรุงเทพฯ ฝั่งพระนคร ส่วนพื้นที่ฝั่งธนบุรีที่รับน้ำจากโรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์จะไม่ได้รับผลกระทบนี้.
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/Content/bangkok/216080/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A100%E0%B8%9B%E0%B8%B5+%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%87%E0%B8%A1+%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1
น้ำประปาเค็ม กปน.เตือนชาวกรุง คนเป็นโรคไตห้ามบริโภคเด็ดขาด เหตุจากภัยแล้งคุกคามในรอบ 100 ปี
แทค ก้นครัว เพราะบางบ้านใช้น้ำประปาทำอาหาร
แทค จตุจักร เพราะบางบ้านใช้น้ำประปาให้สัตว์เลี้ยงรับประทาน
แทค กรีนโซน เพราะเดี๋ยวนี้คนตัดไม้ทำลายป่าและไม่ประหยัดน้ำ
เนื้อหาข่าว
น้ำประปาเค็ม กปน.เตือนชาวกรุง คนเป็นโรคไตห้ามบริโภคเด็ดขาด เหตุจากภัยแล้งคุกคามในรอบ 100 ปี กระทบต่อการผลิตน้ำประปา น้ำเหนือมีน้อยไม่มีพอใช้ไล่น้ำเค็มจากน้ำทะเลหนุน ต้องนำน้ำดิบที่ค่าความเค็มสูงมาใช้ ชี้น้ำจะมีรสเค็มแม้ผ่านการต้ม ยืนยันว่าคนทั่วไปดื่มไม่มีปัญหา
วานนี้ (13 ก.พ.) ที่การประปานครหลวง (กปน.) สำนักงานใหญ่ นายวิสุทธิ์ นพคุณทอง รองผู้ว่าการ กปน.ฝ่ายผลิตและส่งน้ำในฐานะประธานกรรมการศูนย์อำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์น้ำและคุณภาพน้ำ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เริ่มส่งผลต่อพื้นที่ภาคกลางมาตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาในฝั่งตะวันออกที่ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เริ่มตั้งแต่ช่วงวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากที่กรมชลประทานลดการปล่อยน้ำผ่านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเหลือเพียง 50 ลบ.ม./วินาที ประกอบกับปรากฏการณ์น้ำทะเลยกตัวสูงมาเร็วกว่าทุกปี ส่งผลให้มีน้ำทะเลหนุนเข้าแม่น้ำเจ้าพระยามาก จนเลยสถานีสูบน้ำสำแล จังหวัดปทุมธานี ไปถึงอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นายวิสุทธิ์ กล่าวต่อว่าขณะนี้น้ำดิบที่สูบจากสถานีสำแล จะมีค่าความเค็ม (คลอไรด์) สูงถึง 250-260 มก./ลิตร จากภาวะปกติจะมีค่าคลอไรด์เพียง 20 มก./ลิตร แม้จะมีการประสานกับกรมชลประทานในการเพิ่มการปล่อยน้ำจากเขื่อนเป็น 70 ลบ.ม./วินาที รวมกับน้ำที่ผันจากแม่น้ำแม่กลอง ผ่านทางคลองพระยาบรรลือมาช่วยอีกประมาณ 1.5 ล้าน ลบ.ม./วัน แต่จุดรับน้ำของ กปน.อยู่ท้ายสุดผ่านการใช้น้ำจาก 22 จังหวัดภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกทำให้มีน้ำเหลือไปผลักดันน้ำเค็มไม่มาก ส่งผลให้ กปน.ต้องสูบน้ำเค็มมาใช้ผลิตน้ำประปา เพื่อให้ประชาชน 10 ล้านคน ไม่ให้ขาดแคลนน้ำประปา ซึ่งในการอุปโภคประชาชนยังใช้น้ำได้ตามปกติ แต่ถ้าใช้บริโภคแม้จะผ่านการต้ม น้ำจะยังมีรสกร่อยและยังมีค่าคลอไรด์สูงอยู่ ซึ่งในคนปกติสามารถดื่มได้ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่จะรู้สึกว่าดื่มน้ำแล้วยังกระหายน้ำอยู่ ส่วนผู้ป่วยโรคไต จะได้รับผลกระทบโดยต้องซื้อน้ำดื่มที่มีค่าคลอไรด์ปกติมาดื่มแทน โดยต้องเป็นน้ำที่ผ่านเครื่องกรองระบบอาร์โอ
นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า ค่าความเค็มในน้ำดิบที่พบขณะนี้ไม่เคยเจอมาก่อน ถือว่าเกิดขึ้นในรอบ 100 ปี ที่เคยพบเมื่อปี 2553 ก็น้อยกว่านี้มากมีลิ่มความเค็มจ่อที่สถานีสูบน้ำสำแลแค่ 2-3 ชั่วโมง ก็ลดลงไป ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ ไม่กระทบกับการผลิตน้ำประปา แต่ปีนี้เราไม่มั่นใจเลย ที่ผ่านมาปัญหาน้ำเค็มเกิดช่วงเดือน เม.ย. พอถึงเดือน พ.ค. ฝนก็ตกจึงเป็นปัญหาแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ปีนี้เกิดขึ้นเร็ว ตั้งแต่เดือน ก.พ. อีกทั้งปีนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าฝนจะตกช้าอาจเป็นเดือน มิ.ย. จึงอยากบอกประชาชนว่าจากนี้ไปอีก 2-3 เดือน รสชาติของน้ำประปาอาจเปลี่ยนไป แต่คุณภาพของน้ำยังเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ยกเว้นรสชาติที่อาจเปลี่ยนไป ทั้งนี้จะเป็นเฉพาะพื้นที่ให้บริการด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือกรุงเทพฯ ฝั่งพระนคร ส่วนพื้นที่ฝั่งธนบุรีที่รับน้ำจากโรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์จะไม่ได้รับผลกระทบนี้.
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/Content/bangkok/216080/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A100%E0%B8%9B%E0%B8%B5+%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%87%E0%B8%A1+%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1