คนเก่าก็เกษียณกันไปครับ คนใหม่ก็เติมเข้ามา ผมได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์คนทำงานในบางโอกาสครับ คนที่ผมได้เข้าสัมภาษณ์ ก็จะเป็นคนที่ทำงานในด้านคอมพิวเตอร์เหมือนกับผมครับ นั่งฟังสัมภาษณ์ไป ก็นั่งดู Transcript ไป ก็อ่านแล้วเออแฮะ เราจบมาหลายสิบปีแล้ว เดี๋ยวนี้มีวุฒิคอมพิวเตอร์หลายแบบจัง
ผมก็เลยคิดว่า เออ ผมมาลองทำ Supervised Classification ให้กับ Domain ของหลักสูตรคอมพิวเตอร์กับวุฒิคอมพิวเตอร์ในเมืองไทยดีกว่า โดยผมสถาปนาตัวเองเป็น Domain Expert ด้วยการใช้ข้อมูลเท่าที่มี คือ Transcript ที่เคยผ่านตา ประกอบกับข้อมูลทั่วไปที่หาได้จากอินเทอร์เน็ต มาลองจัด ๆ ดู
สำหรับกระทู้นี่ก็จะให้เป็นข้อมูล Primary สำหรับคนที่จะรับคนเข้าทำงาน และเป็นข้อมูล Secondary สำหรับคนที่จะเรียนคอมพิวเตอร์ครับว่ามันมีตัวไหนให้เลือกเรียนบ้าง
มาดูภาพที่ผมทำขึ้นมากันดีกว่า
จากภาพข้างบน ผมได้พยายามอนุมานให้เห็นว่า
1. หลักสูตรหลายหลักสูตร มันเกิดขึ้นเพราะมันมีหลักสูตรก่อนหน้า แต่ว่าภายหลังตัวมันพัฒนาก้าวหน้า จนสามารถแยกหลักสูตรออกมาได้
2. บางหลักสูตรเมื่อแตกหน่อออกมา มันไม่เหมาะจะอยู่ในวุฒิเดิม ต้องไปอยู่ในวุฒิอื่นแทน
3. บางหลักสูตรเกิดจากการผสมข้ามวุฒิ และไปต่อในวุฒิที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การแบ่งวุฒิผมจะใช้วิธีการดูจากวุฒิจริง ๆ เช่น ถ้าเป็นวุฒิวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา MIS ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมก็จะจัด Classification ว่าเป็นวุฒิวิทยาศาสตร์ ไม่ถือว่าเป็นวุฒิบริหารธุรกิจ
หรือบางมหาวิทยาลัยที่เปิดวุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่สังกัดคณะการจัดการ ผมก็จะจัด Classification ว่าเป็นวุฒิวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่วุฒิศิลปศาสตร์
หรือสุดท้าย วุฒิวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมก็ไม่จัด Classifcation เป็นวุฒิวิศวกรรมศาสตร์ แต่จัดเป็นวุฒวิทยาศาสตร์แทน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีวุฒิที่มีชื่อใช่ แต่ตัวมันไม่ใช่อย่าง "วิศวกรรมซอฟต์แวร์" ที่ชื่อน่าจะอยู่ในวุฒิวิศวกรรมศาสตร์ แต่กลับไปอยู่ในวุฒิวิทยาศาสตร์แทน
สำหรับความแตกต่างของเนื้อหาในแต่ล่ะวุฒิ หลังจากที่ดู ๆ ใน Transcript แล้วก็พบว่า วิชาบังคับกับวิชาเลือกจะเหมือนกันมาก ๆ ต้องเรียกว่าเหมือนกันเป๊ะเลย อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่พอถามว่ามีเนื้อหาที่เรียนเป็นยังไง ฟัง ๆ แล้วก็เหมือน ๆ กัน ส่วนที่จะแตกต่างกันในแต่ล่ะหลักสูตรก็จะเป็นวิชาเลือกเฉพาะแขนง ที่จะมีวิชาเด่นอยู่ซัก 3-4 ตัว ที่อาจจะหาไม่ได้ในหลักสูตรอื่นประมาณนี้
โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่าถ้ามีภาพนี้ ก็น่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในระดับหนึ่งแล้วครับ ทั้งคนที่มีหน้าที่รับคนเข้าทำงาน กับคนที่คิดจะไปร่ำไปเรียนเพื่อเดินทางตามความฝันของตัวเองต่อไปครับ
อ้างอิง :
http://www.parinya.net/node/1890
หลักสูตรคอมพิวเตอร์ระดับปริญญาในเมืองไทย
ผมก็เลยคิดว่า เออ ผมมาลองทำ Supervised Classification ให้กับ Domain ของหลักสูตรคอมพิวเตอร์กับวุฒิคอมพิวเตอร์ในเมืองไทยดีกว่า โดยผมสถาปนาตัวเองเป็น Domain Expert ด้วยการใช้ข้อมูลเท่าที่มี คือ Transcript ที่เคยผ่านตา ประกอบกับข้อมูลทั่วไปที่หาได้จากอินเทอร์เน็ต มาลองจัด ๆ ดู
สำหรับกระทู้นี่ก็จะให้เป็นข้อมูล Primary สำหรับคนที่จะรับคนเข้าทำงาน และเป็นข้อมูล Secondary สำหรับคนที่จะเรียนคอมพิวเตอร์ครับว่ามันมีตัวไหนให้เลือกเรียนบ้าง
มาดูภาพที่ผมทำขึ้นมากันดีกว่า
จากภาพข้างบน ผมได้พยายามอนุมานให้เห็นว่า
1. หลักสูตรหลายหลักสูตร มันเกิดขึ้นเพราะมันมีหลักสูตรก่อนหน้า แต่ว่าภายหลังตัวมันพัฒนาก้าวหน้า จนสามารถแยกหลักสูตรออกมาได้
2. บางหลักสูตรเมื่อแตกหน่อออกมา มันไม่เหมาะจะอยู่ในวุฒิเดิม ต้องไปอยู่ในวุฒิอื่นแทน
3. บางหลักสูตรเกิดจากการผสมข้ามวุฒิ และไปต่อในวุฒิที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การแบ่งวุฒิผมจะใช้วิธีการดูจากวุฒิจริง ๆ เช่น ถ้าเป็นวุฒิวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา MIS ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมก็จะจัด Classification ว่าเป็นวุฒิวิทยาศาสตร์ ไม่ถือว่าเป็นวุฒิบริหารธุรกิจ
หรือบางมหาวิทยาลัยที่เปิดวุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่สังกัดคณะการจัดการ ผมก็จะจัด Classification ว่าเป็นวุฒิวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่วุฒิศิลปศาสตร์
หรือสุดท้าย วุฒิวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมก็ไม่จัด Classifcation เป็นวุฒิวิศวกรรมศาสตร์ แต่จัดเป็นวุฒวิทยาศาสตร์แทน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีวุฒิที่มีชื่อใช่ แต่ตัวมันไม่ใช่อย่าง "วิศวกรรมซอฟต์แวร์" ที่ชื่อน่าจะอยู่ในวุฒิวิศวกรรมศาสตร์ แต่กลับไปอยู่ในวุฒิวิทยาศาสตร์แทน
สำหรับความแตกต่างของเนื้อหาในแต่ล่ะวุฒิ หลังจากที่ดู ๆ ใน Transcript แล้วก็พบว่า วิชาบังคับกับวิชาเลือกจะเหมือนกันมาก ๆ ต้องเรียกว่าเหมือนกันเป๊ะเลย อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่พอถามว่ามีเนื้อหาที่เรียนเป็นยังไง ฟัง ๆ แล้วก็เหมือน ๆ กัน ส่วนที่จะแตกต่างกันในแต่ล่ะหลักสูตรก็จะเป็นวิชาเลือกเฉพาะแขนง ที่จะมีวิชาเด่นอยู่ซัก 3-4 ตัว ที่อาจจะหาไม่ได้ในหลักสูตรอื่นประมาณนี้
โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่าถ้ามีภาพนี้ ก็น่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในระดับหนึ่งแล้วครับ ทั้งคนที่มีหน้าที่รับคนเข้าทำงาน กับคนที่คิดจะไปร่ำไปเรียนเพื่อเดินทางตามความฝันของตัวเองต่อไปครับ
อ้างอิง : http://www.parinya.net/node/1890