โลกตีแผ่จำนำข้าว ประชานิยมบนกองศพชาวนา....
โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์....
กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าขึ้นมาท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตการเมืองไทยที่กำลังเดือดระอุ สำหรับเรื่อง “นโยบายรับจำนำข้าว” ของรัฐบาลไทย หลังจากที่ชาวนาทั่วประเทศลุกฮือขึ้นมาเดินประท้วงและปิดถนนหลายสาย เพื่อเรียกร้องเงินจากโครงการรับจำนำข้าวดังกล่าว เพราะทั้งๆ ที่ขายข้าวออกไปแล้วหลายเดือน แต่จนบัดนี้กลับยังไม่ได้รับเงินเลยแม้แต่เศษสตางค์แดงเดียว
จากความเดือดร้อนของชาวนาที่กระจายไปทั่วทุกหย่อมหญ้านี้เอง ทำให้แม้แต่สื่อต่างประเทศก็ยังหันมาจับตาดูความเคลื่อนไหวดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบรรดาชาวนาตาดำๆ ซึ่งต้องทำงานชนิดแทบจะอาบเหงื่อต่างน้ำกว่าจะได้เงินมาแต่ละบาท ทว่ากลับต้องมาถูกรัฐบาลเบี้ยวเงินเอาเสียดื้อๆ
ล่าสุด หนังสือพิมพ์ วอลสตรีท เจอร์นัล เปิดเผยรายงานกึ่งวิเคราะห์ ซึ่งตีแผ่เกี่ยวกับความล้มเหลวของโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลไทยออกมา โดยได้ลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์และดูสภาพชีวิตความเป็นอยู่จริงของครอบครัว ตระกูลไกยสวนที่ จ.ร้อยเอ็ด ที่ต่างกำลังอยู่ในอาการโศกเศร้า หลังจากที่ ทองมา ไกยสวน ชาวนาวัย 64 ปี ตัดสินใจผูกคอตายใต้ต้นไม้ เมื่อปลายเดือนที่แล้ว เนื่องจากเกิดภาวะเครียด เพราะเจ้าตัวได้ไปกู้เงินมาลงทุนทำนา แต่แล้วกลับไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวตามที่รัฐบาลให้สัญญาไว้
สื่อสิ่งพิมพ์ชื่อดังจากเมืองลุงแซม ซึ่งรายงานโดย เจมส์ ฮุกเวย์ ชี้ว่า การตัดสินใจปลิดชีพตนเองของชาวนา จ.ร้อยเอ็ด วัย 64 ปี ถือเป็นภาพสะท้อนถึงความล้มเหลวของนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเพียงแค่โมเดลในการทำนโยบายนี้ก็ล้มเหลวมาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เพราะการรับจำนำข้าวด้วยราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป แล้วนำมากักเก็บไว้ เพื่อหวังจะดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกราคาพุ่งสูงขึ้น โดยใช้สถานะความเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่นั้นไม่สามารถทำได้จริง ซ้ำยังล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะโครงการดังกล่าวเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นภายในโครงการ จนทำให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องตกอยู่ในที่นั่งลำบาก หลังจากที่โดนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวน ฐานเพิกเฉยต่อปัญหาและไม่พยายามยับยั้งจนทำให้รัฐได้รับความเสียหาย นอกจากนั้นแล้ว ยังทำให้ ไทย ต้องสูญเสียตำแหน่งเบอร์ 1 ของการส่งออกข้าวในตลาดโลกไปให้กับ อินเดียและเวียดนาม หลังจากเริ่มนโยบายดังกล่าวได้เพียงไม่นาน โดยจากตัวเลขของธนาคารโลกและกระทรวงเกษตรสหรัฐเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ไทย อยู่ในลำดับที่ 3 ของโลกในการส่งออกข้าว ตามหลัง อินเดียกับเวียดนาม ซึ่งได้อันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ การใช้สถานะความเป็นเจ้าตลาด เพื่อกำหนดทิศทางราคาให้สูงขึ้นเป็นไปตามความต้องการที่ล้มเหลวนี้ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของกรณีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย เพราะก่อนหน้านี้เคยมีตัวอย่างความล้มเหลวจากการใช้โมเดลนี้ในต่างประเทศมาแล้ว
โดยในช่วงทศวรรษ 1970 บริษัทพี่น้องตระกูลฮันท์บราเธอร์ เศรษฐีน้ำมันในสหรัฐ ได้พยายามจะกว้านซื้อและครอบงำตลาดค้าเงินของโลกเอาไว้ในกำมือ เพื่อหวังให้นักลงทุนเข้ามาซื้อเงินไว้ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อที่สูงมากในเวลานั้น แต่ต่อมาก็ต้องล้มเหลวลงไม่เป็นท่า หลังจากราคาเงินร่วงลงอย่างหนัก จากเดิมในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ที่ 55 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ แต่ในปีเดือน มี.ค. 1980 ราคาลงมาเหลือที่ 10 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อคุมเงินเฟ้อในประเทศ เฉกเช่นเดียวกับกรณีของ ยาซูโอะ ฮามานากะ หัวหน้าฝ่ายซื้อขายทองแดงของบริษัท ซูมิโตโม จากญี่ปุ่น ที่เคยทุ่มเงินลงทุนกว้านซื้อแหล่งแร่ทองแดงของโลกไว้ในมือ 5% ที่ทั่วโลกผลิตได้ แต่สุดท้ายการเข้าบิดเบือนกลไกตลาดด้วยการใช้สถานะความเป็นพี่เบิ้มในตลาดก็ไม่สัมฤทธิผล....... อ่านต่อได้ที่ :
http://bit.ly/1bBfhOA
ที่มา
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/276483/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2
จำนำข้าว เป็นโครงการยอดเยี่ยมสื่อโลกยอมรับ
โดย...พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์....
กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าขึ้นมาท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตการเมืองไทยที่กำลังเดือดระอุ สำหรับเรื่อง “นโยบายรับจำนำข้าว” ของรัฐบาลไทย หลังจากที่ชาวนาทั่วประเทศลุกฮือขึ้นมาเดินประท้วงและปิดถนนหลายสาย เพื่อเรียกร้องเงินจากโครงการรับจำนำข้าวดังกล่าว เพราะทั้งๆ ที่ขายข้าวออกไปแล้วหลายเดือน แต่จนบัดนี้กลับยังไม่ได้รับเงินเลยแม้แต่เศษสตางค์แดงเดียว
จากความเดือดร้อนของชาวนาที่กระจายไปทั่วทุกหย่อมหญ้านี้เอง ทำให้แม้แต่สื่อต่างประเทศก็ยังหันมาจับตาดูความเคลื่อนไหวดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบรรดาชาวนาตาดำๆ ซึ่งต้องทำงานชนิดแทบจะอาบเหงื่อต่างน้ำกว่าจะได้เงินมาแต่ละบาท ทว่ากลับต้องมาถูกรัฐบาลเบี้ยวเงินเอาเสียดื้อๆ
ล่าสุด หนังสือพิมพ์ วอลสตรีท เจอร์นัล เปิดเผยรายงานกึ่งวิเคราะห์ ซึ่งตีแผ่เกี่ยวกับความล้มเหลวของโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลไทยออกมา โดยได้ลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์และดูสภาพชีวิตความเป็นอยู่จริงของครอบครัว ตระกูลไกยสวนที่ จ.ร้อยเอ็ด ที่ต่างกำลังอยู่ในอาการโศกเศร้า หลังจากที่ ทองมา ไกยสวน ชาวนาวัย 64 ปี ตัดสินใจผูกคอตายใต้ต้นไม้ เมื่อปลายเดือนที่แล้ว เนื่องจากเกิดภาวะเครียด เพราะเจ้าตัวได้ไปกู้เงินมาลงทุนทำนา แต่แล้วกลับไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวตามที่รัฐบาลให้สัญญาไว้
สื่อสิ่งพิมพ์ชื่อดังจากเมืองลุงแซม ซึ่งรายงานโดย เจมส์ ฮุกเวย์ ชี้ว่า การตัดสินใจปลิดชีพตนเองของชาวนา จ.ร้อยเอ็ด วัย 64 ปี ถือเป็นภาพสะท้อนถึงความล้มเหลวของนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเพียงแค่โมเดลในการทำนโยบายนี้ก็ล้มเหลวมาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เพราะการรับจำนำข้าวด้วยราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป แล้วนำมากักเก็บไว้ เพื่อหวังจะดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกราคาพุ่งสูงขึ้น โดยใช้สถานะความเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่นั้นไม่สามารถทำได้จริง ซ้ำยังล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะโครงการดังกล่าวเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นภายในโครงการ จนทำให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องตกอยู่ในที่นั่งลำบาก หลังจากที่โดนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวน ฐานเพิกเฉยต่อปัญหาและไม่พยายามยับยั้งจนทำให้รัฐได้รับความเสียหาย นอกจากนั้นแล้ว ยังทำให้ ไทย ต้องสูญเสียตำแหน่งเบอร์ 1 ของการส่งออกข้าวในตลาดโลกไปให้กับ อินเดียและเวียดนาม หลังจากเริ่มนโยบายดังกล่าวได้เพียงไม่นาน โดยจากตัวเลขของธนาคารโลกและกระทรวงเกษตรสหรัฐเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ไทย อยู่ในลำดับที่ 3 ของโลกในการส่งออกข้าว ตามหลัง อินเดียกับเวียดนาม ซึ่งได้อันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ การใช้สถานะความเป็นเจ้าตลาด เพื่อกำหนดทิศทางราคาให้สูงขึ้นเป็นไปตามความต้องการที่ล้มเหลวนี้ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของกรณีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทย เพราะก่อนหน้านี้เคยมีตัวอย่างความล้มเหลวจากการใช้โมเดลนี้ในต่างประเทศมาแล้ว
โดยในช่วงทศวรรษ 1970 บริษัทพี่น้องตระกูลฮันท์บราเธอร์ เศรษฐีน้ำมันในสหรัฐ ได้พยายามจะกว้านซื้อและครอบงำตลาดค้าเงินของโลกเอาไว้ในกำมือ เพื่อหวังให้นักลงทุนเข้ามาซื้อเงินไว้ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อที่สูงมากในเวลานั้น แต่ต่อมาก็ต้องล้มเหลวลงไม่เป็นท่า หลังจากราคาเงินร่วงลงอย่างหนัก จากเดิมในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ที่ 55 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ แต่ในปีเดือน มี.ค. 1980 ราคาลงมาเหลือที่ 10 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อคุมเงินเฟ้อในประเทศ เฉกเช่นเดียวกับกรณีของ ยาซูโอะ ฮามานากะ หัวหน้าฝ่ายซื้อขายทองแดงของบริษัท ซูมิโตโม จากญี่ปุ่น ที่เคยทุ่มเงินลงทุนกว้านซื้อแหล่งแร่ทองแดงของโลกไว้ในมือ 5% ที่ทั่วโลกผลิตได้ แต่สุดท้ายการเข้าบิดเบือนกลไกตลาดด้วยการใช้สถานะความเป็นพี่เบิ้มในตลาดก็ไม่สัมฤทธิผล....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1bBfhOA
ที่มา http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/276483/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2