เล่าเรื่องหนังไทย ตอนที่ 5 ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ.2498)

กระทู้สนทนา
เล่าเรื่องหนังไทยหนังบู๊มาหลายครั้งแล้ว ขอสลับเป็นหนังชีวิตบ้าง เป็นหนังเก่าที่สุดคลาสสิคที่หลายคนน่าจะรู้จักดีเพราะมีการสร้างใหม่ เป็นครั้งที่ 3 เมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่นี่คือเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดครับ

ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ.2498)

ผู้กำกับ มารุต (ทวี ณ บางช้าง)
ผู้สร้าง หนุมาณภาพยนตร์

งามตา ศุภพงษ์, ชนะ ศรีอุบล, เฮม สุขเกษฒ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี





เรื่องย่อ ที่ปางไม้กลางป่าลึกในจังหวัดกำแพงเพชร พะโป้ (เฮม) เจ้าของปางวัยชราเดินทางกลับมาพร้อมกับยุพดี (งามตา)  ภรรยาสาวสวยที่อ่อนเยาว์กว่าเขา ที่ปางไม้มีทิพย์ (ประจวบ) เป็นผู้จัดการและส่างหม่อง (ชนะ) หลานชายของพะโป้เป็นผู้ดูแล ส่างหม่องและยุพดีอยุ่ในรุ่นรางคราวเดียวกันพะโป้จึงมอบหมายให้ยุพดีคอยสอนการเข้าสังคมให้กับส่างหม่อง
ยุพดีพึงใจในส่างหม่องและพยายามจะยั่วส่างหมาองหลายครั้ง ส่างหม่องเองก็พึงใจในตัวยุพดีเช่นกันต่ก็ยังไม่กล้าทำอะไร จนเมื่อส่างหม่องป่วยหนักยุพดีก็คอยดูแลส่างหม่องเป็นอย่างดีจนในที่สุดทั้งสองก็ลักลอบเป็นชู้กัน โดยที่ทิพย์และคนงานในบ้านต่างก็รับรู้ในพฤติกรรมของคนทั้งคู่และล่วงรู้ไปถึงพะโป้
พะโป้ออกอุบายเดินทางเข้าเมืองแล้วย้อนกลับมาพบว่ายุพดีและส่างหม่องลักลอบเป็นชู้กัน พะโป้แอยได้ยินหนุ่มสาวทั้งสองบอกต่อันว่าจะอยู่กันจนชั่วฟ้าดินสลายพะโป้จึงใช้โซ่ตรวนพันธนาการทั้งสองไว้ด้วยกัน และให้ใช้ชีวิตด้วยกันโดยมีเงื่อนไขจะไม่ถอดโซ่ตรวนตลอดชีวิตและไม่ออกไปนอกบริเวณบ้าน
ในช่วยแรกส่างหม่องและยุพดีต่างก็ร่าเริงกับการได้อยู่ร่วมกัน แต่เพียงไม่นานก็รุ้สึกอึดอัดและอยากเป็นอิสระ ทั้งสองจึงไปขอร้องพะโป้แต่พะโป้ไม่ยอมถอดโซ่ตรวนและยังยื่นปืนมาให้ ส่างหม่องคิดจะใช้ปืนจบชีวิตตัวเองแต่ไม่กล้าพอ ยุพดีจึงใช้ปืนฆ่าตัวตาย ส่วนพะโป้ก็จุดไปเผาบ้านและตายในกองเพลิง เหลือแต่เพียงส่างหม่องที่กลายเป็นคนวิกลจริต

บันทึก จากบทประพันธ์นิยายขนาดสั้นของเรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ) เรื่องราวการสะท้อนภาพความรักและความปรารถนาที่เกิดขึ้นอย่างผิดศีลธรรม และสุดท้ายแล้วต้องจบลงด้วยความเศร้า ซ้ำยังล้อเลียนกับคำว่าชั่วฟ้าดินสลายไว้อย่างคมคายอีกด้วย ในแง่ของภาพยนตร์เรียกได้ว่าน่าสนใจเพราะเป็นหนึ่งในงานสร้างของ รัตน์ เปสตันยี ผู้สร้างหนังไทยหัวก้าวหน้าในยุคนั้นอีกด้วย ทำให้หนังเรื่องนี้ถูกสร้างในแบบบันทึกเสียงจริงขณะถ่ายทำ ถึงกระนั้นด้วยเนื้อหาและรูปแบบการสร้างของหนังทำให้หนังไทยเรื่องไม่เก่าและพ้นสมัย แต่กลับทรงคุณค่าความคลาสสิคจนถึงทุกวันนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่