ทุกๆ ต้นปี สิ่งหนึ่งที่นักดูหนังตื่นเต้นและเฝ้ารอคอยกันก็คือ การร่วมลุ้นไปกับผลรางวัล Academy Award หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ออสการ์” (Oscar) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และปีนี้ก็ได้ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงมาแล้ว
ถึงแม้ว่ารางวัลนี้จะเป็นรางวัลของสหรัฐอเมริกา และมอบให้กับภาพยนตร์ของสหรัฐฯ เป็นหลัก แต่ด้วยความที่วงการภาพยนตร์สหรัฐฯ นั้นใหญ่ที่สุดในโลก จึงไม่แปลกที่รางวัลนี้จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกไปด้วย และเพื่อเป็นการต้อนรับรางวัล Oscar ครั้งที่ 86 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 2 มีนาคมที่จะถึงนี้ จึงขอพาไปรู้จักกับกฎกติกาในการคัดเลือกผู้ชนะรางวัล ว่ากว่าที่หนังเรื่องหนึ่งจะได้รางวัล จะต้องทำผ่านอะไรบ้าง โดย Oscar: Behind the Scenes ตอนแรกวันนี้ ขอนำเสนอเรื่อง “ใครคือผู้ตัดสินรางวัล”
สิ่งหนึ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Oscar คือรางวัลนี้เป็นรางวัลที่มาจากการโหวต ไม่ใช่รางวัลที่ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อตัดสินโดยเฉพาะ ในแง่หนึ่งรางวัล Oscar จึงมีลักษณะเป็นรางวัลมหาชนและรางวัลกระแส ที่ถ้ากระแสหนังเรื่องไหนในปีนั้นดี ก็อาจมีโอกาสได้รับรางวัลเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะเป็นรางวัลจากการโหวต แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิโหวตได้ ผู้ที่มีสิทธินั้นจำกัดไว้เฉพาะผู้เป็นสมาชิกของ “สมาคมศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์สหรัฐอเมริกา” (Academy of Motion Pictures and Sciences: AMPAS)
AMPAS คืออะไร
AMPAS คือสมาคมเอกชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้เกี่ยวข้องในวงการภาพยนตร์สหรัฐฯ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง และเป็นสมาคมที่เป็นที่มาของรางวัล Oscar รวมถึงรางวัลอื่นๆ ได้แก่ Governors Awards, Sci-tech Awards, Student Academy Awards และ Academy Nicholl Fellowships in Screenwriting
AMPAS นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.1927 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เบเวอร์ลี ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ทั้งนี้ AMPAS บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการบริหาร โดยมีคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากสาขาต่างๆ ในวงการภาพยนตร์ ปัจจุบันประธานของกลุ่มคือ “Cheryl Boone Isaacs”
สมาชิกของ AMPAS
สมาชิกของ AMPAS ทั้งหมดมีจำนวน 6,814 คน แต่เป็นสมาชิกที่มีสิทธิลงคะแนนรางวัล Oscar จำนวน 6,028 คน (ข้อมูลเมื่อ 14 ธันวาคม 2013) โดยแบ่งเป็นสาขาต่างๆ ทั้งสิ้น 18 สาขา ประกอบด้วย
1. สาขานักแสดง มีจำนวน 1,176 คน
2. สาขาผู้คัดเลือกนักแสดง มีจำนวน 54 คน เป็นสาขาล่าสุดเพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ.2013
3. สาขาช่างภาพ มีจำนวน 228 คน
4. สาขาผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย มีจำนวน 108 คน
5. สาขาออกแบบ มีจำนวน 262 คน
6. สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ มีจำนวน 377 คน
7. สาขาสารคดี มีจำนวน 210 คน
8. สาขาผู้บริหาร มีจำนวน 450 คน
9. สาขาผู้ตัดต่อภาพยนตร์ มีจำนวน 230 คน
10. สาขาช่างทำผมและช่างแต่งหน้า มีจำนวน 135 คน
11. สาขาดนตรี มีจำนวน 240 คน
12. สาขาผู้อำนวยการสร้าง มีจำนวน 279 คน
13. สาขานักประชาสัมพันธ์ มีจำนวน 377 คน
14. สาขาภาพยนตร์สั้นและแอนิเมชัน มีจำนวน 366 คน
15. สาขาเสียงประกอบ มีจำนวน 418 คน
16. สาขาเทคนิคพิเศษ มีจำนวน 323 คน
17. สาขาผู้เขียนบท มีจำนวน 378 คน
18. Member at Large มีจำนวน 217 คน
การเข้าเป็นสมาชิกของ AMPAS ไม่ใช่ว่าจะเป็นกันง่ายๆ แต่ต้องได้รับการ “เชิญ” จาก AMPAS เสียก่อน ซึ่งผู้มีสิทธิจะต้องเป็นนักแสดงที่มีผลงานได้รับการยอมรับ หรือถ้าเป็นผู้เขียนบท ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ ก็ต้องมีผลงานอย่างน้อย 2 เรื่อง และตรงตามมาตรฐานที่ AMPAS กำหนด หรือหากเป็นสาขาที่เกี่ยวกับงานเฉพาะด้าน เช่น สาขาออกแบบ สาขาเทคนิคพิเศษ ฯลฯ ก็จะมีข้อกำหนดจำนวนปีประสบการณ์การทำงานไว้ด้วย
ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ส่วนหนึ่งเกิดจากการผลักดันของสมาชิกเก่า (แต่ต้องเป็นสาขาเดียวกันกับที่จะเข้าเป็นสมาชิก) หากมีสมาชิกเก่าสนับสนุนมากพอ ทางคณะกรรมการจะดำเนินการพิจารณา และหากคุณสมบัติผ่านก็จะ “เชิญ” มาเป็นสมาชิก ยกเว้นในส่วนของผู้เข้าชิงหรือชนะรางวัล Oscar ในปีนั้นๆ ก็จะได้รับการพิจารณาเข้าเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างนักแสดงที่เป็นสมาชิกของ AMPAS เช่น Colin Firth, Harrison Ford, Jake Gyllenhaal, James McAvoy, Julianne Moore, Christoph Waltz โดยในปี 2013 ที่ผ่านมา AMPAS ได้ออกแถลงการณ์ว่าได้เชิญผู้คนในวงภาพยนตร์มาเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 276 คน ซึ่งรวมไปถึงนักแสดงที่เรารู้จักกันดีอย่าง Joseph Gordon-Levitt, Rebecca Hall, Milla Jovovich, Jenifer Lopez หรือผู้กำกับอย่าง Steve McQueen ก็เพิ่งได้รับเชิญในปีที่ผ่านมาเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้สมาชิก AMPAS จะมีจำนวนกว่า 6,000 คน แต่เมื่อปี 2012 หนังสือพิมพ์ The Los Angeles Times ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาทางประชากรของสมาชิก AMPAS พบว่า ร้อยละ 94 เป็นคอเคเชียน (ผิวขาว) ร้อยละ 77 เป็นผู้ชาย ร้อยละ 54 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 33 เคยเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล Oscar และร้อยละ 19 เคยเป็นผู้ชนะบนเวทีรางวัล Oscar ซึ่งตัวเลขเหล่านี้สามารถสื่อได้ว่า รางวัล Oscar อาจไม่ใช่รางวัลที่สะท้อนทุกแง่มุมของคนในสังคมก็เป็นได้
สิทธิในการลงคะแนน
สมาชิก AMPAS ที่มีสิทธิลงคะแนนคือสมาชิกที่มียังมีชีวิตอยู่และมีส่วนร่วมกับ AMPAS อย่างต่อเนื่อง (Active Member) โดยสมาชิกจะมีสิทธิลงคะแนนได้เฉพาะในรางวัลเกี่ยวกับสาขาที่ตนเองสังกัดอยู่ เช่น สมาชิกสาขานักแสดงจะลงคะแนนได้เฉพาะในส่วนของสาขานักแสดงนำชาย นำหญิง สมทบชาย สมทบหญิงเท่านั้น ขณะที่สมาชิกสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ก็ลงคะแนนได้เฉพาะสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทั้งนี้ ยกเว้นเฉพาะในส่วนของสาขา “ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม” ที่เปิดให้สมาชิกทุกสาขาสามารถลงคะแนนได้
ในแต่ละปี ทาง AMPAS จะจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าชิงรางวัลต่างๆ ส่งให้กับสมาชิก เรียกว่า “Reminder List of Eligible Release” เพื่อให้สมาชิกพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าชิงในสาขาต่างๆ (บางสาขาอาจมีกติกาอย่างอื่นเพิ่มเติมตามความเหมาะสม) โดยสมาชิกสามารถลงคะแนนได้ 5 คะแนนในแต่ละสาขา และต้องเก็บเป็นความลับ ทั้งนี้ในปี 2013 ทาง AMPAS ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถส่งผลการลงคะแนนผ่านทางออนไลน์ได้
สมาชิก AMPAS นั้นมีสิทธิสามารถดูหนังใหม่ที่เข้าฉายได้ฟรี แต่ต้องไปดูที่ Samuel Goldwyn Theater หรือที่ที่กำหนดเท่านั้น และดูฟรีได้เฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกเท่านั้น จึงมีโอกาสที่สมาชิกจะไม่มีโอกาสดูหนังทั้งหมด ดังนั้นจึงพบว่า สำหรับสตูดิโอที่หวังให้หนังของตนเองได้ลุ้นรางวัลแล้ว จึงจำเป็นหาวิธีต่างๆ เพื่อให้สมาชิกเหล่านี้ได้ดูหนังของตนเองอย่างครบถ้วน ซึ่งบางเรื่องถึงขนาดจัดฉายรอบพิเศษให้เหล่าสมาชิก AMPAS โดยเฉพาะ ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สมาชิกหันมาสนใจหนังของตัวเองมากขึ้น
Magic Number
แม้จะมีสมาชิกกว่า 6,000 คน แต่ด้วยวิธีการนับคะแนนที่ซับซ้อน ทำให้ในบางครั้งการได้เพียง 300 กว่าเสียงก็เพียงพอที่จะทำให้หนังเรื่องนั้นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมได้ รวมไปถึงบางสาขาได้เสียงมาแค่ 10 กว่าเสียงก็เพียงพอต่อการเข้าชิงแล้ว เราเรียกตัวเลขเหล่านี้ว่า “Magic Number” ซึ่งรายละเอียดของวิธีการนับคะแนนจะขอกล่าวถึงในตอนต่อไป
ข้อมูลประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Academy Adds 172 Oscar Voters, Tops the 6,000 Mark
http://www.thewrap.com/academy-adds-172-voters-tops-6000-mark/
Academy Invites 276 to Membership
http://www.oscars.org/press/pressreleases/2013/20130628.html
Joining The Academy
http://www.oscars.org/academy/members/invitations.html
Oscar by the Numbers: How Many Votes Does It Take to Get a Nomination?
http://www.thewrap.com/oscar-numbers-many-votes-take-get-nomination/
Oscar voters overwhelmingly white, male
http://www.latimes.com/entertainment/news/movies/academy/la-et-unmasking-oscar-academy-project-html,0,7473284.htmlstory#axzz2qg0Qhgf3
Rules & Eligibility for the Academy Awards
http://www.oscars.org/awards/academyawards/rules/index.html
มาดูการนับคะแนนการโหวตผู้เข้าชิง Oscar กัน ว่าเขานับคะแนนกันยังไง
http://ppantip.com/topic/30041729
Blog: http://zeawleng.wordpress.com/
Oscar: Behind the Scenes (1) – ใครคือผู้ตัดสินรางวัล?
ทุกๆ ต้นปี สิ่งหนึ่งที่นักดูหนังตื่นเต้นและเฝ้ารอคอยกันก็คือ การร่วมลุ้นไปกับผลรางวัล Academy Award หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ออสการ์” (Oscar) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และปีนี้ก็ได้ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงมาแล้ว
ถึงแม้ว่ารางวัลนี้จะเป็นรางวัลของสหรัฐอเมริกา และมอบให้กับภาพยนตร์ของสหรัฐฯ เป็นหลัก แต่ด้วยความที่วงการภาพยนตร์สหรัฐฯ นั้นใหญ่ที่สุดในโลก จึงไม่แปลกที่รางวัลนี้จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกไปด้วย และเพื่อเป็นการต้อนรับรางวัล Oscar ครั้งที่ 86 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 2 มีนาคมที่จะถึงนี้ จึงขอพาไปรู้จักกับกฎกติกาในการคัดเลือกผู้ชนะรางวัล ว่ากว่าที่หนังเรื่องหนึ่งจะได้รางวัล จะต้องทำผ่านอะไรบ้าง โดย Oscar: Behind the Scenes ตอนแรกวันนี้ ขอนำเสนอเรื่อง “ใครคือผู้ตัดสินรางวัล”
สิ่งหนึ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Oscar คือรางวัลนี้เป็นรางวัลที่มาจากการโหวต ไม่ใช่รางวัลที่ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อตัดสินโดยเฉพาะ ในแง่หนึ่งรางวัล Oscar จึงมีลักษณะเป็นรางวัลมหาชนและรางวัลกระแส ที่ถ้ากระแสหนังเรื่องไหนในปีนั้นดี ก็อาจมีโอกาสได้รับรางวัลเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะเป็นรางวัลจากการโหวต แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิโหวตได้ ผู้ที่มีสิทธินั้นจำกัดไว้เฉพาะผู้เป็นสมาชิกของ “สมาคมศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์สหรัฐอเมริกา” (Academy of Motion Pictures and Sciences: AMPAS)
AMPAS คือสมาคมเอกชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้เกี่ยวข้องในวงการภาพยนตร์สหรัฐฯ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง และเป็นสมาคมที่เป็นที่มาของรางวัล Oscar รวมถึงรางวัลอื่นๆ ได้แก่ Governors Awards, Sci-tech Awards, Student Academy Awards และ Academy Nicholl Fellowships in Screenwriting
AMPAS นั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.1927 มีสำนักงานตั้งอยู่ที่เบเวอร์ลี ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ทั้งนี้ AMPAS บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการบริหาร โดยมีคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากสาขาต่างๆ ในวงการภาพยนตร์ ปัจจุบันประธานของกลุ่มคือ “Cheryl Boone Isaacs”
สมาชิกของ AMPAS ทั้งหมดมีจำนวน 6,814 คน แต่เป็นสมาชิกที่มีสิทธิลงคะแนนรางวัล Oscar จำนวน 6,028 คน (ข้อมูลเมื่อ 14 ธันวาคม 2013) โดยแบ่งเป็นสาขาต่างๆ ทั้งสิ้น 18 สาขา ประกอบด้วย
1. สาขานักแสดง มีจำนวน 1,176 คน
2. สาขาผู้คัดเลือกนักแสดง มีจำนวน 54 คน เป็นสาขาล่าสุดเพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ.2013
3. สาขาช่างภาพ มีจำนวน 228 คน
4. สาขาผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย มีจำนวน 108 คน
5. สาขาออกแบบ มีจำนวน 262 คน
6. สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ มีจำนวน 377 คน
7. สาขาสารคดี มีจำนวน 210 คน
8. สาขาผู้บริหาร มีจำนวน 450 คน
9. สาขาผู้ตัดต่อภาพยนตร์ มีจำนวน 230 คน
10. สาขาช่างทำผมและช่างแต่งหน้า มีจำนวน 135 คน
11. สาขาดนตรี มีจำนวน 240 คน
12. สาขาผู้อำนวยการสร้าง มีจำนวน 279 คน
13. สาขานักประชาสัมพันธ์ มีจำนวน 377 คน
14. สาขาภาพยนตร์สั้นและแอนิเมชัน มีจำนวน 366 คน
15. สาขาเสียงประกอบ มีจำนวน 418 คน
16. สาขาเทคนิคพิเศษ มีจำนวน 323 คน
17. สาขาผู้เขียนบท มีจำนวน 378 คน
18. Member at Large มีจำนวน 217 คน
การเข้าเป็นสมาชิกของ AMPAS ไม่ใช่ว่าจะเป็นกันง่ายๆ แต่ต้องได้รับการ “เชิญ” จาก AMPAS เสียก่อน ซึ่งผู้มีสิทธิจะต้องเป็นนักแสดงที่มีผลงานได้รับการยอมรับ หรือถ้าเป็นผู้เขียนบท ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ ก็ต้องมีผลงานอย่างน้อย 2 เรื่อง และตรงตามมาตรฐานที่ AMPAS กำหนด หรือหากเป็นสาขาที่เกี่ยวกับงานเฉพาะด้าน เช่น สาขาออกแบบ สาขาเทคนิคพิเศษ ฯลฯ ก็จะมีข้อกำหนดจำนวนปีประสบการณ์การทำงานไว้ด้วย
ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ส่วนหนึ่งเกิดจากการผลักดันของสมาชิกเก่า (แต่ต้องเป็นสาขาเดียวกันกับที่จะเข้าเป็นสมาชิก) หากมีสมาชิกเก่าสนับสนุนมากพอ ทางคณะกรรมการจะดำเนินการพิจารณา และหากคุณสมบัติผ่านก็จะ “เชิญ” มาเป็นสมาชิก ยกเว้นในส่วนของผู้เข้าชิงหรือชนะรางวัล Oscar ในปีนั้นๆ ก็จะได้รับการพิจารณาเข้าเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างนักแสดงที่เป็นสมาชิกของ AMPAS เช่น Colin Firth, Harrison Ford, Jake Gyllenhaal, James McAvoy, Julianne Moore, Christoph Waltz โดยในปี 2013 ที่ผ่านมา AMPAS ได้ออกแถลงการณ์ว่าได้เชิญผู้คนในวงภาพยนตร์มาเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 276 คน ซึ่งรวมไปถึงนักแสดงที่เรารู้จักกันดีอย่าง Joseph Gordon-Levitt, Rebecca Hall, Milla Jovovich, Jenifer Lopez หรือผู้กำกับอย่าง Steve McQueen ก็เพิ่งได้รับเชิญในปีที่ผ่านมาเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้สมาชิก AMPAS จะมีจำนวนกว่า 6,000 คน แต่เมื่อปี 2012 หนังสือพิมพ์ The Los Angeles Times ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาทางประชากรของสมาชิก AMPAS พบว่า ร้อยละ 94 เป็นคอเคเชียน (ผิวขาว) ร้อยละ 77 เป็นผู้ชาย ร้อยละ 54 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 33 เคยเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล Oscar และร้อยละ 19 เคยเป็นผู้ชนะบนเวทีรางวัล Oscar ซึ่งตัวเลขเหล่านี้สามารถสื่อได้ว่า รางวัล Oscar อาจไม่ใช่รางวัลที่สะท้อนทุกแง่มุมของคนในสังคมก็เป็นได้
สมาชิก AMPAS ที่มีสิทธิลงคะแนนคือสมาชิกที่มียังมีชีวิตอยู่และมีส่วนร่วมกับ AMPAS อย่างต่อเนื่อง (Active Member) โดยสมาชิกจะมีสิทธิลงคะแนนได้เฉพาะในรางวัลเกี่ยวกับสาขาที่ตนเองสังกัดอยู่ เช่น สมาชิกสาขานักแสดงจะลงคะแนนได้เฉพาะในส่วนของสาขานักแสดงนำชาย นำหญิง สมทบชาย สมทบหญิงเท่านั้น ขณะที่สมาชิกสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ก็ลงคะแนนได้เฉพาะสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ทั้งนี้ ยกเว้นเฉพาะในส่วนของสาขา “ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม” ที่เปิดให้สมาชิกทุกสาขาสามารถลงคะแนนได้
ในแต่ละปี ทาง AMPAS จะจัดทำรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าชิงรางวัลต่างๆ ส่งให้กับสมาชิก เรียกว่า “Reminder List of Eligible Release” เพื่อให้สมาชิกพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าชิงในสาขาต่างๆ (บางสาขาอาจมีกติกาอย่างอื่นเพิ่มเติมตามความเหมาะสม) โดยสมาชิกสามารถลงคะแนนได้ 5 คะแนนในแต่ละสาขา และต้องเก็บเป็นความลับ ทั้งนี้ในปี 2013 ทาง AMPAS ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถส่งผลการลงคะแนนผ่านทางออนไลน์ได้
สมาชิก AMPAS นั้นมีสิทธิสามารถดูหนังใหม่ที่เข้าฉายได้ฟรี แต่ต้องไปดูที่ Samuel Goldwyn Theater หรือที่ที่กำหนดเท่านั้น และดูฟรีได้เฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกเท่านั้น จึงมีโอกาสที่สมาชิกจะไม่มีโอกาสดูหนังทั้งหมด ดังนั้นจึงพบว่า สำหรับสตูดิโอที่หวังให้หนังของตนเองได้ลุ้นรางวัลแล้ว จึงจำเป็นหาวิธีต่างๆ เพื่อให้สมาชิกเหล่านี้ได้ดูหนังของตนเองอย่างครบถ้วน ซึ่งบางเรื่องถึงขนาดจัดฉายรอบพิเศษให้เหล่าสมาชิก AMPAS โดยเฉพาะ ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สมาชิกหันมาสนใจหนังของตัวเองมากขึ้น
แม้จะมีสมาชิกกว่า 6,000 คน แต่ด้วยวิธีการนับคะแนนที่ซับซ้อน ทำให้ในบางครั้งการได้เพียง 300 กว่าเสียงก็เพียงพอที่จะทำให้หนังเรื่องนั้นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมได้ รวมไปถึงบางสาขาได้เสียงมาแค่ 10 กว่าเสียงก็เพียงพอต่อการเข้าชิงแล้ว เราเรียกตัวเลขเหล่านี้ว่า “Magic Number” ซึ่งรายละเอียดของวิธีการนับคะแนนจะขอกล่าวถึงในตอนต่อไป
ข้อมูลประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Blog: http://zeawleng.wordpress.com/