**บทความนี้ ผมนำมาจาก
บล็อกของผมเองครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับมือใหม่เรื่องกล้องฟิล์มเหมือนกับผม ข้อมูลไหนผิดพลาด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ**
กล้อง Olympus Pen F ปี 1963 พร้อมตัววัดแสง
ถ้าใครชอบกล้อง ติดตามอัพเดทวงการกล้องสักหน่อย เมื่อสักปีก่อน Olympus เค้าออกกล้องดิจิตอล Mirrorless (กล้องขนาดเล็กที่เปลี่ยนเลนส์ได้) หน้าตาดีมากทีเดียว (แต่ราคาก็เป็นที่กล่าวขานในความแพง) นั่นคือรุ่น Olympus Pen E-P5 ซึ่งตามข่าวบอกว่ากล้องรุ่นนี้ ถือเป็นการสดุดีแด่กล้อง Olympus Pen F ในตำนาน หนึ่งในกล้องตระกูล Olympus Pen ทั้งหลาย ในวาระครบ 50 ปี
กล้อง Olympus EP-5 ปี 2013 เทียบกับ Olympus Pen F ปี 1963
เล่าคร่าวๆถึงกล้องตะกูล Pen เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้วสักนิด เผื่อคนเล่นกล้องรุ่นใหม่ๆจะยังไม่รู้จัก ด้วยตลาดกล้องดิจิตอลยุคหลังๆนี้ แกเกิดบูมด้วยรูปทรง Retro กันใหญ่ โดยเฉพาะทางค่าย Fujifilm นั่น ทำให้ Olympus ไม่น้อยหน้า ตัวเองก็มีประวัติศาสตร์กล้องสวยกล้องดีอยู่ในมือทั้งที ก็เลยปลุกผีตระกูล Pen ขึ้นมา (ลากไปถึงตระกูล OM ด้วย)
Olympus Pen เกิดขึ้นช่วงปี 1959 - 1981 เป็นกล้องตระกูลแบบ Half frame หรือง่ายๆก็คือกล้องที่ถ่ายด้วยฟิล์ม 35mm ปกติแต่สามารถได้รูปมากขึ้นเป็น 2 เท่า เช่น 1 ม้วนปกติถ่ายได้ 36 รูป แต่เจ้ากล้องตระกูล Pen จะถ่ายได้ถึง 72 รูป คือใน 1 เฟรมปกติ จะถูกหั่นออกเป็น 2 ส่วนนั่นเอง เนื่องจากสมัยที่กล้องตระกูลนี้เกิด ราคาฟิล์มยังแพงอยู่ เมื่อสามารถถ่ายได้ประหยัดขนาดนี้ จึงฮิตถล่มทะลาย ว่ากันว่ากล้องตระกูล Pen ขายตลอดยุคของมันไปถึง 17ล้านตัวเลย.
จริงๆเรื่องราวของ Olympus และคุณนักออกแบบระดับตำนาน คุณ Maitani ที่ให้กำเนิดกล้องตระกูล Pen นี้ สามารถหาอ่านได้อย่างละเอียดจากน้าๆในเวบบอร์ดกล้องใหญ่ๆครับ แนะนำเลยคือ
กระทู้ “ถามแฟนพันธุ์แท้ Olympus รู้จักคนๆนี้มั๊ยครับ” โดยคุณ Nithi ซึ่งเมื่ออ่านแล้ว เลือดรัก Olympus จะพลุ่งพล่านมาก อาจจะถึงขึ้นกวาดทุกรุ่นมาเก็บเลย
คุณ Maitani ผู้ให้กำเนิด Olympus Pen ทั้งตระกูล credit : .fotointern.ch
เราไม่ลงลึกมากนะ สำหรับประวัติหรือเทคนิคต่างๆ เอาเป็นว่า Olympus Pen นั้น แทบทุกตัวเป็นกล้องแนว Point & Shoot หรือเล็งแล้วถ่ายได้เลย มันถูกออกแบบมาเพื่อเป็นกล้องตัวที่สองของมือโปรฯ จึงเล็กแต่คุณภาพสูง แต่….มีเพียง 1 เดียวในตระกูลที่ไม่เหมือนใครและไม่มีกล้องตัวไหนในโลกเหมือนได้ นั่นคือ Olympus Pen F
ที่เล่าถึงเจ้า Olympus Pen E-P5 ก่อนเลยนั้น เพราะหน้าตาแกมันถอดแบบมาจาก Olympus Pen F แบบฝาแฝดเลยนั่นเอง ดูๆก็คงจะเดาได้ ซึ่งเป็นการสดุดีที่กล้อง Pen F ครบ 50 ปีในปี 2013 พอดีเลย
Olympus Pen F เกิดขึ้นครั้งแรกโดยคุณ Maitani เมื่อปี 1963 มันคือกล้อง SLR (กล้องแบบมีกระจกสะท้อนภาพจากเลนส์โดยตรง หมุนโฟกัสที่เลนส์ยังไง ระยะเท่าไหร่ ก็เห็นตามนั้นเลย) ที่เล็กที่สุดในยุคนั้น และเป็นกล้องระบบ Half Frame ด้วย ( สมัยนั้นคุณ Maitani ผู้ออกแบบเชื่อว่า วิธีที่จะทำให้ SLR มีขนาดเล็กที่สุดได้คือต้องใช้ระบบ Half Frame แทน Full Frame ซึ่งกว่าจะถูกล้มแชมป์ได้จากยี่ห้ออื่นว่า SLR สามารถเป็น Full Frame ที่มีขนาดเล็กกว่า Pen F ได้ ก็เป็นสิบปีให้หลัง) ด้วยหน้าตาที่มีขนาดเล็ก และเลนส์ขนาดเล็กน่ารักแล้ว หลายๆคนจึงมักเข้าใจผิดว่ามันเป็นกล้องประเภท Rangefinder (กล้องที่มีช่องมองภาพเป็นระยะตายตัว ไม่ได้เห็นตรงๆจากเลนส์) แต่มันคือ SLR จริงๆ เพราะสะท้อนภาพจากเลนส์โดยตรง มันพิเศษที่กล่องกระจกไม่ได้หน้าตาปูดๆ5เหลี่ยมบนกล้องแบบ SLR ทั่วไป เพราะคุณ Maitani แกออกแบบใหม่ให้ภาพสะท้อนแนวข้างๆแทน ทำให้กล้องมันเล็กกว่าชาวบ้านชาวช่อง ทั้งหมดนี้ ทำให้ Pen F เป็นตัวเดียวในตระกูล ที่เป็นกล้องที่จริงจังที่สุด โปรที่สุดเลยก็ว่าได้
ระบบกระจกสะท้อนภาพ แบบเฉพาะของ Olympus Pen F หน้าตาประมาณนี้ credit : photo.net
เจ้า Olympus Pen F มีเทคโนโลยีล้ำๆเฉพาะตัวเต็มไปหมด เราขอข้ามละกันนะ เพราะมันน่าปวดหัวมาก เอาเป็นว่ามันทำให้เกิดสิทธิบัตรจากการประดิษฐ์ Pen F มากถึง 50 ฉบับ Original ขนาดไหนคิดดู
เราเองรู้จักเจ้า Olympus Pen F เพราะเริ่มเล่นกล้องประเภท Mirrorless แต่หลงใหลเลนส์เก่าๆมากกว่าเลนส์ Auto Focus ไฮเทคทั้งหลายแหล่ (คือชอบหมุนให้มันเบลอๆชัดบ้างไม่ชัดบ้างไปตามเรื่อง) เรามองหาเลนส์ขนาดพกพมาใช้กับกล้อง ไม่ชอบเลนส์ใหญ่ๆพวก SLR เลย ก็เลยได้ไปรู้จักกับเลนส์ Pen F 38mm F1.8 ซึ่งเป็นเลนติดมากับกล้อง Pen F สมัยที่มันวางขายอยู่ในตลาด พอได้เอามาลองใช้ เราประทับใจคุณภาพเลนส์มากๆ 10 คะแนนนี่เอาไป 8 เลย เพราะขนาดที่เล็ก แต่สไตล์ภาพที่ได้มีมิติดี คมสวย ว้าวๆมาก
นั่นเป็นเหตุผลให้หาข้อมูลไปถึงตัวกล้อง Pen F ว่ามันคือกล้องอะไรวะ?
พอศึกษากันไปมา ก็อึ้งทึ่งกับประวัติของมัน จนต้องตามล่าหามาได้ครอบครองตัวจริงกัน เราค่อนข้างโชคดีที่เมื่ออยากได้ Pen F ก็ดันไปได้มาในราคาถูกมากกกก และสภาพดีมากกกก จากฝรั่งที่แกได้กล้องมาจากพวกที่เค้าโละของตามบ้านขาย ซึ่งเจ้าของเดิมดูเก็บไว้ดีใช้ได้เลย ใบเสร็จกล้องเมื่อ 50 ปีก่อนแกยังเก็บเลย ก็โชคดีที่ฝรั่งที่มาขายต่อ แกไม่รู้ราคาจริงในตลาด ขายเหมาเซ็ตมา ฟ้าประทานจริงๆ ฮาๆ
กล้องที่เอาไว้ใช้เอง Olympus Pen F รุ่นแรก เป็น serial ผลิตปี 1964
เจ้า Olympus Pen F ที่เราได้มานั้น เป็นรุ่นแรกที่ผลิตเลย คือเริ่มผลิตปี 1963 แต่ดูจาก Serial แล้วตัวที่ได้มาน่าจะผลิตในปี 1964 เจ้า Pen F รุ่นแรกมันเป็นกลไก ล้วนๆเลยครับ ไม่ต้องการพลังงานใดๆทั้งสิ้น เราชอบกล้องเก่าๆก็ตรงจุดนี้ คือไฟไม่มีมันก็ยังใช้ได้ และส่วนใหญ่โคตรทนเลย แต่ข้อเสียก็คือ มันไม่มีที่วัดแสงในตัว ซึ่งคนสมัยก่อนแกใช้กะๆเอา
แต่สำหรับใครที่อยากได้เครื่องวัดแสง Olympus ก็ไม่ใจร้ายขนาดนั้น เค้าออกเจ้าตัววัดแสงแยกขายไว้ด้วย ในสมัยนั้นมันก็ราคาไม่กี่ตัง แต่ตอนนี้สิ.. ในตลาดก็ขายกันขำๆ 2 พันกว่าขึ้นไป ซึ่งสภาพนี่ก็เช็คยากหน่อย เพราะถ่านมันก็หายากเล็กน้อย เป็นถ่าน PX625 ขนาด 1.3V ซึ่งเลิกผลิตไปแล้ว แต่ร้านกล้องเก่าๆจะหาได้อยู่
เราก็โชคดีอีกนั่นแหล่ะที่คุณฝรั่งที่ขายให้ แกเหมาเอาไอ้เจ้าเครื่องวัดแสงนี่ติดมาด้วย แถมใช้งานได้อย่างดี ก็เลยสบายไปครับ (เดี๋ยวช่วงท้ายจะอธิบายการใช้งานง่ายๆให้ฟังอีกที)
มาถึงการรีวิวแบบบ้านๆสักที เกริ่นมาซะยาวเหยียด เอาล่ะ.. มาถึงการใช้งานจริง เราทดลองฟิล์มม้วนแรกด้วย Kodak Color Plus 200 ใช้เลนส์ 38mm F1.8 ที่ติดมากับกล้อง พร้อมติดตัววัดแสง
เริ่มต้นจากการแบก.. เราค่อนข้างซีเรียสเรื่องขนาดและน้ำหนัก เพราะเป็นคนไม่ชอบแบกอะไรใหญ่ๆหนักๆ คิดว่าชีวิตเราชอบการถ่ายเล่นเรื่อยเปื่อย อยากพกไปทุกที่ น้ำหนักและขนาดเลยเป็นเรื่องสำคัญ (ซึ่งกล้องตระกูล Pen ถูกออกแบบมาด้วยคอนเซปที่ว่านี่เลย พกง่าย เบา เล็ก แต่ดี)
สำหรับ Olympus Pen F มันมีน้ำหนักประมาณ ครึ่งกิโล รวมเลนส์มาตรฐาน ( 560 g ) แม้จะหนักกว่ากล้องดิจิตอลสมัยนี้ แต่ถือว่าเบาเมื่อเทียบกับกล้องโบราณอื่นๆในยุคเดียวกัน ( ก็ Nikon F กล้อง SLR ในยุคนั้นหนัก 1.4kg ล่ะครับ ) และขนาดถ้าเทียบกับกล้องใหม่ๆนี่มันเท่ากับ Olympus Pen E-P5 นั่นแหล่ะ เด๊ะเลย ลองไปหยิบตามห้างดูได้ แต่คงไม่เบาเท่านั้นนะ
ส่วนของวัสดุนั้น ไม่ต้องห่วงกล้องเก่าเลยครับ น้าแกเป็นเหล็กทั้งดุ้นอยู่แล้ว ไม่งั้นคงไม่อยู่ทนมาป่านนี้แบบชิ้งๆแน่นอน ด้านนอกตัวกล้องก็หุ้มหนังสีดำทั่วๆไปครับ การจับถือกล้องอาจจะแปลกสักหน่อยสำหรับคนที่ชอบให้มี Grip อะไรแบบนั้นให้จับกระชับ แต่สำหรับเราแล้ว มันก็ถือโอเคนะ เพราะกล้องไม่หนักและเลนส์มีขนาดเล็กด้วย กล้องตัวนี้ค่อนข้างมนและเรียบๆโดยรอบ เลนส์ค่อนข้างเอียงไปทางขวาของตัวกล้องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับกล้อง SLR ปกติ เลนส์มันต้องอยู่ตรงกลางสิ.. หน้าตามันประหลาดมากแหล่ะจริงๆแล้ว แต่ดูไปดูมาจะหล่อมากครับ ฮาๆ
การวางเลนส์จะเยื้องๆไปทางซ้ายของกล้องหน่อย
ว่าด้วยเรื่องการถ่ายล่ะนะ ด้วยความที่ใช้เลนส์ของ Pen F มาก่อน เลยค่อนข้างชินกับการหมุนโฟกัสและระยะพอสมควร พอมาใช้กับกล้องจริง ค่อนข้างถนัดเลย โฟกัสง่าย ตัวปรับ F ที่เลนส์นี่ค่อนข้างพิเศษนิดนึง คือคุณ Maitani แกออกแบบให้อ่านค่าได้ 2 แบบคือ แบบค่าทั่วไป 1.8 , 2 , 2.8 อะไรก็ว่าไป กับอีกแบบคือเป็นเลขลำดับง่ายๆ 0 , 1 , 2 , 3 ซึ่งอันนี้จะมีผลมากเมื่อใช้กับ Pen FT รุ่นต่อมา เพราะในช่องมองภาพจะมีที่วัดแสงในตัว และไอ้เจ้าวัดแสงตัวนั้นจะเป็นระบบ Shutter Priority คือ ตั้ง Speed Shutter กันก่อน แล้วในวัดแสงมันจะบอกว่า ให้ตั้ง F ไปที่ 0 ,1 , 2 , 3 อะไรแบบนี้ โคตรส่วนตัวเลยครับ แต่ถือว่าดีไซน์แตกต่างมาก ชอบๆ
ตัว Speed Shutter ก็มีให้เลือกตั้งแต่ B , 1 , 2 , 4 , 8 , 15 , 30 , 60 , 125 , 250 , 500 ซึ่งก็ค่อนข้างเพียงพอนะ ยกเว้นการเจอสว่างมากๆ หรือต้องการไวจัดๆ แบบถ่ายรถ F1 อะไรแบบนี้ ( ซึ่งเราคงหวังมากกับกล้องแก่ๆไม่ไหวเหมือนกัน ) คงไปไม่รอดนะจ๊ะ แต่ถ้าทั่วๆไปก็เพียงพอแน่นอน ยิ่งถ้าได้อ่านประวัติความพยายามที่จะทำให้ Speed Shutter ของ Pen F ไปถึง 1/500 sec ได้นี่ โห..โคตรภูมิใจในการใช้เลยนะ ( ม่าน Shutter เค้าทำมาจากไทเทเนี่ยมนะจ้า เจ๋งป่ะล่ะ ) ลองไปอ่านกระทู้ “ถามแฟนพันธุ์แท้ Olympus รู้จักคนๆนี้มั๊ยครับ” โดยคุณ Nithi
ส่วนในช่องมอง ของเราเองอาจจะมืดนิดหน่อยด้วยอายุ 50 ปีของมัน (ตั้งใจว่าจะเอากล้องไปทำความสะอาดเสียหน่อย คงจะชิ้งขึ้น) แต่ก็เห็นชัดทั้งแสงมากแสงน้อย การใช้งานก็เหมือน SLR ทั่วไปครับ แต่ด้วยความที่พี่แกเป็นกล้อง Half frame ด้วย ก็เลยมีช่องมองภาพแนวตั้ง แต่ถ้าเป็นใน Pen FT แล้ว ช่องมองภาพจะค่อนข้างมืดกว่านะ ถ่ายในที่แสงน้อยอาจจะลำบากหน่อย ซึ่งมันเป็นผลมาจากที่คุณ Maitani แกเอาที่วัดแสงไฮเทคของแกไปติดตั้งไว้น่ะ (รุ่น Pen FV ต่อมา เลยต้องเอาอออกอีก เพราะความมืดนี่มันกลายเป็นปัญหา)
ช่อง viewfinder และไกชัตเตอร์
มาถึงสิ่งที่ค่อนข้างขัดใจ ในตอนแรกๆที่ได้ใช้ ก็คงหนีไม่พ้นการเหนี่ยวไก Shutter 2 ครั้งเสมอ ถึงจะกดถ่ายได้ ซึ่งคนเรามันก็ลืมกันได้ด้วยความไม่ชิน แถมถ้าเกิดอยากถ่ายต่อไวๆนี่หมดสิทธิ์นะครับ นึกถึงคาวบอยที่ใช้ปืนลูกโม่โบราณอะไรประมาณนั้น เท่ๆเลย แต่ถ้าฝึกมาไม่ดีก็โดนยิงตายนะครับ เพราะฉะนั้น Pen F นี่แกออกแนวละเมียดถ่ายอยู่เหมือนกัน จะมากดถ่ายรัวๆ อย่าไปหวังกับกล้องสมัยนั้น
รีวิวกล้องฟิล์มแบบบ้านๆ Olympus Pen F ปี 1963
กล้อง Olympus Pen F ปี 1963 พร้อมตัววัดแสง
ถ้าใครชอบกล้อง ติดตามอัพเดทวงการกล้องสักหน่อย เมื่อสักปีก่อน Olympus เค้าออกกล้องดิจิตอล Mirrorless (กล้องขนาดเล็กที่เปลี่ยนเลนส์ได้) หน้าตาดีมากทีเดียว (แต่ราคาก็เป็นที่กล่าวขานในความแพง) นั่นคือรุ่น Olympus Pen E-P5 ซึ่งตามข่าวบอกว่ากล้องรุ่นนี้ ถือเป็นการสดุดีแด่กล้อง Olympus Pen F ในตำนาน หนึ่งในกล้องตระกูล Olympus Pen ทั้งหลาย ในวาระครบ 50 ปี
กล้อง Olympus EP-5 ปี 2013 เทียบกับ Olympus Pen F ปี 1963
เล่าคร่าวๆถึงกล้องตะกูล Pen เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้วสักนิด เผื่อคนเล่นกล้องรุ่นใหม่ๆจะยังไม่รู้จัก ด้วยตลาดกล้องดิจิตอลยุคหลังๆนี้ แกเกิดบูมด้วยรูปทรง Retro กันใหญ่ โดยเฉพาะทางค่าย Fujifilm นั่น ทำให้ Olympus ไม่น้อยหน้า ตัวเองก็มีประวัติศาสตร์กล้องสวยกล้องดีอยู่ในมือทั้งที ก็เลยปลุกผีตระกูล Pen ขึ้นมา (ลากไปถึงตระกูล OM ด้วย)
Olympus Pen เกิดขึ้นช่วงปี 1959 - 1981 เป็นกล้องตระกูลแบบ Half frame หรือง่ายๆก็คือกล้องที่ถ่ายด้วยฟิล์ม 35mm ปกติแต่สามารถได้รูปมากขึ้นเป็น 2 เท่า เช่น 1 ม้วนปกติถ่ายได้ 36 รูป แต่เจ้ากล้องตระกูล Pen จะถ่ายได้ถึง 72 รูป คือใน 1 เฟรมปกติ จะถูกหั่นออกเป็น 2 ส่วนนั่นเอง เนื่องจากสมัยที่กล้องตระกูลนี้เกิด ราคาฟิล์มยังแพงอยู่ เมื่อสามารถถ่ายได้ประหยัดขนาดนี้ จึงฮิตถล่มทะลาย ว่ากันว่ากล้องตระกูล Pen ขายตลอดยุคของมันไปถึง 17ล้านตัวเลย.
จริงๆเรื่องราวของ Olympus และคุณนักออกแบบระดับตำนาน คุณ Maitani ที่ให้กำเนิดกล้องตระกูล Pen นี้ สามารถหาอ่านได้อย่างละเอียดจากน้าๆในเวบบอร์ดกล้องใหญ่ๆครับ แนะนำเลยคือ กระทู้ “ถามแฟนพันธุ์แท้ Olympus รู้จักคนๆนี้มั๊ยครับ” โดยคุณ Nithi ซึ่งเมื่ออ่านแล้ว เลือดรัก Olympus จะพลุ่งพล่านมาก อาจจะถึงขึ้นกวาดทุกรุ่นมาเก็บเลย
คุณ Maitani ผู้ให้กำเนิด Olympus Pen ทั้งตระกูล credit : .fotointern.ch
เราไม่ลงลึกมากนะ สำหรับประวัติหรือเทคนิคต่างๆ เอาเป็นว่า Olympus Pen นั้น แทบทุกตัวเป็นกล้องแนว Point & Shoot หรือเล็งแล้วถ่ายได้เลย มันถูกออกแบบมาเพื่อเป็นกล้องตัวที่สองของมือโปรฯ จึงเล็กแต่คุณภาพสูง แต่….มีเพียง 1 เดียวในตระกูลที่ไม่เหมือนใครและไม่มีกล้องตัวไหนในโลกเหมือนได้ นั่นคือ Olympus Pen F
ที่เล่าถึงเจ้า Olympus Pen E-P5 ก่อนเลยนั้น เพราะหน้าตาแกมันถอดแบบมาจาก Olympus Pen F แบบฝาแฝดเลยนั่นเอง ดูๆก็คงจะเดาได้ ซึ่งเป็นการสดุดีที่กล้อง Pen F ครบ 50 ปีในปี 2013 พอดีเลย
Olympus Pen F เกิดขึ้นครั้งแรกโดยคุณ Maitani เมื่อปี 1963 มันคือกล้อง SLR (กล้องแบบมีกระจกสะท้อนภาพจากเลนส์โดยตรง หมุนโฟกัสที่เลนส์ยังไง ระยะเท่าไหร่ ก็เห็นตามนั้นเลย) ที่เล็กที่สุดในยุคนั้น และเป็นกล้องระบบ Half Frame ด้วย ( สมัยนั้นคุณ Maitani ผู้ออกแบบเชื่อว่า วิธีที่จะทำให้ SLR มีขนาดเล็กที่สุดได้คือต้องใช้ระบบ Half Frame แทน Full Frame ซึ่งกว่าจะถูกล้มแชมป์ได้จากยี่ห้ออื่นว่า SLR สามารถเป็น Full Frame ที่มีขนาดเล็กกว่า Pen F ได้ ก็เป็นสิบปีให้หลัง) ด้วยหน้าตาที่มีขนาดเล็ก และเลนส์ขนาดเล็กน่ารักแล้ว หลายๆคนจึงมักเข้าใจผิดว่ามันเป็นกล้องประเภท Rangefinder (กล้องที่มีช่องมองภาพเป็นระยะตายตัว ไม่ได้เห็นตรงๆจากเลนส์) แต่มันคือ SLR จริงๆ เพราะสะท้อนภาพจากเลนส์โดยตรง มันพิเศษที่กล่องกระจกไม่ได้หน้าตาปูดๆ5เหลี่ยมบนกล้องแบบ SLR ทั่วไป เพราะคุณ Maitani แกออกแบบใหม่ให้ภาพสะท้อนแนวข้างๆแทน ทำให้กล้องมันเล็กกว่าชาวบ้านชาวช่อง ทั้งหมดนี้ ทำให้ Pen F เป็นตัวเดียวในตระกูล ที่เป็นกล้องที่จริงจังที่สุด โปรที่สุดเลยก็ว่าได้
ระบบกระจกสะท้อนภาพ แบบเฉพาะของ Olympus Pen F หน้าตาประมาณนี้ credit : photo.net
เจ้า Olympus Pen F มีเทคโนโลยีล้ำๆเฉพาะตัวเต็มไปหมด เราขอข้ามละกันนะ เพราะมันน่าปวดหัวมาก เอาเป็นว่ามันทำให้เกิดสิทธิบัตรจากการประดิษฐ์ Pen F มากถึง 50 ฉบับ Original ขนาดไหนคิดดู
เราเองรู้จักเจ้า Olympus Pen F เพราะเริ่มเล่นกล้องประเภท Mirrorless แต่หลงใหลเลนส์เก่าๆมากกว่าเลนส์ Auto Focus ไฮเทคทั้งหลายแหล่ (คือชอบหมุนให้มันเบลอๆชัดบ้างไม่ชัดบ้างไปตามเรื่อง) เรามองหาเลนส์ขนาดพกพมาใช้กับกล้อง ไม่ชอบเลนส์ใหญ่ๆพวก SLR เลย ก็เลยได้ไปรู้จักกับเลนส์ Pen F 38mm F1.8 ซึ่งเป็นเลนติดมากับกล้อง Pen F สมัยที่มันวางขายอยู่ในตลาด พอได้เอามาลองใช้ เราประทับใจคุณภาพเลนส์มากๆ 10 คะแนนนี่เอาไป 8 เลย เพราะขนาดที่เล็ก แต่สไตล์ภาพที่ได้มีมิติดี คมสวย ว้าวๆมาก
นั่นเป็นเหตุผลให้หาข้อมูลไปถึงตัวกล้อง Pen F ว่ามันคือกล้องอะไรวะ?
พอศึกษากันไปมา ก็อึ้งทึ่งกับประวัติของมัน จนต้องตามล่าหามาได้ครอบครองตัวจริงกัน เราค่อนข้างโชคดีที่เมื่ออยากได้ Pen F ก็ดันไปได้มาในราคาถูกมากกกก และสภาพดีมากกกก จากฝรั่งที่แกได้กล้องมาจากพวกที่เค้าโละของตามบ้านขาย ซึ่งเจ้าของเดิมดูเก็บไว้ดีใช้ได้เลย ใบเสร็จกล้องเมื่อ 50 ปีก่อนแกยังเก็บเลย ก็โชคดีที่ฝรั่งที่มาขายต่อ แกไม่รู้ราคาจริงในตลาด ขายเหมาเซ็ตมา ฟ้าประทานจริงๆ ฮาๆ
กล้องที่เอาไว้ใช้เอง Olympus Pen F รุ่นแรก เป็น serial ผลิตปี 1964
เจ้า Olympus Pen F ที่เราได้มานั้น เป็นรุ่นแรกที่ผลิตเลย คือเริ่มผลิตปี 1963 แต่ดูจาก Serial แล้วตัวที่ได้มาน่าจะผลิตในปี 1964 เจ้า Pen F รุ่นแรกมันเป็นกลไก ล้วนๆเลยครับ ไม่ต้องการพลังงานใดๆทั้งสิ้น เราชอบกล้องเก่าๆก็ตรงจุดนี้ คือไฟไม่มีมันก็ยังใช้ได้ และส่วนใหญ่โคตรทนเลย แต่ข้อเสียก็คือ มันไม่มีที่วัดแสงในตัว ซึ่งคนสมัยก่อนแกใช้กะๆเอา
แต่สำหรับใครที่อยากได้เครื่องวัดแสง Olympus ก็ไม่ใจร้ายขนาดนั้น เค้าออกเจ้าตัววัดแสงแยกขายไว้ด้วย ในสมัยนั้นมันก็ราคาไม่กี่ตัง แต่ตอนนี้สิ.. ในตลาดก็ขายกันขำๆ 2 พันกว่าขึ้นไป ซึ่งสภาพนี่ก็เช็คยากหน่อย เพราะถ่านมันก็หายากเล็กน้อย เป็นถ่าน PX625 ขนาด 1.3V ซึ่งเลิกผลิตไปแล้ว แต่ร้านกล้องเก่าๆจะหาได้อยู่
เราก็โชคดีอีกนั่นแหล่ะที่คุณฝรั่งที่ขายให้ แกเหมาเอาไอ้เจ้าเครื่องวัดแสงนี่ติดมาด้วย แถมใช้งานได้อย่างดี ก็เลยสบายไปครับ (เดี๋ยวช่วงท้ายจะอธิบายการใช้งานง่ายๆให้ฟังอีกที)
มาถึงการรีวิวแบบบ้านๆสักที เกริ่นมาซะยาวเหยียด เอาล่ะ.. มาถึงการใช้งานจริง เราทดลองฟิล์มม้วนแรกด้วย Kodak Color Plus 200 ใช้เลนส์ 38mm F1.8 ที่ติดมากับกล้อง พร้อมติดตัววัดแสง
เริ่มต้นจากการแบก.. เราค่อนข้างซีเรียสเรื่องขนาดและน้ำหนัก เพราะเป็นคนไม่ชอบแบกอะไรใหญ่ๆหนักๆ คิดว่าชีวิตเราชอบการถ่ายเล่นเรื่อยเปื่อย อยากพกไปทุกที่ น้ำหนักและขนาดเลยเป็นเรื่องสำคัญ (ซึ่งกล้องตระกูล Pen ถูกออกแบบมาด้วยคอนเซปที่ว่านี่เลย พกง่าย เบา เล็ก แต่ดี)
สำหรับ Olympus Pen F มันมีน้ำหนักประมาณ ครึ่งกิโล รวมเลนส์มาตรฐาน ( 560 g ) แม้จะหนักกว่ากล้องดิจิตอลสมัยนี้ แต่ถือว่าเบาเมื่อเทียบกับกล้องโบราณอื่นๆในยุคเดียวกัน ( ก็ Nikon F กล้อง SLR ในยุคนั้นหนัก 1.4kg ล่ะครับ ) และขนาดถ้าเทียบกับกล้องใหม่ๆนี่มันเท่ากับ Olympus Pen E-P5 นั่นแหล่ะ เด๊ะเลย ลองไปหยิบตามห้างดูได้ แต่คงไม่เบาเท่านั้นนะ
ส่วนของวัสดุนั้น ไม่ต้องห่วงกล้องเก่าเลยครับ น้าแกเป็นเหล็กทั้งดุ้นอยู่แล้ว ไม่งั้นคงไม่อยู่ทนมาป่านนี้แบบชิ้งๆแน่นอน ด้านนอกตัวกล้องก็หุ้มหนังสีดำทั่วๆไปครับ การจับถือกล้องอาจจะแปลกสักหน่อยสำหรับคนที่ชอบให้มี Grip อะไรแบบนั้นให้จับกระชับ แต่สำหรับเราแล้ว มันก็ถือโอเคนะ เพราะกล้องไม่หนักและเลนส์มีขนาดเล็กด้วย กล้องตัวนี้ค่อนข้างมนและเรียบๆโดยรอบ เลนส์ค่อนข้างเอียงไปทางขวาของตัวกล้องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับกล้อง SLR ปกติ เลนส์มันต้องอยู่ตรงกลางสิ.. หน้าตามันประหลาดมากแหล่ะจริงๆแล้ว แต่ดูไปดูมาจะหล่อมากครับ ฮาๆ
การวางเลนส์จะเยื้องๆไปทางซ้ายของกล้องหน่อย
ว่าด้วยเรื่องการถ่ายล่ะนะ ด้วยความที่ใช้เลนส์ของ Pen F มาก่อน เลยค่อนข้างชินกับการหมุนโฟกัสและระยะพอสมควร พอมาใช้กับกล้องจริง ค่อนข้างถนัดเลย โฟกัสง่าย ตัวปรับ F ที่เลนส์นี่ค่อนข้างพิเศษนิดนึง คือคุณ Maitani แกออกแบบให้อ่านค่าได้ 2 แบบคือ แบบค่าทั่วไป 1.8 , 2 , 2.8 อะไรก็ว่าไป กับอีกแบบคือเป็นเลขลำดับง่ายๆ 0 , 1 , 2 , 3 ซึ่งอันนี้จะมีผลมากเมื่อใช้กับ Pen FT รุ่นต่อมา เพราะในช่องมองภาพจะมีที่วัดแสงในตัว และไอ้เจ้าวัดแสงตัวนั้นจะเป็นระบบ Shutter Priority คือ ตั้ง Speed Shutter กันก่อน แล้วในวัดแสงมันจะบอกว่า ให้ตั้ง F ไปที่ 0 ,1 , 2 , 3 อะไรแบบนี้ โคตรส่วนตัวเลยครับ แต่ถือว่าดีไซน์แตกต่างมาก ชอบๆ
ตัว Speed Shutter ก็มีให้เลือกตั้งแต่ B , 1 , 2 , 4 , 8 , 15 , 30 , 60 , 125 , 250 , 500 ซึ่งก็ค่อนข้างเพียงพอนะ ยกเว้นการเจอสว่างมากๆ หรือต้องการไวจัดๆ แบบถ่ายรถ F1 อะไรแบบนี้ ( ซึ่งเราคงหวังมากกับกล้องแก่ๆไม่ไหวเหมือนกัน ) คงไปไม่รอดนะจ๊ะ แต่ถ้าทั่วๆไปก็เพียงพอแน่นอน ยิ่งถ้าได้อ่านประวัติความพยายามที่จะทำให้ Speed Shutter ของ Pen F ไปถึง 1/500 sec ได้นี่ โห..โคตรภูมิใจในการใช้เลยนะ ( ม่าน Shutter เค้าทำมาจากไทเทเนี่ยมนะจ้า เจ๋งป่ะล่ะ ) ลองไปอ่านกระทู้ “ถามแฟนพันธุ์แท้ Olympus รู้จักคนๆนี้มั๊ยครับ” โดยคุณ Nithi
ส่วนในช่องมอง ของเราเองอาจจะมืดนิดหน่อยด้วยอายุ 50 ปีของมัน (ตั้งใจว่าจะเอากล้องไปทำความสะอาดเสียหน่อย คงจะชิ้งขึ้น) แต่ก็เห็นชัดทั้งแสงมากแสงน้อย การใช้งานก็เหมือน SLR ทั่วไปครับ แต่ด้วยความที่พี่แกเป็นกล้อง Half frame ด้วย ก็เลยมีช่องมองภาพแนวตั้ง แต่ถ้าเป็นใน Pen FT แล้ว ช่องมองภาพจะค่อนข้างมืดกว่านะ ถ่ายในที่แสงน้อยอาจจะลำบากหน่อย ซึ่งมันเป็นผลมาจากที่คุณ Maitani แกเอาที่วัดแสงไฮเทคของแกไปติดตั้งไว้น่ะ (รุ่น Pen FV ต่อมา เลยต้องเอาอออกอีก เพราะความมืดนี่มันกลายเป็นปัญหา)
ช่อง viewfinder และไกชัตเตอร์
มาถึงสิ่งที่ค่อนข้างขัดใจ ในตอนแรกๆที่ได้ใช้ ก็คงหนีไม่พ้นการเหนี่ยวไก Shutter 2 ครั้งเสมอ ถึงจะกดถ่ายได้ ซึ่งคนเรามันก็ลืมกันได้ด้วยความไม่ชิน แถมถ้าเกิดอยากถ่ายต่อไวๆนี่หมดสิทธิ์นะครับ นึกถึงคาวบอยที่ใช้ปืนลูกโม่โบราณอะไรประมาณนั้น เท่ๆเลย แต่ถ้าฝึกมาไม่ดีก็โดนยิงตายนะครับ เพราะฉะนั้น Pen F นี่แกออกแนวละเมียดถ่ายอยู่เหมือนกัน จะมากดถ่ายรัวๆ อย่าไปหวังกับกล้องสมัยนั้น