โดยไม่ต้องมีความสามารถพิเศษ หรือเป็นคนช่างสังเกตุมากนัก ไม่ว่าใครก็คงพอจะรู้ได้ ว่าระบบและวิธีการทำงาน หรือจะเรียกให้หรูหราฟังดูดีขึ้นมาอีกสักหน่อย ก็คือ Business Model สำหรับตลาดของวงการดนตรีในทุกวันนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย นั่นคือ ทุกวันนี้เราไม่มีโอกาสได้เห็นอัลบั้มใหม่ๆที่ออกวางแผงกันทุกเดือน เดือนละหลายสิบอัลบั้มกันอีกต่อไปแล้ว แต่สิ่งที่เราเห็นกันจนกลายเป็นความชาชินตามสภาพของทุกวันนี้ นั่นคือการที่ศิลปินค่อยๆทำเพลงออกมาให้ฟังกันแค่ทีละเพลง ตามแต่โอกาสจะอำนวย และกว่าที่จะได้ฟังผลงานแบบครบทั้งอัลบั้มออกมา เราอาจจะต้องรอต่อไปอีก 2-3 ปี นับจากที่เพลงแรกถูกปล่อยออกมาแล้วนู่นเลย
ผมคงจะไม่พูดพร่ำถึงความโรแมนติกของการฟังเพลงแบบเต็มอัลบั้มอีกต่อไป เพราะมันคงจะไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป ไม่ว่าผมจะพูดหรือไม่ก็ตาม และถึงมันจะมีข้อเสียอยู่มากมาย แต่ก็ใช่ว่าวิธีการที่วงการดนตรีเป็นไปในปัจจุบันนั้น มันจะไม่มีข้อดีเอาเสียเลยอีกเหมือนกัน นอกจากที่จะสามารถมีเวลาไปลงรายละเอียดในทุกเพลงที่จะปล่อยออกมาแล้วนั้น ตัวศิลปินยังมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นเพียงเฉพาะในกลุ่มที่เขาคาดหวังเอาไว้ หรือแม้กระทั่งกับในระดับประเทศ โดยที่ยังไม่ต้องมีแม้แต่อัลบั้มออกมาวางขายด้วยซ้ำ และหากจะนึกถึงศิลปินสักคน ที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับระบบของการทำเพลงในรูปแบบนี้ คนแรกที่ผมจะนึกถึงคือ 'แสตมป์ - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข'
หลังจากเลิกรากันไปกับวงดนตรีที่เขาทำร่วมกับเพื่อนๆในชื่อ '7th Scene' แสตมป์เลือกที่จะเดินหน้าต่อไปกับการเป็นนักแต่งเพลง และศิลปินเดี่ยวเรื่อยมา จนกระทั่งเพลง'ความคิด'ได้กลายมาเป็นผลงานแจ้งเกิดแบบเล็กๆให้กับตัวเขา ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศในบทบาทของ 'โค้ชแสตมป์' ในรายการ The Voice Thailand ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แสตมป์ยังไม่เคยมีอัลบั้มเต็ม (ในความหมายของอัลบั้มที่มีเพลงซึ่งถูกเขียนขึ้นมาใหม่ บรรจุอยู่ 10 เพลงขึ้นไป) ออกมาเลยสักชิ้นเดียว
จนมาถึงอัลบั้มล่าสุด ที่มีชื่อว่า 'Supermarket' หรือในความหมายอีกนัยคือการบอกเป็นนัยๆว่าอัลบั้มนี้มัน 'ตล๊าด ตลาด' ตามที่เจ้าของอัลบั้มบอกเอาไว้ ก็ยังคงไม่ใช่อัลบั้มที่มี 10 เพลงเต็มอยู่เช่นเคย และ 5 จาก 7 เพลงที่ถูกบรรจุไว้ในงานชุดนี้นั้น ก็เคยถูกปล่อยออกมาให้ฟังในวาระต่างๆ โดยทิ้งระยะห่างจากกันพอสมควร โดยการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่พูดถึงไปในย่อหน้าแรกนี้ เมื่อแต่ละเพลงถูกนำมารวมไว้ในอัลบั้มเดียวกัน มักจะมีข้อเสียใหญ่ๆอยู่ข้อหนึ่ง คือเมื่อจับทุกเพลงมามัดรวมกันไว้ในอัลบั้มเดียวแล้ว ความที่เพลงแต่ละเพลงถูกเขียนขึ้น และบันทึกเสียงในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละเพลงไม่สามารถทำหน้าที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้ ทำให้อัลบั้มนั้นไม่มีภาพรวมที่ชัดเจน และหมดสิ้นซึ่งความหมาย ความสุนทรีย์ ของการฟังเพลงแบบเป็นอัลบั้มไป อย่างที่เคยเกิดกับอัลบั้ม Day Dreamer ของ Paradox มาแล้ว
แต่แสตมป์ กลับสามารถพาอัลบั้ม Supermarket ของเขา เอาตัวรอดออกจากสถานการณ์น่าอึดอัดนั้นไปได้อย่างสวยงาม ด้วยการวางตัวเอาไว้ว่านี่จะเป็นอัลบั้มแบบ 'วาไรตี้' ตั้งแต่แรก และส่วนที่สำคัญที่สุด คือเนื้อเพลงที่ผ่านมาจากปลายปากกาของเจ้าของอัลบั้ม ที่ช่วยสร้างให้ภาพรวมของอัลบั้มชุดนี้กลายเป็นสิ่งที่แข็งแกร่งจนต้องพูดถึงขึ้นมาได้ เพราะมันแทบจะเป็นสิ่งเดียวที่เกาะเกี่ยวเอาทุกความหลากหลายที่ทอดตัวอยู่ทั่วทุกซอกมุมของอัลบั้มนี้เข้าไว้ด้วยกัน
ความหลากหลายที่ผมพูดถึงมันมากขนาดไหนน่ะหรือ? ก็ลองนึกภาพอัลบั้มจำนวน 7 เพลงสักชุด ที่มีชื่อของคนที่มาร่วมงานด้วยอย่าง สิงโต นำโชค , ต้น มือกีต้าร์จากวง Silly Fools , อุ๋ย Buddha Bless , ตู่ ภพธร , Joeyboy ที่ทุกคน ไม่ได้มาเพียงแค่ใส่เสียงร้อง หรือเล่นดนตรีลงในเพลงเท่านั้น แต่ยังคงนำเอาสำเนียงที่เข้มข้นเฉพาะตัวของตนเองมากันอย่างครบถ้วนด้วย ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงกีต้าร์ และดนตรีที่เพียงขึ้นมาโน๊ตแรกก็รู้สึกได้แล้ว ว่านี่คือ Silly Fools แน่ๆ ในเพลง 'Single สุดท้าย' สำเนียงการร้อง และเสียงกีต้าร์โปร่งที่มีบรรยากาศเฉพาะตัวในแบบของ สิงโต นำโชค หรือแร๊พจรวดที่ขึ้นชื่อ รวมถึงวิธีการเขียน Rhyme ที่หาตัวจับได้ยากของ Joeyboy
แต่แสตมป์ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ สามารถอยู่ในอัลบั้มชุดเดียวกันได้อย่างลงตัว และทุกคนที่มาร่วมงานก็ยังเหลือพื้นที่มากพอ ที่จะสามารถใส่ลายเซ็นต์ของตัวเองลงไปได้ด้วย ด้วยเนื้อเพลงที่เป็นแกนหลักจากวิธีการเขียนอันชาญฉลาดของเขาเอง
การที่สามารถจัดวางทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างพอดีเช่นนี้นั้นเป็นสิ่งพิเศษ และไม่ใช่ว่าศิลปินทุกคนจะมีความสามารถนี้อยู่ในตัว มันต้องอาศัยทั้งการฝึกฝน ความเป็นคนช่างสังเกตุ และการเป็นนักฟังที่ดีเยี่ยม ซึ่งแสตมป์ก็พิสูจน์ได้หลายครั้งหลายคราแล้ว ว่าเขามีทุกสิ่งทุกอย่างนี้ รวมอยู่ในตัวเองอย่างครบถ้วน รวมไปถึงฝีไม้ลายมือในการเขียนเพลง ที่หลายต่อหลายครั้งอีกเช่นกัน เพลงของเขา มีวิธีเข้าไปสู่ใจของผู้คนได้อย่างวิเศษเพียงใด
และแสตมป์ก็ยังทำให้ผมได้มีความหวังขึ้นมาอีกครั้งด้วย ว่าไม่ว่าวิธีการฟังเพลงของของคนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไป อันเป็นสิ่งที่ตัวผมเองคงไม่ยิ่งใหญ่และรอบรู้พอ ที่จะไปบอกว่าสิ่งใดดี และให้ความหมายแก่คนฟังมากกว่ากัน แต่มันคงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อยเลย ถ้าหากเราสามารถรับเอาวิถีแบบใหม่เข้ามา โดยให้มันเป็นส่วนสำคัญในการต่ออายุให้กับศิลปินมากหน้าหลายตา รวมถึงวงการเพลงที่เรารักออกไปได้ โดยที่ก็ยังคงเหลือพื้นที่เอาไว้ให้ขนบแบบเก่า ด้วยความเคารพและใส่ใจ เหมือนกับที่นักร้อง - นักแต่งเพลงหนุ่มคนนี้ ได้เริ่มทำเอาไว้แล้ว
====================
Artist : แสตมป์ - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
Album : Supermarket
Producer : -
Label : LOVEiS
====================
Single สุดท้าย - Stamp Feat. ต้น Silly Fools
เนื้อร้อง , ทำนอง : อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
เรียบเรียง : จักรินทร์ จูประเสริฐ
[CR] [Review] Stamp อัลบั้ม Supermarket
ผมคงจะไม่พูดพร่ำถึงความโรแมนติกของการฟังเพลงแบบเต็มอัลบั้มอีกต่อไป เพราะมันคงจะไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป ไม่ว่าผมจะพูดหรือไม่ก็ตาม และถึงมันจะมีข้อเสียอยู่มากมาย แต่ก็ใช่ว่าวิธีการที่วงการดนตรีเป็นไปในปัจจุบันนั้น มันจะไม่มีข้อดีเอาเสียเลยอีกเหมือนกัน นอกจากที่จะสามารถมีเวลาไปลงรายละเอียดในทุกเพลงที่จะปล่อยออกมาแล้วนั้น ตัวศิลปินยังมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นเพียงเฉพาะในกลุ่มที่เขาคาดหวังเอาไว้ หรือแม้กระทั่งกับในระดับประเทศ โดยที่ยังไม่ต้องมีแม้แต่อัลบั้มออกมาวางขายด้วยซ้ำ และหากจะนึกถึงศิลปินสักคน ที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับระบบของการทำเพลงในรูปแบบนี้ คนแรกที่ผมจะนึกถึงคือ 'แสตมป์ - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข'
หลังจากเลิกรากันไปกับวงดนตรีที่เขาทำร่วมกับเพื่อนๆในชื่อ '7th Scene' แสตมป์เลือกที่จะเดินหน้าต่อไปกับการเป็นนักแต่งเพลง และศิลปินเดี่ยวเรื่อยมา จนกระทั่งเพลง'ความคิด'ได้กลายมาเป็นผลงานแจ้งเกิดแบบเล็กๆให้กับตัวเขา ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศในบทบาทของ 'โค้ชแสตมป์' ในรายการ The Voice Thailand ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แสตมป์ยังไม่เคยมีอัลบั้มเต็ม (ในความหมายของอัลบั้มที่มีเพลงซึ่งถูกเขียนขึ้นมาใหม่ บรรจุอยู่ 10 เพลงขึ้นไป) ออกมาเลยสักชิ้นเดียว
จนมาถึงอัลบั้มล่าสุด ที่มีชื่อว่า 'Supermarket' หรือในความหมายอีกนัยคือการบอกเป็นนัยๆว่าอัลบั้มนี้มัน 'ตล๊าด ตลาด' ตามที่เจ้าของอัลบั้มบอกเอาไว้ ก็ยังคงไม่ใช่อัลบั้มที่มี 10 เพลงเต็มอยู่เช่นเคย และ 5 จาก 7 เพลงที่ถูกบรรจุไว้ในงานชุดนี้นั้น ก็เคยถูกปล่อยออกมาให้ฟังในวาระต่างๆ โดยทิ้งระยะห่างจากกันพอสมควร โดยการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่พูดถึงไปในย่อหน้าแรกนี้ เมื่อแต่ละเพลงถูกนำมารวมไว้ในอัลบั้มเดียวกัน มักจะมีข้อเสียใหญ่ๆอยู่ข้อหนึ่ง คือเมื่อจับทุกเพลงมามัดรวมกันไว้ในอัลบั้มเดียวแล้ว ความที่เพลงแต่ละเพลงถูกเขียนขึ้น และบันทึกเสียงในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละเพลงไม่สามารถทำหน้าที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้ ทำให้อัลบั้มนั้นไม่มีภาพรวมที่ชัดเจน และหมดสิ้นซึ่งความหมาย ความสุนทรีย์ ของการฟังเพลงแบบเป็นอัลบั้มไป อย่างที่เคยเกิดกับอัลบั้ม Day Dreamer ของ Paradox มาแล้ว
ความหลากหลายที่ผมพูดถึงมันมากขนาดไหนน่ะหรือ? ก็ลองนึกภาพอัลบั้มจำนวน 7 เพลงสักชุด ที่มีชื่อของคนที่มาร่วมงานด้วยอย่าง สิงโต นำโชค , ต้น มือกีต้าร์จากวง Silly Fools , อุ๋ย Buddha Bless , ตู่ ภพธร , Joeyboy ที่ทุกคน ไม่ได้มาเพียงแค่ใส่เสียงร้อง หรือเล่นดนตรีลงในเพลงเท่านั้น แต่ยังคงนำเอาสำเนียงที่เข้มข้นเฉพาะตัวของตนเองมากันอย่างครบถ้วนด้วย ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงกีต้าร์ และดนตรีที่เพียงขึ้นมาโน๊ตแรกก็รู้สึกได้แล้ว ว่านี่คือ Silly Fools แน่ๆ ในเพลง 'Single สุดท้าย' สำเนียงการร้อง และเสียงกีต้าร์โปร่งที่มีบรรยากาศเฉพาะตัวในแบบของ สิงโต นำโชค หรือแร๊พจรวดที่ขึ้นชื่อ รวมถึงวิธีการเขียน Rhyme ที่หาตัวจับได้ยากของ Joeyboy
แต่แสตมป์ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ สามารถอยู่ในอัลบั้มชุดเดียวกันได้อย่างลงตัว และทุกคนที่มาร่วมงานก็ยังเหลือพื้นที่มากพอ ที่จะสามารถใส่ลายเซ็นต์ของตัวเองลงไปได้ด้วย ด้วยเนื้อเพลงที่เป็นแกนหลักจากวิธีการเขียนอันชาญฉลาดของเขาเอง
การที่สามารถจัดวางทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างพอดีเช่นนี้นั้นเป็นสิ่งพิเศษ และไม่ใช่ว่าศิลปินทุกคนจะมีความสามารถนี้อยู่ในตัว มันต้องอาศัยทั้งการฝึกฝน ความเป็นคนช่างสังเกตุ และการเป็นนักฟังที่ดีเยี่ยม ซึ่งแสตมป์ก็พิสูจน์ได้หลายครั้งหลายคราแล้ว ว่าเขามีทุกสิ่งทุกอย่างนี้ รวมอยู่ในตัวเองอย่างครบถ้วน รวมไปถึงฝีไม้ลายมือในการเขียนเพลง ที่หลายต่อหลายครั้งอีกเช่นกัน เพลงของเขา มีวิธีเข้าไปสู่ใจของผู้คนได้อย่างวิเศษเพียงใด
และแสตมป์ก็ยังทำให้ผมได้มีความหวังขึ้นมาอีกครั้งด้วย ว่าไม่ว่าวิธีการฟังเพลงของของคนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไป อันเป็นสิ่งที่ตัวผมเองคงไม่ยิ่งใหญ่และรอบรู้พอ ที่จะไปบอกว่าสิ่งใดดี และให้ความหมายแก่คนฟังมากกว่ากัน แต่มันคงจะเป็นเรื่องดีไม่น้อยเลย ถ้าหากเราสามารถรับเอาวิถีแบบใหม่เข้ามา โดยให้มันเป็นส่วนสำคัญในการต่ออายุให้กับศิลปินมากหน้าหลายตา รวมถึงวงการเพลงที่เรารักออกไปได้ โดยที่ก็ยังคงเหลือพื้นที่เอาไว้ให้ขนบแบบเก่า ด้วยความเคารพและใส่ใจ เหมือนกับที่นักร้อง - นักแต่งเพลงหนุ่มคนนี้ ได้เริ่มทำเอาไว้แล้ว
Artist : แสตมป์ - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
Album : Supermarket
Producer : -
Label : LOVEiS
====================
Review ผลงานเก่าของแสตมป์และเพื่อน ในชื่อวง 7thSCENE
เรียบเรียง : จักรินทร์ จูประเสริฐ