เพราะเขามีโรคOsgood-Schlatter’s Disease (โรคกระดูกหัวเข่าปูด) ครับ
โรคออสกู๊ดชแลตเตอรี่ (Osgood-Schlatter’s Disease, Apophysitis of Tibial Tubercle)
ภาวะนี้มีลักษณะคือกดเจ็บที่ปุ่มกระดูกทิเบีย (Tibial Tubercle) และปุ่มนี้โตขึ้น เกิดกับเด็กผู้ชายอายุระหว่าง 10-15 ปีบ่อยที่สุด และสงบได้เอง โดยทั่วไปมักเป็นอยู่นาน 2-3 เดือน
สาเหตุ เมื่อก่อนภาวะนี้จัดอยู่ในพวกออสตีโอคอนไดรติส ซึ่งไม่ทราบสาเหตุ แต่ขณะนี้ถือว่าเกิดจากภยันตราย เนื่องจากการดึงของเอ็นกล้ามเนื้อซึ่งเกาะปลายที่อะโปพฟัยซิสขอปุ่มกระดูกทิเบีย
ลักษณะทางคลินิค เด็กมักจะเป็นนักกีฬา การปวดจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อกดที่ปุ่มกระดูกทิเบียและขณะคุกเข่า นอกจากนี้จะปวดมากขึ้น เมื่อเอ็นสะบ้าดึงปุ่มกระดูกทิเบียแรงๆ เช่น ในการวิ่ง ขึ้นบันได หรือขี่จักรยาน โรคนี้อาจเป็นได้ที่ปุ่มกระดูกทิเบียทั้ง 2 ข้าง
ภาพรังสีเห็นปุ่มกระดูกทิเบียแยกออกจากตัวกระดูกทิเบีย และมุมกระดูกทิเบียเองแยกเป็นชิ้นๆ แต่การถ่ายภาพรังสีตามเป็นระยะๆ จะไม่พบการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะการตายของกระดูกที่ขาดเลือดเลี้ยง (Aseptic Necrosis) และการแทนที่กระดูกที่ตายด้วยกระดูกใหม่ (creeping Substitution) ภาวะนี้สงบลงได้เองและมีพยากรณ์โรคดีมาก
การรักษา ในรายที่มีอาการน้อย การจำกัดการออกกำลัง เช่น ห้ามคุกเข่า ห้ามวิ่ง และห้ามถีบจักรยาน จะทำให้อาการดีขึ้นมาก สำหรับเด็กที่มีอาการมาก จำเป็นต้องเข้าเฝือกจากโคนขาถึงเหนือข่อเท้า (piaster Walking Cylinder) นาน 6 สัปดาห์ เพื่อให้ข้อเข่าได้พัก การฉีดฮัยโดรคอร์ติโซนรอบๆ ปุ่มกระดูกทิเบียอาจได้ผลในรายที่ปวดมาก อย่างไรก็ตามการปวด และกดเจ็บที่ปุ่มกระดูกทิเบียจะหายไป เมื่อเป็นอยู่ 2-3 เดือน แตปุ่มกระดูกทิเบียที่ใหญ่ขึ้นจะไม่เล็กลง
อันที่จริงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดของอาการนี้คือห้ามทำให้เข่าเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง แต่เวลเบคพัฒนาตนเองจนอาการดีขึ้น
แต่โรคนี้ก็ยังติดตัวเขาไปเรื่อยๆ ก็หวังว่าซักวันนายจะหายดีเหมือนเดิม
เขาใจแล้วว่าทำไมเวลเบคถึงมีท่าวิ่งแปลกๆ ทำให้พัฒนาตัวเองไม่ได้มากเท่าที่เป็น
โรคออสกู๊ดชแลตเตอรี่ (Osgood-Schlatter’s Disease, Apophysitis of Tibial Tubercle)
ภาวะนี้มีลักษณะคือกดเจ็บที่ปุ่มกระดูกทิเบีย (Tibial Tubercle) และปุ่มนี้โตขึ้น เกิดกับเด็กผู้ชายอายุระหว่าง 10-15 ปีบ่อยที่สุด และสงบได้เอง โดยทั่วไปมักเป็นอยู่นาน 2-3 เดือน
สาเหตุ เมื่อก่อนภาวะนี้จัดอยู่ในพวกออสตีโอคอนไดรติส ซึ่งไม่ทราบสาเหตุ แต่ขณะนี้ถือว่าเกิดจากภยันตราย เนื่องจากการดึงของเอ็นกล้ามเนื้อซึ่งเกาะปลายที่อะโปพฟัยซิสขอปุ่มกระดูกทิเบีย
ลักษณะทางคลินิค เด็กมักจะเป็นนักกีฬา การปวดจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อกดที่ปุ่มกระดูกทิเบียและขณะคุกเข่า นอกจากนี้จะปวดมากขึ้น เมื่อเอ็นสะบ้าดึงปุ่มกระดูกทิเบียแรงๆ เช่น ในการวิ่ง ขึ้นบันได หรือขี่จักรยาน โรคนี้อาจเป็นได้ที่ปุ่มกระดูกทิเบียทั้ง 2 ข้าง
ภาพรังสีเห็นปุ่มกระดูกทิเบียแยกออกจากตัวกระดูกทิเบีย และมุมกระดูกทิเบียเองแยกเป็นชิ้นๆ แต่การถ่ายภาพรังสีตามเป็นระยะๆ จะไม่พบการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะการตายของกระดูกที่ขาดเลือดเลี้ยง (Aseptic Necrosis) และการแทนที่กระดูกที่ตายด้วยกระดูกใหม่ (creeping Substitution) ภาวะนี้สงบลงได้เองและมีพยากรณ์โรคดีมาก
การรักษา ในรายที่มีอาการน้อย การจำกัดการออกกำลัง เช่น ห้ามคุกเข่า ห้ามวิ่ง และห้ามถีบจักรยาน จะทำให้อาการดีขึ้นมาก สำหรับเด็กที่มีอาการมาก จำเป็นต้องเข้าเฝือกจากโคนขาถึงเหนือข่อเท้า (piaster Walking Cylinder) นาน 6 สัปดาห์ เพื่อให้ข้อเข่าได้พัก การฉีดฮัยโดรคอร์ติโซนรอบๆ ปุ่มกระดูกทิเบียอาจได้ผลในรายที่ปวดมาก อย่างไรก็ตามการปวด และกดเจ็บที่ปุ่มกระดูกทิเบียจะหายไป เมื่อเป็นอยู่ 2-3 เดือน แตปุ่มกระดูกทิเบียที่ใหญ่ขึ้นจะไม่เล็กลง
อันที่จริงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดของอาการนี้คือห้ามทำให้เข่าเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง แต่เวลเบคพัฒนาตนเองจนอาการดีขึ้น
แต่โรคนี้ก็ยังติดตัวเขาไปเรื่อยๆ ก็หวังว่าซักวันนายจะหายดีเหมือนเดิม