ตั้งผู้จัดการมรดก

คุณพ่อเสียชีวิต มีลูก2คน แม่ไม่ได้จดทะเบียน
เราเป็นพี่คนโต(23ปี) น้องชาย(13ปี) ปู่ย่าเสียชีวิตแล้ว
มีที่ดิน 3 ที่ แต่อยากจัดการที่นึงทำเป็นอพาท์เม้นท์

เลยอยากโอนที่แห่งนี้เป็นชื่อเราคนเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการเดินเรื่องกู้
วันศุกร์นี้เลยจะไปศาลตามถิ่นที่พ่อเราเสียชีวิต เพื่อตั้งตัวเองเป็นผู้จัดการมรดก

เลยอยากจะถามว่า เมื่อเราเป็นผู้จัดการมรดกแล้วจะแบ่งที่ดินเป็นอย่างนี้ได้ไหม คือ
ที่ ก.เป็นชื่อเรา ที่ ข.เป็นชื่อน้อง ที่ค.เป็นทั้ง2คน
จะสามารถทำได้ไหม ได้ยินว่าเด็กจะไม่รับไม่ได้ คืออย่างไร

แล้วเอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นเรื่องวันแรก
คือ 1. ทะเบียนบ้านที่มีชื่อเจ้ามรดก
2.ใบมรณะบัตรเจ้ามรดก
3.ใบรับรองการตายของปู่ย่า
4.บัตรปชช. สูติบัตรของทายาท
5.บัญชีเครือญาติ >>>>>>>>>>>>>>>
***** แค่มีชื่อปู่ย่า แม่ เรา น้อง ใช่ไหมค่ะ ต้องมีพี่น้องของพ่อด้วยไหมค่ะ ลายเซนต์ต้องมีไหม เพราะญาติๆเราอยู่กันคนละที่เลย
6.หนังสือร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
7.เอกสารทรัพย์มรดก

มีอะไรเพิ่มเติมอีกไหมค่ะ แนะนำด้วย ขอบคุณค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
มาตอบให้ในฐานะทำงานที่ดินมาก่อน    ตามกฎหมายผู้เยาว์จะสละมรดกหรือทำสัญญาประนีประนอมเกี่ยวกับ
ทรัพย์มรดกไม่ได้  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลก่อน  

ทีนี้มาดูปัญหาการจดทะเบียนโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกกัน  
ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้สินให้เจ้าหนี้ของเจ้ามรดก  และโอนมรดกให้ทายาท
ตามสิทธิที่ทายาทมี  ผู้จัดการมรดกจะทำตามใจชอบไม่ได้เลย  หากทำไปก็อาจโดน
ทายาทฟ้องร้องได้และแพ้คดีแน่นอน  เพราะสิทธิของทายาทมันมักจะชัดเจน
ไม่ให้เขาตามสิทธิก็แพ้แน่นอน

นั่นเป็นเรื่องสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย  แต่ในการจดทะเบียนโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกนั้น
ต้องเข้าใจว่าเจ้าพนักงานที่ดินต้องจดทะเบียนตามที่ผู้จัดการมรดกยื่นคำขอมา
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจไปตรวจสอบว่าควรทำอย่างนั้นหรือไม่  เช่น เขาจะโอนแปลงนี้ให้คนนั้น
แต่โอนอีกแปลงให้อีกคน   หรือจะขายแปลงนี่เพื่อเอาไปใช้หนี้ของเจ้ามรดก  มันเป็นความรับผิดชอบ
ของผู้จัดการมรดกโดยตรง   เจ้าหน้าที่จะไม่ก้างล่วงเข้าไป   แต่ถ้าโอนไปแล้วทายาทคนอื่นไม่พอใจ
ก็ไปฟ้องผู้จัดการมรดกเอง (ผจก แพ้หรือติดคุกก็เรื่องของเขา)   สำหรับที่ดินนั้นแม้ผู้เยาว์เป็นทายาทด้วย
หากเขาจะเอาไปขายเพื่อเอาไปใช้หนี้คนตายก็ทำได้  เป็นอำนาจผู้จัดการมรดกไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อนด้วย

และการจะโอนที่แปลงหนึ่งให้ผู้เยาว์คนเดียวหรือร่วมกับคนอื่น  แต่อีกแปลงไม่โอนให้ผู้เยาว์เจ้าพนักงานที่ดิน
ก็จะไม่ค้านด้วยเช่นกัน  เพราะไม่ใช่หน้าที่ไปตรวจสอบว่าสมควรจัดการมรดกกันอย่างไร
เขาจะตรวจเพียงว่าคนที่จะรับโอนนั้นเป็นทายาทที่มีสิทธิหรือไม่เท่านั้น  ส่วนใครจะได้หรือไม่ควรได้แปลงนั้น
เขาไม่สนใจ   เพราะมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนรู้กันในเครือญาติ   การไปกำหนดไว้ว่าต้องได้มีชื่อทุกแปลงบางที
กลับทำให้ยุ่งยากมาก   เพราะเมื่อลงชื่อแล้วจะแบ่งกันก็ต้องไปขอศาลก่อนอีก   เขาถึงยอมให้ผู้จัดการมรดกจัดการ
กันไป   ถ้าพอใจก็เงียบ ๆ กันหมดเรื่องไป   แต่หากไม่พอใจก็ฟ้องได้อยู่แล้ว  และอย่างที่บอก ผจก ผิดแน่นอน

คือหน้าที่ใครก็หน้าที่ของคนนั้น   ทำให้ดีแล้วกัน   เรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกนี่ก็เป็นทางออกเพื่อที่จะทำเรื่อง
บางอย่างไปโดยตรงไม่ต้องไปขอศาลก่อนนั่นเอง   แต่ต้องระวังว่าไม่มีเรื่องกันก็แล้วกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่