ต่อ consumer unit แบบนี้ (ดังรูป) ช่างไฟต่อสายกราวด์ ถูกเปล่าครับ

*** รบกวนดูรูปลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ เนื่องจากผมโพสต์รูปไม่ได้***

[scribd]http://es.scribd.com/doc/202827940/Consumer-Unit-Nat[/scribd]

บ้านผมเป็นบ้าน 2 ชั้นครับปรับปรุงใหม่ขณะนี้ทำระบบไฟอยู่นะครับ
จากรูป  A. ลูกสีแดงเป็น เมอเบกเกอร์ B. ลูกสีเหลืองเป็นตัวตัดไฟ C. ลูกสีส้ม (ไฟห้องนอน 3ห้อง) D. ลูกสีเทา (ไฟห้องครัว)  E. ลูก
สีน้ำเงิน (แสงสว่างบ้านทั้ง 2 ชั้น) F. ลูกสีดำ 2 ลูก (ไฟแอร์ 12000 BTU ของห้องนอน 2 ห้องครับ)
ตอนแรกช่างไฟต่อสายสีเขียวทุกเส้นเข้ากับกราวด์ บาร์ (G Bar) ด้านบนซ้ายของรูป แต่บอกว่ามีไฟรั่ว ขอเซ็คก่อน หลังจากเช็คบอกว่าไม่รั่ว แล้วโทรปรึกษาเพื่อนช่างไฟ บอกว่าให้ต่อสายกราวด์เฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่นเท่านั้น (ตามรูปจะเหลือเส้นสีเขียวต่อเข้า G  bar เส้นเดียว) เขาบอกว่าถ้าต่อทุกเส้นไฟจะ...+*!!????!-+... เส้นนิวตรอน..++!!!..( ภาษาไฟฟ้า...ผมฟังไม่เข้าใจนะครับ)  ประเด็นที่ผมขอปรึกษาคือว่า
1. ที่ช่างไฟต่อสายกราวด์เฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่นถูกต้องหรือเปล่าครับ (แล้วสายที่มาจากเครื่องไฟฟ้าอื่น เช่นแอร์ หรือปลั๊กไฟ ไม่ต้องต่อเข้าสายกราวด์เหรอครับ ช่างให้เราซื้อสาย VAF-GRD 2X2.5/1.5 มาเดินทั้งบ้าน แต่ต่อแค่เครื่องทำน้ำอุ่น เลยข้องใจนะครับ...)
2. แท่งกราวด์ตอนแรกช่างให้ผมซื้อ 50 ซม. ต่อมาขอให้ผมไปซื้อ 100 ซม. แต่ที่ร้านแนะนำว่ามี 180 ซม. ด้วย มันต่างกันโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยอย่างไรครับ
3. ช่างเจาะพื้อปูนข้างบ้านห่างจากตัวบ้านประมาณ30 ซม. ระยะห่างเหมาะสมหรือเปล่าครับ แล้วเขาเอาสายกราวด์ที่ลากจากตู้ consumer มาต่อแบบเปลือยๆ อันตรายหรือเปล่าครับ เช่นหากเราเผลอไปโดน หรือในหน้าฝน หรือเราเดินผ่านเวลาฝนตก พื้นแฉะ ต้องปรับแก้หรือไม่ครับ
3. การต่อวงจรอื่นๆ ในตู้ consumer unit เขาต่อถูกต้องหรือเปล่าครับ
4. ข้อแนะนำเพิ่มเติมอื่นๆ เชิญได้เลยนะครับ
ขอบคุณมากนะครับ
นัส
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่