-------- ฟิลลิป ฟิชเชอร์ (Philip A. Fisher) -------
ออกจะตรงกันข้ามกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เพราะในขณะที่บัฟเฟตต์ไม่ชอบซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี ดูเหมือนหุ้นหลักที่ ฟิชเชอร์ สนใจจะเป็นหุ้นในกลุ่มนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันอยู่คือ เมื่อได้หุ้นมาแล้วก็มักจะถือไว้เป็นเวลานาน
ฟิชเชอร์ประสบความสำเร็จในการลงทุนอย่างงดงามกับบริษัท Texas Instrument ตั้งแต่เมื่อยังไม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เขาซื้อหุ้นนี้ที่ราคาต่ำกว่า 3 เหรียญและหลังจากนั้นราคาก็ขยับขึ้นมาเรือยๆ ถึงกว่า 200 เหรียญสหรัฐฯ นับได้ว่าเป็นผลตอบแทนเกิน 7000% เลยทีเดียว!
ในความเป็นจริงแล้ว ฟิชเชอร์ เมื่อยังอายุไม่มาก ฟิชเชอร์มักแนะนำลูกค้าและคนอื่นๆให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มบริษัทที่เรียกว่าไม่ต้องใช้เทคโนโลยีมากนัก (Low Tech นั่นแหละ) แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาสนใจในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้นและเริ่มลง ทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ซึ่งนั่นก็เกิดขึ้นก่อนที่จะมีสิ่งประดิษฐ์ทางซิลิกอน (ทรานซิสเตอร์, ไอซี) และก่อนหน้าที่จะเกิด Silicon Valley ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นเวลากว่า 40 ปี
หลักการเลือกบริษัทที่จะลงทุนของ ฟิชเชอร์:
1. ต้องมีข้อมูล คือหาข้อมูลจากทุกที่เช่นหนังสือพิมพ์ รายงานบริษัท จากวารสารต่างๆ ตลอดจนคุยกับผู้บริหาร, พนักงานและผุ้เกี่ยวข้องในธุรกิจ และเข้าเยี่ยมชมกิจการของธุรกิจนั้นๆ ทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาย่อยเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ
2. ต้องมีเหตุผลเพียงพอในการเข้าซื้อ นั่นคือถามตัวเองดังต่อไปนี้:
2.1) สินค้าและบริการของบริษัทมีศักยภาพที่ดีในตลาดหรือไม่ คือจะอยู่รอดและเติบโตได้ดีเพียงใด
2.2) บริษัทมีแผนการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ หมายความว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เก่าจะต้องยังคงอยู่ในตลาดได้ (มือเก่าหัดขับ: คือเป็นการเติบโต ไม่ใช่การทดแทนหรือ Replace เพราะนั่นหมายถึงว่าการเติบโตไม่ได้ดีนัก หรือเป็นการทำเพื่ออยู่รอดเท่านั้นเอง)
2.3) มีการวิจัยพัฒนามากน้อยเพียงใด (มือเก่าหัดขับ: ข้อนี้ต้องพิจารณาให้ดีด้วย เนื่องจากหากเป็นการพัฒนาเพียงเพื่อการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการอยู่รอด เนื่องจากธุรกิจมีการแข่งขันสูงมาก อาจจะกลายเป็นผลลบเนื่องจากกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากได้)
2.4) กำไรขั้นต้นเป็นอย่างไร (มือเก่าหัดขับ: ข้อนี้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของค่าใช้จ่ายกับรายได้ หากกำไรขั้นต้นต่ำ ทั้งที่ยอดขายสูง แสดงว่า Fix Cost ค่อนข้างสูง หากยอดขายตกลงเพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้บริษัทถึงกับขาดทุนได้)
2.5) ความสามารถของหน่วยงานขายเป็นเช่นไร
2.6) ความสามารถในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น (มือเก่าหัดขับ: บริษัทสามารถเพิ่มกำไรขั้นต้นได้หลายวิธี ที่เห็นได้ชัดคือด้วยการลดค่าใช้จ่าย อาจจะเป็นด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆ หรืออาจจะด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ล้ำสมัยไร้คู่แข่ง ทำให้สามารถตั้งราคาได้ตามต้องการ เป็นต้น)
2.7) มีปัญหากับแรงงานภายในหรือไม่ (มือเก่าหัดขับ: เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะกับบริษัทที่ต้องการพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถเฉพาะทางและหาได้ยาก เช่นนักบิน, วิศวกรผู้ออกแบบหรือวิจัยสิ่งต่างๆ หากพนักงานเหล่านี้มีปัญหากับบริษัท จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ ดังที่เราเคยได้เห็นนักบินของบางสายการบินประท้วงไม่ยอมบิน ทำให้เที่ยวบินต่างๆต้องหยุดชะงักลง เป็นต้น)
2.8) มีการขัดแย้งกันเองในหน่วยงานบริหารหรือไม่
2.9) การจัดการของบริษัทซับซ้อนหรือไม่
2.10) การจัดการทางด้านบัญชี การควบคุมรายจ่าย, ต้นทุน ดีเพียงใด
2.11) บริษัทความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากคูแข่งได้เพียงใด (มือเก่าหัดขับ: อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ บริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ "เหมือนๆ กัน" กับคนอื่นจนทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกยี่ห้อไหนก็ได้ ผู้บริโภคหรือลูกค้าก็จะเลือกเฉพาะจากผู้ที่เสนอราคาต่ำที่สุดให้ ทำให้เกิดการแข่งขันเพียงด้านราคา สุดท้ายก็มีกำไรน้อยลงทั้งหลายๆ ฝ่าย ลูกค้าเป็นผู้ได้รับประโยชน์เพียงผู้เดียว)
2.12) ทัศนะของการทำกำไรของบริษัทเป็นอย่างไร
2.13) มีศักยภาพในการหาเงินทุนเพื่อมาทำงานเพิ่มเติม (หากมี) โดยไม่รบกวนผู้ถือหุ้นเดิม หรือรบกวนให้น้อยที่สุดอย่างไร
2.14) ความจริงใจของผู้บริหารต่อผู้ถือหุ้น คือในยามที่สถานการณ์เลวร้าย เช่นบริษัทประสบภาวะขาดทุน ผู้บริหารทำตัวล่องหนหายไปหรือไม่ (มือเก่าหัดขับ: อันนี้น่าคิดนะครับ สำหรับเมืองไทยคงมีให้เห็นเยอะ) ข้อสุดท้ายที่สำคัญมาก
2.15) ผู้บริหารมีความซื่อสัตย์หรือไม่ (มือเก่าหัดขับ: หลายๆ คนกล่าวไว้ว่า จะดูข้อนี้ก่อน หากเป็นคนคดโกง ยิ่งเก่งด้วยแล้ว ผู้ถือหุ้นจะยิ่งต้องรับกรรมหนัก)
แล้วเมื่อใดจะขายหุ้นออก?
แน่นอนที่เซียนอย่าง ฟิชเชอร์ ย่อมจะต้องมีหลักการในการขายหุ้นออกเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น เขาใช้หลักการต่อไปนี้ในการยอมขายหุ้นออกไป:
1. ซื้อหุ้นมาแล้ว แต่... วิเคราะห์ผิดไปอย่างแรง (มือเก่าหัดขับ: อันนี้ต้องขายออกครับ รีบยอมรับความผิดพลาดแล้วขายออกไป อย่ามัวแต่หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่)
2. พื้นฐานในความสามารถที่จะผ่านข้อกำหนดทั้ง 15 ข้อข้างบน (2.1 - 2.15) ได้เปลี่ยนไป
3. มองเห็นช่องทางที่จะนำเงินจากการขายหุ้นออกไป ไปลงทุนในบริษัทอื่นได้ดีกว่ามาก
ผมเองก็เชื่อว่า หากนักลงทุนสามารถมองหาหุ้นที่มีคุณสมบัติได้ครบทั้ง 15 ข้อข้างต้นแล้ว น่าจะต้องประสบความสำเร็จในการลงทุนอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าบริษัทที่มีคุณสมบัติครบดังกล่าว อาจจะ "หาทำยายาก" หน่อย เอาเป็นว่า เลือกที่สำคัญๆ ให้ได้มากที่สุด ก็น่าจะพอใช้ได้แล้วครับ
http://ppantip.com/topic/31581089 ภาค 1
ศึกษาเซียน - ดูกันว่าเซียนการลงทุนมีแนวคิดอย่างไร ภาค2
ออกจะตรงกันข้ามกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เพราะในขณะที่บัฟเฟตต์ไม่ชอบซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี ดูเหมือนหุ้นหลักที่ ฟิชเชอร์ สนใจจะเป็นหุ้นในกลุ่มนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันอยู่คือ เมื่อได้หุ้นมาแล้วก็มักจะถือไว้เป็นเวลานาน
ฟิชเชอร์ประสบความสำเร็จในการลงทุนอย่างงดงามกับบริษัท Texas Instrument ตั้งแต่เมื่อยังไม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เขาซื้อหุ้นนี้ที่ราคาต่ำกว่า 3 เหรียญและหลังจากนั้นราคาก็ขยับขึ้นมาเรือยๆ ถึงกว่า 200 เหรียญสหรัฐฯ นับได้ว่าเป็นผลตอบแทนเกิน 7000% เลยทีเดียว!
ในความเป็นจริงแล้ว ฟิชเชอร์ เมื่อยังอายุไม่มาก ฟิชเชอร์มักแนะนำลูกค้าและคนอื่นๆให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มบริษัทที่เรียกว่าไม่ต้องใช้เทคโนโลยีมากนัก (Low Tech นั่นแหละ) แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาสนใจในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้นและเริ่มลง ทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ซึ่งนั่นก็เกิดขึ้นก่อนที่จะมีสิ่งประดิษฐ์ทางซิลิกอน (ทรานซิสเตอร์, ไอซี) และก่อนหน้าที่จะเกิด Silicon Valley ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นเวลากว่า 40 ปี
หลักการเลือกบริษัทที่จะลงทุนของ ฟิชเชอร์:
1. ต้องมีข้อมูล คือหาข้อมูลจากทุกที่เช่นหนังสือพิมพ์ รายงานบริษัท จากวารสารต่างๆ ตลอดจนคุยกับผู้บริหาร, พนักงานและผุ้เกี่ยวข้องในธุรกิจ และเข้าเยี่ยมชมกิจการของธุรกิจนั้นๆ ทั้งที่สำนักงานใหญ่และสาขาย่อยเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ
2. ต้องมีเหตุผลเพียงพอในการเข้าซื้อ นั่นคือถามตัวเองดังต่อไปนี้:
2.1) สินค้าและบริการของบริษัทมีศักยภาพที่ดีในตลาดหรือไม่ คือจะอยู่รอดและเติบโตได้ดีเพียงใด
2.2) บริษัทมีแผนการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ หมายความว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เก่าจะต้องยังคงอยู่ในตลาดได้ (มือเก่าหัดขับ: คือเป็นการเติบโต ไม่ใช่การทดแทนหรือ Replace เพราะนั่นหมายถึงว่าการเติบโตไม่ได้ดีนัก หรือเป็นการทำเพื่ออยู่รอดเท่านั้นเอง)
2.3) มีการวิจัยพัฒนามากน้อยเพียงใด (มือเก่าหัดขับ: ข้อนี้ต้องพิจารณาให้ดีด้วย เนื่องจากหากเป็นการพัฒนาเพียงเพื่อการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการอยู่รอด เนื่องจากธุรกิจมีการแข่งขันสูงมาก อาจจะกลายเป็นผลลบเนื่องจากกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากได้)
2.4) กำไรขั้นต้นเป็นอย่างไร (มือเก่าหัดขับ: ข้อนี้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของค่าใช้จ่ายกับรายได้ หากกำไรขั้นต้นต่ำ ทั้งที่ยอดขายสูง แสดงว่า Fix Cost ค่อนข้างสูง หากยอดขายตกลงเพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้บริษัทถึงกับขาดทุนได้)
2.5) ความสามารถของหน่วยงานขายเป็นเช่นไร
2.6) ความสามารถในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น (มือเก่าหัดขับ: บริษัทสามารถเพิ่มกำไรขั้นต้นได้หลายวิธี ที่เห็นได้ชัดคือด้วยการลดค่าใช้จ่าย อาจจะเป็นด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆ หรืออาจจะด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ล้ำสมัยไร้คู่แข่ง ทำให้สามารถตั้งราคาได้ตามต้องการ เป็นต้น)
2.7) มีปัญหากับแรงงานภายในหรือไม่ (มือเก่าหัดขับ: เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะกับบริษัทที่ต้องการพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถเฉพาะทางและหาได้ยาก เช่นนักบิน, วิศวกรผู้ออกแบบหรือวิจัยสิ่งต่างๆ หากพนักงานเหล่านี้มีปัญหากับบริษัท จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ ดังที่เราเคยได้เห็นนักบินของบางสายการบินประท้วงไม่ยอมบิน ทำให้เที่ยวบินต่างๆต้องหยุดชะงักลง เป็นต้น)
2.8) มีการขัดแย้งกันเองในหน่วยงานบริหารหรือไม่
2.9) การจัดการของบริษัทซับซ้อนหรือไม่
2.10) การจัดการทางด้านบัญชี การควบคุมรายจ่าย, ต้นทุน ดีเพียงใด
2.11) บริษัทความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างจากคูแข่งได้เพียงใด (มือเก่าหัดขับ: อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ บริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ "เหมือนๆ กัน" กับคนอื่นจนทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกยี่ห้อไหนก็ได้ ผู้บริโภคหรือลูกค้าก็จะเลือกเฉพาะจากผู้ที่เสนอราคาต่ำที่สุดให้ ทำให้เกิดการแข่งขันเพียงด้านราคา สุดท้ายก็มีกำไรน้อยลงทั้งหลายๆ ฝ่าย ลูกค้าเป็นผู้ได้รับประโยชน์เพียงผู้เดียว)
2.12) ทัศนะของการทำกำไรของบริษัทเป็นอย่างไร
2.13) มีศักยภาพในการหาเงินทุนเพื่อมาทำงานเพิ่มเติม (หากมี) โดยไม่รบกวนผู้ถือหุ้นเดิม หรือรบกวนให้น้อยที่สุดอย่างไร
2.14) ความจริงใจของผู้บริหารต่อผู้ถือหุ้น คือในยามที่สถานการณ์เลวร้าย เช่นบริษัทประสบภาวะขาดทุน ผู้บริหารทำตัวล่องหนหายไปหรือไม่ (มือเก่าหัดขับ: อันนี้น่าคิดนะครับ สำหรับเมืองไทยคงมีให้เห็นเยอะ) ข้อสุดท้ายที่สำคัญมาก
2.15) ผู้บริหารมีความซื่อสัตย์หรือไม่ (มือเก่าหัดขับ: หลายๆ คนกล่าวไว้ว่า จะดูข้อนี้ก่อน หากเป็นคนคดโกง ยิ่งเก่งด้วยแล้ว ผู้ถือหุ้นจะยิ่งต้องรับกรรมหนัก)
แล้วเมื่อใดจะขายหุ้นออก?
แน่นอนที่เซียนอย่าง ฟิชเชอร์ ย่อมจะต้องมีหลักการในการขายหุ้นออกเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น เขาใช้หลักการต่อไปนี้ในการยอมขายหุ้นออกไป:
1. ซื้อหุ้นมาแล้ว แต่... วิเคราะห์ผิดไปอย่างแรง (มือเก่าหัดขับ: อันนี้ต้องขายออกครับ รีบยอมรับความผิดพลาดแล้วขายออกไป อย่ามัวแต่หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่)
2. พื้นฐานในความสามารถที่จะผ่านข้อกำหนดทั้ง 15 ข้อข้างบน (2.1 - 2.15) ได้เปลี่ยนไป
3. มองเห็นช่องทางที่จะนำเงินจากการขายหุ้นออกไป ไปลงทุนในบริษัทอื่นได้ดีกว่ามาก
ผมเองก็เชื่อว่า หากนักลงทุนสามารถมองหาหุ้นที่มีคุณสมบัติได้ครบทั้ง 15 ข้อข้างต้นแล้ว น่าจะต้องประสบความสำเร็จในการลงทุนอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าบริษัทที่มีคุณสมบัติครบดังกล่าว อาจจะ "หาทำยายาก" หน่อย เอาเป็นว่า เลือกที่สำคัญๆ ให้ได้มากที่สุด ก็น่าจะพอใช้ได้แล้วครับ
http://ppantip.com/topic/31581089 ภาค 1