คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ความอ่อนน้อมถ่อมตนตรงกับภาษาบาลีว่า "นิวาตะ " แปลว่า "ไม่มีลม ไม่พองลม"
สำนวนโบราณในหนังสือเก่าๆ จึงพูดว่า "จองหองพองลม" แปลว่าจองหอง ไม่อ่อนน้อมถ่อมตนค่ะ
ส่วนสำนวน "จองหองพองขน" ก็ใช้ค่ะ มีที่มาจากลิง ดังปรากฏในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ที่ว่า
"โบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง สัญชาติลิงจองหองมักพองขน"
ฉะนั้น สำนวนนี้ ใช้ได้ทั้งสองแบบค่ะ
สำนวนโบราณในหนังสือเก่าๆ จึงพูดว่า "จองหองพองลม" แปลว่าจองหอง ไม่อ่อนน้อมถ่อมตนค่ะ
ส่วนสำนวน "จองหองพองขน" ก็ใช้ค่ะ มีที่มาจากลิง ดังปรากฏในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ที่ว่า
"โบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง สัญชาติลิงจองหองมักพองขน"
ฉะนั้น สำนวนนี้ ใช้ได้ทั้งสองแบบค่ะ
แมวบนหลังคา ถูกใจ, Firebug ทึ่ง, ~*~* GlorY iN tHe BiG CiTy*~*~ ถูกใจ, ไข่เจียวไชโป๊สีตองอ่อน ถูกใจ, อวดจำ ถูกใจ, MarieCurie ถูกใจ, NaluttaMonet ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1154127 ทึ่ง, Angels Midori ถูกใจ, "เธอใช่ไหมคนที่ฉันรอ" ถูกใจรวมถึงอีก 45 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
สงสัย ทำไมในละครเวียงร้อยดาวถึงใช้คำว่า จองหองพองลม ปกติได้ยินแต่ จองหองพองขน
แล้วไปได้ยินประโยค
สร้อยฟ้าค้อนควับแต่ก็หุบปากเงียบเพราะรู้สึกเจ็บที่ปกรณ์พูดแทงใจดำ
“เพราะคุณพี่ให้ท้ายมันอย่างนี้นี่เอง นังเวียงแก้วมันถึงได้ทำจองหองพองลม อวดดีได้ถึงขนาดนี้” จงจิตว่า
(คัดมาจาก http://www.manager.co.th/Drama/ViewNews.aspx?NewsID=9570000004052&Html=1&Page=3)
เลยทำให้สงสัยว่า จองหองพองลม มีความหมายในสุภาษิต สำนวนไทยด้วยหรือเปล่าคะ
ว่าผู้รู้ช่วยไขข้อสงสัยทีค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ