วันนี้อยากมาเล่าเรื่องของ "เท้า" ครับ
ท้าวความก่อน
ก่อนอื่นเลย เท้าของคนไทย หรือจะเหมารวม คนเอเซีย ไปด้วยเลยก็ได้
ผู้ชายจะมีเท้า ขนาด ประมาณ 7-8 US เป็นมาตรฐาน ซึ่งในยุคหลังปี 2535 ขึ้นมา
จะมีค่าเฉลี่ยเพิ่มมาที่ 8-9 US นั่นอาจเป็นเพราะ เด็กๆได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น ทำให้การพัฒนาการของร่างกาย
เริ่มเปลี่ยนไป จนมีขนาดของเท้าใหญ่ขึ้นให้สัมพัทธ์กับร่างกาย
ซึ่งในยุคผมยังเด็ก ประมาณ ป.6 เมื่อปี 2533 ตอนนั้น ผมใส่รองเท้าเบอร์ 9 ซึ่งถือว่าใหญ่มาก สำหรับเด็กประถม
(แต่ยังมีคนใหญ่กว่านะ) พอขึ้น ม.1 ผมใส่ เบอร์ 10 US หรือ 43 EUR ในตอนนั้น
ผมเริ่มมาพบว่าผมมีปัญหาเรื่องเท้า ตอนขึ้น ม. 3 ผมไม่สามารถใส่ นันยาง BM2000 หรือ บาจา เบอร์ที่ใหญ่ที่สุดที่มีการผลิตได้
โดยเบอร์ใหญ่สุดตอนนั้นคือ 11 US จนพ่อต้องพาไป พาหุรัด เพื่อตามหารองเท้าที่ใส่ได้ สุดท้าย มาได้ ยี่ห้อ HOBIRD ที่เลียนแบบ นันยาง เป๊ะๆ ทุกสัดส่วน แต่ HOBIRD มีถึง เบอร์ 12 US ทำให้ผมถูกเพื่อนๆล้อ ว่า ใส่นันยางปลอม (แอบน้อยใจนะ)
จนกระทั่งผมย้ายมาเรียน ปวช. ซึ่งรองเท้าที่ใส่เป็นรองเท้าหนัง ซึ่งหาไซส์ใหญ่ได้ง่ายกว่ารองเท้าผ้าใบ
พอเริ่มเรียนมหาลัย โชคดีที่ คณะผมค่อนข้าง"อิสระ" ในการอนุญาติให้ใส่รองเท้าหลากหลายแบบ แต่ สถานะการ์ณในการเลือกรองเท้าผมยัง "ตีบตัน" เท้าของผมคงหยุดพัฒนาแล้ว และมันมาหยุดอยู่ที่ ไซส์ 12 US (ปัจจุบัน 12.5 US )
รองเท้า แบรนด์ดังในตอนนั้น NEXT TIMBERLAND FERAGAMO VANS ADIDAS PUMA ฯลฯ
ยังไม่มีไซส์ผมจำหน่าย ถ้าจะมีก็มีเพียง รองเท้าบาส REEBOK SHAQ, NIKE AIRJORDAN อะไรเทือกนั้น ที่มีไซส์ผม
ซึ่งการจะซื้อใส่ไปเรียนหรือ เดินเที่ยว มันก็มีข้อจำกัดอยู่
โชคดีอยู่บ้างที่พ่อผมเป็นเจ้าของบริษัท ทัวร์ พ่อเดินทางไปต่างประเทศบ่อย พ่อเลยจะหิ้วรองเท้าไซส์ใหญ่ๆ กลับมาให้
เมื่อร้องขออยู่เรื่อยๆ ในตอนนั้นเลยได้มีโอกาสเป็น เจ้าของ TIMBERLAND กับ NEXT กับเขาบ้าง แม้จะใหญ่กว่าชาวบ้านเขาใส่กัน
ระหว่างที่หนทางหารองเท้าใส่ ค่อนข้างลำบาก การเลือกซื้อรองเท้ามือสอง ตาม สะพานพุทธ หรือ จตุจักรกลับเปิดทางเลือกให้ผมอย่างมากมาย จนผมเริ่มไปเดินหา รองเท้าของฉัน ทุกวันอาทิตย์ตามแหล่งต่างๆ
ในปัจจุบันปัญหาของผมหมดไปแล้วครับ
ต้องขอบคุณที่มีการนำเข้ารองเท้าไซส์ใหญ่ๆมากขึ้น รวมไปถึงการเปิดกว้างในการสั่งรองเท้าเบอร์ที่ต้องการเอง
ตามเวบ AMAZON ZAPPOS และเวบอื่นๆอีกมากมาย
เชื่อว่าหลายคนที่มีเท้าแบบปกติ คงไม่รู้ ความลำบากของคนเท้าใหญ่กันแน่ๆ เรามาทำความรู้จักกับ เรื่องเท้าขนาดต่างๆกันครับ
บางคนอาจเคยเห็นหรือ พบว่าตัวเองเท้าก็ไม่ได้ยาวแต่กลับใส่รองเท้า เบอร์เดียวกันไม่ได้ในบางยี่ห้อ
เช่น ใส่ NIKE เบอร์ 10 แต่กลับใส่ CONVERSE เบอร์ 10 ไม่ได้ ?
หรือใส่ คัทชูเบอร์ 6 แต้ต้องใส่รองเท้าผ้าใบ ADIDAS เบอร์ 8 เป็นต้น
เรามาดูกันครับ
ก่อนอื่นรู้จักไซส์รองเท้าก่อนครับ
ในชาร์ท คือ ไซส์รองเท้าเกือบทุกแบบที่ใช้เป็นมาตรฐาน
US คือ ไซส์ที่กำหนดโดย USA
EUR คือ คือ ไซส์ที่กำหนดโดย กลุ่มประเทศยุโรป
UK คือ ไซส์ที่กำหนดโดย อังกฤษ
ซึ่งก็มีประเทศอื่นๆ ที่มีไซส์เป็นของตัวเองด้วยนะครับ
ซี่งตามมาตรฐานสากล รองเท้าจะถูกระบุขนาดด้วย 3 ขนาดของประเทศหลักๆ คือ
USA UK และ กลุ่มยุโรป ครับ
ทำไมเป็นแบบนั้น ?
อาจเป็นเพราะ ความนิยมของรองเท้าผ้าใบเริ่มที่ 3 ประเทศนี้ก่อน และอาจเป็นตลาดใหญ่ดังนั้นจึงกำหนดให้ง่ายกับผู้ใช้จริง
และยี่ห้อต่างๆดังๆล้วนมาจาก ประเทศเหล่านี้ครับ และก็ถือเป็นมาตรฐานมาจนทุกวันนี้ครับ
จากชาร์ทด้านบนจะเห็นว่า ขนาดของเท้าจะแตกต่างกันไปเล็กน้อย
และ ปัญหาที่ผมเกริ่นไว้ ว่า ใส่ ยี่ห้อนี้เบอร์นี้ได้ แต่ สั่งรองเท้าอีกยี่ห้อมาเอาเบอร์เดียวกันทำไม่มันคับ มันหลวมไป
นั่นเพราะ ชาร์ทมาตรฐานในการผลิตของแต่ละยี่ห้อก็แตกต่างกันครับ
และก็ขึ้นอยู่กับรูปทรงรองเท้าด้วย
สำหรับคนกังวลข้อนี้ผมแนะนำให้ ดูชาร์ทที่ ยี่ห้อนั้นๆ ยืนยัน ในการเลือกครับ เช่น จะซื้อรองเท้า ASIC ก็เปิดดูชาร์ท รองเท้าจาก ASIC
เปิดดูกับเวบของ ASIC ก้ได้ครับ
ถ้าชอบไนกี้เปิดเวบดูของ ไนกี้ครับ ยี่ห้ออะไรก็เทียบตามนั้น โอกาสผิดพลาดจะน้อยครับ
และจากชาร์ทข้างบนเราจะเห็นว่า มีขนาดของหน้าเท้าด้วย
ขนาดหน้าเท้ามันคืออะไรมาดูครับ
(ขอพูดถึงขนาดหน้าเท้าผู้ชายเป็นหลักก่อนนะครับ)
สมัยก่อนจะมีการแบ่งกับตามตัวย่อดังนี้
N (narrow), M (medium) or R (regular), W (wide)
แต่ต่อมามีการเปลี่ยนมาใช้ แบบอื่นๆ โดยการวัดจาก เครื่องวัดหน้าเท้าครับ
หลายท่านน่าจะเคยเห็นนะ ตามร้านใหญ่ๆยังมีใช้กันอยู่
เมื่อผ่านมาหลายยุค จึงเริ่มมีการกำหนดชนิดหน้าเท้าใหม่ ซึ่งแบบปัจจุบัน แบบนี้เป็นที่นิยมสุดครับ
ก่อนไปดูว่าแต่ละขนาดว่าหมายความว่ายังไง
ลิ้นของรองเท้า หรือส่วนด้านในรองเท้า หรือที่กล่อง ของรองเท้าจะมีขนาดบอกโดยละเอียดนะครับ
เช่นป้าย NB ในภาพ จะมีการบอกรายละเอียดของขนาดไว้ดังนี้ครับ
(ใครว่างจะหยิบรองเท้าของตัวเองขึ้นมาดูไปด้วยก็ได้นะครับ)
ขนาด B
หรือเรียกว่า แบบ NARROW หรือ หน้าเท้าแคบ จริงๆ แบบนี้คือแบบปกติสำหรับคนเอเซียนะครับ
แต่คนยุโรปก็มีคนที่หน้าเท้าแคบมาก จึงต้องหารองเท้าแบบ B มาใส่อยู่เยอะ เพราะใส่แบบปกติแล้วจะไม่กระชับ
สำหรับคนเอเซียถ้าคุณเท้าปกติ ไม่มีส่วนกว้างเกินมาตรฐาน คุณสามารถใส่ขนาดหน้าเท้า B ได้เกือบทุกยี่ห้อครับ
รองเท้าหน้าแบบนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นทรงนี้ครับ
หรือ คอนเวิร์ส กับ VANS ก็ใช่ ครับ
ขนาด D
ซึ่งเป็นรองเท้าที่มีหน้าเท้าธรรมดาครับ
ส่วนใหญ่ก็ทรงทั่วๆไปที่เราพบเห็นบ่อยๆอาทิ
NEW BALANCE ก็ใช่นะครับ
ขนาด 2E
ขนาด 2E คือขนาดที่กว้างครับ กว้างในที่นี้หมายถึง หน้าเท้านะครับที่กว้างกว่าปกติครับ
บางคนที่ใส่ เบอร์ 10 NEW BALANCE ได้ แต่ใส่ 10 CONVERSE ไม่ได้ ก็เพราะหน้าเท้าครับ
เพราะ CONVERSE เป็นรองเท้าทรงแคบ-ปกติ ซึ่งถ้าคนหน้าเท้าใหญ่ใส่จะคับหรืออึดอัด
ซึ่งอาจจะต้อง ข้ามไปใส่ 11-12 US เลยก็ได้ ทั้งๆที่ใส่ NB เพียง เบอร์ 10
รองเท้าทรง 2E จะออกแนวนี้ครับ
4E
หรือ หน้าเท้ากว้างมาก เทียบกับ 2E จะเป็นแบบนี้ครับ
ส่วนใหญ่จะพบในคนมีน้ำหนักเยอะครับ น่าแปลกที่พบในคนใส่ เท้าไซส์ 8-10 มากกว่า 11-12 เสียอีกในบางประเทศนะครับ
รองเท้าไซส์นี้จะหายาก ตามร้านเครื่องกีฬาจะมีมาบ้าง เป็นรุ่นๆไป ส่วนใหญ่ รองเท้าไซส์นี้หน้าตาประมาณนี้ครับ
จะสังเกตุได้ว่า เหมือนเขาทำพื้นที่กว้างและสูง ในช่วงหน้าเท้าไปถึง นิ้ว เพื่อให้คนหน้าเท้านี้ขยับเท้าได้ง่ายขึ้นไม่อึดอัดครับ
ุ6E
หรือหน้าเท้ากว้าง มว๊ากก เทียบกับเท้าD 2E และ 4E จะเป็นแบบนี้ครับ
รูปทรงรองเท้าจะมาแนว 2E แต่ขยายขึ้นทั้งบนและข้างครับ
รองเท้าส่วนใหญ่จะทรงแบบเดียวๆกัน
แต่ไม่ใช่ว่าขนาด 6E แล้วรองเท้ามันจะใหญ่จนดูใหญ่มาก เรื่องนี้ผู้ผลิตแก้กันที่การออกแบบครับ
อย่างคู่นี้ก็ 6E แต่มองแล้ว แทบปกติทั่วไปเลยครับ
8E
หรือหน้าเท้ากว้าง มว๊ากกก ม๊าก ครับ
ลองดูภาพเปรียบเทียบครับ เหนือฟ้ายังมีฟ้า
ในไทยผมยังไม่เคยเจอนะครับ ว่ามีขายรองเท้าไซส์นี้
ในภาพนี้คงประมาณ 8-16 E ครับ
จะขอจบการแนะนำที่ 8E ละกันนะครับ จริงๆยังมีกว้างกว่านี้อีกแต่ มักจะเป็นกรณีพิเศษๆ เฉพาะเสียมากกว่าเช่น
ชายสูงติดอันดับโลก คนนี้นี่ใส่ 14-16 E เลยครับ
TIP
เอาละอธิบายมาขนาดนี้ เผื่อใครที่ไม่ทราบขนาดจริงๆ ของเท้าเรา
หรือมีปัญหา เรื่องหน้าเท้า เรามาดูกันเลยครับว่า เรามีเท้าไซส์ไหน หน้าเท้าแบบไหนกันแน่ ?
มาดูวิธีทราบหน้าเท้าของตัวเองแบบทำเองได้ ง่ายๆ
1. เอาประดาษ A4 แปะเทปกาวกับพื้นตามภาพครับ
2. เอาดินสอสีมาขีดรอบวงเทา้ของตัวเองครับ แนะนำให้ใส่ถุงเท้าเพื่อความลื่นในการลาก
3. ขีดเส้นตัดตรงด้านหน้าเท้า และส้นเท้า
4. จากนั้นเอาตลับเมตร หรือสายวัด วัดขนาดทั้งยาวและกว้าง ที่ได้แล้วนำไปเทียบกับชาร์ทเท้าครับ
เพียงเท่านี้เราก็ทราบขนาดที่แท้จริง และสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการสั่งรองเท้าในอินเตอร์เนท
ที่เราไม่มั่นใจว่า สั่งมาจะใส่ได้หรือไม่ ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://shoes.about.com/od/sizemeasurementcharts/a/mensintsize.htm
ภาพจาก ชมรมกูรูรวมตัวต่อต้านสินค้าปลอม
อนึ่ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทางผู้เขียนได้เปิดเพจ สำหรับ คนเท้าใหญ่ หรือผู้มีปัญหาหน้าเท้าชื่อ "รวมพลคนเท้าใหญ่"
https://www.facebook.com/over11.5
ซึ่งอยากเรียนเชิญท่านที่สนใจ ท่านที่เท้าใหญ่หารองเท้าใส่ยาก หรือมีปัญหาหน้าเท้า
เป็นสมาชิกของเพจครับ
โดยผมผู้ก่อตั้งเล็งเห็นว่า คนมีปัญหาเรื่องเท้าแบบเดียวกัน ควรรวมตัวกัน เพื่อข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนรองเท้าที่
จะทำให้สะดวกมากขึ้น ในการตามหารองเท้าที่ใส่พอดีกับเราครับ และเพจยังมีการ "แบ่งปันรองเท้าไซส์ใหญ่"
ที่ไม่ได้ใช้ให้คนที่ต้องการ "ฟรี" ด้วยครับ
จ ญ น ห อ ด ม เรียบเรียง
"เรื่องของเท้า" มาทำความรู้จักขนาดของเท้าและชนิดหน้าเท้าของคุณ เพื่อการเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกันครับ !
ท้าวความก่อน
ก่อนอื่นเลย เท้าของคนไทย หรือจะเหมารวม คนเอเซีย ไปด้วยเลยก็ได้
ผู้ชายจะมีเท้า ขนาด ประมาณ 7-8 US เป็นมาตรฐาน ซึ่งในยุคหลังปี 2535 ขึ้นมา
จะมีค่าเฉลี่ยเพิ่มมาที่ 8-9 US นั่นอาจเป็นเพราะ เด็กๆได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น ทำให้การพัฒนาการของร่างกาย
เริ่มเปลี่ยนไป จนมีขนาดของเท้าใหญ่ขึ้นให้สัมพัทธ์กับร่างกาย
ซึ่งในยุคผมยังเด็ก ประมาณ ป.6 เมื่อปี 2533 ตอนนั้น ผมใส่รองเท้าเบอร์ 9 ซึ่งถือว่าใหญ่มาก สำหรับเด็กประถม
(แต่ยังมีคนใหญ่กว่านะ) พอขึ้น ม.1 ผมใส่ เบอร์ 10 US หรือ 43 EUR ในตอนนั้น
ผมเริ่มมาพบว่าผมมีปัญหาเรื่องเท้า ตอนขึ้น ม. 3 ผมไม่สามารถใส่ นันยาง BM2000 หรือ บาจา เบอร์ที่ใหญ่ที่สุดที่มีการผลิตได้
โดยเบอร์ใหญ่สุดตอนนั้นคือ 11 US จนพ่อต้องพาไป พาหุรัด เพื่อตามหารองเท้าที่ใส่ได้ สุดท้าย มาได้ ยี่ห้อ HOBIRD ที่เลียนแบบ นันยาง เป๊ะๆ ทุกสัดส่วน แต่ HOBIRD มีถึง เบอร์ 12 US ทำให้ผมถูกเพื่อนๆล้อ ว่า ใส่นันยางปลอม (แอบน้อยใจนะ)
จนกระทั่งผมย้ายมาเรียน ปวช. ซึ่งรองเท้าที่ใส่เป็นรองเท้าหนัง ซึ่งหาไซส์ใหญ่ได้ง่ายกว่ารองเท้าผ้าใบ
พอเริ่มเรียนมหาลัย โชคดีที่ คณะผมค่อนข้าง"อิสระ" ในการอนุญาติให้ใส่รองเท้าหลากหลายแบบ แต่ สถานะการ์ณในการเลือกรองเท้าผมยัง "ตีบตัน" เท้าของผมคงหยุดพัฒนาแล้ว และมันมาหยุดอยู่ที่ ไซส์ 12 US (ปัจจุบัน 12.5 US )
รองเท้า แบรนด์ดังในตอนนั้น NEXT TIMBERLAND FERAGAMO VANS ADIDAS PUMA ฯลฯ
ยังไม่มีไซส์ผมจำหน่าย ถ้าจะมีก็มีเพียง รองเท้าบาส REEBOK SHAQ, NIKE AIRJORDAN อะไรเทือกนั้น ที่มีไซส์ผม
ซึ่งการจะซื้อใส่ไปเรียนหรือ เดินเที่ยว มันก็มีข้อจำกัดอยู่
โชคดีอยู่บ้างที่พ่อผมเป็นเจ้าของบริษัท ทัวร์ พ่อเดินทางไปต่างประเทศบ่อย พ่อเลยจะหิ้วรองเท้าไซส์ใหญ่ๆ กลับมาให้
เมื่อร้องขออยู่เรื่อยๆ ในตอนนั้นเลยได้มีโอกาสเป็น เจ้าของ TIMBERLAND กับ NEXT กับเขาบ้าง แม้จะใหญ่กว่าชาวบ้านเขาใส่กัน
ระหว่างที่หนทางหารองเท้าใส่ ค่อนข้างลำบาก การเลือกซื้อรองเท้ามือสอง ตาม สะพานพุทธ หรือ จตุจักรกลับเปิดทางเลือกให้ผมอย่างมากมาย จนผมเริ่มไปเดินหา รองเท้าของฉัน ทุกวันอาทิตย์ตามแหล่งต่างๆ
ในปัจจุบันปัญหาของผมหมดไปแล้วครับ
ต้องขอบคุณที่มีการนำเข้ารองเท้าไซส์ใหญ่ๆมากขึ้น รวมไปถึงการเปิดกว้างในการสั่งรองเท้าเบอร์ที่ต้องการเอง
ตามเวบ AMAZON ZAPPOS และเวบอื่นๆอีกมากมาย
เชื่อว่าหลายคนที่มีเท้าแบบปกติ คงไม่รู้ ความลำบากของคนเท้าใหญ่กันแน่ๆ เรามาทำความรู้จักกับ เรื่องเท้าขนาดต่างๆกันครับ
บางคนอาจเคยเห็นหรือ พบว่าตัวเองเท้าก็ไม่ได้ยาวแต่กลับใส่รองเท้า เบอร์เดียวกันไม่ได้ในบางยี่ห้อ
เช่น ใส่ NIKE เบอร์ 10 แต่กลับใส่ CONVERSE เบอร์ 10 ไม่ได้ ?
หรือใส่ คัทชูเบอร์ 6 แต้ต้องใส่รองเท้าผ้าใบ ADIDAS เบอร์ 8 เป็นต้น
เรามาดูกันครับ
ก่อนอื่นรู้จักไซส์รองเท้าก่อนครับ
ในชาร์ท คือ ไซส์รองเท้าเกือบทุกแบบที่ใช้เป็นมาตรฐาน
US คือ ไซส์ที่กำหนดโดย USA
EUR คือ คือ ไซส์ที่กำหนดโดย กลุ่มประเทศยุโรป
UK คือ ไซส์ที่กำหนดโดย อังกฤษ
ซึ่งก็มีประเทศอื่นๆ ที่มีไซส์เป็นของตัวเองด้วยนะครับ
ซี่งตามมาตรฐานสากล รองเท้าจะถูกระบุขนาดด้วย 3 ขนาดของประเทศหลักๆ คือ
USA UK และ กลุ่มยุโรป ครับ
ทำไมเป็นแบบนั้น ?
อาจเป็นเพราะ ความนิยมของรองเท้าผ้าใบเริ่มที่ 3 ประเทศนี้ก่อน และอาจเป็นตลาดใหญ่ดังนั้นจึงกำหนดให้ง่ายกับผู้ใช้จริง
และยี่ห้อต่างๆดังๆล้วนมาจาก ประเทศเหล่านี้ครับ และก็ถือเป็นมาตรฐานมาจนทุกวันนี้ครับ
จากชาร์ทด้านบนจะเห็นว่า ขนาดของเท้าจะแตกต่างกันไปเล็กน้อย
และ ปัญหาที่ผมเกริ่นไว้ ว่า ใส่ ยี่ห้อนี้เบอร์นี้ได้ แต่ สั่งรองเท้าอีกยี่ห้อมาเอาเบอร์เดียวกันทำไม่มันคับ มันหลวมไป
นั่นเพราะ ชาร์ทมาตรฐานในการผลิตของแต่ละยี่ห้อก็แตกต่างกันครับ
และก็ขึ้นอยู่กับรูปทรงรองเท้าด้วย
สำหรับคนกังวลข้อนี้ผมแนะนำให้ ดูชาร์ทที่ ยี่ห้อนั้นๆ ยืนยัน ในการเลือกครับ เช่น จะซื้อรองเท้า ASIC ก็เปิดดูชาร์ท รองเท้าจาก ASIC
เปิดดูกับเวบของ ASIC ก้ได้ครับ
ถ้าชอบไนกี้เปิดเวบดูของ ไนกี้ครับ ยี่ห้ออะไรก็เทียบตามนั้น โอกาสผิดพลาดจะน้อยครับ
และจากชาร์ทข้างบนเราจะเห็นว่า มีขนาดของหน้าเท้าด้วย
ขนาดหน้าเท้ามันคืออะไรมาดูครับ
(ขอพูดถึงขนาดหน้าเท้าผู้ชายเป็นหลักก่อนนะครับ)
สมัยก่อนจะมีการแบ่งกับตามตัวย่อดังนี้
N (narrow), M (medium) or R (regular), W (wide)
แต่ต่อมามีการเปลี่ยนมาใช้ แบบอื่นๆ โดยการวัดจาก เครื่องวัดหน้าเท้าครับ
หลายท่านน่าจะเคยเห็นนะ ตามร้านใหญ่ๆยังมีใช้กันอยู่
เมื่อผ่านมาหลายยุค จึงเริ่มมีการกำหนดชนิดหน้าเท้าใหม่ ซึ่งแบบปัจจุบัน แบบนี้เป็นที่นิยมสุดครับ
ก่อนไปดูว่าแต่ละขนาดว่าหมายความว่ายังไง
ลิ้นของรองเท้า หรือส่วนด้านในรองเท้า หรือที่กล่อง ของรองเท้าจะมีขนาดบอกโดยละเอียดนะครับ
เช่นป้าย NB ในภาพ จะมีการบอกรายละเอียดของขนาดไว้ดังนี้ครับ
(ใครว่างจะหยิบรองเท้าของตัวเองขึ้นมาดูไปด้วยก็ได้นะครับ)
ขนาด B
หรือเรียกว่า แบบ NARROW หรือ หน้าเท้าแคบ จริงๆ แบบนี้คือแบบปกติสำหรับคนเอเซียนะครับ
แต่คนยุโรปก็มีคนที่หน้าเท้าแคบมาก จึงต้องหารองเท้าแบบ B มาใส่อยู่เยอะ เพราะใส่แบบปกติแล้วจะไม่กระชับ
สำหรับคนเอเซียถ้าคุณเท้าปกติ ไม่มีส่วนกว้างเกินมาตรฐาน คุณสามารถใส่ขนาดหน้าเท้า B ได้เกือบทุกยี่ห้อครับ
รองเท้าหน้าแบบนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นทรงนี้ครับ
หรือ คอนเวิร์ส กับ VANS ก็ใช่ ครับ
ขนาด D
ซึ่งเป็นรองเท้าที่มีหน้าเท้าธรรมดาครับ
ส่วนใหญ่ก็ทรงทั่วๆไปที่เราพบเห็นบ่อยๆอาทิ
NEW BALANCE ก็ใช่นะครับ
ขนาด 2E
ขนาด 2E คือขนาดที่กว้างครับ กว้างในที่นี้หมายถึง หน้าเท้านะครับที่กว้างกว่าปกติครับ
บางคนที่ใส่ เบอร์ 10 NEW BALANCE ได้ แต่ใส่ 10 CONVERSE ไม่ได้ ก็เพราะหน้าเท้าครับ
เพราะ CONVERSE เป็นรองเท้าทรงแคบ-ปกติ ซึ่งถ้าคนหน้าเท้าใหญ่ใส่จะคับหรืออึดอัด
ซึ่งอาจจะต้อง ข้ามไปใส่ 11-12 US เลยก็ได้ ทั้งๆที่ใส่ NB เพียง เบอร์ 10
รองเท้าทรง 2E จะออกแนวนี้ครับ
4E
หรือ หน้าเท้ากว้างมาก เทียบกับ 2E จะเป็นแบบนี้ครับ
ส่วนใหญ่จะพบในคนมีน้ำหนักเยอะครับ น่าแปลกที่พบในคนใส่ เท้าไซส์ 8-10 มากกว่า 11-12 เสียอีกในบางประเทศนะครับ
รองเท้าไซส์นี้จะหายาก ตามร้านเครื่องกีฬาจะมีมาบ้าง เป็นรุ่นๆไป ส่วนใหญ่ รองเท้าไซส์นี้หน้าตาประมาณนี้ครับ
จะสังเกตุได้ว่า เหมือนเขาทำพื้นที่กว้างและสูง ในช่วงหน้าเท้าไปถึง นิ้ว เพื่อให้คนหน้าเท้านี้ขยับเท้าได้ง่ายขึ้นไม่อึดอัดครับ
ุ6E
หรือหน้าเท้ากว้าง มว๊ากก เทียบกับเท้าD 2E และ 4E จะเป็นแบบนี้ครับ
รูปทรงรองเท้าจะมาแนว 2E แต่ขยายขึ้นทั้งบนและข้างครับ
รองเท้าส่วนใหญ่จะทรงแบบเดียวๆกัน
แต่ไม่ใช่ว่าขนาด 6E แล้วรองเท้ามันจะใหญ่จนดูใหญ่มาก เรื่องนี้ผู้ผลิตแก้กันที่การออกแบบครับ
อย่างคู่นี้ก็ 6E แต่มองแล้ว แทบปกติทั่วไปเลยครับ
8E
หรือหน้าเท้ากว้าง มว๊ากกก ม๊าก ครับ
ลองดูภาพเปรียบเทียบครับ เหนือฟ้ายังมีฟ้า
ในไทยผมยังไม่เคยเจอนะครับ ว่ามีขายรองเท้าไซส์นี้
ในภาพนี้คงประมาณ 8-16 E ครับ
จะขอจบการแนะนำที่ 8E ละกันนะครับ จริงๆยังมีกว้างกว่านี้อีกแต่ มักจะเป็นกรณีพิเศษๆ เฉพาะเสียมากกว่าเช่น
ชายสูงติดอันดับโลก คนนี้นี่ใส่ 14-16 E เลยครับ
TIP
เอาละอธิบายมาขนาดนี้ เผื่อใครที่ไม่ทราบขนาดจริงๆ ของเท้าเรา
หรือมีปัญหา เรื่องหน้าเท้า เรามาดูกันเลยครับว่า เรามีเท้าไซส์ไหน หน้าเท้าแบบไหนกันแน่ ?
มาดูวิธีทราบหน้าเท้าของตัวเองแบบทำเองได้ ง่ายๆ
1. เอาประดาษ A4 แปะเทปกาวกับพื้นตามภาพครับ
2. เอาดินสอสีมาขีดรอบวงเทา้ของตัวเองครับ แนะนำให้ใส่ถุงเท้าเพื่อความลื่นในการลาก
3. ขีดเส้นตัดตรงด้านหน้าเท้า และส้นเท้า
4. จากนั้นเอาตลับเมตร หรือสายวัด วัดขนาดทั้งยาวและกว้าง ที่ได้แล้วนำไปเทียบกับชาร์ทเท้าครับ
เพียงเท่านี้เราก็ทราบขนาดที่แท้จริง และสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการสั่งรองเท้าในอินเตอร์เนท
ที่เราไม่มั่นใจว่า สั่งมาจะใส่ได้หรือไม่ ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://shoes.about.com/od/sizemeasurementcharts/a/mensintsize.htm
ภาพจาก ชมรมกูรูรวมตัวต่อต้านสินค้าปลอม
อนึ่ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จ ญ น ห อ ด ม เรียบเรียง