สับสนกับการจัดการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทยจังเลย

ฟังเพื่อน ๆ พูดคุยกัน นาน ๆ เข้าเริ่มเป็นการถกเถียง แล้วก่อนที่มันจะก้าวไปสู่การทะเลาะ ก็ชวนกันเปลี่ยนเรื่องคุยเสียก่อน

สืบสาวราวเรื่อง คือ เพื่อนแต่ละคนเคยคยหารู้จักกันมาตั้งแต่ ม.3

แล้ววันนึง มาเจอกันในงานสัมมนาทางวิชาการ ด้านวิศวกรรม

จนล่วงมาถึงการจัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์

ว่า คณาจารย์ที่จะประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ต้อง วศ.บ.(วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต) และ วศ.ม. เท่านั้น
อีกคนก็บอกว่า จะเป็น วศ.ม. และ วศ.ด. ก็ได้

อย่าเป็น อส.บ (อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต) กับ คอ.บ. (ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต) เท่าันั้นเอง

คนที่จบ คอ.บ. แต่เป็น วศ.ม ก็เอ่ยว่า ข้อกำหนดของหลักสูตรมันลักลั่น
เพราะการสร้างครุศาสตร์อุตสาหกรรม เพื่อเป็นผู้สอน แต่กลับมาสร้างข้อกำจัดว่าสอนไม่ได้ ต้องวิศวะด้วยกันเท่านั้น

ทาง วศ.บ. ก็แย้งว่า การเรียนการสอนของ วศ.บ.มันครอบคลุมเนื้อหาการเรียนของ คอ.บ.มากกว่าจึงให้สอนวิศวะด้วยกัน

คอ.บ.แย้งอีกว่า ถ้าวิชาที่เรียน มันยังไปเพียงพอ เขาก็คงไม่สามารถรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมมาได้สิ

วศ.บ. ก็บอกว่า ได้แต่ก็ไม่ได้เอาไปใช้ในงานด้านวิศวกรรมอยู่ดี

คอ.บ ก็เถียงต่อว่า แล้วกรณีที่ จบ วศ.บ. แต่ขอใบ กว.ไม่ผ่าน กลับมีสิทธิ์ในการเป็นอาจารย์สอน อะไรคือเครื่องยืนยันว่าเขามีความสามารถด้านวิศวกรรมว่ามีพอ

วศ.บ. ก็ตอบกลับ ว่า ก็อย่างน้อยคุณวุฒิที่จบ คือ วิศวกรรมศาสตร์ก็แล้วกัน

อส.บ.นั่งฟังอยู่เงียบๆ มานาน ก็เลย สงบศึก แล้วบอกว่า เปลี่ยนเรื่องคุย

... ก็ไม่เข้าใจว่า ในเมื่อ
วิศวกรรมศาสตร์ สร้าง วิศวกร ทำไมไม่ให้เขาอยู่ในองค์กร ด้านงานวิศวกรรมไปซะ
ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ต่างกับครุศาสตร์ธรรมดาครับ) สร้างมาเป็นครูสอนช่าง ได้ กว.ด้วย ก็กำหนดให้ไปเป็นครูสอนด้านวิศวกรรมไปสิ
อุตสาหกรรมศาสตร์ ก็ปั้นเข้าไปทำงานในงานอุตสาหกรรมโรงงาน และการผลิตไปสิ

จะมีใครในวงการนี้ เข้าใจ แล้วลงมาทำให้มันเป็นเรื่องปกติได้ไหมครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่