บล. ที่ตั้งกองทุนต่างๆ มีโอกาสล้มละลายหรือเปล่าครับ? แล้วคนที่ลงทุนในกองทุนต่างๆ จะได้รับผลยังไง?

กระทู้คำถาม
ในกรณีธนาคาร เข้าใจว่ามีคุ้มครองเงินฝากอยู่แล้ว แต่เนื่องจากเงินฝากมันไม่มีนโยบายชัดเจนว่าลงทุนอะไรอย่างไร พอธนาคารล้ม คนฝากเงินจึงน่าจะมีสถานะคล้าย เจ้าหนี้แบงค์ เพราะให้แบงค์ยืมเงินไปลงทุน แล้วได้ดอกเบี้ย

แต่พวก บล. ต่างๆ ที่เปิดกองทุนมาหลายวิธี ผู้ลงทุนในกองทุนต่างๆ ไม่ได้ให้ บล. ยืมเงิน แค่ให้บริหารเงินเฉยๆ ไม่น่าจะหยิบเงินกองพวกนี้มาใช้ได้ ผมจึงสงสัยว่า ถ้าเกิดกรณีเลวร้ายที่สุด แล้ว บล. พวกนี้ล้มขึ้นมา คนที่ลงทุนในกองทุนต่างๆ จะมีสถานะเป็นอย่างไรครับ?

ปล. ผมเพิ่งย้ายที่พักเงินจากออมทรัพย์เป็นลงทุนใน MMF ความเสี่ยงต่ำสุด ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ไอ้ความเสี่ยงต่ำสุดที่ว่ามันรวมกรณี บล. ล้มหรือเปล่า?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
จากกลต.

"ในการจัดตั้งกองทุนรวม บลจ. จะยื่นรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งรวมถึง
นโยบายการลงทุนเพื่อขอจัดตั้งกองทุนรวมกับ ก.ล.ต. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว บลจ. ก็จะออก
และเสนอขาย “หน่วยลงทุน” ของกองทุนรวมให้กับผู้ลงทุน เมื่อเสร็จสิ้นการขายก็จะนำเงินค่าขาย
หน่วยลงทุนที่ได้มารวมเป็นกองทรัพย์สิน และนำมาจดทะเบียนเป็น “กองทุนรวม” กับ ก.ล.ต. ซึ่ง
จะทำให้กองทุนรวมมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก บลจ. ทันที (ซึ่งหาก บลจ. ที่บริหาร
กองทุนรวมเกิดประสบปัญหาด้านการเงินหรือปิดกิจการ ทรัพย์สินของกองทุนรวมก็จะไม่ถูกกระทบ)

หลังจากนั้น บลจ. จะนำเงินลงทุนของผู้ลงทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่างๆ เช่น หุ้น
หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพื่อนำดอกผลกลับคืนมาสู่กองทุนรวมนั้นต่อไป"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่