ต้องบอกก่อนเลยว่า ผมติดการใช้งานจาก PC เอามากๆ เพราะผมต้องพบกับเหตุการณ์ลักษณะนี้บ่อยๆ (ตั้งแต่โรงเรียนสมัยเรียนยันที่ทำงาน) นั่นก็คือ เวลาที่มีใครทำงานใดๆ ก็ตาม มักจะเอางานโยนไว้ที่เดสก์ท็อป (Desktop) หรือไม่ก็มายด็อกคิวเมนต์ส (My Documents) เพราะ Windows 95, 98, Me, XP จะมีไอค่อน (Icon) My Documents ที่ Desktop ด้วย ทำให้เวลาที่แต่ละคนใช้งานเครื่อง มักจะวางไฟล์และสร้างโฟลเดอร์ต่างๆ ไว้ 2 ที่นี้เป็นประจำ จนพื้นที่ไดรฟ์ C นั้นใช้ไปเยอะมาก ส่วนไดรฟ์ D แทบจะโล่งโจ้ง ซึ่งผมก็เอะใจว่าทำไมไม่เก็บไว้ที่ไดรฟ์ D น้อย โล่งซะขนาดนั้น แต่ก็ไม่อยากยุ่งล่ะครับ เพราะไม่ใช่ไฟล์และโฟลเดอร์ของเรา ( จนมาถึง...
งานเข้าครับ คอมพิวเตอร์เจ้ากรรม ดันโดนไวรัส แล้วไม่ใช่ไวรัสธรรมดา เป็นไวรัสทำลายระบบคอมพิวเตอร์ซะด้วย หนักจนใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อีกต่อไปครับ ลักษณะคือ ไวรัสมันจะไปกันกินไฟล์ *.exe ทุกไฟล์ในเครื่องไปเรื่อยๆ (ไม่เว้นแม้กระทั่งไฟล์ Setup แต่ไฟล์ Setup ตัวใหญ่ๆ ระดับ 100MB+ ไม่เป็นอะไร) จุดสังเกตคือ ขนาดไฟล์มันน้อยกว่าปกติ เช่น จากเดิมไฟล์ EXE นั้นมีขนาด 3 MB จะเหลือ 1 MB กว่าๆ และภาพไอค่อนหาย สุดท้ายคือ ต้องติดตั้งใหม่สถานเดียวครับ
เรื่องติดตั้งใหม่นั้นไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ แต่ปัญหาคือ ไฟล์และโฟลเดอร์งานต่างๆ ที่วางระเกะระกะบน Desktop, My Documents มันจะอันตธารหายไปทั้งหมดด้วยนี่สิครับ พอคนอื่นมาใช้เครื่องก็มาถามผมว่า ไฟล์มันหายไปไหน ผมก็บอกไปว่ามีการติดตั้ง Windows ใหม่ เนื่องจากติดไวรัสทำลายเครื่อง คนที่วางงานไว้ที่ Desktop ก็บ่นกันระงมว่า
คนอื่น : ทำงี้ได้ไงอ่ะ ไฟล์ของฉันหายหมดเลยดิ
ผม : แล้ววางไฟล์ไว้ที่ไหน?
คู่สนทนา : วางไว้ที่ Desktop
ผม : แล้วไปวางไว้ที่ Desktop ทำไมเล่า ไม่ไว้ที่ไดรฟ์ D ล่ะ
คู่สนทนา : ไดรฟ์ D คืออะไร?
(อ่าว...เวรกรรม ไม่ดันไม่รู้จักว่าไดรฟ์ C, D, ... คืออะไรอีกน่ะ แล้วจะอธิบายยังไงฟะเนี่ยะ)
ผม : เอานี่..ดูตามเลยนะ เปิด My Computer ที่ Desktop ขึ้นมา... สังเกตนะ Local Disk (C: ) นี่เรียกว่าไดรฟ์ C เพราะมีระบุในวงเล็บว่า C: ส่วน Local Disk (D: ) นี่คือไดรฟ์ D
คู่สนทนา : แล้วมันต่างกันไง?
ผม : ไดรฟ์ C เป็นไดรฟ์ของระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งเวลาลงโปรแกรมทุกๆ อย่างจะมาอยู่ที่ไดรฟ์ C นี้หมดเลย พอเครื่องมีปัญหาแล้วต้องลงใหม่ ไดรฟ์ C นี่แหละ จะเป็นไดรฟ์ที่ถูกลบข้อมูลทิ้งแล้วลงใหม่ทั้งหมด
คู่สนทนา : อ๋อ ยังงี้นี่เอง... แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ Desktop ในเมื่อฉันวางไฟล์ไว้ที่ Desktop ไม่ได้วางไว้ที่ไดรฟ์ C ซะหน่อย แล้วมันจะหายไปได้อย่างไร?
ผม : Desktop มันเป็นส่วนหนึ่งของไดรฟ์ C ครับ
คู่สนทนา : เป็นส่วนหนึ่งยังไง ในเมื่อมันไม่ได้อยู่ใน My Computer ซะหน่อย
(จะอธิบายยังไงดีเนี่ยะ ...แล้วก็ครุ่นคิดอยู่ซักพัก)
ผม : มะ จะพิสูจน์ให้ดู โดยก็เข้าที่ My Computer > Local Disk (C: ) > Documents and Settings > All Users นี่ไง Desktop สังเกตนะ ไฟล์ที่ Desktop กับไฟล์ในโฟลเดอร์ Desktop นี้เป็นไฟล์เดียวกันเลยใช่ไหม?
คู่สนทนา : ใช่ ...อ๋อ งี้นี่เอง
ผม : เข้าใจแล้วนะ ...ผมบอกได้เลยว่า ไฟล์งานของผมยังอยู่ สังเกตนะผมสร้างไฟล์เอาไว้ก่อนที่จะมีติดตั้ง Windows ใหม่ซะอีกนะ เพราะผมลงไว้ที่ไดรฟ์ D ไฟล์ผมเลยรอด แต่ถ้าคนลงเครื่องเขาล้างไดรฟ์ D หรือทุกไดรฟ์ ผมก็คงรับชตากรรมไม่ต่างจากคุณนั่นแหละ
คู่สนทนา : เออ เนาะ ยังอยู่จริงๆ
ผม : นี่แหละข้อดีของการเอาไฟล์ไว้คนละไดรฟ์กับไดรฟ์ C จำไว้เลยว่า ไฟล์งานทุกอย่างไม่ควรเอาไว้ที่ไดรฟ์ C เป็นอันขาด ยกเว้นแต่เป็นไฟล์ชั่วคราวที่ไม่สำคัญอะไรเท่านั้น ส่วนไฟล์สำคัญก็เอาไว้ที่ไดรฟ์ D, E, ... ดีกว่า เวลาที่มีการติดตั้ง Windows ใหม่จะได้ไม่มีผลกระทบกับงาน หรือให้ดีที่สุดก็พก Flash Drive ติดตัวเอาไว้ด้วย แล้วเก็บงานส่วนตัวเอาไว้เลยดีกว่า
เกริ่นซะนาน เข้าเรื่องเลยละกัน
ตอนแรก โทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่ผมซื้อมานั้น กะว่าจะซื้อ Samsung GALAXY S II มือ 2 มาใช้ แต่คนที่ไปดูของที่กรุงเทพฯ มา เขาว่าไม่มี แต่มีมือ 1 ประมาณ 16,xxx ผมก็เลยบอกว่า เอามาเลยละกัน (จำได้แม่นเลยว่า ซื้อเมื่อ 5 มิ.ย. 2555 3 วันก่อนที่จะมีการเปิดตัว GALAXY S III) และแล้วผมก็ได้มาใช้งาน และผมก็ศึกษาการใช้งานหลักต่างๆ คร่าวๆ ในส่วนของ OS จนพรุน (ไม่ได้ศึกษาแอพฯ นะ) แล้วก็โอนภาพและวิดีโอคลิปที่ถ่ายในสถานที่ต่างๆ, เพลงต่างๆ จากเครื่องฟีเจอร์เครื่องเก่ามาไว้ที่เครื่องนี้ในการ์ด micro SD ทั้งหมด รวมถึงไฟล์เอกสารต่างๆ รูป Wallpaper ต่างๆ ก็เอามาไว้ที่การ์ด micro SD ด้วย (ที่ต้องเอาไว้ที่ micro SD เพราะผมมองเหมือนคอมพิวเตอร์ตรงที่ พื้นที่ Storage ภายในเครื่องโทรศัพท์ คือไดรฟ์ C ส่วน micro SD คือไดรฟ์ D กันเอาไว้เวลาที่ผมต้อง Factory Reset ไฟล์จะได้ไม่หาย และอีกอย่างก็คือ ไฟล์ที่เราใส่เข้าไปในโทรศัพท์ จะได้ไม่ไปแย่งพื้นที่ติดตั้งแอพฯ อีกด้วย)
แล้วก็ใช้งานมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะถ่ายภาพบรรยากาศของสถานที่และงานอีเวนต์ต่างๆ ไว้มากมาย จนมีความทรงจำดีเอาไว้ในการ์ด ส่วนหนึ่งผมได้แบ็คอัพไว้ที่คอมพิวเตอร์แล้ว แต่ก็มีภาพใหม่ที่ผมถ่ายแล้วไม่ได้แบ็คอัพก็มีอยู่นะ จนมาถึง...
ช่วงประมาณกลางธันวาคมปีที่แล้ว (2556) หลังจากที่ผมจะถอดเครื่องจากที่ชาร์จกลับบ้าน แล้วจะกดดูว่าแบตฯ ขึ้นไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้วนั้นเอง ก็ได้รู้ว่าเครื่องมีอาการผิดปกติขึ้น นั่นคือเปิดไม่ติดครับ... ผมก็เลยกด Power ค้างเพื่อฮาร์ดชัตดาวน์ แล้วลองเปิดใหม่ดู ก็มีอาการผิดปกติขึ้นอีก เพราะขึ้นหน้า Samsung GALAXY S II GT-I9100T ค้างไว้นานมาก ไม่ไปที่หน้าโลโก้ Samsung ต่อเลย ก็เลยปิดแล้วเปิดใหม่อีกรอบ ก็ยังเหมือนเดิมคือค้าง จนผมถอดใจแล้วไปที่บ้าน คราวนี้ลองเปิดต่ออีกที คราวนี้นิ่งสนิทเลยครับ เปิดไม่ติด!
และจากประสบการณ์ที่เคยอ่านในเว็บไซต์ต่างๆ เกี่ยวกับเครื่อง Samsung ดับใช้งานไม่ได้มาก่อน ก็ทำให้ผมพอจะตีความจากอาการได้ล่ะครับว่า "บอร์ดพัง" แน่ๆ แล้ว หลังจากที่ส่งศูนย์ไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นจริงที่คาดเอาไว้ สรุปก็ได้ให้พนักงานเปลี่ยบอร์ดใหม่ (4,265 บาท)
แล้วไฟล์ที่ผมเก็บเอาไว้ในเครื่องล่ะ ยังดีอยู่หรือเปล่า?
จะเหลือหรือครับ... เล่นมาพังแบบกะทันหันกันแบบนี้ ใครจะไปแบ็คอัพทัน
แต่ก็ยังดีครับ ที่ภาพถ่ายที่ผมถ่ายเล่นๆ ในโอกาสต่างๆ เอาไว้ เพื่อเป็นความทรงจำดีๆ ในเวลาที่อายุมากขึ้นนั้น ยังอยู่ดีทั้งหมด เนื่องจากผมได้เซ็ตให้มีการบันทึกเอาไว้ที่การ์ด micro SD ส่วนไฟล์เพลงต่างๆ เอกสารที่เก็บจากที่ทำงานต่างๆ หรืออะไรที่อยู่ในรูปแบบของตัวไฟล์ ยังคงอยู่ดีทั้งหมด
นี่ถ้าโทรศัพท์ที่ผมใช้ไม่มีที่ใส่การ์ดภายนอกนะ ผมคิดว่าไฟล์ภาพถ่ายทั้งหมด รวมถึงไฟล์อื่นๆ ทั้งหมดคงอันตธารหายไปทั้งหมดเป็นแน่ นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ผมขอยกเครดิตให้กับผู้ผลิตโทรศัพท์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ที่ทำช่องใส่การ์ด micro SD ไว้รองรับเป็นส่วนหนึ่งภายในตัวเครื่องด้วย (ถึงแม้เดี๋ยวนี้จะใช้การซิงค์ไฟล์ขึ้น Cloud ได้ แต่ก็ใช่ว่า Cloud จะดีไปซะหมด มันก็มีปัญหาเวลาไม่มีเน็ตหรือเน็ตเน่าได้เช่นกัน) และผมคิดว่าถ้าต้องซื้อเครื่องใหม่ครั้งต่อไป ผมก็จะดูช่องใส่การ์ด micro SD เป็นหลักก่อนอย่างแรกเลย ถ้าไม่มีผมก็ไม่สน ต่อให้เป็นรุ่นที่ดีเลิศประเสริฐศรีขนาดไหนก็ตาม ผมก็ของมองข้ามล่ะ ความปลอดภัยของไฟล์ สำหรับผมแล้วสำคัญกว่าตัวเครื่องซะอีก
การซิงค์โดยใช้ Cloud Storage ดีนะครับ แต่ผมจะซิงค์เฉพาะไฟล์และบางอย่างที่อยากซิงค์เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ในหลายๆ ครั้ง ผมไม่ต้องการซิงค์ ก็อุตส่าห์ซิงค์อีกน่ะ เปลือง Data 3G
++ ข้อดีของโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่รองรับการใส่การ์ด micro SD ภายนอกเพิ่มได้ ++
งานเข้าครับ คอมพิวเตอร์เจ้ากรรม ดันโดนไวรัส แล้วไม่ใช่ไวรัสธรรมดา เป็นไวรัสทำลายระบบคอมพิวเตอร์ซะด้วย หนักจนใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อีกต่อไปครับ ลักษณะคือ ไวรัสมันจะไปกันกินไฟล์ *.exe ทุกไฟล์ในเครื่องไปเรื่อยๆ (ไม่เว้นแม้กระทั่งไฟล์ Setup แต่ไฟล์ Setup ตัวใหญ่ๆ ระดับ 100MB+ ไม่เป็นอะไร) จุดสังเกตคือ ขนาดไฟล์มันน้อยกว่าปกติ เช่น จากเดิมไฟล์ EXE นั้นมีขนาด 3 MB จะเหลือ 1 MB กว่าๆ และภาพไอค่อนหาย สุดท้ายคือ ต้องติดตั้งใหม่สถานเดียวครับ
เรื่องติดตั้งใหม่นั้นไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ แต่ปัญหาคือ ไฟล์และโฟลเดอร์งานต่างๆ ที่วางระเกะระกะบน Desktop, My Documents มันจะอันตธารหายไปทั้งหมดด้วยนี่สิครับ พอคนอื่นมาใช้เครื่องก็มาถามผมว่า ไฟล์มันหายไปไหน ผมก็บอกไปว่ามีการติดตั้ง Windows ใหม่ เนื่องจากติดไวรัสทำลายเครื่อง คนที่วางงานไว้ที่ Desktop ก็บ่นกันระงมว่า
คนอื่น : ทำงี้ได้ไงอ่ะ ไฟล์ของฉันหายหมดเลยดิ
ผม : แล้ววางไฟล์ไว้ที่ไหน?
คู่สนทนา : วางไว้ที่ Desktop
ผม : แล้วไปวางไว้ที่ Desktop ทำไมเล่า ไม่ไว้ที่ไดรฟ์ D ล่ะ
คู่สนทนา : ไดรฟ์ D คืออะไร?
(อ่าว...เวรกรรม ไม่ดันไม่รู้จักว่าไดรฟ์ C, D, ... คืออะไรอีกน่ะ แล้วจะอธิบายยังไงฟะเนี่ยะ)
ผม : เอานี่..ดูตามเลยนะ เปิด My Computer ที่ Desktop ขึ้นมา... สังเกตนะ Local Disk (C: ) นี่เรียกว่าไดรฟ์ C เพราะมีระบุในวงเล็บว่า C: ส่วน Local Disk (D: ) นี่คือไดรฟ์ D
คู่สนทนา : แล้วมันต่างกันไง?
ผม : ไดรฟ์ C เป็นไดรฟ์ของระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งเวลาลงโปรแกรมทุกๆ อย่างจะมาอยู่ที่ไดรฟ์ C นี้หมดเลย พอเครื่องมีปัญหาแล้วต้องลงใหม่ ไดรฟ์ C นี่แหละ จะเป็นไดรฟ์ที่ถูกลบข้อมูลทิ้งแล้วลงใหม่ทั้งหมด
คู่สนทนา : อ๋อ ยังงี้นี่เอง... แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ Desktop ในเมื่อฉันวางไฟล์ไว้ที่ Desktop ไม่ได้วางไว้ที่ไดรฟ์ C ซะหน่อย แล้วมันจะหายไปได้อย่างไร?
ผม : Desktop มันเป็นส่วนหนึ่งของไดรฟ์ C ครับ
คู่สนทนา : เป็นส่วนหนึ่งยังไง ในเมื่อมันไม่ได้อยู่ใน My Computer ซะหน่อย
(จะอธิบายยังไงดีเนี่ยะ ...แล้วก็ครุ่นคิดอยู่ซักพัก)
ผม : มะ จะพิสูจน์ให้ดู โดยก็เข้าที่ My Computer > Local Disk (C: ) > Documents and Settings > All Users นี่ไง Desktop สังเกตนะ ไฟล์ที่ Desktop กับไฟล์ในโฟลเดอร์ Desktop นี้เป็นไฟล์เดียวกันเลยใช่ไหม?
คู่สนทนา : ใช่ ...อ๋อ งี้นี่เอง
ผม : เข้าใจแล้วนะ ...ผมบอกได้เลยว่า ไฟล์งานของผมยังอยู่ สังเกตนะผมสร้างไฟล์เอาไว้ก่อนที่จะมีติดตั้ง Windows ใหม่ซะอีกนะ เพราะผมลงไว้ที่ไดรฟ์ D ไฟล์ผมเลยรอด แต่ถ้าคนลงเครื่องเขาล้างไดรฟ์ D หรือทุกไดรฟ์ ผมก็คงรับชตากรรมไม่ต่างจากคุณนั่นแหละ
คู่สนทนา : เออ เนาะ ยังอยู่จริงๆ
ผม : นี่แหละข้อดีของการเอาไฟล์ไว้คนละไดรฟ์กับไดรฟ์ C จำไว้เลยว่า ไฟล์งานทุกอย่างไม่ควรเอาไว้ที่ไดรฟ์ C เป็นอันขาด ยกเว้นแต่เป็นไฟล์ชั่วคราวที่ไม่สำคัญอะไรเท่านั้น ส่วนไฟล์สำคัญก็เอาไว้ที่ไดรฟ์ D, E, ... ดีกว่า เวลาที่มีการติดตั้ง Windows ใหม่จะได้ไม่มีผลกระทบกับงาน หรือให้ดีที่สุดก็พก Flash Drive ติดตัวเอาไว้ด้วย แล้วเก็บงานส่วนตัวเอาไว้เลยดีกว่า
เกริ่นซะนาน เข้าเรื่องเลยละกัน
ตอนแรก โทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่ผมซื้อมานั้น กะว่าจะซื้อ Samsung GALAXY S II มือ 2 มาใช้ แต่คนที่ไปดูของที่กรุงเทพฯ มา เขาว่าไม่มี แต่มีมือ 1 ประมาณ 16,xxx ผมก็เลยบอกว่า เอามาเลยละกัน (จำได้แม่นเลยว่า ซื้อเมื่อ 5 มิ.ย. 2555 3 วันก่อนที่จะมีการเปิดตัว GALAXY S III) และแล้วผมก็ได้มาใช้งาน และผมก็ศึกษาการใช้งานหลักต่างๆ คร่าวๆ ในส่วนของ OS จนพรุน (ไม่ได้ศึกษาแอพฯ นะ) แล้วก็โอนภาพและวิดีโอคลิปที่ถ่ายในสถานที่ต่างๆ, เพลงต่างๆ จากเครื่องฟีเจอร์เครื่องเก่ามาไว้ที่เครื่องนี้ในการ์ด micro SD ทั้งหมด รวมถึงไฟล์เอกสารต่างๆ รูป Wallpaper ต่างๆ ก็เอามาไว้ที่การ์ด micro SD ด้วย (ที่ต้องเอาไว้ที่ micro SD เพราะผมมองเหมือนคอมพิวเตอร์ตรงที่ พื้นที่ Storage ภายในเครื่องโทรศัพท์ คือไดรฟ์ C ส่วน micro SD คือไดรฟ์ D กันเอาไว้เวลาที่ผมต้อง Factory Reset ไฟล์จะได้ไม่หาย และอีกอย่างก็คือ ไฟล์ที่เราใส่เข้าไปในโทรศัพท์ จะได้ไม่ไปแย่งพื้นที่ติดตั้งแอพฯ อีกด้วย)
แล้วก็ใช้งานมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะถ่ายภาพบรรยากาศของสถานที่และงานอีเวนต์ต่างๆ ไว้มากมาย จนมีความทรงจำดีเอาไว้ในการ์ด ส่วนหนึ่งผมได้แบ็คอัพไว้ที่คอมพิวเตอร์แล้ว แต่ก็มีภาพใหม่ที่ผมถ่ายแล้วไม่ได้แบ็คอัพก็มีอยู่นะ จนมาถึง...
ช่วงประมาณกลางธันวาคมปีที่แล้ว (2556) หลังจากที่ผมจะถอดเครื่องจากที่ชาร์จกลับบ้าน แล้วจะกดดูว่าแบตฯ ขึ้นไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้วนั้นเอง ก็ได้รู้ว่าเครื่องมีอาการผิดปกติขึ้น นั่นคือเปิดไม่ติดครับ... ผมก็เลยกด Power ค้างเพื่อฮาร์ดชัตดาวน์ แล้วลองเปิดใหม่ดู ก็มีอาการผิดปกติขึ้นอีก เพราะขึ้นหน้า Samsung GALAXY S II GT-I9100T ค้างไว้นานมาก ไม่ไปที่หน้าโลโก้ Samsung ต่อเลย ก็เลยปิดแล้วเปิดใหม่อีกรอบ ก็ยังเหมือนเดิมคือค้าง จนผมถอดใจแล้วไปที่บ้าน คราวนี้ลองเปิดต่ออีกที คราวนี้นิ่งสนิทเลยครับ เปิดไม่ติด!
และจากประสบการณ์ที่เคยอ่านในเว็บไซต์ต่างๆ เกี่ยวกับเครื่อง Samsung ดับใช้งานไม่ได้มาก่อน ก็ทำให้ผมพอจะตีความจากอาการได้ล่ะครับว่า "บอร์ดพัง" แน่ๆ แล้ว หลังจากที่ส่งศูนย์ไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นจริงที่คาดเอาไว้ สรุปก็ได้ให้พนักงานเปลี่ยบอร์ดใหม่ (4,265 บาท)
แล้วไฟล์ที่ผมเก็บเอาไว้ในเครื่องล่ะ ยังดีอยู่หรือเปล่า?
จะเหลือหรือครับ... เล่นมาพังแบบกะทันหันกันแบบนี้ ใครจะไปแบ็คอัพทัน
แต่ก็ยังดีครับ ที่ภาพถ่ายที่ผมถ่ายเล่นๆ ในโอกาสต่างๆ เอาไว้ เพื่อเป็นความทรงจำดีๆ ในเวลาที่อายุมากขึ้นนั้น ยังอยู่ดีทั้งหมด เนื่องจากผมได้เซ็ตให้มีการบันทึกเอาไว้ที่การ์ด micro SD ส่วนไฟล์เพลงต่างๆ เอกสารที่เก็บจากที่ทำงานต่างๆ หรืออะไรที่อยู่ในรูปแบบของตัวไฟล์ ยังคงอยู่ดีทั้งหมด
นี่ถ้าโทรศัพท์ที่ผมใช้ไม่มีที่ใส่การ์ดภายนอกนะ ผมคิดว่าไฟล์ภาพถ่ายทั้งหมด รวมถึงไฟล์อื่นๆ ทั้งหมดคงอันตธารหายไปทั้งหมดเป็นแน่ นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ผมขอยกเครดิตให้กับผู้ผลิตโทรศัพท์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ที่ทำช่องใส่การ์ด micro SD ไว้รองรับเป็นส่วนหนึ่งภายในตัวเครื่องด้วย (ถึงแม้เดี๋ยวนี้จะใช้การซิงค์ไฟล์ขึ้น Cloud ได้ แต่ก็ใช่ว่า Cloud จะดีไปซะหมด มันก็มีปัญหาเวลาไม่มีเน็ตหรือเน็ตเน่าได้เช่นกัน) และผมคิดว่าถ้าต้องซื้อเครื่องใหม่ครั้งต่อไป ผมก็จะดูช่องใส่การ์ด micro SD เป็นหลักก่อนอย่างแรกเลย ถ้าไม่มีผมก็ไม่สน ต่อให้เป็นรุ่นที่ดีเลิศประเสริฐศรีขนาดไหนก็ตาม ผมก็ของมองข้ามล่ะ ความปลอดภัยของไฟล์ สำหรับผมแล้วสำคัญกว่าตัวเครื่องซะอีก
การซิงค์โดยใช้ Cloud Storage ดีนะครับ แต่ผมจะซิงค์เฉพาะไฟล์และบางอย่างที่อยากซิงค์เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ในหลายๆ ครั้ง ผมไม่ต้องการซิงค์ ก็อุตส่าห์ซิงค์อีกน่ะ เปลือง Data 3G