[CR]สะพายกล้องท่องเที่ยว#31 โลกนี้สีชมพู ที่ขุนช่างเคี่ยน เชียงใหม่

ในช่วงเดือนมกราคาของทุกปี เป็นช่วงที่ ซากุระเมืองไทย หรือต้นนางพญาเสือโคร่งออกดอก และนักท่องเที่ยวจะนิยมไปชมกันเป็นประจำ วันนี้ สะพายกล้องท่องเที่ยวก้อขอเก็บภาพมาฝากเพื่อนๆกันอีกเช่นเคยครับ โดยเราจะไปชมกัยที่ ขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ มาพบกับโลกสีชมพูกันครับ



ขุนช่างเคี่ยน หรือสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่   ตั้งอยู่ใน เส้นทางเดียวกับ พระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเศน์ และบ้านม้งดอยปุย สถานีเกษตรที่สูง ขุนช่างเคี่ยนเป็น 1 สถานี เกษตรฯ ของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับ เมล็ด พันธุ์กาแฟ  ไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ พลับ บ๊วย พลัม อะโวกาโด มะคาเดเมีย และไม้ผลกึ่งร้อน ได้แก่ ลิ้นจี่ และในทุกๆปีของหน้าหนาวช่วงปลายธ.ค-ม.ค. ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทย สีชมพู สดจะบานสะพรั่งอวดความงามไปทั่วบริเวณสถานีวิจัยและศูนย์ฝึก อบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน หมู่บ้านชาวม้ง บ้าน ขุนช่างเคี่ยนเต็มไปด้วยสีชมพูของต้นนางพญาเสือโคร่งขึ้นอยู่มาก ทั้งตามข้างทางถึงในหมู่บ้าน

เปิดกันด้วยภาพวิวเมืองเชียงใหม่ เมื่อมองลงมาจากยอดดอยครับ











ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยที่ขุนช่างเคี่ยนนั้นมีลักษณะเป็นดงอยู่รวมกันสีของซากุระนั้นบานเป็นสีชมพูสดใส แถมบางช่วงยังบาน แทรกตัวอยู่ในบ้านพัก ดูแล้วมีชีวิตชีวาน่ายลยิ่งนัก ขุนช่างเคี่ยนถือเป็นแหล่งชมดอกพญาเสือโคร่งที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มากที่สุดซึ่งใน แต่ละปีจะ มีนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นทุกปีเพราะดงดอกซากุระดอยที่ขุนช่างเคี่ยนมีความสวยงามไม่แพ้ใคร











นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides[3], อังกฤษ: Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนดอยสูง เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา และมณีพฤกษ์[4] จังหวัดน่าน โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระ แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม

ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม











นางพญาเสือโคร่งและซากุระ
คำว่า ซากุระกล่าวถึงพืชที่อยู่ในสกุล Prunus โดยนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในสกุลนั้น โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus cerasoides[3] ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นมีซากุระอยู่หลากหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่พบมากสุดคือ โซะเมโยะชิโนะ (ญี่ปุ่น: 染井吉野 somei-yoshino ?) ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus × oensis

นางพญาเสือโคร่งแตกต่างจากซะกุระญี่ปุ่น คือมีช่วงเวลาการออกดอกต่างกันคือ นางพญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซากุระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น และมีการสันนิษฐานว่า นางพญาเสือโคร่งและซากุระมีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีน และวิวัฒนาการออกไปจนมีสายพันธุ์มากมาย มีสีที่หลากหลาย













สะพายกล้องท่องเที่ยวตอนเก่าๆ

ตอน31 ดำดิ่งสู่ใต้ท้องทะเลที่บึงฉวาก
http://ppantip.com/topic/31163111
ตอน30 พักผ่อนกันเป็นก๊วนที่ Bali Heights พัทยา
http://ppantip.com/topic/30641459
ตอน29 แวะทานร้านอร่อยที่เมืองกาญ ร้านครัวธรรมชาติ
http://ppantip.com/topic/30533090
ตอน28 พักผ่อนริมแม่น้ำแคว ที่ Sai Yok View Raft กาญจนบุรี
http://ppantip.com/topic/30478236
ตอน27 อลังการ งดงาม และวิจิตร กับปฏิมากรรมกวนเกษียรสมุทร สนามบินสุวรรณภูมิ
http://ppantip.com/topic/30347934

ติดตามผลงานได้ที่
http://www.facebook.com/voravuds
http://www.facebook.com/voravudstudio
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่