ผมเคยสรุปไว้ว่า (ซึ่งมันไม่ถูกทั้งหมด คนไทยอ่านหนังสือให้เกิน3บรรทัดหน่อยเถอะครับ = ='')
Apple หา Hardware software ออกมาลงตัว Androidมันดึงความสามารถของhardwareออกมาได้ไม่เท่า ios
และAndroid กินทรัพยากรมากกว่า ประสิทธิภาพการทำงานเลยต่ำกว่า ios
Androidจึงต้องอัด spec สูงๆเพื่อให้ทำงานได้ราบลื่น แตกต่างจาก ios ที่ใช้เพียงแค่ dual core 1.3GHz ประสิทธิภาพก็เทียบเท่า Snapdragon 800 Quad Core 2.3GHz /Octa Core 1.9GHz
แต่ที่ทาง Apple ไม่อัด Snapdragon 800 Quad Core 2.3GHz ใส่ใน ios เพราะมันเกินความจำเป็น ณ ปัจจุบัน และ Battery ของ iphone มันน้อย
แสดงว่า ณ ปัจจุบันนี้ที่ smartphone หลายๆแบรนด์ ทำเครื่องใหญ่ๆแบตใหญ่ๆเพราะต้องการที่จะใช้ Quad Core แรงๆ ผมเข้าใจถูกใช่ไหม ?
แล้วชิพ A7 64bit(เจ้าแรกของโลก?) ของ Apple มันทำอะไรได้หรอครับ เห็นบอกว่าแรงกว่า iphone 5 2เท่าแหน่ะ ?
และคำตอบจากสมาชิกท่านหนึ่งทำให้ผมรู้แจ้งเห็นธรรม
ที่ว่าแอนดรอยกินทรัพยากรระบบมากกว่า และมีประสิทธิภาพต่ำกว่า เนื่องมาจากแนวคิดในการออกแบบระบบปฎิบัติการครับ แอนดรอยโอเอสมีแนวคิดที่ว่าทำระบบออกมาโดยไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์ม จะเป็น ARM Architechture ก็ได้ X86 Architecture ก็ได้ คือทำออกมาเพื่อให้รองรับฮาร์ดแวร์ที่หลากหลาย มุ่งเป้าที่จะเป็นโอเอสมหาชน ที่โทรศัพท์ยี่ห้ออะไรรุ่นอะไรก็เอาไปใช้ได้ ดังนั้นหลักการของมันก็คือการที่ทำให้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ รันบน Virtual machine อีกทีหนึ่ง (เจ้าดาร์วิกที่หลายคนรู้จักนั่นไง) ซึ่งแนวคิดนี้ ตอบโจทย์เรื่องความเข้ากันได้ของระบบ คือจะเอาแอนดรอยไปลงเครื่องฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์มอะไรก็ได้จริง แต่การรันบน VM นั้นทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานฮาร์ดแวร์เครื่องได้เต็มประสิทธิภาพเช่นกัน ส่วนแอปเปิ้ลนั้นคิดเองทำเองทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟแวร์ เป็นระบบปิด โปรแกรมต่างๆ ถูกคอมไฟล์โค๊ดมาให้ทำงานบนฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์มของแอปเปิ้ลเท่านั้น เรียกว่าเป็น Native App ไม่ต้องมีตัวกลาง ไม่ต้องรันผ่าน VM มันถึงมีความเข้ากันได้สูงกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่า ทำงานได้เร็วกว่าไงครับ
ในส่วนของการกินทรัพยากรระบบ แอนดรอยมีพื้นฐานมาจากลีนุ๊กซ์ เป็นมัลติทาร์กกิ้งโอเอสของแท้มาแต่แรก ทุกแอพที่เราเปิดใช้งาน ตราบใดที่ยังไม่ Close task มันจะยังทำงานอยู่ในระบบ ไม่ว่าจะอยู่หน้าฉากหลังฉากก็ตาม (บางตัวยังไม่ได้เรียกใช้ยังแอบทำงานเลยด้วยซ้ำ โดยการทำงานเงียบๆ อยู่เบื้องหลังรอไว้ก่อน เวลาเรียกใช้จะได้พร้อมขึ้นมาโชว์บนหน้าฉากทันที) แนวคิดนี้ทำให้มันต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากในการรันโปรแกรมต่างๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง รวมถึงมีการเรียกใช้ซีพียูเพื่อประมวลผลโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ด้วย (เหมือนพีซีเรานั่นแหละครับ เห็นเครื่องเราโล่งๆ ยังไม่ได้เปิดโปรแกรมอะไร ลองเปิด Task manager ดูสิครับ คุณจะเห็นว่ามีโปรเซส/เซอร์วิสจำนวนมากกำลังทำงานอยู่เงียบๆ โดยที่คุณไม่รู้นั่นแหละ) ในขณะที่ IOS พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นโอเอสสมาร์ทโฟนโดยตรง จึงมีการออกแบบที่เอื้อต่อการใช้งานในแบบสมาร์ทโฟนมากกว่า อย่างเช่น โปรเซสการเรนเดอร์หน้าจอ จะถือเป็นโปรเซสหลักที่มี Priority สูงสุด ต้องเกณฑ์ซีพียูไปทำก่อนเสมอ ทำให้การควบคุม การสัมผัสเป็นไปอย่างรวดเร็ว เรียบลื่น สั่งได้ดังใจ หรือการรันโปรแกรม โปรแกรมที่เป็นตัวหลัก ถ้าถูกเรียกขึ้นมา ตัวอื่นๆ ที่ทำงานก่อนหน้าจะถูกฟรีซเอาไว้ก่อน (คือหยุดทำงานชั่วคราว) เพื่อให้โปรแกรมที่ Active อยู่ทำงานก่อน (ยกเว้นแอพบางประเภท อย่างพวกแอพเล่นเพลง เป็นต้น) ทำให้มันกินทรัพยากร ทั้งซีพียูและหน่วยความจำน้อยกว่า ทำงานได้เร็วกว่าครับ
ส่วน A7 นั้นเป็นไม้ตายของทางแอปเปิ้ลครับ ซีพียู 64 บิทนั้นมีข้อดีอยู่ที่การอ้างถึงหน่วยความจำที่ทำได้มากกว่าซีพียู 32 บิท เพราะซีพียู 32 บิทมองเห็นหน่วยความจำได้สูงสุดแค่ 4 GB เท่านั้น(2^32 = 4 GB) แต่จริงๆ มันยังไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่กับตลาดมือถือตอนนี้หรอกครับ เพราะแรมเครื่องสูงสุดตอนนี้คือ 3GB อยู่ แต่ในอนาคตอันใกล้ ไม่แน่.. แล้วก็ซีพียู 64 บิทจะมี Register ขนาด 64 บิท ซึ่งเวลามันประมวลผลแอฟ 64 บิท มันจะสามารถโหลดข้อมูล/คำสั่งเข้าไปได้มากกว่าซีพียู 32 บิท ทำให้มันประมวลผลคำสั่งในแต่ละรอบนาฬิกาได้มากกว่าด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น ซีพียู 64 บิทจะแสดงประสิทธิภาพสูงสุดของมันออกมา ถ้ามันถูกใช้งานบนโอเอส 64 บิท และประมวลผลโปรแกรมแบบ 64 บิทเช่นเดียวกัน .. ด้วยเหตุนี้แอปเปิ้ลจึงรีบดัน IOS 7 ที่เป็นโอเอส 64 บิทออกมาไงครับ (แม้ว่าจะรีบเกินไปหน่อยก็เถอะ) เพื่อเป็นการชิงความได้เปรียบ ข่มคู่ต่อสู้ไปพลางๆ รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาด และบีบให้ผู้พัฒนาโปรแกรมทำโปรแกรม 64 บิทออกมาด้วย ซึ่งก็ได้ผลดี เพราะทั้ง google บริษัทผลิตซีพียูอย่างพวก Qualcomm หรือค่ายมือถืออย่าง Samsung ออกอาการไปตามๆ กัน เพราะแอปเปิ้ลทำเองทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ โปรดักซ์ที่ผลิตก็มีไม่กี่ตัว จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ทำได้ง่าย แต่ฝั่งแอนดรอยทำอย่างนั้นลำบาก ถึงซัมซุงจะออกมาแก้เกี้ยวว่าสมาร์ทโฟนเรือธงตัวใหม่ จะมาพร้อมซีพียู 64 บิทแน่นอน แต่มันก็เท่านั้นละครับ ตราบใดที่แอนดรอย ยังเป็นโอเอส 32 บิทอยู่ การออกซีพียู 64 บิทออกมามันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรหรอก ทาง Google เองก็ต้องประเมินผลกระทบในการออกโอเอส 64 บิทออกมาด้วย เพราะตลาดตัวเองกว้างกว่ามาก และมือถือแอนดรอยทั้งหมดในท้องตลาดตอนนี้ก็ใช้ซีพียู 32 บิทด้วย ถ้ารีบออกมาจะกระทบต่อความเข้ากันได้ของระบบและเสถียรภาพในการทำงานแน่นอน (ขนาดของแอปเปิ้ลยังเจอเลยครับ ที่เครื่องรุ่นเก่าๆ ที่เก่ากว่า 5S รัน IOS 7 แล้วอืด/แฮงค์ ค้างบ่อยนั่นแหละ แต่ในกรณีแอนดรอยมันจะแรงกว่านั้นเยอะ เพราะฮาร์ดแวร์มันหลากหลายยิ่งกว่า) ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของฝั่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์/ซอฟแวร์แอนดรอยเลยครับ ซึ่งกว่าจะแก้โจทย์ได้ ปล่อยออกมาได้จริง ฝั่งแอปเปิ้ลคงตีกินไปได้ไกลแล้วล่ะครับ ^^"
Credit.คุณ plankton ขออนุญาติด้วยนะครับ
Update วันนี้จะมาเคลียร์ปัญหาข้อคล่องใจหลายๆคน 21/1/2557
Android กับ ios แตกต่างกันอย่างไร ?? คำตอบคือมันแตกต่างกันที่
"ระบบ" มีทั้ง
จุดเด่นและความแตกต่าง
ดังนั้นการเลือกมือถือไม่ได้เลือกเพียงแค่
Specเท่านั้น แต่เป็นการเลือกระบบที่ใช้ว่าเหมาะสมกับเรามากแค่ไหน ถามว่าอันไหนดีกว่า?? มันก็ดีทั้งคู่หน่ะแหละ
วันนี้ก็มีตัวอย่างมาให้อ่านได้ดูกันนะครับ
ทำไม ANDROID ถึงไม่ลื่นเท่า IOS ทั้งๆ ที่สเปคแรงกว่า แรมมากกว่า
เคยได้ยินไหมว่า Mutitasking บน iOS คืองานที่ไม่มีอยู่จริง ไอโอเอสจะสละบางอย่างเพื่อให้ผลลัพธ์ของงานออกมาดีที่สุด นั่นคืองาน Mutitasking แกนของระบบ iOS จะไม่มีการประมวลผลพื้นหลังเด็ดขาด แต่
ไม่ใช่ว่าจะปิดแอพฯ เหล่านั้น
ระบบจะทำการแช่แข็งแอพฯ เพื่อรอการเรียกใช้งานต่อไป ในขณะที่แอนดรอยด์ทำงาน MutiTasking เหมือนคอมพิวเตอร์ทุกงานที่ผู้ใช้เรียกใช้งานอยู่เมื่อผู้ใช้สลับแอพฯ
แอพฯเหล่านั้นจะมีการทำงานพื้นหลัง ซึ่งทำให้กินแรมซึ่งความแตกต่างในจุดนี้ทำให้แอนดรอยกินแรมและแบตเตอร์รี่มาก จนผู้ใช้สมาร์ทโฟนราคาประหยัด ต้องโหลด Taskkiller มากันเลยที่เดียว ส่วน iOS จะทุ่มหยากเหงื่อแรงกายทั้งหมดเพื่องานที่ผู้ใช้กำลังเรียกใช้งานอยู่ จึงทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีกว่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าตอนนี้มีผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแอนดรอยเอาสเปค เอาความจุแรมมาแข่งกันในตลาด และ iOS ไม่จำเป็นต้องยัดแรมจำนวนมาก มาใส่ในโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ
Credit.รูปภาพ
http://makky.in.th/ และเนื้อหา
http://programsdd.wordpress.com/
Review
Android 4.4.1 Snapdragon 800 Quad-Core 2.3GHz vs Ios 7.04 Dual-Core 1.3GHz Limited Edition A7 (64-bit)
Speed Test
Android 4.4.2 kitkat Snapdragon 800 Quad-Core 2.3GHz vs Ios 7.04 Dual-Core 1.3GHz Limited Edition A7 (64-bit)
Game
ผมเอา Android vs ios รุ่น Top มาReviewให้ดูเลยก็คือ Snapdragon 800 Quad-Core 2.3GHz น่าจะแรงสุด ณ ปัจจุบัน
ดูๆแล้วเปรียบเทียบกันก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งSpeed Test ทั้ง Game
สุดท้ายแล้วก็แล้วแต่สาวกแต่ละระบบปฏิบัติการจะพิจารณานะครับ
Android ส่วนตัวนะผมคิดว่า แรง เร็ว คุ้มค่าคุ้มราคา ก็คงเป็น Lg Nexus 5/G2/ Snapdragon 800 Quad-Core 2.3GHz
และ Samsung Note3 LTE
ios ก็5sแหละ Dual-Core 1.3GHz Limited Edition A7 (64-bit)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ไม่อยากคิดเมื่อ Apple ยัด Quad-Core ลง Iphone ฮี่ๆ ถ้าแบตยังขนาดนี้อยู่ผลก็คือ สูบแบตไงหละฮ๊ะ !!
สรุปสุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับผู้ใช้เอง
ดูงบมากน้อยแค่ไหน
อยากใช้ระบบปฏิบัติการแบบไหน Android ios
หน้าจอขนาดไหน
ยี่ห้ออะไร
หมดข้อสงสัยเสียที !! กับSmartphone ระบบปฏิบัติการ ios android
Apple หา Hardware software ออกมาลงตัว Androidมันดึงความสามารถของhardwareออกมาได้ไม่เท่า ios
และAndroid กินทรัพยากรมากกว่า ประสิทธิภาพการทำงานเลยต่ำกว่า ios
Androidจึงต้องอัด spec สูงๆเพื่อให้ทำงานได้ราบลื่น แตกต่างจาก ios ที่ใช้เพียงแค่ dual core 1.3GHz ประสิทธิภาพก็เทียบเท่า Snapdragon 800 Quad Core 2.3GHz /Octa Core 1.9GHz
แต่ที่ทาง Apple ไม่อัด Snapdragon 800 Quad Core 2.3GHz ใส่ใน ios เพราะมันเกินความจำเป็น ณ ปัจจุบัน และ Battery ของ iphone มันน้อย
แสดงว่า ณ ปัจจุบันนี้ที่ smartphone หลายๆแบรนด์ ทำเครื่องใหญ่ๆแบตใหญ่ๆเพราะต้องการที่จะใช้ Quad Core แรงๆ ผมเข้าใจถูกใช่ไหม ?
แล้วชิพ A7 64bit(เจ้าแรกของโลก?) ของ Apple มันทำอะไรได้หรอครับ เห็นบอกว่าแรงกว่า iphone 5 2เท่าแหน่ะ ?
และคำตอบจากสมาชิกท่านหนึ่งทำให้ผมรู้แจ้งเห็นธรรม
ที่ว่าแอนดรอยกินทรัพยากรระบบมากกว่า และมีประสิทธิภาพต่ำกว่า เนื่องมาจากแนวคิดในการออกแบบระบบปฎิบัติการครับ แอนดรอยโอเอสมีแนวคิดที่ว่าทำระบบออกมาโดยไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์ม จะเป็น ARM Architechture ก็ได้ X86 Architecture ก็ได้ คือทำออกมาเพื่อให้รองรับฮาร์ดแวร์ที่หลากหลาย มุ่งเป้าที่จะเป็นโอเอสมหาชน ที่โทรศัพท์ยี่ห้ออะไรรุ่นอะไรก็เอาไปใช้ได้ ดังนั้นหลักการของมันก็คือการที่ทำให้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ รันบน Virtual machine อีกทีหนึ่ง (เจ้าดาร์วิกที่หลายคนรู้จักนั่นไง) ซึ่งแนวคิดนี้ ตอบโจทย์เรื่องความเข้ากันได้ของระบบ คือจะเอาแอนดรอยไปลงเครื่องฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์มอะไรก็ได้จริง แต่การรันบน VM นั้นทำให้ระบบไม่สามารถใช้งานฮาร์ดแวร์เครื่องได้เต็มประสิทธิภาพเช่นกัน ส่วนแอปเปิ้ลนั้นคิดเองทำเองทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟแวร์ เป็นระบบปิด โปรแกรมต่างๆ ถูกคอมไฟล์โค๊ดมาให้ทำงานบนฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์มของแอปเปิ้ลเท่านั้น เรียกว่าเป็น Native App ไม่ต้องมีตัวกลาง ไม่ต้องรันผ่าน VM มันถึงมีความเข้ากันได้สูงกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่า ทำงานได้เร็วกว่าไงครับ
ในส่วนของการกินทรัพยากรระบบ แอนดรอยมีพื้นฐานมาจากลีนุ๊กซ์ เป็นมัลติทาร์กกิ้งโอเอสของแท้มาแต่แรก ทุกแอพที่เราเปิดใช้งาน ตราบใดที่ยังไม่ Close task มันจะยังทำงานอยู่ในระบบ ไม่ว่าจะอยู่หน้าฉากหลังฉากก็ตาม (บางตัวยังไม่ได้เรียกใช้ยังแอบทำงานเลยด้วยซ้ำ โดยการทำงานเงียบๆ อยู่เบื้องหลังรอไว้ก่อน เวลาเรียกใช้จะได้พร้อมขึ้นมาโชว์บนหน้าฉากทันที) แนวคิดนี้ทำให้มันต้องใช้หน่วยความจำจำนวนมากในการรันโปรแกรมต่างๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง รวมถึงมีการเรียกใช้ซีพียูเพื่อประมวลผลโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ด้วย (เหมือนพีซีเรานั่นแหละครับ เห็นเครื่องเราโล่งๆ ยังไม่ได้เปิดโปรแกรมอะไร ลองเปิด Task manager ดูสิครับ คุณจะเห็นว่ามีโปรเซส/เซอร์วิสจำนวนมากกำลังทำงานอยู่เงียบๆ โดยที่คุณไม่รู้นั่นแหละ) ในขณะที่ IOS พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นโอเอสสมาร์ทโฟนโดยตรง จึงมีการออกแบบที่เอื้อต่อการใช้งานในแบบสมาร์ทโฟนมากกว่า อย่างเช่น โปรเซสการเรนเดอร์หน้าจอ จะถือเป็นโปรเซสหลักที่มี Priority สูงสุด ต้องเกณฑ์ซีพียูไปทำก่อนเสมอ ทำให้การควบคุม การสัมผัสเป็นไปอย่างรวดเร็ว เรียบลื่น สั่งได้ดังใจ หรือการรันโปรแกรม โปรแกรมที่เป็นตัวหลัก ถ้าถูกเรียกขึ้นมา ตัวอื่นๆ ที่ทำงานก่อนหน้าจะถูกฟรีซเอาไว้ก่อน (คือหยุดทำงานชั่วคราว) เพื่อให้โปรแกรมที่ Active อยู่ทำงานก่อน (ยกเว้นแอพบางประเภท อย่างพวกแอพเล่นเพลง เป็นต้น) ทำให้มันกินทรัพยากร ทั้งซีพียูและหน่วยความจำน้อยกว่า ทำงานได้เร็วกว่าครับ
ส่วน A7 นั้นเป็นไม้ตายของทางแอปเปิ้ลครับ ซีพียู 64 บิทนั้นมีข้อดีอยู่ที่การอ้างถึงหน่วยความจำที่ทำได้มากกว่าซีพียู 32 บิท เพราะซีพียู 32 บิทมองเห็นหน่วยความจำได้สูงสุดแค่ 4 GB เท่านั้น(2^32 = 4 GB) แต่จริงๆ มันยังไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่กับตลาดมือถือตอนนี้หรอกครับ เพราะแรมเครื่องสูงสุดตอนนี้คือ 3GB อยู่ แต่ในอนาคตอันใกล้ ไม่แน่.. แล้วก็ซีพียู 64 บิทจะมี Register ขนาด 64 บิท ซึ่งเวลามันประมวลผลแอฟ 64 บิท มันจะสามารถโหลดข้อมูล/คำสั่งเข้าไปได้มากกว่าซีพียู 32 บิท ทำให้มันประมวลผลคำสั่งในแต่ละรอบนาฬิกาได้มากกว่าด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น ซีพียู 64 บิทจะแสดงประสิทธิภาพสูงสุดของมันออกมา ถ้ามันถูกใช้งานบนโอเอส 64 บิท และประมวลผลโปรแกรมแบบ 64 บิทเช่นเดียวกัน .. ด้วยเหตุนี้แอปเปิ้ลจึงรีบดัน IOS 7 ที่เป็นโอเอส 64 บิทออกมาไงครับ (แม้ว่าจะรีบเกินไปหน่อยก็เถอะ) เพื่อเป็นการชิงความได้เปรียบ ข่มคู่ต่อสู้ไปพลางๆ รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาด และบีบให้ผู้พัฒนาโปรแกรมทำโปรแกรม 64 บิทออกมาด้วย ซึ่งก็ได้ผลดี เพราะทั้ง google บริษัทผลิตซีพียูอย่างพวก Qualcomm หรือค่ายมือถืออย่าง Samsung ออกอาการไปตามๆ กัน เพราะแอปเปิ้ลทำเองทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ โปรดักซ์ที่ผลิตก็มีไม่กี่ตัว จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ทำได้ง่าย แต่ฝั่งแอนดรอยทำอย่างนั้นลำบาก ถึงซัมซุงจะออกมาแก้เกี้ยวว่าสมาร์ทโฟนเรือธงตัวใหม่ จะมาพร้อมซีพียู 64 บิทแน่นอน แต่มันก็เท่านั้นละครับ ตราบใดที่แอนดรอย ยังเป็นโอเอส 32 บิทอยู่ การออกซีพียู 64 บิทออกมามันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรหรอก ทาง Google เองก็ต้องประเมินผลกระทบในการออกโอเอส 64 บิทออกมาด้วย เพราะตลาดตัวเองกว้างกว่ามาก และมือถือแอนดรอยทั้งหมดในท้องตลาดตอนนี้ก็ใช้ซีพียู 32 บิทด้วย ถ้ารีบออกมาจะกระทบต่อความเข้ากันได้ของระบบและเสถียรภาพในการทำงานแน่นอน (ขนาดของแอปเปิ้ลยังเจอเลยครับ ที่เครื่องรุ่นเก่าๆ ที่เก่ากว่า 5S รัน IOS 7 แล้วอืด/แฮงค์ ค้างบ่อยนั่นแหละ แต่ในกรณีแอนดรอยมันจะแรงกว่านั้นเยอะ เพราะฮาร์ดแวร์มันหลากหลายยิ่งกว่า) ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของฝั่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์/ซอฟแวร์แอนดรอยเลยครับ ซึ่งกว่าจะแก้โจทย์ได้ ปล่อยออกมาได้จริง ฝั่งแอปเปิ้ลคงตีกินไปได้ไกลแล้วล่ะครับ ^^"
Credit.คุณ plankton ขออนุญาติด้วยนะครับ
Android กับ ios แตกต่างกันอย่างไร ?? คำตอบคือมันแตกต่างกันที่ "ระบบ" มีทั้งจุดเด่นและความแตกต่าง
ดังนั้นการเลือกมือถือไม่ได้เลือกเพียงแค่Specเท่านั้น แต่เป็นการเลือกระบบที่ใช้ว่าเหมาะสมกับเรามากแค่ไหน ถามว่าอันไหนดีกว่า?? มันก็ดีทั้งคู่หน่ะแหละ
วันนี้ก็มีตัวอย่างมาให้อ่านได้ดูกันนะครับ
เคยได้ยินไหมว่า Mutitasking บน iOS คืองานที่ไม่มีอยู่จริง ไอโอเอสจะสละบางอย่างเพื่อให้ผลลัพธ์ของงานออกมาดีที่สุด นั่นคืองาน Mutitasking แกนของระบบ iOS จะไม่มีการประมวลผลพื้นหลังเด็ดขาด แต่ไม่ใช่ว่าจะปิดแอพฯ เหล่านั้นระบบจะทำการแช่แข็งแอพฯ เพื่อรอการเรียกใช้งานต่อไป ในขณะที่แอนดรอยด์ทำงาน MutiTasking เหมือนคอมพิวเตอร์ทุกงานที่ผู้ใช้เรียกใช้งานอยู่เมื่อผู้ใช้สลับแอพฯ แอพฯเหล่านั้นจะมีการทำงานพื้นหลัง ซึ่งทำให้กินแรมซึ่งความแตกต่างในจุดนี้ทำให้แอนดรอยกินแรมและแบตเตอร์รี่มาก จนผู้ใช้สมาร์ทโฟนราคาประหยัด ต้องโหลด Taskkiller มากันเลยที่เดียว ส่วน iOS จะทุ่มหยากเหงื่อแรงกายทั้งหมดเพื่องานที่ผู้ใช้กำลังเรียกใช้งานอยู่ จึงทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีกว่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าตอนนี้มีผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือแอนดรอยเอาสเปค เอาความจุแรมมาแข่งกันในตลาด และ iOS ไม่จำเป็นต้องยัดแรมจำนวนมาก มาใส่ในโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ
Credit.รูปภาพ http://makky.in.th/ และเนื้อหา http://programsdd.wordpress.com/
ผมเอา Android vs ios รุ่น Top มาReviewให้ดูเลยก็คือ Snapdragon 800 Quad-Core 2.3GHz น่าจะแรงสุด ณ ปัจจุบัน
ดูๆแล้วเปรียบเทียบกันก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งSpeed Test ทั้ง Game
สุดท้ายแล้วก็แล้วแต่สาวกแต่ละระบบปฏิบัติการจะพิจารณานะครับ
Android ส่วนตัวนะผมคิดว่า แรง เร็ว คุ้มค่าคุ้มราคา ก็คงเป็น Lg Nexus 5/G2/ Snapdragon 800 Quad-Core 2.3GHz
และ Samsung Note3 LTE
ios ก็5sแหละ Dual-Core 1.3GHz Limited Edition A7 (64-bit)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดูงบมากน้อยแค่ไหน
อยากใช้ระบบปฏิบัติการแบบไหน Android ios
หน้าจอขนาดไหน
ยี่ห้ออะไร