วิธีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เอกสารที่ได้รับ มีดังนี้
1.เดือนม.ค.-พ.ค. ถูกหัก ภงด.1 และหักค่าประกันสังคม
2.เดือนมิ.ย.-ก.ย. ถูกหัก ภงด.3
3.เดือนต.ค.-ว่างงาน
4.เดือน พ.ย.-ธ.ค. ถูกหัก ภงด.1 และประกันสังคม

เนื่องจากไม่เคยยื่นภาษีเองเลยคะ จึงอยากทราบว่า
1.ต้องยื่นภาษีแบบไหน ภงด.90 หรือ ภงด.91
2.ต้องยื่นตอนสิ้นปี หรือ ทุก 6 เดือน
3.ถ้าต้องการยื่นทางอินเตอร์เน็ต ต้องทำอย่างไร

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
<> ต้องกรอกในช่อง ม.40(2)  ตามข้อเท็จจริง  " เนื้อหา สำคัญกว่า รูปแบบ "

<> ส่วนบริษัทออกเอกสาร เป็น ม.40(8)  ไม่มีผลกระทบใดๆ  ( และคุณสามารถนำภาษีที่ถูก ณ ที่จ่ายไว้  ไปขอคืนได้ด้วย )
      ( ถ้าสรรพากรถาม ก็ชี้แจงตามข้อเท็จจริงว่าทำงานอะไร .... คุณไม่มีความผิดใดๆ  บริษัทผู้ออกเป็นผู้ผิด )

      *** กฎหมายทุกประเทศ  ใช้หลักตามข้อเท็จจริง ...
            ไม่เช่นนั้นบริษัททำอย่างหนึ่ง ออกเอกสารอีกอย่าง เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ถามว่าสรรพากรตรวจพบ จะยึดแบบใด ?

             ยกตัวอย่าง : บริษัทขายสินค้าได้ แต่ออกเอกสารว่าเป็นการบริจาค.... คุณคิดว่าสรรพากรจะถือตามเอกสารว่าเป็นการบริจาค
                              หรือถือตามข้อเท็จจริงว่าเป็นการขาย  ?

             อีกตัวอย่าง :  สมมติคุณทำงานเป็นพนักงานบัญชีบริษัท เป็น ม.40(1)  แต่บริษัทออกใบหักภาษี 3% ระบุว่าเป็นวิชาชีพอิสระ
                               แล้วคุณไปยื่นภาษีโดยสามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 30% (ซึ่งหักได้ไม่จำกัดวงเงินตามกฎหมาย)
                               ถามว่าสรรพากรรู้เข้า จะยึดเอกสารที่บริษัทออกให้ หรือถือว่าคุณเป็น ม.40(1) ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ 40% ไม่เกิน
                               60,000 บาท ? .....

<> ส่วนถามว่ามีผลต่างกันหรือไม่ .... มีแน่นอน :-
      
      1. ความแตกต่างเรื่องการยื่นแบบฯ
    
     => ถ้าข้อเท็จจริง เป็น ม.40(2)  คุณก็ยื่นรวมกับ ม.40(1) ยื่นภาษีปีละครั้ง (ภ.ง.ด.90) ภายใน เดือน มี.ค.ของปีถัดไป

     => ถ้าข้อเท็จจริง เป็น ม.40(8)   คุณต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง :-
           - ภาษีครึ่งปี     ( ภ.ง.ด.94)  รวมเงินได้ เฉพาะ ม.40(8) ม.ค.-มิ.ย.  ยื่นภาษีภายในเดือน ก.ย.
           - ภาษีประจำปี  ( ภ.ง.ด.90)  รวมเงินได้ ม. 40(1)+(8) ของ ม.ค.-ธ.ค.  ยืนภาษีภายในเดือน มี.ค. ของปีถัดไป

    2. ความแตกต่างเรื่องการหักค่าใช้จ่ายเหมา

           - ม. 40(2)  หักค่าใช้จ่ายเหมา ได้ 40% [ รวมกับ ม.40(1) แล้วไม่เกิน 60,000 บาท ]
      
           - ม. 40(8)  หักค่าใช้จ่ายเหมา ได้เท่าไหร่ ไม่รู้.... เพราะตามตารางหักค่าใช้จ่ายเหมา ไม่มีประเภทบริการของคุณ
                           เพียงแต่ระบุว่าหากเป็นรายการนอกจากที่ระบุ ให้หักค่าใช้จ่ายตามจริง (ต้องมีหลักฐาน-ใบเสร็จฯ) ..... คงยุ่งแน่ๆ

                           <> ซึ่งเป็นดังที่ว่าคือ 40(8) เรื่องการบริการของบุคคลธรรมดา ที่ต้องมีการลงทุนมากกว่าแรงงาน จึงจะมีค่าใช้จ่าย
                                 มาหัก.... ถามว่าการเป็น รปภ. จะเอาค่าใช้จ่ายอะไรมาหัก ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่