http://www.thaipost.net/news/190913/79523
กัมพูชาเปิดตัวเลขส่งออกข้าวรอบ 8 เดือน โตพุ่ง 107% เผยไทยติด 1 ใน 5 นำเข้าสูงสุด “เสี่ยหนุ่ม” ผู้ต้องหาคดีโกงข้าวพิจิตรสาวไส้ แฉกินกันเละ “ข้าวเขมร-พม่า” สวมสิทธิ์ตรึม ท้าเปิดทุกโรงสีตรวจอย่างไรก็เจอ “วรงค์” ฝาก 4 คำถามกรณีข้าวไหม้ ข้องใจชื้นแต่ไฟลุกเองได้อย่างไร
เมื่อวันพุธ สำนักเลขาธิการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกข้าวสารของกัมพูชา ได้แถลงตัวเลขการส่งออกข้าวสารในรอบ 8 เดือน ตั้งแต่ ม.ค.-ส.ค.ว่า ได้ส่งออกข้าวสาร 236,730 ตัน มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 114,070 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 107% โดยผู้ส่งออกข้าว 72 บริษัท ได้ส่งออกข้าวไปยัง 52 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง 5 ประเทศที่นำเข้าข้าวสารรายใหญ่ ได้แก่ โปแลนด์, ฝรั่งเศส, มาเลเซีย, ไทย และจีน
อย่างไรก็ดี รายงานที่ปรากฏในสำนักข่าวซินหัวไม่ได้ระบุชัดผู้นำเข้าข้าวกัมพูชาได้เรียงตามลำดับปริมาณการนำเข้าหรือไม่ แต่ตามข้อมูลของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา ปีที่แล้วฝรั่งเศสคือผู้นำเข้าข้าวสารกัมพูชามากที่สุด 47,217 ตัน ตามด้วยโปแลนด์ 34,967 ตัน
จัน ซารัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของกัมพูชา เคยกล่าวไว้เมื่อปลายเดือนสิงหาคมว่า กัมพูชาคาดว่าปี 2556 นี้จะส่งออกข้าวสารได้เพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ตัน จากปริมาณส่งออกราว 205,000 ตันของปี 2555 โดยเป็นผลสืบเนื่องจากความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวของประเทศ เขาคาดด้วยว่ากัมพูชาจะสามารถบรรลุเป้าหมายการส่งออกข้าวสาร 1 ล้านตันได้ภายในปี 2558
ส่วนความเคลื่อนไหวของปัญหาโครงการรับจำนำข้าวในไทยนั้น โดยเฉพาะกรณีที่ สภ.โพทะเล จ.พิจิตร ได้จับกุมตัวนายมุนินทร์ จันทรา หรือเสี่ยหนุ่มเจ้าของบริษัทโรงสี แอลโกลด์ เมนูแฟคเจอร์ จำกัด ที่ถูกหมายจับในคดีร่วมกันฉ้อโกงข้าวชาวนาในโครงการรับจำข้าว และยักยอกทรัพย์ที่เป็นข้าวเปลือกและข้าวสารขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ทั้งหมด 12,000 ตัน ความเสียหายเกือบ 100 ล้านบาทนั้น เดิมในวันที่ 18 ก.ย. นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร จะจัดแถลงข่าวดังกล่าว แต่นายมุนินทร์อ้างหลักสิทธิมนุษยชน ไม่ยอมมาแถลงข่าว ทำให้ต้องยกเลิกไป แต่ยอมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
โดยนายมุนินทร์ได้เล่าถึงขบวนการว่า เริ่มเข้าโครงการรับจำนำข้าวที่ จ.พิจิตร ก็มีคนกลางมาเจรจาว่า ถ้าได้เข้าโครงการมีคำสั่งในการแปรรูปข้าวเพื่อเข้าส่งยังคลังสินค้าแล้วจะได้ใบประทวนก็จะมีรายรับ จะจ่ายเท่าไหร่เป็นค่าเคลียร์ ซึ่งก็ตอบไปว่าไม่มีปัญหา เพราะเป็นการคอร์รัปชันจนเป็นประเพณีปฏิบัติที่ชาวโรงสีรู้กัน และจริงๆ แล้วสังคมก็น่าจะรู้ รัฐบาลก็น่าจะรู้ ซึ่งก็ยินยอมจ่ายเงินให้ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ อ.ต.ก.จ้างมา ที่เรียกว่าเซอร์เวเยอร์ โดยการจ่ายแบบนี้เรียกว่าค่าเหยียบแผ่นดิน ถ้าเป็นข้าวสารคุณภาพดีแม้ผ่านเกณฑ์ก็ต้องจ่ายกระสอบละ 10 บาท ซึ่งก็จ่ายด้วยดี
“อยากท้าว่าให้ไปผ่ากองข้าวสารตามโกดังต่างๆทั้งในพิจิตรและที่อื่นๆ รับรองได้ว่าข้าวอยู่หน้าประตูเป็นข้าวดี ส่วนที่อยู่กลางกองเป็นข้าวด้อยคุณภาพ เพราะเป็นข้าวที่เอามาเวียนเทียนจากเขมรและพม่า รวมถึงข้าวคุณภาพเก่าที่ประมูลมาจากคลังสินค้าก็จะนำมาเวียนเข้าเป็นสต็อกส่งมอบเข้าคลังสินค้าก็จะต้องจ่ายเงินให้กับเซอร์เวเยอร์กระสอบละ 50 บาท ทำเรื่องผิดให้เป็นเรื่องถูก เพื่อแลกกับใบประทวน ส่วนที่เป็นข้าวใหม่ข้าวดีโรงสีก็เอาไปขายส่งออกและบรรจุข้าวถุงขายในประเทศ ได้กำไร 2-3 ชั้น”นายมุนินทร์กล่าว และว่า โครงการรับจำนำข้าวปีที่แล้วทั่วประเทศประมาณ 150 ล้านกระสอบ คิดดูเอาเองว่าเป็นเงินเท่าไหร่ และจะมีข้าวที่เข้ามาปลอมปนและสวมรอยว่าเป็นข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นถึงการชี้แจงเรื่องการขายข้าวระหว่างรัฐต่อรัฐ ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และ รมว.พาณิชย์กล่าวไม่ตรงกันว่า ถ้าการซื้อขายดังกล่าวมีสัญญาก็ต้องเปิดเผยได้ เพราะตัวเลขการส่งมอบ การส่งออก จะเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ง่ายที่สุด
วันเดียวกัน นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ได้แถลงถึงกรณีข้าวสารในโครงการรับจำนำข้าวที่ อ.ต.ก.เช่าโกดังของบริษัท เกษตรไพศาล ธัญกิจ จำกัด ที่ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ลุกไหม้ว่า ไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่เพราะข้าวสารเมื่อเก็บไว้นานความชื้นสะสมในข้าวมีมากขึ้น เมื่อถูกอบด้วยความร้อนในโกดังนานเข้า ข้าวสารจึงเกิดลุกไหม้ได้ ทำให้เจ้าของโกดังเกรงว่าอาจเกิดไฟลุกไหม้ ทำให้ข้าวของรัฐในส่วนอื่นที่รับฝากเสียหายด้วย จึงตัดสินใจโดยพลการนำข้าวส่วนที่มีปัญหาย้ายออกไปไว้นอกโกดัง
“ข้าวที่ถูกเจ้าของโกดังนำออกมามีร่องรอยเหมือนถูกไฟไหม้ เป็นการลุกไหม้เอง ไม่ใช่การจุดไฟเผาเพื่อทำลายหลักฐานการนำข้าวเวียนเทียนเข้าโครงการรับจำนำข้าวอย่างที่ถูกตั้งข้อสังเกต” นายธเนศพลกล่าว และว่า ต่อไป อ.ต.ก.จะปูพรมออกตรวจโกดังเก็บข้าวของรัฐบาลที่ทำสัญญา 400 แห่ง ทั่วประเทศ ว่าโกดังมีสภาพดีพร้อมเก็บข้าวไม่ให้เสียหาย เป็นไปตามสัญญาหรือไม่
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ปชป. กล่าวในเรื่องนี้ว่า ขอฝากถาม 4 ข้อคือ 1.การอ้างข้าวนี้อยู่ในโครงการจีทูจีขายให้จีน เหตุใดจีนจึงปล่อยการรับมอบข้าวดังกล่าวมาเป็นปี 2.ทำไมการขายข้าวแบบจีทูจี จึงมีการผ่ากระสอบข้าวเกิดขึ้น 3.ข้ออ้างข้าวที่เหลือในโกดัง 1,498 ตันถูกน้ำท่วม และได้เกิดความร้อนระอุภายในทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นเองเป็นไปได้อย่างไร และ 4.แม้อ้างเป็นข้าวเสีย ก็สามารถนำไปขายเพื่อแปรสภาพได้ ทำไม อ.ต.ก.ถึงเอาข้าวไปทิ้งทั้งหมด
“ในวันที่ 19 ก.ย.จะไปยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบว่าเหตุการณ์นี้เป็นอีกหนึ่งในกระบวนการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลหรือไม่” นพ.วรงค์กล่าว
โครงการรับจำนำข้าวช่วยชาวนาไทยจริงหรือ
กัมพูชาเปิดตัวเลขส่งออกข้าวรอบ 8 เดือน โตพุ่ง 107% เผยไทยติด 1 ใน 5 นำเข้าสูงสุด “เสี่ยหนุ่ม” ผู้ต้องหาคดีโกงข้าวพิจิตรสาวไส้ แฉกินกันเละ “ข้าวเขมร-พม่า” สวมสิทธิ์ตรึม ท้าเปิดทุกโรงสีตรวจอย่างไรก็เจอ “วรงค์” ฝาก 4 คำถามกรณีข้าวไหม้ ข้องใจชื้นแต่ไฟลุกเองได้อย่างไร
เมื่อวันพุธ สำนักเลขาธิการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกข้าวสารของกัมพูชา ได้แถลงตัวเลขการส่งออกข้าวสารในรอบ 8 เดือน ตั้งแต่ ม.ค.-ส.ค.ว่า ได้ส่งออกข้าวสาร 236,730 ตัน มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 114,070 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 107% โดยผู้ส่งออกข้าว 72 บริษัท ได้ส่งออกข้าวไปยัง 52 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง 5 ประเทศที่นำเข้าข้าวสารรายใหญ่ ได้แก่ โปแลนด์, ฝรั่งเศส, มาเลเซีย, ไทย และจีน
อย่างไรก็ดี รายงานที่ปรากฏในสำนักข่าวซินหัวไม่ได้ระบุชัดผู้นำเข้าข้าวกัมพูชาได้เรียงตามลำดับปริมาณการนำเข้าหรือไม่ แต่ตามข้อมูลของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา ปีที่แล้วฝรั่งเศสคือผู้นำเข้าข้าวสารกัมพูชามากที่สุด 47,217 ตัน ตามด้วยโปแลนด์ 34,967 ตัน
จัน ซารัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของกัมพูชา เคยกล่าวไว้เมื่อปลายเดือนสิงหาคมว่า กัมพูชาคาดว่าปี 2556 นี้จะส่งออกข้าวสารได้เพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ตัน จากปริมาณส่งออกราว 205,000 ตันของปี 2555 โดยเป็นผลสืบเนื่องจากความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวของประเทศ เขาคาดด้วยว่ากัมพูชาจะสามารถบรรลุเป้าหมายการส่งออกข้าวสาร 1 ล้านตันได้ภายในปี 2558
ส่วนความเคลื่อนไหวของปัญหาโครงการรับจำนำข้าวในไทยนั้น โดยเฉพาะกรณีที่ สภ.โพทะเล จ.พิจิตร ได้จับกุมตัวนายมุนินทร์ จันทรา หรือเสี่ยหนุ่มเจ้าของบริษัทโรงสี แอลโกลด์ เมนูแฟคเจอร์ จำกัด ที่ถูกหมายจับในคดีร่วมกันฉ้อโกงข้าวชาวนาในโครงการรับจำข้าว และยักยอกทรัพย์ที่เป็นข้าวเปลือกและข้าวสารขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ทั้งหมด 12,000 ตัน ความเสียหายเกือบ 100 ล้านบาทนั้น เดิมในวันที่ 18 ก.ย. นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร จะจัดแถลงข่าวดังกล่าว แต่นายมุนินทร์อ้างหลักสิทธิมนุษยชน ไม่ยอมมาแถลงข่าว ทำให้ต้องยกเลิกไป แต่ยอมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
โดยนายมุนินทร์ได้เล่าถึงขบวนการว่า เริ่มเข้าโครงการรับจำนำข้าวที่ จ.พิจิตร ก็มีคนกลางมาเจรจาว่า ถ้าได้เข้าโครงการมีคำสั่งในการแปรรูปข้าวเพื่อเข้าส่งยังคลังสินค้าแล้วจะได้ใบประทวนก็จะมีรายรับ จะจ่ายเท่าไหร่เป็นค่าเคลียร์ ซึ่งก็ตอบไปว่าไม่มีปัญหา เพราะเป็นการคอร์รัปชันจนเป็นประเพณีปฏิบัติที่ชาวโรงสีรู้กัน และจริงๆ แล้วสังคมก็น่าจะรู้ รัฐบาลก็น่าจะรู้ ซึ่งก็ยินยอมจ่ายเงินให้ผู้ตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ อ.ต.ก.จ้างมา ที่เรียกว่าเซอร์เวเยอร์ โดยการจ่ายแบบนี้เรียกว่าค่าเหยียบแผ่นดิน ถ้าเป็นข้าวสารคุณภาพดีแม้ผ่านเกณฑ์ก็ต้องจ่ายกระสอบละ 10 บาท ซึ่งก็จ่ายด้วยดี
“อยากท้าว่าให้ไปผ่ากองข้าวสารตามโกดังต่างๆทั้งในพิจิตรและที่อื่นๆ รับรองได้ว่าข้าวอยู่หน้าประตูเป็นข้าวดี ส่วนที่อยู่กลางกองเป็นข้าวด้อยคุณภาพ เพราะเป็นข้าวที่เอามาเวียนเทียนจากเขมรและพม่า รวมถึงข้าวคุณภาพเก่าที่ประมูลมาจากคลังสินค้าก็จะนำมาเวียนเข้าเป็นสต็อกส่งมอบเข้าคลังสินค้าก็จะต้องจ่ายเงินให้กับเซอร์เวเยอร์กระสอบละ 50 บาท ทำเรื่องผิดให้เป็นเรื่องถูก เพื่อแลกกับใบประทวน ส่วนที่เป็นข้าวใหม่ข้าวดีโรงสีก็เอาไปขายส่งออกและบรรจุข้าวถุงขายในประเทศ ได้กำไร 2-3 ชั้น”นายมุนินทร์กล่าว และว่า โครงการรับจำนำข้าวปีที่แล้วทั่วประเทศประมาณ 150 ล้านกระสอบ คิดดูเอาเองว่าเป็นเงินเท่าไหร่ และจะมีข้าวที่เข้ามาปลอมปนและสวมรอยว่าเป็นข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นถึงการชี้แจงเรื่องการขายข้าวระหว่างรัฐต่อรัฐ ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และ รมว.พาณิชย์กล่าวไม่ตรงกันว่า ถ้าการซื้อขายดังกล่าวมีสัญญาก็ต้องเปิดเผยได้ เพราะตัวเลขการส่งมอบ การส่งออก จะเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ง่ายที่สุด
วันเดียวกัน นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ได้แถลงถึงกรณีข้าวสารในโครงการรับจำนำข้าวที่ อ.ต.ก.เช่าโกดังของบริษัท เกษตรไพศาล ธัญกิจ จำกัด ที่ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ลุกไหม้ว่า ไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่เพราะข้าวสารเมื่อเก็บไว้นานความชื้นสะสมในข้าวมีมากขึ้น เมื่อถูกอบด้วยความร้อนในโกดังนานเข้า ข้าวสารจึงเกิดลุกไหม้ได้ ทำให้เจ้าของโกดังเกรงว่าอาจเกิดไฟลุกไหม้ ทำให้ข้าวของรัฐในส่วนอื่นที่รับฝากเสียหายด้วย จึงตัดสินใจโดยพลการนำข้าวส่วนที่มีปัญหาย้ายออกไปไว้นอกโกดัง
“ข้าวที่ถูกเจ้าของโกดังนำออกมามีร่องรอยเหมือนถูกไฟไหม้ เป็นการลุกไหม้เอง ไม่ใช่การจุดไฟเผาเพื่อทำลายหลักฐานการนำข้าวเวียนเทียนเข้าโครงการรับจำนำข้าวอย่างที่ถูกตั้งข้อสังเกต” นายธเนศพลกล่าว และว่า ต่อไป อ.ต.ก.จะปูพรมออกตรวจโกดังเก็บข้าวของรัฐบาลที่ทำสัญญา 400 แห่ง ทั่วประเทศ ว่าโกดังมีสภาพดีพร้อมเก็บข้าวไม่ให้เสียหาย เป็นไปตามสัญญาหรือไม่
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ปชป. กล่าวในเรื่องนี้ว่า ขอฝากถาม 4 ข้อคือ 1.การอ้างข้าวนี้อยู่ในโครงการจีทูจีขายให้จีน เหตุใดจีนจึงปล่อยการรับมอบข้าวดังกล่าวมาเป็นปี 2.ทำไมการขายข้าวแบบจีทูจี จึงมีการผ่ากระสอบข้าวเกิดขึ้น 3.ข้ออ้างข้าวที่เหลือในโกดัง 1,498 ตันถูกน้ำท่วม และได้เกิดความร้อนระอุภายในทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นเองเป็นไปได้อย่างไร และ 4.แม้อ้างเป็นข้าวเสีย ก็สามารถนำไปขายเพื่อแปรสภาพได้ ทำไม อ.ต.ก.ถึงเอาข้าวไปทิ้งทั้งหมด
“ในวันที่ 19 ก.ย.จะไปยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบว่าเหตุการณ์นี้เป็นอีกหนึ่งในกระบวนการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลหรือไม่” นพ.วรงค์กล่าว