ทุกๆช่วงต้นปี ฟีฟ่า จะทำการประกาศรายชื่อผู้ตัดสินนานาชาติ หรือ ผู้ตัดสินฟีฟ่า ที่จะได้ขึ่นทะเบียนผ่านซิสเทมของฟีฟ่าหลังจากผ่านการทดสอบแข่งขันแย่งกันของผู้ตัดสินในแต่ละชาตินั้นๆ
สงสัยกันไหมว่าทำไมผู้ตัดสินถึงมักแย่งกันเป็นผู้ตัดสินฟีฟ่า???
นอกจากความภาคภูมิใจและศักศรีแล้วนั้น ที่สำคัญยังคงรวมถึงเรื่องของความมีหน้ามีตาในสังคม แต่ทั้งหมดทั้งมวลคงเทียบไม่ได้กับคำว่า"ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน"
ศักราช2014 ผู้ตัดสินของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้สิทธิ์ขึ้นทะเบียนซิสเทมฟีฟ่ารวมทั้งหมด 25 ชีวิต ร่ายเรียงได้ดังนี้ ดังนี้ ชัยยะ มหาปราบ-ฟีฟ่า2007 , ศิวกร ภูอุดม-ฟีฟ่า2013 , มงคลชัย เพชรศรี-ฟีฟ่า2010 , ฑีธิชัย นวลจันทร์-ฟีฟ่า2012 , สุเปรม นนทะวงศ์-ฟีฟ่า2013 , อลงกรณ์ ฝีมือช่าง-ฟีฟ่าใหม่2014
ผู้ช่วยผู้ตัดสินฟุตบอลชาย 8 ราย ประกอบด้วย ถนอม บริคุต-ฟีฟ่า2002 , อำนาจ ผ่องมณี-ฟีฟ่า2013 , บินหลา ปรีดา-ฟีฟ่า2013 , ชุมพล ดีแปลง-ฟีฟ่าใหม่2014 , อนุวัตร ฝีมือช่าง-ฟีฟ่า2012 , นิวัฒน์ อินสะอาด-ฟีฟ่า2013 , สุเมธ สายแวว-ฟีฟ่า2004 , ฐาปนา ถาวร-ฟีฟ่าใหม่2014
ผู้ตัดสินฟุตบอลหญิง 2 ราย คือ พัชยา บุญประสิทธิ์-ฟีฟ่า2010 , พันนิภา คำนึง-ฟีฟ่า2004 , ผู้ช่วยผู้ตัดสินฟุตบอลหญิง 3 ราย คือ ประไพพิศ ตาริก-ฟีฟ่า2009 , สุภาวรรณ หินทอง-ฟีฟ่า2009 , ปาริชาติ บุญอนันต์-ฟีฟ่า2010 , ผู้ตัดสินฟุตซอล 4 ราย คือ กวีพล กามะวิถี-ฟีฟ่า2008 , สมศักดิ์ ฤทธิรอน-ฟีฟ่า2008 , อภินันท์ ดำเกลี้ยง-ฟีฟ่า2011 , ยุทธกร ไม้เกตุ-ฟีฟ่า2010 และ ผู้ตัดสินฟุตบอลชายหาด 2 ราย คือ สุวัฒน์ วงศ์สุวรรณ-ฟีฟ่า2011 , นคร สะอาด-ฟีฟ่า2011
ทั้ง 25 รายที่ประกาศโผออกไปนั้น จริงๆแล้ววงในรู้กันมาตั้งนานแล้ว นับตั้งแต่ที่"เสธ.ตุ้ม"พล.อ.ชินเสณ ทองโกมล ประธานผู้ตัดสินยกคณะเข้าพบ"บิ๊กแจ๊ส"พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ร่วมมอบดอกไม้เป็นกำลังใจหลังจากช่วงตามล่าคดีมือยิงถนอม บริคุต เมื่อวันที่ 6 พ.ย.56
เรียกได้ว่ารู้ล่วงหน้าก่อนถึงกว่า 2 เดือนก่อนที่ผลประกาศอย่างเป็นทางการของฟีฟ่าจะแบโผผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเคาต์ดาวน์หลังปีใหม่ไม่นานมานี้
แต่ก่อนแต่เดิมไทยเคยได้โควต้าฟีฟ่าเยอะมากกว่านี้ มากถึง 27 ราย แต่เหตุที่ถูกลดหลั่นลงมาก็เพราะ 1.เกิดการโยกย้ายของผู้ตัดสินฟีฟ่าชายหาดที่มีชื่อย่อ"ช."ซึ่งจะถูกดันให้ขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินฟุตบอลชาย แต่ก็ยังลืมดูเงื่อนไขที่ว่าหากจะโยกตำแหน่งจะต้องถูกพักสิทธิ์ 1 ปี อีกทั้งยังลืมผลพวงที่ว่าอาจถูกลดโควต้าในทันทีอีกด้วย เป็นผลให้ไทยเหลือเปาฟีฟ่าเพียงแค่ 26 รายในปีถัดมา
ส่วนข้อ 2.ที่ถูกลดลงมาคือการตัดสินใจแขวนนกหวีดของ แพรว สีหมากสุข ผู้ตัดสินฟุตบอลหญิงที่ถึงคราวปลดระวาง
ถามว่าการปลดระวางผิดไหม คือไม่ผิด แต่ทำไมสมาคมฟุตบอลฯไม่มีโครงการสร้างสรรค์และพัฒนาขีดความสามารถของผู้ตัดสินหญิงรุ่นหลังให้ขึ้นมารับช่วงต่อจากรุ่นพี่ได้ทัน ทำให้ไทยเสียโควต้าไปในทันที 1 ที่นั่ง ทั้งๆที่เรื่องนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นจริงๆ
จากรายชื่อทั้งหมด 25 ราย มีการเปลี่ยนแปลงจากโผเดิมเมื่อปี2013อยู่ถึง 3 ราย คนที่หลุดไปคือ ประธาน นาสว่าง(ผู้ตัดสิน) , ธีรจิตร สิทธิสุข(ไลน์) และ นิรุตม์ เรืองศรีชาติ(ไลน์) ส่วนคนที่เข้ามาเสียบแทนคือ อลงกรณ์ ฝีมือช่าง(ผู้ตัดสิน) , ชุมพล ดีแปลง(ไลน์) และ ฐาปนา ถาวร(ไลน์)
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะ ผู้ตัดสินคนนั้นๆไม่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย หรือเรียกง่ายๆว่า เทสต์ไม่ผ่าน เลยอดได้เป็นฟีฟ่า
ทั้งนี้ยังไม่รวมกับปัจจัยเรื่อง"หน่วยกล้าตาย"จากซีซั่นที่ผ่านมา ทั้งนี้มีการคำนวณถึงผลงานจาก"คำสั่งนาย" หากว่า"นายให้ใบสั่งมา" ผู้ตัดสินคนไหนทำได้ชนิดเรียกได้ว่าเป็นหน่วยกล้าตาย" ไม่เกรงกลัวบารมีและศักดิ์ศรีของสโมสรใดสโมสรหนึ่ง รับรองถึงการเห็นผลจากสารบบฟีฟ่าในทันที
เชิ้ตดำชื่อย่อ"อ."สามารถทำตามใบสั่งของเจ้านายได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยสกัดกั้นความร้อนแรงของแชมป์เซราะกราวได้บ้างไม่มากก็น้อย กระทั่งถึงได้สิทธิ์เลื่อนชั้นเป็นผู้ตัดสินฟีฟ่าอีลิทภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็วอยู่พอสมควร
ผู้ตัดสินฟีฟ่าใหม่ที่เพิ่งได้เป็นยศฟีฟ่าในปีนี้ สามารถจับพลัดจับผลูได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ตัดสินอีลิทเพราะด้วยการที่สามารถทำงานได้ตามที่นายสั่งทุกอย่าง
ขณะที่ชื่อย่อ"ส."ซึ่งมักถูกส่งลงตัดสินเกมที่แชมป์เซราะกราวมักออกมาเยือนคู่แข่งขันอยู่บ่อยครั้ง แต่ผลงานโดยรวมถือว่าไม่เข้าเป้า ครึ่งแรกผ่านยันอยู่ แต่พอเข้าสู่ครึ่งหลังดันกลัวจนออกทะเล ผลงานเลยไม่เปรี้ยงปร้าง เรียกได้ว่าไม่เข้าตานายก็แค่นั้น จบอยู่ที่ฟีฟ่าแต่ไม่ได้กลับมาเป็นอีลิท
ยังมีอีกหลายรายที่เกือบจะได้เป็นผู้ตัดสินฟีฟ่า เพราะถูกเรียกทดสอบใช้งาน หรืออาจจะเรียกได้ว่า"ทดลองงาน" ถึงขนาดว่า หากทำงานชึ้นแรกผ่าน จะมีผลรางวัลคือการได้เป็นผู้ตัดสินฟีฟ่าเลยทีเดียวเชียว แต่สุดท้ายงานที่เมืองซึ่งผลิตกระหรี่ปั๊บก็ไม่ผ่าน หรืออาจจะเป็นเพราะการตื่นสนามรึเปล่าอันนี้ไม่ทราบแน่ชัด
ใช่ว่าวงการผู้ตัดสินไทยจะมีแต่เรื่องเลวร้าย ข่าวที่น่ายินดีก็มีอย่างเช่น ศิวกร ภูอุดม เชิ้ตดำดาวรุ่งซึ่งผ่านการอบรมโครงการฟีฟ่า ฟิวเจอร์ โปรเจ็กซ์ อีกทั้งยังสอบผ่านการได้เป็นผู้ตัดสินอีลิทอีกด้วย ซึ่งรายนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในแคนดิเคตลุ้นตัดสินฟุตบอลโลก2018ที่ประเทศรัสเซียเลยก็ว่าได้ รวมถึงรายของ ชัยยะ มหาปราบ เชิ้ตดำฟีฟ่าอิลิทเบอร์หนึ่งของเมืองไทยที่ยังคงสร้างชื่อให้กับวงการผู้ตัดสินไทยได้ดีเรื่อยมา
ทั้งความลับ , เรื่องวงใน , การแลกเปลี่ยนตำแหน่งฟีฟ่าโดยวัดผลงานในสนาม รวมถึงข่าวดี ทั้งหมดทั้งมวลคือเรื่องจริงของวงการผู้ตัดสินไทยที่หนีไม่ออก!!!
"Whisky"
http://www.ballthaifc.com/view.php?id=4461
ความลับของฟีฟ่า
สงสัยกันไหมว่าทำไมผู้ตัดสินถึงมักแย่งกันเป็นผู้ตัดสินฟีฟ่า???
นอกจากความภาคภูมิใจและศักศรีแล้วนั้น ที่สำคัญยังคงรวมถึงเรื่องของความมีหน้ามีตาในสังคม แต่ทั้งหมดทั้งมวลคงเทียบไม่ได้กับคำว่า"ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน"
ศักราช2014 ผู้ตัดสินของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้สิทธิ์ขึ้นทะเบียนซิสเทมฟีฟ่ารวมทั้งหมด 25 ชีวิต ร่ายเรียงได้ดังนี้ ดังนี้ ชัยยะ มหาปราบ-ฟีฟ่า2007 , ศิวกร ภูอุดม-ฟีฟ่า2013 , มงคลชัย เพชรศรี-ฟีฟ่า2010 , ฑีธิชัย นวลจันทร์-ฟีฟ่า2012 , สุเปรม นนทะวงศ์-ฟีฟ่า2013 , อลงกรณ์ ฝีมือช่าง-ฟีฟ่าใหม่2014
ผู้ช่วยผู้ตัดสินฟุตบอลชาย 8 ราย ประกอบด้วย ถนอม บริคุต-ฟีฟ่า2002 , อำนาจ ผ่องมณี-ฟีฟ่า2013 , บินหลา ปรีดา-ฟีฟ่า2013 , ชุมพล ดีแปลง-ฟีฟ่าใหม่2014 , อนุวัตร ฝีมือช่าง-ฟีฟ่า2012 , นิวัฒน์ อินสะอาด-ฟีฟ่า2013 , สุเมธ สายแวว-ฟีฟ่า2004 , ฐาปนา ถาวร-ฟีฟ่าใหม่2014
ผู้ตัดสินฟุตบอลหญิง 2 ราย คือ พัชยา บุญประสิทธิ์-ฟีฟ่า2010 , พันนิภา คำนึง-ฟีฟ่า2004 , ผู้ช่วยผู้ตัดสินฟุตบอลหญิง 3 ราย คือ ประไพพิศ ตาริก-ฟีฟ่า2009 , สุภาวรรณ หินทอง-ฟีฟ่า2009 , ปาริชาติ บุญอนันต์-ฟีฟ่า2010 , ผู้ตัดสินฟุตซอล 4 ราย คือ กวีพล กามะวิถี-ฟีฟ่า2008 , สมศักดิ์ ฤทธิรอน-ฟีฟ่า2008 , อภินันท์ ดำเกลี้ยง-ฟีฟ่า2011 , ยุทธกร ไม้เกตุ-ฟีฟ่า2010 และ ผู้ตัดสินฟุตบอลชายหาด 2 ราย คือ สุวัฒน์ วงศ์สุวรรณ-ฟีฟ่า2011 , นคร สะอาด-ฟีฟ่า2011
ทั้ง 25 รายที่ประกาศโผออกไปนั้น จริงๆแล้ววงในรู้กันมาตั้งนานแล้ว นับตั้งแต่ที่"เสธ.ตุ้ม"พล.อ.ชินเสณ ทองโกมล ประธานผู้ตัดสินยกคณะเข้าพบ"บิ๊กแจ๊ส"พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ร่วมมอบดอกไม้เป็นกำลังใจหลังจากช่วงตามล่าคดีมือยิงถนอม บริคุต เมื่อวันที่ 6 พ.ย.56
เรียกได้ว่ารู้ล่วงหน้าก่อนถึงกว่า 2 เดือนก่อนที่ผลประกาศอย่างเป็นทางการของฟีฟ่าจะแบโผผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเคาต์ดาวน์หลังปีใหม่ไม่นานมานี้
แต่ก่อนแต่เดิมไทยเคยได้โควต้าฟีฟ่าเยอะมากกว่านี้ มากถึง 27 ราย แต่เหตุที่ถูกลดหลั่นลงมาก็เพราะ 1.เกิดการโยกย้ายของผู้ตัดสินฟีฟ่าชายหาดที่มีชื่อย่อ"ช."ซึ่งจะถูกดันให้ขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินฟุตบอลชาย แต่ก็ยังลืมดูเงื่อนไขที่ว่าหากจะโยกตำแหน่งจะต้องถูกพักสิทธิ์ 1 ปี อีกทั้งยังลืมผลพวงที่ว่าอาจถูกลดโควต้าในทันทีอีกด้วย เป็นผลให้ไทยเหลือเปาฟีฟ่าเพียงแค่ 26 รายในปีถัดมา
ส่วนข้อ 2.ที่ถูกลดลงมาคือการตัดสินใจแขวนนกหวีดของ แพรว สีหมากสุข ผู้ตัดสินฟุตบอลหญิงที่ถึงคราวปลดระวาง
ถามว่าการปลดระวางผิดไหม คือไม่ผิด แต่ทำไมสมาคมฟุตบอลฯไม่มีโครงการสร้างสรรค์และพัฒนาขีดความสามารถของผู้ตัดสินหญิงรุ่นหลังให้ขึ้นมารับช่วงต่อจากรุ่นพี่ได้ทัน ทำให้ไทยเสียโควต้าไปในทันที 1 ที่นั่ง ทั้งๆที่เรื่องนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นจริงๆ
จากรายชื่อทั้งหมด 25 ราย มีการเปลี่ยนแปลงจากโผเดิมเมื่อปี2013อยู่ถึง 3 ราย คนที่หลุดไปคือ ประธาน นาสว่าง(ผู้ตัดสิน) , ธีรจิตร สิทธิสุข(ไลน์) และ นิรุตม์ เรืองศรีชาติ(ไลน์) ส่วนคนที่เข้ามาเสียบแทนคือ อลงกรณ์ ฝีมือช่าง(ผู้ตัดสิน) , ชุมพล ดีแปลง(ไลน์) และ ฐาปนา ถาวร(ไลน์)
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะ ผู้ตัดสินคนนั้นๆไม่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย หรือเรียกง่ายๆว่า เทสต์ไม่ผ่าน เลยอดได้เป็นฟีฟ่า
ทั้งนี้ยังไม่รวมกับปัจจัยเรื่อง"หน่วยกล้าตาย"จากซีซั่นที่ผ่านมา ทั้งนี้มีการคำนวณถึงผลงานจาก"คำสั่งนาย" หากว่า"นายให้ใบสั่งมา" ผู้ตัดสินคนไหนทำได้ชนิดเรียกได้ว่าเป็นหน่วยกล้าตาย" ไม่เกรงกลัวบารมีและศักดิ์ศรีของสโมสรใดสโมสรหนึ่ง รับรองถึงการเห็นผลจากสารบบฟีฟ่าในทันที
เชิ้ตดำชื่อย่อ"อ."สามารถทำตามใบสั่งของเจ้านายได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยสกัดกั้นความร้อนแรงของแชมป์เซราะกราวได้บ้างไม่มากก็น้อย กระทั่งถึงได้สิทธิ์เลื่อนชั้นเป็นผู้ตัดสินฟีฟ่าอีลิทภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็วอยู่พอสมควร
ผู้ตัดสินฟีฟ่าใหม่ที่เพิ่งได้เป็นยศฟีฟ่าในปีนี้ สามารถจับพลัดจับผลูได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ตัดสินอีลิทเพราะด้วยการที่สามารถทำงานได้ตามที่นายสั่งทุกอย่าง
ขณะที่ชื่อย่อ"ส."ซึ่งมักถูกส่งลงตัดสินเกมที่แชมป์เซราะกราวมักออกมาเยือนคู่แข่งขันอยู่บ่อยครั้ง แต่ผลงานโดยรวมถือว่าไม่เข้าเป้า ครึ่งแรกผ่านยันอยู่ แต่พอเข้าสู่ครึ่งหลังดันกลัวจนออกทะเล ผลงานเลยไม่เปรี้ยงปร้าง เรียกได้ว่าไม่เข้าตานายก็แค่นั้น จบอยู่ที่ฟีฟ่าแต่ไม่ได้กลับมาเป็นอีลิท
ยังมีอีกหลายรายที่เกือบจะได้เป็นผู้ตัดสินฟีฟ่า เพราะถูกเรียกทดสอบใช้งาน หรืออาจจะเรียกได้ว่า"ทดลองงาน" ถึงขนาดว่า หากทำงานชึ้นแรกผ่าน จะมีผลรางวัลคือการได้เป็นผู้ตัดสินฟีฟ่าเลยทีเดียวเชียว แต่สุดท้ายงานที่เมืองซึ่งผลิตกระหรี่ปั๊บก็ไม่ผ่าน หรืออาจจะเป็นเพราะการตื่นสนามรึเปล่าอันนี้ไม่ทราบแน่ชัด
ใช่ว่าวงการผู้ตัดสินไทยจะมีแต่เรื่องเลวร้าย ข่าวที่น่ายินดีก็มีอย่างเช่น ศิวกร ภูอุดม เชิ้ตดำดาวรุ่งซึ่งผ่านการอบรมโครงการฟีฟ่า ฟิวเจอร์ โปรเจ็กซ์ อีกทั้งยังสอบผ่านการได้เป็นผู้ตัดสินอีลิทอีกด้วย ซึ่งรายนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในแคนดิเคตลุ้นตัดสินฟุตบอลโลก2018ที่ประเทศรัสเซียเลยก็ว่าได้ รวมถึงรายของ ชัยยะ มหาปราบ เชิ้ตดำฟีฟ่าอิลิทเบอร์หนึ่งของเมืองไทยที่ยังคงสร้างชื่อให้กับวงการผู้ตัดสินไทยได้ดีเรื่อยมา
ทั้งความลับ , เรื่องวงใน , การแลกเปลี่ยนตำแหน่งฟีฟ่าโดยวัดผลงานในสนาม รวมถึงข่าวดี ทั้งหมดทั้งมวลคือเรื่องจริงของวงการผู้ตัดสินไทยที่หนีไม่ออก!!!
"Whisky"
http://www.ballthaifc.com/view.php?id=4461