นิตยสาร Two Wheels Action เขียนบททดสอบ "ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีด" ตัวใหม่ ไว้น่าสนใจดี เลยลองเอาข้อมูลมาแบ่งปัน
แต่ไม่ได้ลงรายละอียดว่าใช้ E20ได้รึเปล่า ถ้าใครใช้อยู่ ขอรายละเอียดทีนะคะว่าเติมแล้วเครื่องยนตร์มีปัญหามั้ย
จะลองเปลี่ยนมาใช้ดูบ้าง
ขอบคุณบทความและรูปภาพจากนิตยสาร Two Wheels Action จ้า
รูปภาพปคุณวู้ดดี้ เจนี่และโจอี้ ที่มาเว็บยามาฮ่ามอเตอร์, เด็กดี และ9carthai จ้า
ทางทีมงาน ทูวีลส์ แอคชั่น ได้รับมอบหมายให้ทำการเค้นสมรรถนะของรถจักรยานยนต์ออโตเมติกแฟชั่นอย่างเจ้า
"ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีดใหม่" ที่เราจะเน้นการใช้งานจริงบนเส้นทางจริงกับการขับขี่สไตล์ทัวร์ริ่ง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมช่วงตัวรถ
สมรรถนะของระบบเบรก ช่วงล่าง ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยระบบหัวฉีด YM-Jet Fi และกระบอกสูบ DiASil
ที่เป็นลิขสิทธ์เฉพาะของทาง ยามาฮ่า ว่าจะสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายได้มากน้อยแค่ไหน
ก่อนที่จะไปทำการทดสอบเรามาดูกันครับว่าเจ้า "ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีดใหม่" มีรูปโฉมที่ปรับแต่งอะไรมาจากตัวเดิมกันบ้าง
เริ่มต้นด้วยรูปลักษณ์ภายนอก ที่โคมไฟหน้าเป็นแบบ Diamond Shape ส่องสว่างด้วยหลอดไฟแบบฮาโลเจน 35/35 W
ไฟท้ายออกแบบใหม่โค้งมนพร้อมโคมแบบจิลเวลรี่รูปทรงเรียว ไฟเลี้ยวหน้าและหลังแบบ Leaf Shape บิวอินเรียบเนียนไปกับชุดแฟริ่ง
เพิ่มเส้นสายด้วยรูปทรงตัวถังแบบ S-curve Design สวยงามมีระดับ เติมพื้นที่เก็บของใต้เบาะใหญ่ขึ้นด้วย Mega Box 7.2 ลิตร
จุได้มากขึ้นถึง 80% พร้อมเท่เหนือใครด้วยเรือนไมล์แบบแยกส่วน อันเป็นเอกลักษณ์ของ ฟีโน่
ทางด้านเครื่องยนต์ปรับปรุงใหม่ ด้วยการเปลี่ยนจากการจ่ายน้ำมันด้วยคาร์บูเรเตอร์มาเป็นระบบหัวฉีดอัจฉริยะ YM-Jet FI
ประหยัดน้ำมันสูงสุดถึง 55.75 กิโลเมตร/ลิตร ทนทานด้วยกระบอกสูบ DiASil ที่ผลิตจากอลูมินั่มอัลลอยผสมซิลิกอน น้ำหนักเบา
ระบายความร้อนได้ดีกว่าเหล็กถึง 3 เท่า ส่งถ่ายกำลังด้วยเกียร์ออโตเมติก CVT 115 CC New Gen พร้อมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ด้วยมาตรฐานไอเสียระดับ 6 และมีเทคโนโลยีใหม่กับกุญแจรีโมทอัจฉริยะ Answer Back System ส่งสัญญาณบอกตำแหน่ง
ของตัวรถด้วยไฟกระพริบและเสียง
YM-Jet FI ประหยัดจริงแค่ไหน?
จากการทดสอบ ที่ได้มาแบบนี้เลยครับผม....
ผลสรุปการหาอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง
- ระยะทางที่วิ่ง 82 กิโลเมตร
- ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไป 1.27 ลิตร
- คำนวณ ระยะทาง 82 หารด้วยจำนวนลิตรของน้ำมันเชื้อเพลิง 1.27
- เท่ากับ 64.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ผลสรุปสมรรถนะ DiASil สุดกำลัง
- อัตราเร่งระยะทางจาก 0-100 เมตร ใช้เวลา 9.47 วินาที ความเร็วอยู่ที่ 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- อัตราเร่งระยะทางจาก 0-200 เมตร ใช้เวลา 14.59 วินาที ความเร็วอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- Top Speed อยู่ที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ซึ่งหลังจากเข็มไมล์ชี้ที่ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง
จะใช้เวลาอีกพอสมควรจนกว่าจะถึงความเร็วสูงสุด
ช่วงล่างของรถออโตเมติกที่จะต้องดูแลรักษาง่าย
ซึ่งทางด้านหน้าเป็นชอคอับแบบเทเลสโกปิก แกนขนาด 26 มิลลิเมตร ระยะยุบตัวอยู่ที่ 90 มิลลิเมตร
และทางด้านหลังก็เป็นแบบชอคอับเดี่ยวพร้อมระบบยูนิตสวิง (Unit Swing) ระยะยุบตัว 78 มิลลิเมตร
พร้อมวงล้อหน้าขนาด 1.40 x 14 นิ้ว พร้อมยางนอกขนาด 70/90-14 M/C 34 P ส่วนวงล้อหลังเป็นขนาด 1.60 x 14 นิ้ว
กับยางนอกขนาด 80/90-14M/C 46P ก็ถือว่าเพียงพอกับรถสไตล์ออโตเมติกขนาด 115 ซีซี ในระดับความเร็วที่ใช้เดินทาง
ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ยังคงควบคุมได้ดี ขับขี่ง่าย นุ่มนวล คล่องตัว ตกหลุมบ้าง ทางขรุขระบ้าง
ก็ยังไม่สะเทือนจนถึงไส้ถึงพุงมากนัก แถมยังไม่มีเสียงดัง ก๊อก แก๊ก เวลาตกหลุมอีกด้วย
ในส่วนของระบบเบรก ทางด้านหน้าเป็นแบบดิสก์เบรกลูกสูบเดี่ยว จานดิสก์ขนาด 190 มิลลิเมตร ลดภาระโดยการใช้น็อตยึด
จานดิสก์เพียง 3 ตัว ส่วนทางด้านหลังเป็นแบบดรัมเบรก เส้นผ่าศูนย์กลางภายในดุมอยู่ที่ 130 มิลลิเมตร
กับการทดสอบที่ความเร็วต่างๆ ที่ใช้แรงเบรกตามมาตรฐานการหยุดรถที่ปลอดภัย คือ หน้า 70% หลัง 30 %
ผลออกมาดังนี้ครับ
- ที่ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หยุดที่ระยะทาง 14.40 เมตร
- ที่ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หยุดที่ระยะทาง 31.80 เมตร
บทสรุป
สำหรับเจ้า "ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีดใหม่" คันนี้กับการทดสอบที่ถือว่าเอาจริงๆแล้ว ก็เป็นรถสไตล์ออโตเมติกที่ขับขี่ง่าย
หญิงก็ได้ชายก็ดี คล่องตัว ประหยัดน้ำมัน แถมได้ผ่านการทดสอบที่เกินการใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเราตั้งใจที่จะเค้นสมรรถนะ
ของรถจักรยานยนต์คันหนึ่ง ที่ถูกผลิตออกมาจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า ในอีกด้านหนึ่งของมัน
ก็ยังคงจะสามารถรองรับกับการใช้งานที่เกินจริงได้หรือไม่ ส่วนตัวทางทีมงานเห็นว่ารถทุกคันที่ถูกผลิตออกมาจะตอบโจทย์
ตามประเภทของรถมัน ต้องการใช้งานแบบไหน ซื้อรถประเภทนั้นใช้งาน ก็จะถือว่าตอบโจทย์ตัวเองที่สุดแล้ว
อย่าใช้รถผิดประเภทเป็นพอ...ครับ!?!
ทดสอบ "ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีด" ตัวใหม่
แต่ไม่ได้ลงรายละอียดว่าใช้ E20ได้รึเปล่า ถ้าใครใช้อยู่ ขอรายละเอียดทีนะคะว่าเติมแล้วเครื่องยนตร์มีปัญหามั้ย
จะลองเปลี่ยนมาใช้ดูบ้าง
ขอบคุณบทความและรูปภาพจากนิตยสาร Two Wheels Action จ้า
รูปภาพปคุณวู้ดดี้ เจนี่และโจอี้ ที่มาเว็บยามาฮ่ามอเตอร์, เด็กดี และ9carthai จ้า
ทางทีมงาน ทูวีลส์ แอคชั่น ได้รับมอบหมายให้ทำการเค้นสมรรถนะของรถจักรยานยนต์ออโตเมติกแฟชั่นอย่างเจ้า
"ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีดใหม่" ที่เราจะเน้นการใช้งานจริงบนเส้นทางจริงกับการขับขี่สไตล์ทัวร์ริ่ง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมช่วงตัวรถ
สมรรถนะของระบบเบรก ช่วงล่าง ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยระบบหัวฉีด YM-Jet Fi และกระบอกสูบ DiASil
ที่เป็นลิขสิทธ์เฉพาะของทาง ยามาฮ่า ว่าจะสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายได้มากน้อยแค่ไหน
ก่อนที่จะไปทำการทดสอบเรามาดูกันครับว่าเจ้า "ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีดใหม่" มีรูปโฉมที่ปรับแต่งอะไรมาจากตัวเดิมกันบ้าง
เริ่มต้นด้วยรูปลักษณ์ภายนอก ที่โคมไฟหน้าเป็นแบบ Diamond Shape ส่องสว่างด้วยหลอดไฟแบบฮาโลเจน 35/35 W
ไฟท้ายออกแบบใหม่โค้งมนพร้อมโคมแบบจิลเวลรี่รูปทรงเรียว ไฟเลี้ยวหน้าและหลังแบบ Leaf Shape บิวอินเรียบเนียนไปกับชุดแฟริ่ง
เพิ่มเส้นสายด้วยรูปทรงตัวถังแบบ S-curve Design สวยงามมีระดับ เติมพื้นที่เก็บของใต้เบาะใหญ่ขึ้นด้วย Mega Box 7.2 ลิตร
จุได้มากขึ้นถึง 80% พร้อมเท่เหนือใครด้วยเรือนไมล์แบบแยกส่วน อันเป็นเอกลักษณ์ของ ฟีโน่
ทางด้านเครื่องยนต์ปรับปรุงใหม่ ด้วยการเปลี่ยนจากการจ่ายน้ำมันด้วยคาร์บูเรเตอร์มาเป็นระบบหัวฉีดอัจฉริยะ YM-Jet FI
ประหยัดน้ำมันสูงสุดถึง 55.75 กิโลเมตร/ลิตร ทนทานด้วยกระบอกสูบ DiASil ที่ผลิตจากอลูมินั่มอัลลอยผสมซิลิกอน น้ำหนักเบา
ระบายความร้อนได้ดีกว่าเหล็กถึง 3 เท่า ส่งถ่ายกำลังด้วยเกียร์ออโตเมติก CVT 115 CC New Gen พร้อมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ด้วยมาตรฐานไอเสียระดับ 6 และมีเทคโนโลยีใหม่กับกุญแจรีโมทอัจฉริยะ Answer Back System ส่งสัญญาณบอกตำแหน่ง
ของตัวรถด้วยไฟกระพริบและเสียง
YM-Jet FI ประหยัดจริงแค่ไหน?
จากการทดสอบ ที่ได้มาแบบนี้เลยครับผม....
ผลสรุปการหาอัตราการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง
- ระยะทางที่วิ่ง 82 กิโลเมตร
- ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไป 1.27 ลิตร
- คำนวณ ระยะทาง 82 หารด้วยจำนวนลิตรของน้ำมันเชื้อเพลิง 1.27
- เท่ากับ 64.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ผลสรุปสมรรถนะ DiASil สุดกำลัง
- อัตราเร่งระยะทางจาก 0-100 เมตร ใช้เวลา 9.47 วินาที ความเร็วอยู่ที่ 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- อัตราเร่งระยะทางจาก 0-200 เมตร ใช้เวลา 14.59 วินาที ความเร็วอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- Top Speed อยู่ที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ซึ่งหลังจากเข็มไมล์ชี้ที่ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง
จะใช้เวลาอีกพอสมควรจนกว่าจะถึงความเร็วสูงสุด
ช่วงล่างของรถออโตเมติกที่จะต้องดูแลรักษาง่าย
ซึ่งทางด้านหน้าเป็นชอคอับแบบเทเลสโกปิก แกนขนาด 26 มิลลิเมตร ระยะยุบตัวอยู่ที่ 90 มิลลิเมตร
และทางด้านหลังก็เป็นแบบชอคอับเดี่ยวพร้อมระบบยูนิตสวิง (Unit Swing) ระยะยุบตัว 78 มิลลิเมตร
พร้อมวงล้อหน้าขนาด 1.40 x 14 นิ้ว พร้อมยางนอกขนาด 70/90-14 M/C 34 P ส่วนวงล้อหลังเป็นขนาด 1.60 x 14 นิ้ว
กับยางนอกขนาด 80/90-14M/C 46P ก็ถือว่าเพียงพอกับรถสไตล์ออโตเมติกขนาด 115 ซีซี ในระดับความเร็วที่ใช้เดินทาง
ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ยังคงควบคุมได้ดี ขับขี่ง่าย นุ่มนวล คล่องตัว ตกหลุมบ้าง ทางขรุขระบ้าง
ก็ยังไม่สะเทือนจนถึงไส้ถึงพุงมากนัก แถมยังไม่มีเสียงดัง ก๊อก แก๊ก เวลาตกหลุมอีกด้วย
ในส่วนของระบบเบรก ทางด้านหน้าเป็นแบบดิสก์เบรกลูกสูบเดี่ยว จานดิสก์ขนาด 190 มิลลิเมตร ลดภาระโดยการใช้น็อตยึด
จานดิสก์เพียง 3 ตัว ส่วนทางด้านหลังเป็นแบบดรัมเบรก เส้นผ่าศูนย์กลางภายในดุมอยู่ที่ 130 มิลลิเมตร
กับการทดสอบที่ความเร็วต่างๆ ที่ใช้แรงเบรกตามมาตรฐานการหยุดรถที่ปลอดภัย คือ หน้า 70% หลัง 30 %
ผลออกมาดังนี้ครับ
- ที่ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หยุดที่ระยะทาง 14.40 เมตร
- ที่ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หยุดที่ระยะทาง 31.80 เมตร
บทสรุป
สำหรับเจ้า "ยามาฮ่า ฟีโน่ หัวฉีดใหม่" คันนี้กับการทดสอบที่ถือว่าเอาจริงๆแล้ว ก็เป็นรถสไตล์ออโตเมติกที่ขับขี่ง่าย
หญิงก็ได้ชายก็ดี คล่องตัว ประหยัดน้ำมัน แถมได้ผ่านการทดสอบที่เกินการใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเราตั้งใจที่จะเค้นสมรรถนะ
ของรถจักรยานยนต์คันหนึ่ง ที่ถูกผลิตออกมาจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า ในอีกด้านหนึ่งของมัน
ก็ยังคงจะสามารถรองรับกับการใช้งานที่เกินจริงได้หรือไม่ ส่วนตัวทางทีมงานเห็นว่ารถทุกคันที่ถูกผลิตออกมาจะตอบโจทย์
ตามประเภทของรถมัน ต้องการใช้งานแบบไหน ซื้อรถประเภทนั้นใช้งาน ก็จะถือว่าตอบโจทย์ตัวเองที่สุดแล้ว
อย่าใช้รถผิดประเภทเป็นพอ...ครับ!?!