ช่วยใส่ข้อ 14 ให้ด้วยครับ

กระทู้สนทนา
กบฏในประเทศไทย เกิดขึ้นทั้งหมด 13 ครั้งในยุครัตนโกสินทร์ โดยตามกฎหมายไทย กบฏเป็นความผิดอาญา ฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้าง หรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรืออำนาจอธิปไตยทั้งสาม หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครอง ในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ หรือ ขบถ และกำหนดโทษสำหรับผู้ก่อการกบฏ ให้ประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามมีผู้ได้รับโทษทัณฑ์ในข้อหากบฏในราชอาณาจักรน้อยมาก ส่วนมากจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ เช่น กบฏ ร.ศ. 130 รับการนิรโทษกรรมจากรัฐบาล หรือหลบหนีไปนอกราชอาณาจักร เช่น กบฏวังหลวง กรณีที่มีผู้รับโทษประหารชีวิตได้แก่ กบฏ 26 มีนาคม 2520 ซึ่งเป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้ทหารทำการรัฐประหารรัฐบาล ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียรในเวลาต่อมา
1.กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง (พ.ศ. 2454) โดย คณะ 130
2.กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม พ.ศ. 2476) โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
3.กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2478) โดย สิบเอกสวัสดิ์ มะหะมัด เป็นหัวหน้า
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ พ.ศ. 2481 (29 มกราคม พ.ศ. 2482) มี พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นหัวหน้า
5.กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล หรือ กบฏ 1 ตุลาคม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2491) โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้า
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
7.กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492) โดย ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า
8.กบฏแมนฮัตตัน หรือ กบฏทหารเรือ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2494) โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา
9.กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497)
10.กบฏ พ.ศ. 2507 (1 ธันวาคม พ.ศ. 2507) โดย พลอากาศเอกนักรบ บิณศรี เป็นหัวหน้า
11.กบฏ 26 มีนาคม 2520 (26 มีนาคม พ.ศ. 2520) โดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า
12.กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ. 2524) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร และพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า
13.กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา (9 กันยายน พ.ศ. 2528) โดย พันเอกมนูญ รูปขจร และพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่