คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 54
เห็นด้วยว่าควรสร้างรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้
เพราะสำหรับรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) เราต้องวางระบบใหม่ทั้งหมด พูดง่าย ๆ ก็คือต้องเริ่มต้นจากศูนย์
แต่เราควรจะปรับปรุงเรื่องระบบรางคู่ ซึ่งเป็นระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ ให้ดีและทั่วถึงทั้งประเทศซะก่อน
พร้อมกับอัพเกรดรถไฟให้มีความเร็วระดับ 100-150 กม./ชม. สำหรับระบบรางคู่
ความเห็นข้างล่างนี่เคยเอาไปโพสต์ไว้ในกระทู้หนึ่ง ขึ้เกียจพิมพ์ใหม่ เลยก๊อปเอามาให้อ่านกันใหม่ละกันครับ..
คือว่าถ้าอ้างอิงตามรูปนี้ละก้อ ยังไม่ใช่ระบบรางคู่ที่เพียงพอในความคิดของผมครับ
ในความคิดของผม เส้นที่เป็นสีน้ำเงินกับสีเขียว มันต้องเชื่อมต่อเป็นใยแมงมุมกันมากกว่านี้
เชื่อมจังหวัดใหญ่ ๆ ในภาคเดียวกันเข้าด้วยกัน เชื่อมจังหวัดใหญ่ ๆ ในแต่ละภาคที่อยู่ติดกันเข้าด้วยกัน
ยกตัวอย่างของญี่ปุ่น มันต้องโยงใยกันในระดับนี้สำหรับระบบรางคู่
ซึ่งถ้าทำได้จริง ๆ มันจะเปลี่ยวโฉมหน้าการเดินทางของคนไทยใหม่เลย ไม่จำเป็นต้องอิงกับระบบถนนเหมือนอย่างในทุกวันนี้
จากนั้นเราค่อยเสริมระบบรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) เชื่อมหัวเมืองหลักใหญ่ ๆ ในแต่ละภาคของประเทศเข้าด้วยกันอีกที
เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่พร้อมจะจ่ายแพงกว่าสำหรับเวลาที่ใช้ในการเดินทางน้อยลง
แต่ว่าก็ต้องมีระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นมารองรับการเดินทางหลังจากออกจากระบบรถไฟไปแล้วด้วยนะครับ
ไม่ใช่ว่าลงจากรถไฟไฮเทค แล้วต้องมาต่อวินมอเตอร์ไซด์เข้าบ้านอีก อันนี้ไม่ฮาเท่าไหร่...
ยกตัวอย่างของญี่ปุ่น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+)
ผมถึงคิดว่าเราควรจะทุ่มงบประมาณไปลงที่ระบบรางคู่เป็นสำคัญ มากกว่าที่จะไปลงที่ระบบรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+)
เป็นอันดับแรก อย่างที่อยากจะทำกันอยู่ในเวลานี้
ลองคิดดูว่ามีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) ที่เชื่อมต่อแค่ไม่กี่จังหวัด ระยะทางไม่กี่ร้อย กม. จะมีคนใช้บริการสักเท่าไหร่กัน
เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่จะใช้บริการรถไฟระบบรางคู่ (ที่ปรับปรุงให้สมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว) ที่มีเส้นทางครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่
ของประเทศไทย
ลองดูสถิติของบริษัทรถไฟ JR West ของญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
Shinkansen คือรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) ส่วน Conventional lines คือรถไฟระบบรางคู่ ซึ่งจะมีรถไฟที่มีความเร็ว
หลากหลายระดับ (ต่ำกว่า 150 กม./ชม.) วิ่งร่วมกันอยู่
จะเห็นได้ว่าระบบรางคู่ มันตอบสนองการใช้งานของประชาชนในพื้นที่ที่ระบบรางพาดผ่านได้มากกว่ากันเยอะ
Total route length 5,015.7 km
Shinkansen 644 km (1 line)
Conventional lines 4,371.7 km (50 lines)
Number of stations 1,222
Number of passenger cars 6,534
Number of passengers approx. 180,000 passengers a day (Shinkansen) ***
approx. 4.83 million passengers a day (Conventional lines) ***
Number of train runs 265 trains a day (Shinkansen)
499 trains a day (Conventional lines, limited express, and express)
เพราะสำหรับรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) เราต้องวางระบบใหม่ทั้งหมด พูดง่าย ๆ ก็คือต้องเริ่มต้นจากศูนย์
แต่เราควรจะปรับปรุงเรื่องระบบรางคู่ ซึ่งเป็นระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ ให้ดีและทั่วถึงทั้งประเทศซะก่อน
พร้อมกับอัพเกรดรถไฟให้มีความเร็วระดับ 100-150 กม./ชม. สำหรับระบบรางคู่
ความเห็นข้างล่างนี่เคยเอาไปโพสต์ไว้ในกระทู้หนึ่ง ขึ้เกียจพิมพ์ใหม่ เลยก๊อปเอามาให้อ่านกันใหม่ละกันครับ..
คือว่าถ้าอ้างอิงตามรูปนี้ละก้อ ยังไม่ใช่ระบบรางคู่ที่เพียงพอในความคิดของผมครับ
ในความคิดของผม เส้นที่เป็นสีน้ำเงินกับสีเขียว มันต้องเชื่อมต่อเป็นใยแมงมุมกันมากกว่านี้
เชื่อมจังหวัดใหญ่ ๆ ในภาคเดียวกันเข้าด้วยกัน เชื่อมจังหวัดใหญ่ ๆ ในแต่ละภาคที่อยู่ติดกันเข้าด้วยกัน
ยกตัวอย่างของญี่ปุ่น มันต้องโยงใยกันในระดับนี้สำหรับระบบรางคู่
ซึ่งถ้าทำได้จริง ๆ มันจะเปลี่ยวโฉมหน้าการเดินทางของคนไทยใหม่เลย ไม่จำเป็นต้องอิงกับระบบถนนเหมือนอย่างในทุกวันนี้
จากนั้นเราค่อยเสริมระบบรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) เชื่อมหัวเมืองหลักใหญ่ ๆ ในแต่ละภาคของประเทศเข้าด้วยกันอีกที
เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่พร้อมจะจ่ายแพงกว่าสำหรับเวลาที่ใช้ในการเดินทางน้อยลง
แต่ว่าก็ต้องมีระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นมารองรับการเดินทางหลังจากออกจากระบบรถไฟไปแล้วด้วยนะครับ
ไม่ใช่ว่าลงจากรถไฟไฮเทค แล้วต้องมาต่อวินมอเตอร์ไซด์เข้าบ้านอีก อันนี้ไม่ฮาเท่าไหร่...
ยกตัวอย่างของญี่ปุ่น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+)
ผมถึงคิดว่าเราควรจะทุ่มงบประมาณไปลงที่ระบบรางคู่เป็นสำคัญ มากกว่าที่จะไปลงที่ระบบรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+)
เป็นอันดับแรก อย่างที่อยากจะทำกันอยู่ในเวลานี้
ลองคิดดูว่ามีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) ที่เชื่อมต่อแค่ไม่กี่จังหวัด ระยะทางไม่กี่ร้อย กม. จะมีคนใช้บริการสักเท่าไหร่กัน
เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่จะใช้บริการรถไฟระบบรางคู่ (ที่ปรับปรุงให้สมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว) ที่มีเส้นทางครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่
ของประเทศไทย
ลองดูสถิติของบริษัทรถไฟ JR West ของญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
Shinkansen คือรถไฟความเร็วสูง (ระดับ 200+) ส่วน Conventional lines คือรถไฟระบบรางคู่ ซึ่งจะมีรถไฟที่มีความเร็ว
หลากหลายระดับ (ต่ำกว่า 150 กม./ชม.) วิ่งร่วมกันอยู่
จะเห็นได้ว่าระบบรางคู่ มันตอบสนองการใช้งานของประชาชนในพื้นที่ที่ระบบรางพาดผ่านได้มากกว่ากันเยอะ
Total route length 5,015.7 km
Shinkansen 644 km (1 line)
Conventional lines 4,371.7 km (50 lines)
Number of stations 1,222
Number of passenger cars 6,534
Number of passengers approx. 180,000 passengers a day (Shinkansen) ***
approx. 4.83 million passengers a day (Conventional lines) ***
Number of train runs 265 trains a day (Shinkansen)
499 trains a day (Conventional lines, limited express, and express)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
--------------
ในคลิปพูดถึงแต่การร่นระยะเวลาในการขนส่ง ผักบ้างแหนมเนืองบ้าง หรือบอกว่าบ้านอยู่หัวหินจะได้ไปทำงานกรุงเทพได้ ชี้ให้เห็นความไม่รู้จริงของคนพูดเลย เพราะไม่ได้พูดถึงราคาค่าขนส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงเลย ซึ่งค่ารถไฟจะไม่น่าแตกต่างจากค่าโดยสารเครื่องบินมาก ไม่ว่าคนหรือสินค้า จะส่งแหนมเนือง นำหนักรวมหีบห่อ 2 ก.ก. นี่ลองคิดเล่นๆ คุณว่าค่าส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงจะแพงกว่าค่าแหนมเนืองไหม
------------
เพราะคุณไม่ได้อยู่ในธุรกิจ หรือไม่เคยสัมผัสกับ วงการอุตสาหกรรมแบบ ของสินค้าราคาสูง พรีเมียม อะไรที่มันโหลดใต้ท้องเครื่อง มันโหลดใส่รถความเร็วสูงหมดแหละ
--------------
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่อยากให้เรามีรถไฟวามเร็วสูง แต่เมื่อดูแผนโครงการ มองภาพรวมของประเทศ วิธีการลงทุน ฯลฯ ด้วยความรู้จำกัดที่ผมมี กลายเป็นว่าผมมองไม่เห็นความเป็นไปได้ที่รถไฟความเร็วสูงถ้ามีจริงในไทยแล้วจะสามารถเลี้ยงตัวเอง หนีพ้นความขาดทุน หรือกลายเป็นขนส่งมวลชนหลักระหว่างกรุงเทพกับภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยได้เลย
---------------
สิ่งที่คุณไม่เคยคิดคือ 1. ราคาน้ำมัน 2. ความมั่นคงทางด้านพลังงาน 3.เงินเฟ้อ 4. ราคาที่ดิน สินทรัพย์ 5. Urbanization
ตอน ร5 สร้างทางรถไฟ ผมก็ว่าคงมีคนบอกว่าจะสร้างไปทำไม - นั่ง BTS MRT ค่าตั๋วแพง สร้างไปทำไม
ใช่ครับ มันเป็นความรู้คุณมีจำกัดจริงๆ
----------------------
ใครทำคลิปผมไม่ทราบแต่เห็นชัดๆ ว่าเต็มไปด้วยความเห็นที่สนับสนุนรถไฟความเร็วสูงเต็มที่ เป็นความเห็นด้านเดียวมากๆ อ่านความเห็นผู้คนทั้งใน Pantip และที่อื่นๆ แล้วก็เห็นคนจำนวนมากที่เสียดายถ้ารถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดขึ้น
--------------------
ความเห็นของคุณผมก็ว่ามันเป็นความเห็นด้านเดียวมากๆ
-------------------------------
เมืองต่างๆ ที่จะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงไม่มีเมืองไหนมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพเลย นอกจากนั้นยังไม่มีระบบเชื่อมต่ออื่นๆ อีก ถ้าในฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ลงจากรถไฟแล้วคุณไปต่อรถไฟสายย่อย รถเมล์ หรือ taxi มิเตอร์ได้ บ้านเรามีโครงข่ายสาธารณะเชื่อมโยงแบบนั้นที่จะจูงใจคนใช้รถไฟความเร็วสูงหรือยัง ออกจากสถานีรถไฟความเร็วสูง มีแต่สองแถวตุ๊กๆ ความเร็วต่ำให้เลือก หรืออยากความเร็วสูงหน่อยก็วัดดวงกับมอไซต์รับจ้างหรือคิวรถตู้
-------------------------------------
การขนส่งในต่างจังหวัด ถ้าสถานีมันไปลง มีคนใช้มากเข้า สิ่งต่างๆเหล่านี้ มันจะพัฒนามาเอง
------------------------------
ผมเห็นด้วยกับการกู้เงินเพื่อลงทุนทำระบบรถไฟร่างคู่ทั่วประเทศในตอนนี้ หันมาใช้ระบบรางขนสินค้าให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่กู้โครมเดียวเอาหมดรวมทั้งรถไฟความเร็วสูงด้วย ที่สุดท้ายถ้ามีอาจจะไม่คุ้มทุน แล้วยังมีดอกเบี้ยอีกมหาศาล แล้วยังต้องดึงภาษีของเราไปใช้อุ้มอีก ซื่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่กับระบบอื่นๆ ทั้งประเทศอีก
-------------------------
มันก็รวมทั้งรางคู่ด้วย ไม่สร้างเลย อย่างที่บอก ตอนสร้าง BTS ก็บอกว่าไม่รู้จะสร้างไปทำไม พอสร้างเสร็จ ก็บอกว่า ทำไมสร้างมาหน่อยเดียว
---------------------------------
ได้เห็นความเชื่อผิดๆ ของคนมากมายเรื่องรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะไอ้ตัวอย่างว่าจะเอามาขนผัก เห็นแล้วมันเศร้าใจครับ ขนาดรัฐมนตรีดูท่าทางฉลาดๆ ยังเอากับเค้าด้วย ก็ไม่รู้จะยังไงแล้ว ไม่รู้ผมคิดมากไปเองหรือเปล่า หรือเพราะคนอื่นไม่ยอดคิดกันเลย
---------------------------------
ด้วยความสัตย์จริง ผมเชื่อในประสบการณ์ของ อ ชัชชาติ ผมอ่านความเห็นคุณแล้วผมเศร้าใจมากกว่าครับ
-------------------------------------
ผมตั้งกระทู้นี้เป็นกระทู้คำถาม เพื่อให้สามารถเลือกความเห็นดีๆ ขึ้นมาด้านบนได้ ก็ขอให้เพื่อนสมาชิกช่วยเปิดหูเปิดตาผมหน่อยถ้าผมเข้าใจอะไรผิดหรือมีเหตุผลดีๆ ที่ทำให้เราต้องมีรถไฟความเร็วสูงตอนนี้
----------------------------------------
ในนี้มีคำตอบมากมาย ถ้าไม่ปิดตา ปิดใจ น่าจะได้คำตอบที่ดีมากมาย
- เรื่องตั๋วที่หามาให้ดูไม่คอมเมนท์ เพราะ ราคา น้ำดื่มในฝรั่งเศษ มันก็แพงกว่าน้ำดื่มในเมืองไทย คงเทียบกันยาก เท่าที่รู้มา ราคามันจะพอกับ โลว์คอสแอร์ไลน์ และ ถ้ามันราคาเท่ากับเครื่องบิน เก้าอีไม่พอนั่งครับ
คุณไปถามคนที่ต้องนั้งเครื่องบินบ่อยๆ แล้วจะรู้ว่าทำไม
---- รู้มั้ยครับว่าหนี้ที่มีอยู่ตอนนี้เป็นหนี้อะไรบ้าง
---- รู้มั้ยครับว่าถ้ากู้เจ้าหนี้เป็นใคร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในคลิปพูดถึงแต่การร่นระยะเวลาในการขนส่ง ผักบ้างแหนมเนืองบ้าง หรือบอกว่าบ้านอยู่หัวหินจะได้ไปทำงานกรุงเทพได้ ชี้ให้เห็นความไม่รู้จริงของคนพูดเลย เพราะไม่ได้พูดถึงราคาค่าขนส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงเลย ซึ่งค่ารถไฟจะไม่น่าแตกต่างจากค่าโดยสารเครื่องบินมาก ไม่ว่าคนหรือสินค้า จะส่งแหนมเนือง นำหนักรวมหีบห่อ 2 ก.ก. นี่ลองคิดเล่นๆ คุณว่าค่าส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงจะแพงกว่าค่าแหนมเนืองไหม
------------
เพราะคุณไม่ได้อยู่ในธุรกิจ หรือไม่เคยสัมผัสกับ วงการอุตสาหกรรมแบบ ของสินค้าราคาสูง พรีเมียม อะไรที่มันโหลดใต้ท้องเครื่อง มันโหลดใส่รถความเร็วสูงหมดแหละ
--------------
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่อยากให้เรามีรถไฟวามเร็วสูง แต่เมื่อดูแผนโครงการ มองภาพรวมของประเทศ วิธีการลงทุน ฯลฯ ด้วยความรู้จำกัดที่ผมมี กลายเป็นว่าผมมองไม่เห็นความเป็นไปได้ที่รถไฟความเร็วสูงถ้ามีจริงในไทยแล้วจะสามารถเลี้ยงตัวเอง หนีพ้นความขาดทุน หรือกลายเป็นขนส่งมวลชนหลักระหว่างกรุงเทพกับภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยได้เลย
---------------
สิ่งที่คุณไม่เคยคิดคือ 1. ราคาน้ำมัน 2. ความมั่นคงทางด้านพลังงาน 3.เงินเฟ้อ 4. ราคาที่ดิน สินทรัพย์ 5. Urbanization
ตอน ร5 สร้างทางรถไฟ ผมก็ว่าคงมีคนบอกว่าจะสร้างไปทำไม - นั่ง BTS MRT ค่าตั๋วแพง สร้างไปทำไม
ใช่ครับ มันเป็นความรู้คุณมีจำกัดจริงๆ
----------------------
ใครทำคลิปผมไม่ทราบแต่เห็นชัดๆ ว่าเต็มไปด้วยความเห็นที่สนับสนุนรถไฟความเร็วสูงเต็มที่ เป็นความเห็นด้านเดียวมากๆ อ่านความเห็นผู้คนทั้งใน Pantip และที่อื่นๆ แล้วก็เห็นคนจำนวนมากที่เสียดายถ้ารถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดขึ้น
--------------------
ความเห็นของคุณผมก็ว่ามันเป็นความเห็นด้านเดียวมากๆ
-------------------------------
เมืองต่างๆ ที่จะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงไม่มีเมืองไหนมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพเลย นอกจากนั้นยังไม่มีระบบเชื่อมต่ออื่นๆ อีก ถ้าในฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ลงจากรถไฟแล้วคุณไปต่อรถไฟสายย่อย รถเมล์ หรือ taxi มิเตอร์ได้ บ้านเรามีโครงข่ายสาธารณะเชื่อมโยงแบบนั้นที่จะจูงใจคนใช้รถไฟความเร็วสูงหรือยัง ออกจากสถานีรถไฟความเร็วสูง มีแต่สองแถวตุ๊กๆ ความเร็วต่ำให้เลือก หรืออยากความเร็วสูงหน่อยก็วัดดวงกับมอไซต์รับจ้างหรือคิวรถตู้
-------------------------------------
การขนส่งในต่างจังหวัด ถ้าสถานีมันไปลง มีคนใช้มากเข้า สิ่งต่างๆเหล่านี้ มันจะพัฒนามาเอง
------------------------------
ผมเห็นด้วยกับการกู้เงินเพื่อลงทุนทำระบบรถไฟร่างคู่ทั่วประเทศในตอนนี้ หันมาใช้ระบบรางขนสินค้าให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่กู้โครมเดียวเอาหมดรวมทั้งรถไฟความเร็วสูงด้วย ที่สุดท้ายถ้ามีอาจจะไม่คุ้มทุน แล้วยังมีดอกเบี้ยอีกมหาศาล แล้วยังต้องดึงภาษีของเราไปใช้อุ้มอีก ซื่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่กับระบบอื่นๆ ทั้งประเทศอีก
-------------------------
มันก็รวมทั้งรางคู่ด้วย ไม่สร้างเลย อย่างที่บอก ตอนสร้าง BTS ก็บอกว่าไม่รู้จะสร้างไปทำไม พอสร้างเสร็จ ก็บอกว่า ทำไมสร้างมาหน่อยเดียว
---------------------------------
ได้เห็นความเชื่อผิดๆ ของคนมากมายเรื่องรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะไอ้ตัวอย่างว่าจะเอามาขนผัก เห็นแล้วมันเศร้าใจครับ ขนาดรัฐมนตรีดูท่าทางฉลาดๆ ยังเอากับเค้าด้วย ก็ไม่รู้จะยังไงแล้ว ไม่รู้ผมคิดมากไปเองหรือเปล่า หรือเพราะคนอื่นไม่ยอดคิดกันเลย
---------------------------------
ด้วยความสัตย์จริง ผมเชื่อในประสบการณ์ของ อ ชัชชาติ ผมอ่านความเห็นคุณแล้วผมเศร้าใจมากกว่าครับ
-------------------------------------
ผมตั้งกระทู้นี้เป็นกระทู้คำถาม เพื่อให้สามารถเลือกความเห็นดีๆ ขึ้นมาด้านบนได้ ก็ขอให้เพื่อนสมาชิกช่วยเปิดหูเปิดตาผมหน่อยถ้าผมเข้าใจอะไรผิดหรือมีเหตุผลดีๆ ที่ทำให้เราต้องมีรถไฟความเร็วสูงตอนนี้
----------------------------------------
ในนี้มีคำตอบมากมาย ถ้าไม่ปิดตา ปิดใจ น่าจะได้คำตอบที่ดีมากมาย
- เรื่องตั๋วที่หามาให้ดูไม่คอมเมนท์ เพราะ ราคา น้ำดื่มในฝรั่งเศษ มันก็แพงกว่าน้ำดื่มในเมืองไทย คงเทียบกันยาก เท่าที่รู้มา ราคามันจะพอกับ โลว์คอสแอร์ไลน์ และ ถ้ามันราคาเท่ากับเครื่องบิน เก้าอีไม่พอนั่งครับ
คุณไปถามคนที่ต้องนั้งเครื่องบินบ่อยๆ แล้วจะรู้ว่าทำไม
---- รู้มั้ยครับว่าหนี้ที่มีอยู่ตอนนี้เป็นหนี้อะไรบ้าง
---- รู้มั้ยครับว่าถ้ากู้เจ้าหนี้เป็นใคร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 7
รถไฟความเร็วสูงที่ไหนก็ไม่คืนทุนจากค่าตั๋วง่ายๆแต่สิ่งที่รัฐต้องการคือUrbanizationพัฒนาความเจริญของเมืองบริวาร กระจายความเจริญจากกทม เช่นในอนาคตอาจจะได้เห็นสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำหรือหน่วยงานใหญ่ๆกระจายไปตามเมืองบริวารถ้าการคมนาคมสะดวก ลดค่าเดินทาง ถามว่าเทียบกับเครื่องบินโลคอสแล้วไม่ต่างกันอันนี้ก็ไม่ถูกเพราะเครื่องบินมันต้องจองล่วงหน้านานๆถึงจะได้ถูกและเครื่องบินมันไม่ได้แวะจอดรายทางสร้างความเจริญให้เมืองบริวารที่มันวิ่งผ่านแบบรถไฟ โครงสร้างการขนส่งที่ดีส่งผลต่อต้นทุนโลจีสติกครับ ต้นทุนต่ำลงประเทศจะแข่งขันเรื่องการผลิตได้ดีขึ้นเป็นวงจรเศรษฐกิจที่ดีขึ้นคนมีการมีงานมีการซื้อขายเกิดการเสียภาษี เกิดvatกลับคืนมาให้รัฐ ไปใช้หนี้โครงสร้างพื้นฐานที่สร้างมา(คือเค้าไม่ได้สร้างแล้วรอเอาแค่ค่าตั๋วไปใช้หนี้) ลองมองมิติทางสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ร่วมกันบ้าง
ความคิดเห็นที่ 28
จขทก.
"ได้เห็นความเชื่อผิดๆ ของคนมากมายเรื่องรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะไอ้ตัวอย่างว่าจะเอามาขนผัก เห็นแล้วมันเศร้าใจครับ"
ออกจากโลกส่วนตัวของคุณบ้างเถอะครับ
สำหรับผม ถ้าผมไม่รู้อะไร ผมก็ไปหาข้อมูล ไปถามผู้เชี่ยวชาญ
เพราะด้วยระบบการศึกษาในทุกวันนี้
พวกเราโง่กว้าง โง่มันเลยทีเดียวหลายๆเรื่อง...โง่กันเป็นพันหมื่นเรื่อง
แต่ฉลาดลึก... คือรู้ลึกรู้จริงอยู่ไม่กี่สิบเรื่อง...เน้นรู้ด้านที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน...
และจะมีบางคน ที่รู้กว้างแบบลึกๆ คืออาจจะทำอะไรด้วยตัวแทบไม่เป็นเลย
แต่รู้จักเทคนิคการบริหารทรัพยากร บริหารคน
บริหารโครงการต่างๆให้สำเร็จ มองภาพรวมออก ว่าจะเอาอะไรมาต่อกับอะไร
รู้ว่าต้องจัดหาจัดสร้างปัจจัยอะไรหนุนบ้าง เพื่อผสานให้เกิดประโยชน์ได้ในที่สุด
ในเมื่อความรู้ยุคนี้ มันต้องผสานกันแบบนี้
และคนไม่อาจแยกจากสังคมไปอยู่เดี่ยวๆได้ง่ายนักเหมือนยุคก่อนๆ...
แล้วคุณเอาอะไรไปตัดสินได้เหมือนอย่างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาชีพเขาหละครับ....
ขนาดหมอยังแยกย่อยออกเป็นหมอเฉพาะทางเฉพาะโรคหลายร้อยสาขา
ขนาดกลุ่มงานไอที ก็แยกย่อยออกเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง ต่างความชำนาญกันไปมากมาย
กลุ่มวิศวกรก่อสร้าง...
กลุ่มวิศวกรไฟฟ้า...
ลุ่มวิศกรอิเลคทรอนิคส์...
งานในหลายๆสาขา ชื่อว่างานกลุ่มเดียวกัน แต่ความรู้ต่างกัน...ถ้าจะทำงานแทนกันก็ต้องไปเรียนเพิ่ม
หรือเสียเวลาฝึกอีกเป็นปีๆ...ไม่สามารถทำงานแทนกันได้อย่างทันทีทันใดนะครับ
ดังนั้น.... ผมเฉยๆกับคุณ เพราะคนแบบคุณมีเยอะครับ
คุณเชื่อไหมว่า หลายๆอุตสาหกรรม เช่นธุรกิจโรงแรม เขาต้องติดแอร์ให้ห้องเก็บขยะเปียก...
คุณเชื่อไหมว่า ผักโครงการหลวง ส่งทางเครื่องบินมาขายที่ภูเก็ต...
รู้แบบนี้แล้วคุณยังจะสงสัยเรื่องติดแอร์ให้ห้องขยะไหมครับ
คุณจะสงสัยว่าคนโครงการหลวงคงโง่ที่ส่งผักผ่านคาร์โก้จากภาคเหนือมาขายถึงภูเก็ตไหมครับ
ผมรู้เพราะผมอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวครับ...
เรื่องที่คุณรู้แต่ผมไม่รู้ก็มีเยอะ
เรื่องที่ผมรู้แต่คุณไม่รู้ก็คงมีเยอะ
ที่แน่ๆคือ....เรื่องที่คุณและผมไม่รู้
แต่รัฐบาลเขารู้.... ยังมีอีกเยอะเป็นล้านเรื่องๆครับ.... ชัดพอไหมครับ
"ได้เห็นความเชื่อผิดๆ ของคนมากมายเรื่องรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะไอ้ตัวอย่างว่าจะเอามาขนผัก เห็นแล้วมันเศร้าใจครับ"
ออกจากโลกส่วนตัวของคุณบ้างเถอะครับ
สำหรับผม ถ้าผมไม่รู้อะไร ผมก็ไปหาข้อมูล ไปถามผู้เชี่ยวชาญ
เพราะด้วยระบบการศึกษาในทุกวันนี้
พวกเราโง่กว้าง โง่มันเลยทีเดียวหลายๆเรื่อง...โง่กันเป็นพันหมื่นเรื่อง
แต่ฉลาดลึก... คือรู้ลึกรู้จริงอยู่ไม่กี่สิบเรื่อง...เน้นรู้ด้านที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน...
และจะมีบางคน ที่รู้กว้างแบบลึกๆ คืออาจจะทำอะไรด้วยตัวแทบไม่เป็นเลย
แต่รู้จักเทคนิคการบริหารทรัพยากร บริหารคน
บริหารโครงการต่างๆให้สำเร็จ มองภาพรวมออก ว่าจะเอาอะไรมาต่อกับอะไร
รู้ว่าต้องจัดหาจัดสร้างปัจจัยอะไรหนุนบ้าง เพื่อผสานให้เกิดประโยชน์ได้ในที่สุด
ในเมื่อความรู้ยุคนี้ มันต้องผสานกันแบบนี้
และคนไม่อาจแยกจากสังคมไปอยู่เดี่ยวๆได้ง่ายนักเหมือนยุคก่อนๆ...
แล้วคุณเอาอะไรไปตัดสินได้เหมือนอย่างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาชีพเขาหละครับ....
ขนาดหมอยังแยกย่อยออกเป็นหมอเฉพาะทางเฉพาะโรคหลายร้อยสาขา
ขนาดกลุ่มงานไอที ก็แยกย่อยออกเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง ต่างความชำนาญกันไปมากมาย
กลุ่มวิศวกรก่อสร้าง...
กลุ่มวิศวกรไฟฟ้า...
ลุ่มวิศกรอิเลคทรอนิคส์...
งานในหลายๆสาขา ชื่อว่างานกลุ่มเดียวกัน แต่ความรู้ต่างกัน...ถ้าจะทำงานแทนกันก็ต้องไปเรียนเพิ่ม
หรือเสียเวลาฝึกอีกเป็นปีๆ...ไม่สามารถทำงานแทนกันได้อย่างทันทีทันใดนะครับ
ดังนั้น.... ผมเฉยๆกับคุณ เพราะคนแบบคุณมีเยอะครับ
คุณเชื่อไหมว่า หลายๆอุตสาหกรรม เช่นธุรกิจโรงแรม เขาต้องติดแอร์ให้ห้องเก็บขยะเปียก...
คุณเชื่อไหมว่า ผักโครงการหลวง ส่งทางเครื่องบินมาขายที่ภูเก็ต...
รู้แบบนี้แล้วคุณยังจะสงสัยเรื่องติดแอร์ให้ห้องขยะไหมครับ
คุณจะสงสัยว่าคนโครงการหลวงคงโง่ที่ส่งผักผ่านคาร์โก้จากภาคเหนือมาขายถึงภูเก็ตไหมครับ
ผมรู้เพราะผมอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวครับ...
เรื่องที่คุณรู้แต่ผมไม่รู้ก็มีเยอะ
เรื่องที่ผมรู้แต่คุณไม่รู้ก็คงมีเยอะ
ที่แน่ๆคือ....เรื่องที่คุณและผมไม่รู้
แต่รัฐบาลเขารู้.... ยังมีอีกเยอะเป็นล้านเรื่องๆครับ.... ชัดพอไหมครับ
แสดงความคิดเห็น
รถไฟความเร็วสูง คุ้มค่าจริงหรือถ้าจะลงทุนตอนนี้
ใครทำคลิปผมไม่ทราบแต่เห็นชัดๆ ว่าเต็มไปด้วยความเห็นที่สนับสนุนรถไฟความเร็วสูงเต็มที่ เป็นความเห็นด้านเดียวมากๆ อ่านความเห็นผู้คนทั้งใน Pantip และที่อื่นๆ แล้วก็เห็นคนจำนวนมากที่เสียดายถ้ารถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิดขึ้น
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่อยากให้เรามีรถไฟวามเร็วสูง แต่เมื่อดูแผนโครงการ มองภาพรวมของประเทศ วิธีการลงทุน ฯลฯ ด้วยความรู้จำกัดที่ผมมี กลายเป็นว่าผมมองไม่เห็นความเป็นไปได้ที่รถไฟความเร็วสูงถ้ามีจริงในไทยแล้วจะสามารถเลี้ยงตัวเอง หนีพ้นความขาดทุน หรือกลายเป็นขนส่งมวลชนหลักระหว่างกรุงเทพกับภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยได้เลย
ในคลิปพูดถึงประโยชน์ในการขนส่งสินค้าบลาๆ เข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ในคลิปน่าจะไม่เคยสัมผัสรถไฟความเร็วสูง เพราะรถไฟความเร็วสูงเช่น TGV, Euro Star, ชินคันเซน มีไว้เพื่อขนคนเป็นหลัก การขนสินค้าเป็นแค่บริการรอง นอกจากนั้นค่าระวางสินค้าก็แพงมาก
ในคลิปพูดถึงแต่การร่นระยะเวลาในการขนส่ง ผักบ้างแหนมเนืองบ้าง หรือบอกว่าบ้านอยู่หัวหินจะได้ไปทำงานกรุงเทพได้ ชี้ให้เห็นความไม่รู้จริงของคนพูดเลย เพราะไม่ได้พูดถึงราคาค่าขนส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงเลย ซึ่งค่ารถไฟจะไม่น่าแตกต่างจากค่าโดยสารเครื่องบินมาก ไม่ว่าคนหรือสินค้า จะส่งแหนมเนือง นำหนักรวมหีบห่อ 2 ก.ก. นี่ลองคิดเล่นๆ คุณว่าค่าส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงจะแพงกว่าค่าแหนมเนืองไหม
ผมลองเอาตัวอย่างการจองตั๋ว TGV จาก Paris ไป Reims ระยะทางประมาณ 150 กม. สั้นกว่าหัวหินที่ประมาณ 180 กม. จองตั๋ว 2 เดือนล่วงหน้า เลือกราคาที่ถูกที่สุด ผลเป็นดังนี้ครับ
ราคาไปกลับประมาณเกือบ 2 พันบาท อาจจะมีตั๋ววันอื่นหรือเวลาอื่นที่ถูกกว่านี้ แต่ลองจินนาการว่าถ้าคุณต้องการพาครอบครัวโดยสารรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หัวหิน ค่าโดยสารไปกลับอย่างถูกเลยตีเหมาเฉลี่ยจองล่วงหน้า 2 เดือนคนละ 1000 บาท สมาชิกในบ้าน 4 คน ค่ารถไฟอย่างเดียว 4000 บาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายเดินทางจากบ้านไปสถานีรถไฟ จากสถานีรถไฟไปโรงแรม แล้วลองนึกสภาพระบบขนส่งมวลชลที่หัวหิน ถ้าคุณมีรถ คุณจะขับรถไปเองหรือไปรถไฟ?
เมืองต่างๆ ที่จะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงไม่มีเมืองไหนมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพเลย นอกจากนั้นยังไม่มีระบบเชื่อมต่ออื่นๆ อีก ถ้าในฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ลงจากรถไฟแล้วคุณไปต่อรถไฟสายย่อย รถเมล์ หรือ taxi มิเตอร์ได้ บ้านเรามีโครงข่ายสาธารณะเชื่อมโยงแบบนั้นที่จะจูงใจคนใช้รถไฟความเร็วสูงหรือยัง ออกจากสถานีรถไฟความเร็วสูง มีแต่สองแถวตุ๊กๆ ความเร็วต่ำให้เลือก หรืออยากความเร็วสูงหน่อยก็วัดดวงกับมอไซต์รับจ้างหรือคิวรถตู้
ผมเห็นด้วยกับการกู้เงินเพื่อลงทุนทำระบบรถไฟร่างคู่ทั่วประเทศในตอนนี้ หันมาใช้ระบบรางขนสินค้าให้มากขึ้น แต่ไม่ใช่กู้โครมเดียวเอาหมดรวมทั้งรถไฟความเร็วสูงด้วย ที่สุดท้ายถ้ามีอาจจะไม่คุ้มทุน แล้วยังมีดอกเบี้ยอีกมหาศาล แล้วยังต้องดึงภาษีของเราไปใช้อุ้มอีก ซื่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่กับระบบอื่นๆ ทั้งประเทศอีก
ได้เห็นความเชื่อผิดๆ ของคนมากมายเรื่องรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะไอ้ตัวอย่างว่าจะเอามาขนผัก เห็นแล้วมันเศร้าใจครับ ขนาดรัฐมนตรีดูท่าทางฉลาดๆ ยังเอากับเค้าด้วย ก็ไม่รู้จะยังไงแล้ว ไม่รู้ผมคิดมากไปเองหรือเปล่า หรือเพราะคนอื่นไม่ยอมคิดกันเลย
ผมตั้งกระทู้นี้เป็นกระทู้คำถาม เพื่อให้สามารถเลือกความเห็นดีๆ ขึ้นมาด้านบนได้ ก็ขอให้เพื่อนสมาชิกช่วยเปิดหูเปิดตาผมหน่อยถ้าผมเข้าใจอะไรผิดหรือมีเหตุผลดีๆ ที่ทำให้เราต้องมีรถไฟความเร็วสูงตอนนี้