ทำไมผู้ป่วยเป็นแผลนิดเดียวแต่ลามจนต้องขูดเนื้อทิ้งจึงพบมากขึ้นครับ

ไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ รพ. เป็นประจำ จะเห็นผู้ป่วยที่เป็นแผลจากการโดน บาด ทิ่ม หรือตำ ซึ่งเป็นแผลเพียงเล็กน้อย ทิ้งไว้สองสามวันกลับติดเชื้อ เนื้อบริเวณโดยรอบบวมแดงจนเน่า หมอต้องขูดเนื้อบริเวณนั้นทิ้ง บางคนขูดจนถึงกระดูกเลย จากที่เห็นๆ จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ

เกิดจากสาเหตุอะไรครับ ทำไมลามเร็วขนาดนั้น (แค่สองสามวัน เคยคุยกับผู้ป่วยรายหนึ่งเขาบอกว่าแต่แรกเห็นแผลแค่หน่อยเดียว ไม่เจ็บอะไร พอวันที่สามเท่านั้นลามแดงไปทั่ว) จะมีวิธีการป้องกันดูแลเมื่อเกิดมีแผลอย่างไรครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เวลาเกิดอุบัติเหตุมีบาดแผล จะมีเชื้อแบคทีเรียที่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อผิวหนัง ( เข้าลึกลงไปในแผลจากการทิ่มแทง หรือแผลฉีกขาดมีเลือดออก ) ทำให้ทำความสะอาดแผลไม่ทั่วถึง แบคทีเรียที่เข้าไปจะไปทำลายเนื้อเยื่อ มีเม็ดเลือดขาวมากัดกินเชื้อแต่อาจสู้มันไม่ชนะ ถ้าเชื้อมีปริมาณมากกว่า ก็จะมีแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น ทำลายเนื่อเยื่อแผ่ขยายลุกลามไปรอบๆ เป็นบริเวณกว้าง เกิดการบวมอักเสบลุกลามลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ และอาจลงไปถึงบริเวณกระดูกในที่สุด เชื้อที่น่ากลัวมากก็คือแบคทีเรียที่เพิ่มจำนวนแบ่งตัวแม้ในที่ที่ไม่มีอ็อกซิเจน ( anaerobic bacteria) ผู้ป่วยจึงต้องได้รับยาฆ่าเชื้อทางกระแสเลือด ต้องนอน ร.พ. นาน อาจต้องเข้าห้องผ่าตัดทำความสะอาดแผล ตัดเนื้อตายหรือระบายแผลหนองเป็นต้นค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่