ศิริราชห่วงคนไทยแห่เสริมสวย ชี้เครื่องมือช่วยโมดิฟายหนังหน้า โขกหน้า บางอย่างยังไม่มีงานวิจัยชัดเจน แต่เฮโลกันไปทำ สุดท้ายหน้าพังต้องกลับมาให้รักษาก็มาก เผยพยายามทำวิจัยเครื่องมือเสริมความงาม หวังให้ความรู้ประชาชน เล็งยกระดับศูนย์เลเซอร์ให้ทันสมัยครบวงจรขึ้น
ศิริราชห่วงคนไทยแห่เสริมสวย ชี้ “เครื่องโมดิฟายหนังหน้า” บางอย่างยังไม่มีงานวิจัย!
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
วันนี้ (8 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ผศ.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวระหว่างเป็นประธานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชน เรื่อง “สองทศวรรษตจวิทยา สร้างคุณค่า นำพาสังคม” ว่า ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีความทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ประชาชนไม่สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทัน อย่างเรื่องผิวหนังและผิวพรรณ ก็เป็นอีกเรื่องที่มีวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ในโอกาสย่างเข้าปีที่ 21 ของภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผิดปกติของผิวหนังที่พบได้บ่อย เช่น สิว การฉีดโบท็อกซ์ ฝ้า กระ ผื่นแพ้เครื่องสำอาง ผมร่วงผมบาง เป็นต้น ให้แก่ประชาชน เพื่อให้สามารถดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคผิวหนังและเป็นแนวทางในการมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม
ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วิทยาการทางการแพทย์ในเรื่องของผิวหนังและผิวพรรณ โดยเฉพาะผิวพรรณมีการพัฒนาไปมาก จนบางครั้งไม่สามารถก้าวตามเทคโนโลยีได้ทัน เครื่องไม้เครื่องมือบางอย่างยังไม่มีรายงานวิจัยอย่างชัดเจนว่าดีจริงหรือจะมีปัญหาแทรกซ้อนตามมาหรือไม่ ก็แห่กันไปทำ เพราะเห็นว่าต่างประเทศมีการนำมาใช้แล้ว เป็นต้น ตรงนี้ถือเป็นเรื่องน่าห่วง การทำวิจัยจึงเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของภาควิชาตจวิทยา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยในเรื่องของความสวยงาม โดยเฉพาะเครื่องมือใหม่ๆ ที่นำเข้ามาในประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่าแม้จะมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานช่วยตรวจสอบการนำเข้าเครื่องมือเหล่านี้ แต่ก็ยังมีที่เล็ดลอดเข้ามาโดยไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อนำมาทดลองใช้ดูกับคนไทยว่าได้ผลเหมือนอย่างในต่างประเทศหรือไม่
“ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เป็นกันเกือบทั่วโลกคือ ประชาชนจะแยกเรื่องโรคผิวหนังและผิวพรรณออกจากกัน บางคนจะเข้าใจว่าตามโรงพยาบาลจะรักษาแต่โรคผิวหนังอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องผิวพรรณหรือความงาม เช่น สิว การฉีดโบท็อกซ์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแพทย์ที่รักษาเรื่องผิวพรรณจะไม่รักษาโรคผิวหนังเลย ผู้มีปัญหาโรคผิวหนังก็มักจะมาโรงพยาบาล อย่าง รพ.ศิริราช อัตราส่วนการมารักษาโรคผิวหนังและผิวพรรณจะอยู่ที่ 70:30 ส่วนมากจะมาด้วยโรคสะเก็ดเงิน ผิวหนังผื่นแพ้จากการใช้ยา โรคภูมิแพ้ ผมร่วงจากโรค หรือพวกที่เป็นสิวใหญ่ๆ เต็มหน้า หรือมีปัญหาแทรกซ้อนจากการเสริมความงาม ก็จะมารักษา” ศ.พญ.กนกวลัย กล่าว
ศ.พญ.กนกวลัย กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วนวัตกรรมการรักษาเรื่องผิวพรรณของโรงพยาบาลก็มีความก้าวหน้า มีทั้งการใช้เลเซอร์ การฉีดโบท็อกซ์ หรือการฉีดฟิลเลอร์ แต่ประชาชนอาจจะไม่ค่อยทราบ อย่าง รพ.ศิริราช มีฐานะเป็นโรงเรียนแพทย์ด้วยก็จะไม่ทำในเชิงพาณิชย์ แต่จะเน้นการรักษาตามข้อบ่งชี้ และตามหลักวิชาการ ซึ่งในอนาคตศูนย์เลเซอร์ ของภาควิชาตจวิทยา ก็มีโครงการจะขยายให้ใหญ่ขึ้น มีความทันสมัย และครบวงจรมากขึ้น และที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ก็คือ หน่วยเส้นผมและหนังศีรษะ จะเน้นในเรื่องการปลูกผม
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000002493
ศิริราชห่วงคนไทยแห่เสริมสวย ชี้ “เครื่องโมดิฟายหนังหน้า” บางอย่างยังไม่มีงานวิจัย!
ศิริราชห่วงคนไทยแห่เสริมสวย ชี้ “เครื่องโมดิฟายหนังหน้า” บางอย่างยังไม่มีงานวิจัย!
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
วันนี้ (8 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ผศ.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวระหว่างเป็นประธานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ประชาชน เรื่อง “สองทศวรรษตจวิทยา สร้างคุณค่า นำพาสังคม” ว่า ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีความทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ประชาชนไม่สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทัน อย่างเรื่องผิวหนังและผิวพรรณ ก็เป็นอีกเรื่องที่มีวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ในโอกาสย่างเข้าปีที่ 21 ของภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผิดปกติของผิวหนังที่พบได้บ่อย เช่น สิว การฉีดโบท็อกซ์ ฝ้า กระ ผื่นแพ้เครื่องสำอาง ผมร่วงผมบาง เป็นต้น ให้แก่ประชาชน เพื่อให้สามารถดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคผิวหนังและเป็นแนวทางในการมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างเหมาะสม
ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์ หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วิทยาการทางการแพทย์ในเรื่องของผิวหนังและผิวพรรณ โดยเฉพาะผิวพรรณมีการพัฒนาไปมาก จนบางครั้งไม่สามารถก้าวตามเทคโนโลยีได้ทัน เครื่องไม้เครื่องมือบางอย่างยังไม่มีรายงานวิจัยอย่างชัดเจนว่าดีจริงหรือจะมีปัญหาแทรกซ้อนตามมาหรือไม่ ก็แห่กันไปทำ เพราะเห็นว่าต่างประเทศมีการนำมาใช้แล้ว เป็นต้น ตรงนี้ถือเป็นเรื่องน่าห่วง การทำวิจัยจึงเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของภาควิชาตจวิทยา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยในเรื่องของความสวยงาม โดยเฉพาะเครื่องมือใหม่ๆ ที่นำเข้ามาในประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่าแม้จะมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานช่วยตรวจสอบการนำเข้าเครื่องมือเหล่านี้ แต่ก็ยังมีที่เล็ดลอดเข้ามาโดยไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อนำมาทดลองใช้ดูกับคนไทยว่าได้ผลเหมือนอย่างในต่างประเทศหรือไม่
“ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เป็นกันเกือบทั่วโลกคือ ประชาชนจะแยกเรื่องโรคผิวหนังและผิวพรรณออกจากกัน บางคนจะเข้าใจว่าตามโรงพยาบาลจะรักษาแต่โรคผิวหนังอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องผิวพรรณหรือความงาม เช่น สิว การฉีดโบท็อกซ์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแพทย์ที่รักษาเรื่องผิวพรรณจะไม่รักษาโรคผิวหนังเลย ผู้มีปัญหาโรคผิวหนังก็มักจะมาโรงพยาบาล อย่าง รพ.ศิริราช อัตราส่วนการมารักษาโรคผิวหนังและผิวพรรณจะอยู่ที่ 70:30 ส่วนมากจะมาด้วยโรคสะเก็ดเงิน ผิวหนังผื่นแพ้จากการใช้ยา โรคภูมิแพ้ ผมร่วงจากโรค หรือพวกที่เป็นสิวใหญ่ๆ เต็มหน้า หรือมีปัญหาแทรกซ้อนจากการเสริมความงาม ก็จะมารักษา” ศ.พญ.กนกวลัย กล่าว
ศ.พญ.กนกวลัย กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วนวัตกรรมการรักษาเรื่องผิวพรรณของโรงพยาบาลก็มีความก้าวหน้า มีทั้งการใช้เลเซอร์ การฉีดโบท็อกซ์ หรือการฉีดฟิลเลอร์ แต่ประชาชนอาจจะไม่ค่อยทราบ อย่าง รพ.ศิริราช มีฐานะเป็นโรงเรียนแพทย์ด้วยก็จะไม่ทำในเชิงพาณิชย์ แต่จะเน้นการรักษาตามข้อบ่งชี้ และตามหลักวิชาการ ซึ่งในอนาคตศูนย์เลเซอร์ ของภาควิชาตจวิทยา ก็มีโครงการจะขยายให้ใหญ่ขึ้น มีความทันสมัย และครบวงจรมากขึ้น และที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ก็คือ หน่วยเส้นผมและหนังศีรษะ จะเน้นในเรื่องการปลูกผม
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000002493