เกาะกระแสสุขภาพ กับ ObamaCare (ตอนที่ 1)
6 มกราคม 2557
บัวหลวง Money Tips
ObamaCare คือ กฎหมายประกันสุขภาพที่มีชื่อว่า The Patient Protection & Affordable Care Act (PPACA) หรือ Affordable Care Act (ACA) สร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและปกป้องสิทธิของผู้ป่วยชาวอเมริกัน มีเป้าหมายเพื่อให้อเมริกันชนสามารถซื้อประกันสุขภาพและเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างทั่วถึงในราคาไม่แพง
กฎหมายปฏิรูประบบสุขภาพนี้ เป็นนโยบายต่อเนื่องมาจากอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน แต่มาประสบความสำเร็จในสมัยของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2010 แต่นโยบายหลักๆ จะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 1 มกราคม 2014 โดย ObamaCare จะขยายการเข้าถึงการประกันสุขภาพทั้งของภาครัฐและเอกชน ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น การคุ้มครอง กฎระเบียบ เงินอุดหนุน ภาษี ตลาดประกันสุขภาพใหม่และการปฎิรูปอื่นๆ
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการประกันสุขภาพผ่านทางนายจ้างจากระบบประกันสุขภาพของเอกชน โดยมาจากระบบประกันกลุ่มที่บริษัทประกันเสนอให้บริษัทเอกชนต่างๆ ซื้อ เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง ในขณะที่อีก 3 กลุ่ม ได้รับการสนับสนุกจากรัฐบาล ดังนี้
คนชรา ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Medicare โดยสร้างขึ้นเพื่อจัดการกับค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่สูงมากสำหรับคนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขามีรายได้ที่ลดลง
คนยากจนที่มีรายได้น้อย ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Medicaid รวมถึง โปรแกรมประกันสุขภาพสำหรับเด็ก Children’s Health Insurance Program (CHIP) หรือ Children’s Medicaid สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี
ข้าราชการบางประเภท เช่น ทหาร ผู้แทนราษฎร วุฒิสภาชิก หรือทหารผ่านศึก เป็นต้น
สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เข้าข่ายได้รับประกันสุขภาพจากนายจ้างหรือรัฐบาล จะต้องหาซื้อประกันสุขภาพด้วยตนเอง โดยประชากรในส่วนนี้มีประมาณ 48 ล้านคน คิดเป็น 15% ของประชากรทั้งประเทศ Description:
http://kaiserfamilyfoundation.files.wordpress.com/2013/09/8488-figure-1.png
ผลสำรวจจาก Kaiser Family Foundation ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในสหรัฐอเมริกาที่เน้นการทำวิจัย และเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพ ระบุว่า สาเหตุหลักของผู้ที่ไม่มีประกันสุขภาพ เนื่องจาก
ประกันสุขภาพมีราคาแพง : ประเทศสหรัฐอเมริกา มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2011 เท่ากับ 8,608 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกันถึง 17.9% ของ GDP สหรัฐ ซึ่งสัดส่วนดังกล่าว กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยค่าใช้จ่ายที่สูงมากนี้ มาจากต้นทุนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นค่าบุคลากรทางการแพทย์ ค่ายาตามใบสั่งแพทย์ รวมถึงค่าประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพของแพทย์ พยาบาล (Medical Malpractice) เพื่อปกป้องตนเองในกรณีที่ทำการรักษาผิด ซึ่งค่า Malpractice มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก ผู้ป่วยบางคนพยายามหาประโยชน์จาก Malpractice ทำให้มีต้นทุนในการรักษาพยาบาลที่สูง ส่งผลให้เบี้ยประกันสุขภาพมีราคาสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ กลไกตลาดไม่ได้เป็นตัวกำหนดแผนประกันสุขภาพที่แท้จริง แต่การกำหนดราคา บริการ และขอบเขตสิทธิประโยชน์ของผู้ซื้อประกัน ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันรายใหญ่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประสิทธิภาพของระบบสุขภาพกลับไม่ดีเท่าที่ควร โดยอายุขัยเฉลี่ยของประชากร (Life Expectancy at Birth) ต่ำที่สุด และอัตราการตายของทารก (Infant Mortality Rate) มากที่สุด ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ตกงานจึงไม่ได้รับประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชน : สหรัฐอเมริกาไม่มีระบบประกันสุขภาพ ที่รับประกันสุขภาพของทุกคน เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี หรือ ญี่ปุ่น ที่บังคับให้ประชาชนทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ (Individual Mandate) ตามกฎหมาย โดยใช้นโยบายการเก็บภาษีสูงขึ้นหรือบังคับให้ซื้อประกัน ยกเว้นคนยากจนที่รัฐจะเข้าไปช่วยเหลือโดยตรง แต่นั่นหมายความว่าทุกคน ไม่ว่าจะรวย จน ไม่มีการศึกษา มีการศึกษา เด็ก หรือคนชรา สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียมกันหมด ขณะที่บริษัทประกันในสหรัฐอเมริกาสามารถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อไรก็ได้ และมีค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปกับหน่วยงานตรวจสอบประวัติผู้ซื้อประกัน เพื่อหาทางปฎิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกค้าที่ซื้อประกันสุขภาพกับตน อีกทั้ง บริษัทประกันอาจเรียกเก็บค่ารักษาเพิ่มมากขึ้นจากปัญหาสุขภาพในขณะนั้น และจะเรียกเก็บมากขึ้นอีกหากคุณเป็นผู้หญิง ฉะนั้น การซื้อประกันสุขภาพของคนอเมริกันจึงมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
กลุ่มที่ไม่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน เช่น ประกอบอาชีพอิสระ ศิลปิน ธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น และกลุ่มที่มีรายได้สูงกว่าเส้นแบ่งความยากจนสำหรับสิทธิประโยชน์ Medicaid แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อประกัน
เมื่อไม่มีประกันสุขภาพ หมายความว่า อาจไม่มีสิทธิ์รับการรักษาทางการแพทย์ เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีราคาแพง โดยพบว่า มากกว่า 60% ของบุคคลล้มละลายในอเมริกา มีสาเหตุมาจากไม่สามารถจ่ายบิลค่ารักษาพยาบาลได้ และเกือบ ¾ ของผู้ที่ล้มละลายนั้นมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่ประกันนั้นไม่ครอบคลุม ทำให้ไม่สามารถจ่ายส่วนเกินกรมธรรม์ได้
ทั้งนี้ ObamaCare จะกำจัดปัญหาเหล่านี้ไป และช่วยคนอเมริกันจากการล้มละลาย โดยให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ไม่ใช่จนกระทั่งไม่มีเงินจ่าย โดยสำนักงบประมาณรัฐสภา คาดการณ์ว่า ในปี 2022 ObamaCare จะสามารถครอบคลุมประชาชนอเมริกันผู้ไม่มีประกันให้เข้าถึงประกันสุขภาพได้กว่า 33 ล้านคน
สำหรับบทความตอนต่อไป จะกล่าวถึงสาระสําคัญของกฏหมายปฏิรูปการประกันสุขภาพ โดยสังเขป และมุมมองของ บลจ. บัวหลวง ต่อธุรกิจในอุตสาหกรรม Health Care
อาจารีย์ เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์
กลุ่มจัดการกองทุน
เพื่อน ๆ ผู้รู้มีความเห็นอย่างไรบ้างคะ เนื่องจากกอง BCARE ขึ้นมาเยอะแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของฝั่งต่างประเทศ + อานิสสงค์จากเงินบาทที่อ่อนค่า จึงอยากขอความเห็นเพื่อน ๆ ค่ะ อีกอย่างเห็นเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนที่ยังไม่มีตัวนี้กำลังสนใจจะเข้า เลยอยากให้มีข้อมูลพิจารณาก่อนการลงทุนนะคะ
กองทุน BCARE กับ Obama Care เพื่อน ๆ มีความเห็นยังไงบ้างคะ ^^
6 มกราคม 2557
บัวหลวง Money Tips
ObamaCare คือ กฎหมายประกันสุขภาพที่มีชื่อว่า The Patient Protection & Affordable Care Act (PPACA) หรือ Affordable Care Act (ACA) สร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและปกป้องสิทธิของผู้ป่วยชาวอเมริกัน มีเป้าหมายเพื่อให้อเมริกันชนสามารถซื้อประกันสุขภาพและเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างทั่วถึงในราคาไม่แพง
กฎหมายปฏิรูประบบสุขภาพนี้ เป็นนโยบายต่อเนื่องมาจากอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน แต่มาประสบความสำเร็จในสมัยของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2010 แต่นโยบายหลักๆ จะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 1 มกราคม 2014 โดย ObamaCare จะขยายการเข้าถึงการประกันสุขภาพทั้งของภาครัฐและเอกชน ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น การคุ้มครอง กฎระเบียบ เงินอุดหนุน ภาษี ตลาดประกันสุขภาพใหม่และการปฎิรูปอื่นๆ
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการประกันสุขภาพผ่านทางนายจ้างจากระบบประกันสุขภาพของเอกชน โดยมาจากระบบประกันกลุ่มที่บริษัทประกันเสนอให้บริษัทเอกชนต่างๆ ซื้อ เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง ในขณะที่อีก 3 กลุ่ม ได้รับการสนับสนุกจากรัฐบาล ดังนี้
คนชรา ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Medicare โดยสร้างขึ้นเพื่อจัดการกับค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่สูงมากสำหรับคนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขามีรายได้ที่ลดลง
คนยากจนที่มีรายได้น้อย ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Medicaid รวมถึง โปรแกรมประกันสุขภาพสำหรับเด็ก Children’s Health Insurance Program (CHIP) หรือ Children’s Medicaid สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี
ข้าราชการบางประเภท เช่น ทหาร ผู้แทนราษฎร วุฒิสภาชิก หรือทหารผ่านศึก เป็นต้น
สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เข้าข่ายได้รับประกันสุขภาพจากนายจ้างหรือรัฐบาล จะต้องหาซื้อประกันสุขภาพด้วยตนเอง โดยประชากรในส่วนนี้มีประมาณ 48 ล้านคน คิดเป็น 15% ของประชากรทั้งประเทศ Description: http://kaiserfamilyfoundation.files.wordpress.com/2013/09/8488-figure-1.png
ผลสำรวจจาก Kaiser Family Foundation ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในสหรัฐอเมริกาที่เน้นการทำวิจัย และเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพ ระบุว่า สาเหตุหลักของผู้ที่ไม่มีประกันสุขภาพ เนื่องจาก
ประกันสุขภาพมีราคาแพง : ประเทศสหรัฐอเมริกา มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2011 เท่ากับ 8,608 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมกันถึง 17.9% ของ GDP สหรัฐ ซึ่งสัดส่วนดังกล่าว กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยค่าใช้จ่ายที่สูงมากนี้ มาจากต้นทุนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นค่าบุคลากรทางการแพทย์ ค่ายาตามใบสั่งแพทย์ รวมถึงค่าประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพของแพทย์ พยาบาล (Medical Malpractice) เพื่อปกป้องตนเองในกรณีที่ทำการรักษาผิด ซึ่งค่า Malpractice มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก ผู้ป่วยบางคนพยายามหาประโยชน์จาก Malpractice ทำให้มีต้นทุนในการรักษาพยาบาลที่สูง ส่งผลให้เบี้ยประกันสุขภาพมีราคาสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ กลไกตลาดไม่ได้เป็นตัวกำหนดแผนประกันสุขภาพที่แท้จริง แต่การกำหนดราคา บริการ และขอบเขตสิทธิประโยชน์ของผู้ซื้อประกัน ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันรายใหญ่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประสิทธิภาพของระบบสุขภาพกลับไม่ดีเท่าที่ควร โดยอายุขัยเฉลี่ยของประชากร (Life Expectancy at Birth) ต่ำที่สุด และอัตราการตายของทารก (Infant Mortality Rate) มากที่สุด ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ตกงานจึงไม่ได้รับประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชน : สหรัฐอเมริกาไม่มีระบบประกันสุขภาพ ที่รับประกันสุขภาพของทุกคน เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี หรือ ญี่ปุ่น ที่บังคับให้ประชาชนทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ (Individual Mandate) ตามกฎหมาย โดยใช้นโยบายการเก็บภาษีสูงขึ้นหรือบังคับให้ซื้อประกัน ยกเว้นคนยากจนที่รัฐจะเข้าไปช่วยเหลือโดยตรง แต่นั่นหมายความว่าทุกคน ไม่ว่าจะรวย จน ไม่มีการศึกษา มีการศึกษา เด็ก หรือคนชรา สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียมกันหมด ขณะที่บริษัทประกันในสหรัฐอเมริกาสามารถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อไรก็ได้ และมีค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปกับหน่วยงานตรวจสอบประวัติผู้ซื้อประกัน เพื่อหาทางปฎิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกค้าที่ซื้อประกันสุขภาพกับตน อีกทั้ง บริษัทประกันอาจเรียกเก็บค่ารักษาเพิ่มมากขึ้นจากปัญหาสุขภาพในขณะนั้น และจะเรียกเก็บมากขึ้นอีกหากคุณเป็นผู้หญิง ฉะนั้น การซื้อประกันสุขภาพของคนอเมริกันจึงมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
กลุ่มที่ไม่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน เช่น ประกอบอาชีพอิสระ ศิลปิน ธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น และกลุ่มที่มีรายได้สูงกว่าเส้นแบ่งความยากจนสำหรับสิทธิประโยชน์ Medicaid แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อประกัน
เมื่อไม่มีประกันสุขภาพ หมายความว่า อาจไม่มีสิทธิ์รับการรักษาทางการแพทย์ เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีราคาแพง โดยพบว่า มากกว่า 60% ของบุคคลล้มละลายในอเมริกา มีสาเหตุมาจากไม่สามารถจ่ายบิลค่ารักษาพยาบาลได้ และเกือบ ¾ ของผู้ที่ล้มละลายนั้นมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่ประกันนั้นไม่ครอบคลุม ทำให้ไม่สามารถจ่ายส่วนเกินกรมธรรม์ได้
ทั้งนี้ ObamaCare จะกำจัดปัญหาเหล่านี้ไป และช่วยคนอเมริกันจากการล้มละลาย โดยให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ไม่ใช่จนกระทั่งไม่มีเงินจ่าย โดยสำนักงบประมาณรัฐสภา คาดการณ์ว่า ในปี 2022 ObamaCare จะสามารถครอบคลุมประชาชนอเมริกันผู้ไม่มีประกันให้เข้าถึงประกันสุขภาพได้กว่า 33 ล้านคน
สำหรับบทความตอนต่อไป จะกล่าวถึงสาระสําคัญของกฏหมายปฏิรูปการประกันสุขภาพ โดยสังเขป และมุมมองของ บลจ. บัวหลวง ต่อธุรกิจในอุตสาหกรรม Health Care
อาจารีย์ เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์
กลุ่มจัดการกองทุน
เพื่อน ๆ ผู้รู้มีความเห็นอย่างไรบ้างคะ เนื่องจากกอง BCARE ขึ้นมาเยอะแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของฝั่งต่างประเทศ + อานิสสงค์จากเงินบาทที่อ่อนค่า จึงอยากขอความเห็นเพื่อน ๆ ค่ะ อีกอย่างเห็นเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนที่ยังไม่มีตัวนี้กำลังสนใจจะเข้า เลยอยากให้มีข้อมูลพิจารณาก่อนการลงทุนนะคะ